Logo site Amarintv 34HD
Logo LiveSearch
Search
Logo Live
Logo site Amarintv 34HD
ช่องทางติดตาม AMARINTV
  • facebook AMARIN TV 34 HD
  • x AMARIN TV 34 HD
  • line AMARIN TV 34 HD
  • youtube AMARIN TV 34 HD
  • instagram AMARIN TV 34 HD
  • tiktok AMARIN TV 34 HD
  • RSS Feed AMARIN TV 34 HD
ถอดสูตรF1 The Movie การตลาดสร้างโลกเสมือนจริง แบรนด์กล้าจ่ายพันล้านบาท
โดย : ปาณิสรา สุทธิกาญจนวงศ์

ถอดสูตรF1 The Movie การตลาดสร้างโลกเสมือนจริง แบรนด์กล้าจ่ายพันล้านบาท

2 ก.ค. 68
18:21 น.
แชร์

F1 The Movie ภาพยนต์ฟอร์มยักษ์สุดเข้มข้นแห่งปี ที่จะพาทุกคนก้าวสู่โลกของการแข่งขันรถสูตร 1 หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ Formula 1 กีฬาที่ขึ้นชื่อว่าเป็นกีฬาของเศรษฐี เพราะเป็นกีฬาแข่งรถที่มีมูลค่าเม็ดเงินสูงที่สุดในโลกที่ยากจะหากีฬาใดๆมาเปรียบ

แม้ว่าจะเพิ่งเข้าโรงภาพยนต์ได้ไม่ถึงอาทิตย์ แต่ F1 The Movie กลับได้รับเสียงชื่นชมจากชาวเน็ตเป็นจำนวนมาก เพราะสำหรับคนที่ไม่เคยรู้หรือไม่มีความรู้เกี่ยวกับ F1 ดูแล้วจะเข้าใจ การแข่งขัน F1 มากขึ้น ส่วนคนที่เป็นแฟนคลับ F1 อยู่แล้ว นี่คือหนังที่คุณห้ามพลาด เพราะถูกเล่าด้วยโดยคนวงในของจริงอย่าง Lewis Hamilton แชมป์ F1 7สมัยของทีม Ferrari ที่ขึ้นแท่นเป็นที่ปรึกษาและโปรดิวเซอร์

แต่ความน่าสนใจที่มากกว่านั้นของ ภาพยนต์ F1 The Movie คือยอมทุ่มเงินกว่า 30 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว พันล้านบาทเพื่อดึง Brad Pitt มาเป็นนักแสดงนำ ซึ่งโดยรวมแล้วใช้งบการผลิตอยู่ที่ 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 6,560 ล้านบาท

แต่เชื่อหรือไม่ว่าก่อนที่จะเข้าโรงภาพยนต์ทั่วโลก F1 The Movie สามารถได้เงินจากเหล่าสปอนเซอร์แล้วมากกว่า 40 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราวๆ 1.2 พันล้านบาท หรือคิดเป็น 20% ของงบการผลิต คำถามคือ F1 The Movie ทำได้อย่างไร ?

บทความนี้ SPOTLIGHT จะพาทุกคนไปท่องโลกของ F1 กีฬาที่ขึ้นชื่อว่าเป็นกีฬาของเหล่าเศรษฐี รวมถึงพาทุกคนไปถอดสูตร F1 The Movie การตลาดสร้างโลกเสมือนจริง ที่แบรนด์กล้าจ่ายระดับพันล้านบาท ?

ทำไม F1 ถึงเป็นกีฬาของเศรษฐี ?

ก่อนจะพาทุกคนไปท่องโลกเสมือนจริงของ F1 The Movie อยากให้ผู้อ่านเข้าใจกีฬาแข่งขันรถสูตร 1 เสียก่อน

การแข่งขันรถสูตร 1 หรือ F1 คือ สุดยอดการแข่งขันรถยนต์ ที่มีความเป็นเลิศเหนือยานยนต์ปกติทั้งในเรื่องของความเร็ว ดีไซน์ ความก้าวหน้าทางวิศกรรม ทีมช่างเทคนิค นักกลยุทธ์ และที่สำคัญเลยคือทักษะของตัวนัก ปัจจุบัน F1 มีเพียง 10 ทีม และมีนักขับ 20 คน

  • ทีม Alpine : แจ็ค ดูฮาน นักขับชาวออสเตรเลีย, ปิแอร์ แกสลีย์ นักขับชาวฝรั่งเศส
  • ทีม Aston Martin :  เฟร์นานโด อลอนโซ นักขับชาวสเปน, แลนซ์ สโตรลล์ นักขับชาวแคนาดา
  • ทีม Ferrari : เซอร์ลูอิส แฮมิลตัน แชมป์โลก 7 สมัยชาวอังกฤษ, ชาร์ลส์ เลอแคลร์ นักขับชาวโมนาโก
  • ทีม Haas : โอลิเวอร์ แบร์แมน นักขับชาวอังกฤษ, เอสเตบัน โอคอน
  • ทีม Stake F1 : นิโก อูร์เคนแบร์ก นักขับชาวเยอรมัน, กาเบรียล บอร์โตเลโต นักขับชาวบราซิล
  • ทีม McLaren : ออสการ์ ปิอัสตรี นักขับออสเตรเลีย, แลนโด นอร์ริส นักขับชาวสหราชอาณาจักร
  • ทีม Mercedes : คิมี อันโตเนลลี นักขับชาวอิตาลี, จอร์จ รัสเซลล์ นักขับชาวสหราชอาณาจักร
  • ทีม Racing Bulls : ไอแซค ฮัดจาร์ นักขับชาวฝรั่งเศส, ยูกิ ซึโนดะ นักขับชาวญี่ปุ่น
  • ทีม Red Bull Racing : แม็กซ์ เวอร์สแตพเพน แชมป์โลกชาวดัตช์, เลียม ลอว์สัน นักขับชาวนิวซีแลนด์
  • ทีม Williams : อเล็กซานเดอร์ อัลบอน นักขับชาวไทย, คาร์ลอส ไซน์ซ นักขับชาวสเปน

หากลองสังเกตดีๆ ทีมส่วนใหญ่แล้ว มักเป็นบริษัทรถ sport ชื่อดัง ที่ฟอร์มทีมขึ้นมาเพื่อโชว์ความเป็นที่สุดของเครื่องยนต์และทีมวิศวกร หากทีมไหนชนะ นี่เหมือนเป็นใบเบิกทางแห่งความภาคภูมิใจว่าบริษัทไหนที่มีความครบเครื่องในเครื่องความแรง ความเร็ว ประสิทธิภาพ และกลยุทธ์ หรือพูดง่ายๆนี่ก็คือหนึ่งในกีฬาที่เหมือนกีฬาปกติ ที่ต้องอาศัยทุกภาคส่วนเพื่อทำให้ได้รับชัยชนะ โดยมีชื่อบริษัทเป็นศักดิ์ศรีค้ำคอ

ความ exclusive นอกเหนือจากนี้คือการวาง position ของกีฬาชนิดนี้ให้เจาะกลุ่มคนระดับบน ทั้งในเรื่องของราคาบัตร สถานที่จัด ไปจนถึงกฎกติกาที่ไม่ใช่เรื่องที่คนปกติที่สามารถเข้าถึงและเข้าใจได้

และด้วยความเหนือระดับในทุกๆด้านส่งผลให้ F1 สามารถดึงดูดแบรนด์ luxury เข้ามาเป็นสปอนเซอร์ อย่างเช่นRolex เป็นผู้จับเวลาอย่างเป็นทางการ หรือ Louis Vuitton เป็นผู้สนับสนุนหีบสำหรับใส่ถ้วยรางวัลกรังด์ปรีซ์

นี่ยังไม่รวมเสื้อผ้าและรถของนักขับ ที่แต่ละทีมมีแต่โลโก้แบรนด์สินค้าชั้นนำประดับประดาเต็มไปหมด ซึ่งแน่นอนว่า ทุกแบรนด์ที่ติดบนตัวนักขับ นี่คือเม็ดเงินชั้นเลิศที่ขับเคลื่อนให้ F1 กลายเป็นกีฬาแห่งความหรูหรา

สำหรับการท่องเที่ยวนั้น F1 ยังเป็นเหมือนกับ magnet ที่เลอค่าที่สามารถดึงดูนักท่องเที่ยวระดับบนเข้าไปมายังประเทศเจ้าภาพแบบที่ว่าหลายๆประเทศพร้อมใจกันเสนอตัวเป็นผู้จัด อย่างเช่นประเทศไทย ที่พร้อมทุ่มเงินกว่า 40,000 ล้านบาทเพื่อหวังเป็นเจ้าภาพ F1

F1 The Movie สร้างหนังอย่างไร ให้สปอนเซอร์ยอมจ่ายเงินจริงระดับพันล้านบาท

แน่นอนว่า F1 The Movie ได้รับแรงบันดาลใจมากจากการแข่งขัน F1 จริงๆ แต่สิ่งที่ทำให้ภาพยนต์นี้แตกต่างกับเรื่องอื่นๆ เพราะมันสมจริงทุกองค์ประกอบ ตั้งแต่ นักแสดง, ทีมวิศวกร, ทีมกลยุทธ์, ปัญหาดราม่า, อีโก้ของนักแข่ง,รายชื่อสปอนเซอร์, สถานที่ถ่ายทำ ที่สนาม Hungaroring สนามแข่ง Formula 1 จริงๆที่ตั้งอยู่ที่ประเทศฮังการี หรือแม่แต่นักแสดงประกอบ ที่เล่นเอานักแข่ง 20 คนจริงๆจาก F1 ที่เดินผ่านไปผ่านมา เหมือนเราดูการแข่งขัน F1 อยู่จริงๆ

ซึ่งความน่าสนใจคือ ภาพยนตร์เรื่องนี้กลับสร้างทีม Formula 1 ทีมที่สมมติขึ้นเป็นทีมที่ 11 หรือ ชื่อทีมว่า APXGP ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากแบรนด์ดังระดับโลก ไม่ว่าจะเป็น Mercedes, IWC, Geico, EA Sports หรือ Expensify เข้าไปอยู่ในโลกของ F1 The Movie จริงๆ

จากการรายงานของ Forbes พบว่า F1 The Movie ได้รับเงินค่าสปอนเซอร์มากถึง 40 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราวๆ 1.2 พันล้านบาท เพียงเพราะแค่อยากเอาโลโก้บริษัทของตนไปแปะไว้บนเสื้อผ้าแข่งของ Brad Pitt หรือ รถ F1 ในภาพยนต์

และแน่นอนว่าไม่ต้องพูดถึงเรื่องจำนวน airtime ที่จะได้ เพราะ F1 The Movie แข่งรถกันทั้งเรื่อง เท่ากับว่าผู้ชมได้เห็นโลโก้แบรนด์อยู่ตลอดเวลา

สิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าปัจจุบัน แบรนด์ไม่ได้ซื้อแค่ brand awareness เพียงอย่างเดียว F1 The Movie เป็นเหมือนตัวอย่างภาพยนต์แห่งความสำเร็จที่สามารถคว้าเงินจากเหล่าสปอนเซอร์ที่อยากสร้างโลกที่เสมือนจริงให้กลายเป็นโลกแห่งความเป็นจริง

แต่อีกหนึ่งสิ่งที่น่าคิด คือเรื่องของความคุ้มค่า จากการรายการของ Forbes ที่เปิดเผยราคาติดโลโก้แบรนด์ที่อยากติดปีกหน้าของรถ F1 มีค่าใช้จ่ายอย่างน้อย 5 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี ในขณะที่การเป็นสปอนเซอร์ในชื่อทีมจะมีตั้งแต่ 30 ล้านเหรียญสหรัฐไปจนถึง 100 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปีสำหรับทีมที่ได้รับความนิยมสูงสุด นั้นทำให้การสปอนเซอร์ในภาพยนต์ F1 The Movie กลับดูคุ้มค่าและคุ้มราคามากกว่า

อ้างอิง : Forbes SportQuake Business Insider SBJ

แชร์
ถอดสูตรF1 The Movie การตลาดสร้างโลกเสมือนจริง แบรนด์กล้าจ่ายพันล้านบาท