Logo site Amarintv 34HD
Logo LiveSearch
Search
Logo Live
Logo site Amarintv 34HD
ช่องทางติดตาม AMARINTV
  • facebook AMARIN TV 34 HD
  • x AMARIN TV 34 HD
  • line AMARIN TV 34 HD
  • youtube AMARIN TV 34 HD
  • instagram AMARIN TV 34 HD
  • tiktok AMARIN TV 34 HD
  • RSS Feed AMARIN TV 34 HD
ส่งออกไทยครึ่งปีแรกโตดีเพราะเร่งส่งสินค้าก่อนโดนภาษี ถอดอนาคตส่งออกไทย
โดย : กองบรรณาธิการ SPOTLIGHT

ส่งออกไทยครึ่งปีแรกโตดีเพราะเร่งส่งสินค้าก่อนโดนภาษี ถอดอนาคตส่งออกไทย

25 ก.ค. 68
17:13 น.
แชร์

สถานการณ์ส่งออกไทยที่กระทรวงพาณิชย์ประกาศตัวเลขล่าสุดเดือนมิ.ย.68 ยังออกมาดี เพราะขยายตัวได้  15.5% มีมูลค่า 28,649 ล้านดอลลาร์  ขณะที่ครึ่งปีแรกการส่งออกของไทยโต 15% มีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 166,851 ล้านดอลลาร์ หรือ 5,578,958.71 ล้านบาท ทั้งปีกระทรวงพาณิชย์ตั้งเป้าหมายส่งออกโต 2-3% 

ขณะที่การนำเข้า มีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 166,914 ล้านดอลลาร์ หรือ 5,651,241.10 ล้านบาท  ขยายตัว 11.6% ส่งผลให้ครึ่งปีแรก ไทยขาดดุลการค้า รวม 62.2 ล้านดอลลาร์ หรือ  -72,282.39 ล้านบาท

หากจะถอดรหัสอนาคตส่งออกไทยหลังเส้นตาย 1 ส.ค.68 ข้อมูลจากฝ่ายวิจัยของจาก SCB EIC และ Kresearch มองเห็นตรงกันว่า ส่งออกไทยกำลังจะชะลอตัวลงและอาจลากยางถึงปี 2569 โดยเฉพาะผลการเจรจาภาษีกับสหรัฐฯหากไทยได้ภาษีสูงกว่าเพื่อนบ้าน 

ตลาดสหรัฐฯยังเป็นตลาดส่งออกอันดับ 1 ของไทย 

ข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์พบว่า สหรัฐฯยังเป็นประเทศผู้ซื้อ ผู้นำเข้าสินค้าไทยมากเป็นอันดับ 1 ทำให้หากไทยเสียเปรียบในการส่งสินค้าไปสหรัฐฯย่อมกระทบกับภาพรวมการส่งออกของไทยแน่นอน ทั้งนี้หากดูตัวเลข 5 ตลาดส่งออก-นำเข้า สำคัญของไทยในช่วง ม.ค.-มิ.ย.68  ได้แก่ 

  1. สหรัฐอเมริกา
  • ส่งออก ปี 2568: 1,116,317.96 ล้านบาท
  • นำเข้า ปี 2568: 358,316.08 ล้านบาท
  1. จีน
  • ส่งออก ปี 2568: 698,335.09 ล้านบาท
  • นำเข้า ปี 2568: 1,675,383.56 ล้านบาท
  1. ญี่ปุ่น
  • ส่งออก ปี 2568: 391,263.03 ล้านบาท
  • นำเข้า ปี 2568: 501,443.93 ล้านบาท
  1. อินเดีย
  • ส่งออก ปี 2568: 279,196.12 ล้านบาท
  • นำเข้า ปี 2568: 98,917.29 ล้านบาท
  1. มาเลเซีย
  • ส่งออก ปี 2568: 215,202.90 ล้านบาท
  • นำเข้า ปี 2568: 246,786.76 ล้านบาท

ปัจจัยหนุนการส่งออกเดือน ม.ย.68 ให้ยังโตแรง

ข้อมูลจาก SCB EIC 4 ปัจจัย ที่หนุนให้การส่งออกของไทยในเดือน มิ.ย.ยังโตแรง 
1. การส่งออกในเดือนนี้ยังเติบโตจากสินค้ากลุ่มเทคโนโลยี โดยเฉพาะ “เครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ” ที่ขยายตัว 57.7% แม้ชะลอลงจากเดือนก่อน แต่ยังช่วยหนุนภาพรวมส่งออกไทยขยายตัวเพิ่มขึ้น 5.5% จากการเติบโตรวม 15.5% สหรัฐฯ ยังเป็นตลาดสำคัญที่โตแรง ส่วนจีนเริ่มชะลอ และตลาดอื่นเริ่มหดตัว

(2) ไทยเร่งส่งออกไปสหรัฐฯ ก่อนโดนภาษีเต็มที่ โดยเฉพาะสินค้ากลุ่มอิเล็กทรอนิกส์หลักที่ยังไม่ถูกเก็บภาษี เช่น คอมพิวเตอร์ (โต 118%) โทรศัพท์ (โต 9.4%) และแผงวงจร (โต 36.9%) ขณะที่รถยนต์ที่ถูกเก็บภาษีเฉพาะเจาะจงแล้ว หดตัวลง การส่งออกไปสหรัฐฯ มีผลบวกต่อภาพรวมส่งออกไทยเพิ่มขึ้น 7.5% (CTG)

(3) ทองคำยังเป็นตัวช่วยสำคัญ โดยทองคำยังไม่ขึ้นรูปขยายตัวถึง 115.6% สูงขึ้นจากเดือนก่อน

(4) อีกปัจจัยคือ “ฐานต่ำ” จากเดือน มิ.ย. 2024 ที่มีมูลค่าต่ำกว่าปกติ ทำให้การเติบโตในเดือน มิ.ย. 2025 ดูสูงเมื่อเทียบรายปี 

ส่งออกไทยครึ่งปีแรกโตดีเพราะเร่งส่งสินค้าก่อนโดนภาษี

การส่งออกไทยช่วงปลายปี 2025 และปี 2026 ยังเสี่ยงหดตัว

SCB EIC ระบุว่า แม้ช่วงครึ่งปีแรกการส่งออกไทยจะยังดูดี แต่แรงหนุนหลักช่วงต้นปี เช่น วัฏจักรอิเล็กทรอนิกส์ การเร่งส่งออกก่อนสหรัฐฯ เก็บภาษี และทองคำ เริ่มหมดลง ขณะที่ผลกระทบจากกำแพงภาษีของสหรัฐฯ จะเริ่มชัดเจนมากขึ้น โดยเฉพาะ Reciprocal และ Specific Tariffs ที่จะมีผลเต็มรูปแบบ จึงเป็นเหตุผลให้ครึ่งปีหลังและปี 2026 การส่งออกไทยเสี่ยงหดตัวหรือติดลบ 

ด้านศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า  ในช่วงครึ่งหลังของปี 2568 การส่งออกไทยมีแนวโน้มหดตัวราว 10%YoY หลังมีการเร่งส่งออกสินค้าไปในช่วงก่อนหน้า และมีแนวโน้มว่าสหรัฐฯ จะนำเข้าสินค้าลดลงเพื่อบริหารต้นทุนการคงคลังสินค้า โดยในเดือนก.ค. 2568 ปริมาณเรือที่ออกจากท่าเรือไทยลดลงต่ำสุดนับตั้งแต่ต้นปี 

ส่งออกไทยครึ่งปีแรกโตดีเพราะเร่งส่งสินค้าก่อนโดนภาษี

6 ประเทศที่ตกลงการค้ากับสหรัฐฯแล้ว

  • สหราชอาณาจักร: โดนภาษี 10% แลกกับการลดภาษีรถยนต์-เหล็ก-อากาศยาน พร้อมเปิดตลาดเนื้อวัวและเอทานอลให้สหรัฐ
  • จีน: ลดภาษีตอบโต้ชั่วคราวเหลือ 30% แต่รวมภาษีทั้งหมดที่ยังเก็บจริงยังสูง 55%
  • ญี่ปุ่น: ลดภาษีตอบโต้เหลือ 15% และลงทุนเพิ่มในสหรัฐฯ

ประเทศอาเซียน 3 ประเทศที่ตกลงภาษีสหรัฐฯแล้ว ได้แก่

  • เวียดนาม: เปิดตลาด 100%ให้สหรัฐฯ แลกภาษีตอบโต้ 20%
  • อินโดนีเซีย: ลดภาษีตอบโต้เหลือ 19% เปิดตลาด 99%
  • ฟิลิปปินส์: โดนภาษีสหรัฐ 19% แลกกับยอมลดภาษีให้สหรัฐฯเหลือ 0% และขยายความร่วมมือด้านความมั่นคงกับสหรัฐฯ

อย่างไรก็ตามหลัง 1 ส.ค.68 ไทยจะโดนภาษีน้อยกว่าเพื่อนบ้านหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับข้อตกลงที่ล่าสุดมีรายงานว่าไทยยื่นข้อเสนอใหม่ ยอมเปิดตลาดมากขึ้นจาก 64% เป็น 90% ของสินค้านำเข้าสหรัฐฯ เพื่อขอให้ลดภาษีตอบโต้จาก 36% เหลือ 18–20% ซึ่งหากยังเจรจาไม่สำเร็จ ไทยอาจเสียเปรียบประเทศที่ตกลงไปก่อนทั้งในแง่การแข่งขันด้านราคา และโอกาสสูญเสียส่วนแบ่งตลาดส่งออกในอาเซียน

ผลกระทบที่ไทยอาจเผชิญหากต้องยอมเปิดตลาดให้สหรัฐฯ

  1. แข่งขันลำบากในอาเซียน: หากสินค้าสหรัฐฯ ไหลเข้าในภูมิภาคมากขึ้น ส่งออกอาเซียนลดลง ไทยจะถูกกระทบหนัก เพราะพึ่งพาการส่งออกในอาเซียนสูงถึง 23.3% โดยเฉพาะภาคเกษตรและอุตสาหกรรม
  2. เสี่ยงกระทบกับจีน: ข้อตกลง Transshipment อาจกระทบจีน จนจีนตอบโต้ทางการค้า ซึ่งไทยเองก็พึ่งพาตลาดจีนสูง

แม้ไทยเก็บภาษีนำเข้าสินค้าสหรัฐฯ สูงกว่าหลายประเทศในอาเซียน (เฉลี่ย 6.2%) แต่ไทยยังนำเข้าสินค้าอุปโภคจากสหรัฐฯ สูงเป็นอันดับ 2 ของอาเซียน เพราะรายได้ต่อหัวสูง และมีความต้องการสินค้าเหล่านี้สูง จึงมีแนวโน้มว่าหากเปิดตลาดมากขึ้น สินค้าสหรัฐฯ จะไหลเข้าไทยมากกว่าประเทศอื่น และกระทบภาคเกษตรโดยตรง โดยเฉพาะเนื้อสัตว์และผักที่ไทยตั้งภาษีสูงถึง 44.3% และ 38% ตามลำดับ ขณะที่อาเซียนอื่นเก็บต่ำกว่า 5%

ส่งออกไทยครึ่งปีแรกโตดีเพราะเร่งส่งสินค้าก่อนโดนภาษี

ที่มา : กระทรวงพาณิชย์ ,  SCB EIC , ศูนย์วิจัยกสิกรไทย 

แชร์
ส่งออกไทยครึ่งปีแรกโตดีเพราะเร่งส่งสินค้าก่อนโดนภาษี ถอดอนาคตส่งออกไทย