อินไซต์เศรษฐกิจ

รถ EV ยอดจดทะเบียนสะสมพุ่ง 7.1 หมื่นคัน ค่ายจีนครองตลาดไทย 80%

28 พ.ย. 66
รถ EV ยอดจดทะเบียนสะสมพุ่ง 7.1 หมื่นคัน ค่ายจีนครองตลาดไทย 80%

ทีมงาน SPOTLIGHT ได้รวบรวมสาระสำคัญหัวข้อการบรรยาย ภาพรวมตลาดรถยนต์ในประเทศไทย และรถยนต์ไฟฟ้า โดยคุณฐิตา เกานนท์ นักวิเคราะห์อาวุโส จาก SCB Economic Intelligence Center จาก งาน Priceza Money Forum 2023 Thailand Car insurance landscape

25661127-o_o03295(1)

istock-1267477828

ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EIC) ได้วิเคราะห์ ภาพรวมตลาดรถยนต์ในประเทศไทย และรถยนต์ไฟฟ้า ในปี 66 โดยมีหัวข้อที่น่าสนใจดังนี้

ประเทศไทย ผู้ผลิตรถยนต์เบอร์ 1 ในอาเซียน 

อุตสาหกรรมยานยนต์มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยโดยอุตสหากรรมยานยนต์ ทั้งกิจกรรมการผลิต การค้า และการบริการมีสัดส่วนสูงถึง 13% ของ GDP ของประเทศ และยังเป็นแหล่งจ้างงานหลักที่มีแรงงานกระจุกตัวถึง 1 ล้านคันจากจำนวนสถานประกอบการกว่า 1.8 แสนแห่งทั่วโลก

ปัจจุบันประเทศไทย นับเป็นผู้ผลิตรถยนต์อันดับ 1 ของอาเซียน และเป็นอันดับ 10 ของโลก โดยในปี 65 ไทยผลิตรถยนต์สูงสุดถึง 1.9 ล้านคัน ซึ่งคู่ค้าที่สำคัญของประเทศไทย ได้แก่ ประเทศในอาเซียน ออสเตรเลีย สหรัฐ และ ญี่ปุ่น 

คนไทยยังคงนิยมรถสันดาปมากที่สุด

จากข้อมูลพบว่า ที่ผ่านมาคนไทยยังคงนิยมซื้อรถยนต์สันดาปมากที่สุดอยู่ แต่อย่างไรก็ตามด้วยกระแสนิยมรถยนต์ไฟฟ้าที่เพิ่มสูงมากขึ้น มีส่วนทำให้ส่วนแบ่งตลาดของค่ายรถญี่ปุ่น ที่ยังมีการจำหน่ายรถยนต์สันดาปปรับตัวลดลง. สวนทางกับค่ายจีนที่เน้นไปที่ตลาดรถยนต์ไฟฟ้าส่งขายทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย ทำให้ค่ายรถจากจีนมีสถิติที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ 

ยอดจะทะเบียนรถยนต์นั่งปี 65 (ในช่วงเดือน ม.ค.- ก.ย 66)

-ค่ายญี่ปุ่น 82.9% ลดลงเหลือ 74.7%

-ค่ายจีน6.7% เพิ่มขึ้นเป็น 11.9%

-ค่ายยุโรป 5.7% เพิ่มขึ้นเป็น 5.8%

-ค่ายสหรัฐ4.7% เพิ่มขึ้นเป็น 7.4%

-อื่นๆ 0.3%

screenshot2023-11-28004759

ยอดขายรถสันดาปหดลงกว่า -7.4% ในปี 66

ภาพรวมการออกรถยนต์ใหม่ของประเทศไทยหดตัวต่อเนื่องในปี 66 เมื่อเปรียบเทียบ 9 เดือนแรกของปี 66 และ ปี 65 จะเห็นได้ว่าในปี 66 อัตราการออกรถยนต์ใหม่หดตัวลงถึง -7.4% (หรือ 5.89 แสนคัน) โดยเฉพาะในกลุ่มรถ Pick-up หรือ กระบะ มีอัตราการออกรถยนต์ลดลงมากถึง -15.2% (หรือ 3.67 แสนคัน)ในขณะที่รถซีดานอยู่ที่ +9.4% (หรือ 2.20 แสนคัน)

นอกจากนี้ ตลาดรถยนต์ยังคงซบเซาในภูมิภาคที่พึ่งพารายได้จากภาคเกษตรกรรมเป็นหลัก ขณะที่ยอดขายในพื้นที่ท่องเที่ยวและเขตอุตสาหกรรมยังขยายตัวได้

ยอดจดทะเบียนรถยนต์นั่ง (รย.1) ในประเทศไทย

-ภาคเหนือ 11.9%

-ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ -7.9%

-ภาคตะวันออก4.5%

-กรุงเทพและปริมณฑล 6.2%

-ภาคใต้ 8.7 %

-ภาคกลาง -4.9%

อย่างไรก็ตาม SCB EIC ยังได้คาดการณ์ว่าในปี 67 ตลาดรถยนต์น่าจะฟื้นตัวช้า โดยอาจมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นเพียง 1.8% จากปี 66 เท่านั้น

4 ปัจจัยที่กระทบต่ออุปสงค์ของการออกรถใหม่

  1.   รายได้ของเกษตรกรชลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง

  2.   หนี้ครัวเรือนอยู่ในระดับสูง

  3.   ต้นทุนการกู้ยืมและภาระดอกเบี้ยปรับเพิ่มขึ้น

  4.   การปล่อยสินเชื่อรถยนต์มีความเข้มงวดขึ้น เพราะอัตราหนี้เสียเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

screenshot2023-11-28004851

ค่ายรถEV จีน ครองตลาดไทย 80%

ในฝั่งของตลาดรถยนต์ EV กลับสวนทางกับออกรถยนต์ใหม่ในภาพรวม เติบโตกว่า +527.3% ทำให้ ยอดจะทะเบียนสะสม BEVสะสมในประเทศไทย (ตั้งแต่ปี 61) มีจำนวน 7.1 หมื่นคัน (คิดเป็น 1.9% ของรถยนต์นั่งทุกประเภท)

โดยในปี 66 รถยนต์ EV เพิ่มจำนวนขึ้นทำให้มีอัตราส่วนเกือบ 1 ใน 4 จากรถยนต์ใหม่ทั้งหมด พร้อมทั้งส่งผลให้ส่วนแบ่งการตลาดของแบรนด์รถยนต์ญี่ปุ่นปรับลดลง ถูกแทนที่ด้วยรถยนต์ EV แบรนด์จีนเพิ่มมากขึ้น โดยค่ายรถยนต์จีน ครองส่วนแบ่งในตลาดสูงถึง 80% และ คนไทยนิยมซื้อรถ BEV ที่มีระดับราคาอยู่ในช่วง 5 แสน – 1 ล้านบาท  (ซึ่งครองส่วนแบ่งตลาด EV ราว 50% ของยอดขายปี 65– ก.ย. 66)

นอกจากนี้ SCB EIC คาดว่ากระแสรถยนต์ EV มีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง และจะครองส่วนแบ่งการตลาดเกือบ 30% ในตลาดรถยนต์นั่งภายในปี 67

 screenshot2023-11-28004712

ที่มา : Pricezamoney 

 

 

advertisement

Relate Post

SPOTLIGHT