หลังจากคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% เหลือ 1.75% ต่อปี ในปลายเดือนเมษายน 2568 เพื่อให้สอดรับกับสภาพเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ทำให้ธนาคารพาณิชย์และธนาคารของรัฐต่างทยอยปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้และเงินฝากตามมา ถือเป็นการส่งผ่านนโยบายทางการเงินสู่ระบบเศรษฐกิจจริง เพื่อช่วยพยุงการบริโภค การลงทุน และบรรเทาภาระทางการเงินของภาคครัวเรือนและธุรกิจ
แต่ความพิเศษของการลดดอกเบี้ยในรอบนี้คือ เป็น “การลดดอกเบี้ย 2 ขา” คือ ลดทั้งอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ และดอกเบี้ยเงินฝาก
SPOTLIGHT พาไปสรุปรายละเอียดของการลดดอกเบี้ยรอบนี้ของแต่ละธนาคาร ประชาชนได้ประโยชน์อย่างไร นอกจากนี้ยังมีบทวิเคราะห์จากศูนย์วิจัยกสิกรไทย ที่ประเมินว่า การลดดอกเบี้ยทั้ง 2 ขา มีผลทำให้ส่วนต่างดอกเบี้ย (NIM) ของธนาคารพาณิชย์ไทยลดลงไปด้วย
ธนาคารเฉพาะกิจของรัฐเป็นกลุ่มแรกที่ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลง หลังจาก กนง.ลดดอกเบี้ย โดยมีผลในช่วงวันที่ 13-14 พฤษภาคม 2568 มีรายละเอียดดังต่อไปนี้:
MRR เหลือ 6.545%, MLR เหลือ 6.575%, MOR เหลือ 6.345%
MRR เหลือ 6.495%, MLR เหลือ 6.10%, MOR เหลือ 6.00%
MRR เหลือ 7.575%, MLR เหลือ 7.25%, MOR เหลือ 7.40%
เหลือ 6.15%
มาตรการนี้สะท้อนความพยายามในการเร่งบรรเทาภาระหนี้ให้ผู้กู้ โดยเฉพาะผู้มีรายได้น้อยและธุรกิจเอสเอ็มอีที่ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกและความไม่แน่นอนในประเทศ
ธนาคารกรุงเทพ (BBL) เป็นธนาคารพาณิชย์แห่งแรกที่ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้และเงินฝากลงระหว่าง 0.05–0.10% โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 8 พฤษภาคม 2568
ธนาคารกรุงไทย (KTB) ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้สูงสุด 0.15% และดอกเบี้ยเงินฝาก 0.075–0.20% มีผล 15 พฤษภาคม
ทีเอ็มบีธนชาต (ttb) ปรับลดดอกเบี้ยเงินกู้สูงสุด 0.15% มีผลตั้งแต่ 16 พฤษภาคม 2568 แยกตามประเภทสินเชื่อ ได้แก่
นอกจากนี้ ttb ยังประกาศขึ้นดอกเบี้ยเงินฝากบัญชี "ทีทีบี โนฟิกซ์" สูงสุด 0.40% ต่อปี โดยมีผลตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2568 เป็นต้นไป เพื่อจูงใจกลุ่มออมเงินที่ต้องการความยืดหยุ่น
ธนาคารกสิกรไทย (KBANK) ปรับลดดอกเบี้ยเงินกู้ทุกประเภทและเงินฝาก มีผล 16 พฤษภาคม 2568
พร้อมกันนี้ ธนาคารยังปรับลดดอกเบี้ยเงินฝาก 0.05-0.20% เพื่อให้สอดคล้องกับแนวโน้มดอกเบี้ยนโยบายที่ลดลง
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยระบุว่า การปรับลดดอกเบี้ยรอบนี้ที่มีการลดทั้งเงินกู้และเงินฝาก แม้ผลในด้านหนึ่งจากการปรับลดดอกเบี้ยจะทำให้ต้นทุนการระดมเงินฝากลดลง แต่ในอีกด้านหนึ่งก็กดดันให้ผลตอบแทนจากการปล่อยสินเชื่อลดลงตามไปด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะในช่วงที่อานิสงส์จากการปล่อยสินเชื่อใหม่ยังมีจำกัดตามสัญญาณอ่อนแอของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
การปรับลดดอกเบี้ยเงินฝากมีช่วงเวลาที่หน่วงและช้ากว่าการปรับลดดอกเบี้ยในฝั่งเงินกู้อยู่ประมาณ 1 รอบ ดังนั้นเมื่อรวมผลของการปรับลดดอกเบี้ย 2 ขาของธนาคารพาณิชย์ในช่วงเดือนเม.ย.-พ.ค. 2568 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า การลดดอกเบี้ยจะส่งผลดีต่อผู้กู้ โดยเฉพาะสินเชื่อบ้าน สินเชื่อธุรกิจ และสินเชื่อที่มีหลักประกันอื่น ๆ ซึ่งมีสัดส่วนรวมกันราว 56.6% ของสินเชื่อทั้งระบบ โดยศูนย์วิจัยคาดว่าการลดดอกเบี้ยในรอบนี้จะช่วยลดภาระดอกเบี้ยรวมกันได้ 4,400–4,900 ล้านบาท ในช่วงพฤษภาคม–ธันวาคม 2568
การลดดอกเบี้ยครั้งนี้ แม้ช่วยประคองเศรษฐกิจ แต่ก็สะท้อนถึงความเปราะบางของสถานการณ์ ทั้งภายในและภายนอกประเทศ ดังนั้น ไม่ว่าคุณจะเป็นผู้กู้หรือผู้ฝาก ควรใช้โอกาสนี้ในการทบทวนแผนการเงินส่วนตัว เพื่อปรับตัวอย่างรอบคอบในยุคดอกเบี้ยขาลง
ที่มา: ข่าวการประกาศปรับดอกเบี้ยของแต่ละธนาคาร , ศูนย์วิจัยกสิกรไทย