ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(ตลท.) ถือเป็นแหล่งระดมทุนขนาดใหญ่ที่สำคัญจับคู่ให้ภาคธุรกิจที่ต้องการเงินลงทุนไปใช้ขยายขยายธุรกิจได้มาเจอกับนักลงทุนที่ต้องการนำเงินออมมาลงทุนมาสร้างผลตอบแทนตลาดหลักทรัพย์ฯ ถือเป็นแหล่งระดมทุนขนาดใหญ่ที่สำคัญจับคู่ให้ภาคธุรกิจที่ต้องการเงินลงทุนไปใช้ขยายขยายธุรกิจได้มาเจอกับนักลงทุนที่ต้องการนำเงินออมมาลงทุนมาสร้างผลตอบแทน
แม้ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะมีหน้าที่หลักเป็นตัวกลางในการจับคู่ซื้อขายหุ้น แต่นอกเหนือจากหน้าที่นี้แล้วในเรื่องเทรนด์ 'ความยั่งยืน' ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ให้ความสำคัญด้วยเช่น เพราะแน่นอนว่าในการทำธุรกิจของแต่ละบริษัทย่อมมีผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อมด้วยเช่นกัน
ในปี 2558 ตลาดหลักทรัพย์ฯ จึงเริ่มจัดทำรายชื่อหุ้นยั่งยืน หรือ THSI (Thailand Sustainability Investment) เป็นปีแรกจากที่มีจำนวนไม่มีกี่สิบบริษัทซึ่งทยอยเพิ่มจำนวนขึ้นทุกปี หลังจากทำมาเป็นประจำต่อเนื่องจนถึงปี 2565 สะท้อนว่าธุรกิจขนาดใหญ่ชั้นนำของไทยต่างเห็นความสำคัญในเรื่องของการดูแลสังคมและสิ่งแวดเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ
"THSI" เป็นรายชื่อของบริษัทจดทะเบียนที่ดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนโดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล (Environmental, Social and Governance หรือ ESG) ซึ่งเป็นอีกทางเลือกสำหรับผู้ลงทุนที่ต้องการลงทุนตามแนวคิดการลงทุนอย่างยั่งยืนที่นำปัจจัยด้าน ESG มาประกอบการตัดสินใจลงทุนควบคู่ไปกับการวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินของบริษัท เพื่อสร้างผลตอบแทนอย่างต่อเนื่องในระยะยาว
หุ้นยั่งยืนคัดเลือกจากบริษัทจดทะเบียนที่สมัครใจเข้าร่วมตอบแบบประเมินความยั่งยืน ของตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยการตอบคำถามใน 3 มิติ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านสังคม โดยตลาดหลักทรัพย์ฯ จะมีการทบทวนคำถามในแบบประเมินทุกปีให้สอดคล้องกับบริบทความยั่งยืนที่มีการเปลี่ยนแปลงในระดับสากล
โดยจะมีคณะทำงานเพื่อการลงทุนอย่างยั่งยืนของตลาดหลักทรัพย์ฯ เป็นผู้พิจารณา ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิด้านบรรษัทภิบาลและความรับผิดชอบต่อสังคม และผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงานที่น่าเชื่อถือในตลาดทุนเป็นผู้กลั่นกรองให้กระบวนการคัดเลือกมีความโปร่งใสและเชื่อถือได้
โดยล่าสุด ตลาดหลักทรัพย์ฯ ประกาศรายชื่อหุ้นยั่งยืน THSI (Thailand Sustainability Investment) ประจำปี 2565 โดยมีบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ผ่านการคัดเลือก 170 บริษัท เพิ่มขึ้นจาก 144 บริษัทในปีที่ผ่านมา และยังเป็นการเพิ่มขึ้นจาก 51 บริษัท ในปี 2558 ที่จัดเป็นปีแรก โดนยสะท้อนว่าบริษัทจดทะเบียนไทยให้ความสำคัญในการพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืนโดยคำนึงถึงสังคม สิ่งแวดล้อม และบรรษัทภิบาล (ESG) สะท้อนว่า บจ. ไทยมุ่งมั่นพัฒนาองค์กรให้เติบโตอย่างมั่นคงต่อเนื่อง โดยคำนึงถึงการบริหารความเสี่ยง พร้อมรับมือกับปัจจัยการเปลี่ยนแปลงด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และให้ความสำคัญกับผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน
ด้าน ดร.ภากร ปีตธวัชชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลท. ได้ให้ข้อมูลว่า ตลาดหลักทรัพย์ฯ จัดทำรายชื่อหุ้นยั่งยืน THSI (Thailand Sustainability Investment) ตั้งแต่ปี 2558 โดยมี บจ. เข้าร่วมและผ่านการประเมินเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ในปีนี้มีบริษัทได้รับคัดเลือกให้อยู่ในรายชื่อหุ้นยั่งยืน THSI ถึง 170 บริษัท สะท้อนถึงการให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนของ บจ. ขณะเดียวกันผู้ร่วมตลาดทุกกลุ่มให้ความสำคัญกับเรื่องความยั่งยืนมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นผู้ลงทุนที่มีความตื่นตัวและลงทุนอย่างยั่งยืน
โดยนำข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล (Environmental, Social, Governance: ESG) มาใช้ประกอบการตัดสินใจลงทุน ควบคู่ไปกับข้อมูลผลประกอบการทางการเงิน
นอกจากนี้ ผู้ลงทุนสถาบัน โดยเฉพาะกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ได้นำรายชื่อหุ้นยั่งยืน THSI ไปใช้ในการพิจารณาคัดเลือกหุ้นที่จะลงทุน นักวิเคราะห์การลงทุนยังนำปัจจัย ESG รวมถึงรายชื่อหุ้นยั่งยืน THSI ไปใช้ในการวิเคราะห์และให้คำแนะนำแก่ผู้ลงทุนผ่านบทวิเคราะห์หลักทรัพย์อีกด้วย
ขณะที่นโยบายของตลาดหลักทรัพย์ฯ สนับสนุนให้ภาคธุรกิจดำเนินงานด้วยความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสีย โดยคำนึงถึง ESG เพื่อสร้างความเข้มแข็งและการเติบโตที่ยั่งยืน สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ตลาดหลักทรัพย์ฯ “To Make the Capital Market ‘Work’ for Everyone”
ขณะที่จำนวน 170 บริษัทในรายชื่อหุ้นยั่งยืน THSI ปีนี้แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการที่สำคัญในการเปิดเผยข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม เช่น นโยบายและเป้าหมายด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม ผลการดำเนินงานและประสิทธิภาพในการบริหารจัดการทรัพยากรไฟฟ้า พลังงาน น้ำ รวมถึงของเสียที่เกิดขึ้นจากการผลิต และผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับพนักงาน ชุมชนและสังคมผ่านกระบวนการทางธุรกิจ เป็นต้น
นอกจากนี้ บจ. ประเมินความเสี่ยงด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) โดยกำหนดนโยบายและมาตรการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างจริงจัง อย่างไรก็ดี บจ. ยังสามารถพัฒนาเพิ่มเติมให้มีกระบวนการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน เพื่อให้มั่นใจว่าจะไม่เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนตลอดห่วงโซ่อุปทาน
สำหรับรายชื่อหุ้นยั่งยืน THSI จำนวน 170 บริษัทเป็น บจ. ใน SET 157 บริษัทและ mai 13 บริษัท กลุ่มอุตสาหกรรมที่มีจำนวน บจ. ในรายชื่อหุ้นยั่งยืน THSI สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ กลุ่มบริการ 33 บริษัท กลุ่มทรัพยากร 28 บริษัท และกลุ่มอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง 27 บริษัท โดย บจ. ในรายชื่อหุ้นยั่งยืน THSI มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดรวม 14 ล้านล้านบาทหรือคิดเป็น 72% เมื่อเทียบกับมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดทั้งหมดของ SET และ mai (ณ 3 ตุลาคม 2565)
รายชื่อหุ้นยั่งยืน THSI คัดเลือกจาก บจ. ที่สมัครใจเข้าร่วมตอบแบบประเมินความยั่งยืน ซึ่งประกอบด้วยตัวชี้วัดทั่วไปสำหรับทุกบริษัทรวม 19 หมวด และตัวชี้วัดตามลักษณะการประกอบธุรกิจตาม 8 กลุ่มอุตสาหกรรม เช่น กลุ่มเกษตรและอุตสาหกรรมอาหารมีตัวชี้วัดเพิ่มเติมในการประเมินเรื่องการจัดหาวัตถุดิบอย่างรับผิดชอบและความเสี่ยงจากการใช้น้ำ
กลุ่มธุรกิจการเงินมีตัวชี้วัดเรื่องความปลอดภัยของข้อมูลและระบบสารสนเทศ การทำธุรกิจทางการเงินหรือประกันภัยอย่างรับผิดชอบ การเพิ่มโอกาสการเข้าถึงบริการทางการเงินหรือการประกันภัย ซึ่งเป็นตัวชี้วัดที่สอดคล้องกับประเด็นที่เป็นสาระสำคัญที่ผู้ลงทุนให้ความสนใจและส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขันในระยะยาวของบริษัท
สำหรับ บจ. ที่มีคะแนนจากการตอบแบบประเมินความยั่งยืนผ่าน 50% ในแต่ละมิติ (มิติเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคม) และผ่านเกณฑ์คุณสมบัติตามที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ กำหนด เช่น เป็นบริษัทที่มีผลการประเมิน CGR 3 ดาวขึ้นไป ไม่เป็นบริษัทที่ถูกกล่าวโทษหรือได้รับการตัดสินความผิดจากหน่วยงานทางการ มีผลกำไรสุทธิ 3 ใน 5 ปีย้อนหลัง เป็นต้น จะได้รับการคัดเลือกให้อยู่ในรายชื่อหุ้นยั่งยืน THSI
โดยมีคณะทำงานเพื่อการลงทุนอย่างยั่งยืน ซึ่งประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิในภาคตลาดทุน เป็นผู้กลั่นกรองให้มีความโปร่งใสตลอดกระบวนการ ทั้งนี้ รายชื่อหุ้นยั่งยืน THSI จะนำไปใช้เป็นเกณฑ์ในการคัดเลือกสมาชิกในดัชนี SETTHSI เพื่อส่งเสริมการลงทุนอย่างยั่งยืน ซึ่งตลาดหลักทรัพย์ฯ มีการทบทวนสมาชิกในดัชนี SETTHSI เป็นประจำทุกครึ่งปี