ฝ่ายธุรกิจตลาดเงินและธุรกรรมระหว่างประเทศ ทีเอ็มบีธนชาต (ttb) เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด 33.36 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าจากราคาปิดตลาดเมื่อวานที่ระดับ 33.30 บาท/ดอลลาร์
สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับมาตรการภาษีศุลกากรของสหรัฐฯ ได้สั่นคลอนความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่มีต่อดอลลาร์ในฐานะสกุลเงินปลอดภัย นอกจากนี้กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ตัวเลขการเริ่มต้นสร้างบ้านลดลง 11.4% สู่ระดับ 1.324 ล้านยูนิตในเดือน มี.ค. และต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 1.420 ล้านยูนิต
เมื่อวานนี้ นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิในตลาดพันธบัตรไทย 18578 ล้านบาท และ ขายสุทธิในตลาดหุ้นไทย 223 ล้านบาท
*แนะนำ ซื้อ 33.20/ ขาย 33.40
* แนะนำ ซื้อ 37.70 / ขาย 38.20
* แนะนำ ซื้อ 0.2300/ ขาย 0.2350
ฝ่ายธุรกิจตลาดเงินและธุรกรรมระหว่างประเทศ ทีเอ็มบีธนชาต (ttb) เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด 33.15 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับราคาปิดตลาดเมื่อวานที่ระดับ 33.26 บาท/ดอลลาร์
ดอลลาร์อ่อนค่าเทียบสกุลเงินหลัก ขณะที่นักลงทุนยังคงเทเขายสินทรัพย์สหรัฐ ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับการเรียกเก็บภาษีศุลกากรของสหรัฐ ซึ่งลดทอนความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่มีต่อดอลลาร์ในฐานะสกุลเงินปลอดภัย
ขณะที่ เจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) แสดงความกังวลต่อความไม่แน่นอนจากผลกระทบจากการเรียกเก็บภาษีศุลกากรของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ซึ่งอาจทำให้เฟดตกที่นั่งลำบากระหว่างการใช้นโยบายควบคุมเงินเฟ้อและการกระตุ้นเศรษฐกิจ
ปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ สถานการณ์ของสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน ราคาทองคำในตลาดโลก ตัวเลขดัชนีชี้วัดสำคัญต่าง ๆ รวมถึงผลการประชุมธนาคารกลางยุโรป (ECB) และการประชุม MPC ของธนาคารแห่งประเทศไทยในวันที่ 30 เม.ย.นี้
เมื่อวานนี้ นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิในตลาดพันธบัตรไทย 13,145 ล้านบาท และซื้อสุทธิในตลาดหุ้นไทย 655 ล้านบาท
*แนะนำ ซื้อ 33.00 / ขาย 33.40
ฝ่ายธุรกิจตลาดเงินและธุรกรรมระหว่างประเทศ ทีเอ็มบีธนชาต (ttb) เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด 33.45 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าเมื่อเทียบกับราคาปิดตลาดเมื่อวันศุกร์ที่ระดับ 33.58 บาท/ดอลลาร์
ดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลงท่ามกลางความระมัดระวังของนักลงทุนต่อสินทรัพย์สหรัฐฯ ทำให้นักลงทุนพยายามหลีกเลี่ยงความเสี่ยงจากดอลลาร์ โดยโยกเงินไปที่สกุลเงินอื่น ๆ หลังจากประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ มีคำสั่งเกี่ยวกับภาษีนำเข้าที่มีการเปลี่ยนแปลงหลายครั้ง
ทั้งนี้ ตลาดยังคงจับตาความเคลื่อนไหวของนโยบายภาษีที่ผันผวนตลอดเวลา โดยเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ทำเนียบขาวเพิ่งประกาศยกเว้นภาษีสำหรับสมาร์ตโฟน คอมพิวเตอร์ และสินค้าอิเล็กทรอนิกส์บางรายการที่นำเข้าจากจีนเป็นหลัก แต่ทรัมป์ก็กล่าวว่า การยกเว้นนี้จะเป็นเพียงระยะสั้นเท่านั้น
ในวันนี้นักลงทุนติดตามการกล่าวสุนทรพจน์ของเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ในงานเสวนาว่าด้วยแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐ ซึ่งจัดโดยสมาคมเศรษฐกิจแห่งชิคาโก เวลา 13.30 น. ตามเวลาสหรัฐฯ เพื่อหาสัญญาณบ่งชี้แนวโน้มเศรษฐกิจและทิศทางอัตราดอกเบี้ย ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบจากมาตรการภาษีศุลกากรของประธานาธิบดีทรัมป์
สัปดาห์นี้ปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ สถานการณ์ของสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน ทิศทางค่าเงินหยวนและราคาทองคำในตลาดโลก สัญญาณฟันด์โฟลว์ของต่างชาติ ถ้อยแถลงของเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) รวมถึงผลการประชุมธนาคารกลางยุโรป (ECB)
ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ยอดค้าปลีก ตัวเลขการเริ่มสร้างบ้านเดือน มี.ค. ผลสำรวจภาคการผลิตของเฟดสาขานิวยอร์กและเฟดสาขาฟิลาเดลเฟียเดือน เม.ย. และตัวเลขจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์
เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมานักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิในตลาดพันธบัตรไทย 1,995 ล้านบาท และขายสุทธิในตลาดหุ้นไทย 1,140 ล้านบาท
*แนะนำ ซื้อ 33.30 / ขาย 33.60
* แนะนำ ซื้อ 37.65 / ขาย 38.15
* แนะนำ ซื้อ 0.2325 / ขาย 0.2365
ฝ่ายธุรกิจตลาดเงินและธุรกรรมระหว่างประเทศ ทีเอ็มบีธนชาต (ttb) เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด 33.85 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าขึ้นจากราคาปิดตลาดเมื่อวานที่ระดับ 34.25 บาท/ดอลลาร์
ค่าเงินบาทกลับมาแข็งค่าอย่างรวดเร็ว ซึ่งปัจจัยสำคัญคือการปรับขึ้นของราคาทองคำซึ่งสามารถปรับตัวขึ้นต่อเนื่องทะลุระดับ 3,200 ดอลลาร์/ออนซ์ หลังมีการปรับตัวขึ้นราว 3.34% ในวันก่อนหน้า แม้ประธานาธิบดีสหรัฐ ประกาศเลื่อนการปรับขึ้นอัตราภาษี นําเข้าเพื่อการตอบโต้ (Reciprocal tariffs) ที่สูงกว่าระดับ 10 % อย่างไรก็ตาม แทบทุกประเทศยังถูกปรับขึ้นด้วยอัตรา 10 % ขณะที่จีนถูกปรับอัตราการปรับขึ้นสู่ระดับ 125 % จากเดิมที่ 104 % สถานการณ์เช่นนี้บ่งชี้ถึงสถานการณ์สงครามการค้าที่ยังคงครุกรุ่นกระตุ้นการเข้าถือครองสินทรัพย์ปลอดภัย จากความตึงเครียดที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะในตลาดพันธบัตรของสหรัฐ.
อัตราเงินเฟ้อสหรัฐฯ เดือนมีนาคมลดลงต่ำกว่าคาดการณ์ โดยสำนักสถิติแรงงานสหรัฐฯ รายงานว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ปรับลดลง 0.1% ในเดือนมี.ค. ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อรายปีอยู่ที่ 2.4% ต่ำกว่าที่คาดไว้ ขณะที่เงินเฟ้อพื้นฐาน (ไม่รวมอาหารและพลังงาน) อยู่ที่ 2.8% ซึ่งต่ำสุดนับตั้งแต่ มี.ค. 2021
สำหรับแนวโน้มค่าเงินบาทวันนี้ คาดว่าเงินบาทจะมีกรอบการเคลื่อนไหวที่ 33.75-34.10 บาท/ดอลลาร์ฯ เมื่อวานนี้ นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิในตลาดพันธบัตร 469 ล้านบาท และซื้อสุทธิในตลาดหุ้นไทย 958 ล้านบาท
*แนะนำ ทยอยซื้อที่ระดับ 33.75
* แนะนำ ทยอยขายที่ระดับ 38.20
* แนะนำ ทยอยซื้อ 0.2330
ฝ่ายธุรกิจตลาดเงินและธุรกรรมระหว่างประเทศ ทีเอ็มบีธนชาต (ttb) เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด 34.15 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจากราคาปิดตลาดเมื่อวานที่ระดับ 34.57 บาท/ดอลลาร์
ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก หลังประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ผู้นำสหรัฐฯ ประกาศระงับการบังคับใช้มาตรการเรียกเก็บภาษีศุลกากรตอบโต้ (Reciprocal Tariff) เป็นเวลา 90 วัน และมีผลบังคับใช้ในทันที โดยปธน.ทรัมป์เปิดเผยถึงสาเหตุของการระงับภาษีดังกล่าวว่า มาจากการที่ประเทศต่าง ๆ มากกว่า 75 ประเทศได้ติดต่อมายังเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ เพื่อเจรจาหาทางออกและคลี่คลายความวิตกกังวลด้านการค้า ซึ่งช่วยให้นักลงทุนคลายความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดจากนโยบายการค้าของสหรัฐฯ และการแถลงล่าสุดนี้ ปธน.ทรัมป์ประกาศเพิ่มการเรียกเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากจีนเป็น 125% จากเดิม 104% โดยมีผลบังคับใช้ในทันที เพื่อตอบโต้จีนที่เพิ่มการเรียกเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากสหรัฐฯ เป็น 84% จากเดิม 34% โดยมีผลบังคับใช้ในวันนี้
ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) เปิดเผยรายงานการประชุมประจำวันที่ 18-19 มี.ค. โดยระบุว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ มีความเสี่ยงที่จะเผชิญกับภาวะเงินเฟ้อสูงและเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง
จับตาการเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ประจำเดือนมี.ค.ของสหรัฐฯ ในวันนี้ เพื่อหาสัญญาณแนวโน้มเงินเฟ้อ รวมทั้งรายงานผลประกอบการของธนาคารรายใหญ่ในสหรัฐฯ โดยเจพีมอร์แกน (JPMorgan), มอร์แกน สแตนลีย์ (Morgan Stanley) และเวลส์ ฟาร์โก (Wells Fargo) จะรายงานผลประกอบการในสัปดาห์นี้
สำหรับสถานะพอร์ตการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติเมื่อวานนี้ ซื้อสุทธิหุ้นไทย 410 ล้านบาท และขายสุทธิพันธบัตรไทย 1,042 ล้านบาท
*แนะนำ ทยอยซื้อที่ 34.00/ขาย 34.50
* แนะนำ ซื้อ 37.20/ ขาย 37.60
* แนะนำ ซื้อ 0.2300/ ขาย 0.2350
ฝ่ายธุรกิจตลาดเงินและธุรกรรมระหว่างประเทศ ทีเอ็มบีธนชาต (ttb) เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด 34.95 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าจากราคาปิดตลาดเมื่อวานที่ระดับ 34.83 บาท/ดอลลาร์
เช้านี้ค่าเงินบาทอ่อนค่าเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ ตามการปรับตัวลดลงของราคาทองคำโลกที่ปรับตัวลงต่ำกว่าระดับ 3,000 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก โดยนักลงทุนยังคงมีความวิตกกังวลว่ามาตรการภาษีศุลกากรของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ผู้นำสหรัฐฯ จะส่งผลให้เกิดสงครามการค้าและทำให้เศรษฐกิจทั่วโลกเข้าสู่ภาวะถดถอย
นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ทำเนียบขาวยืนยันว่า สหรัฐฯ จะเรียกเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากจีนในอัตรา 104% ในวันพุธที่ 9 เม.ย. เวลา 00.01 น.ตามเวลาสหรัฐฯ หรือตรงกับเวลา 11.01 น.ตามเวลาไทย โดยก่อนหน้านี้ ประธานาธิบดีทรัมป์ให้เวลารัฐบาลจีนจนถึงวันอังคารที่ 8 เม.ย.ในการยกเลิกมาตรการเรียกเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากสหรัฐฯ ในอัตรา 34% มิฉะนั้นจีนจะถูกสหรัฐฯ เรียกเก็บภาษีเพิ่มเติมอีก 50% ซึ่งจะทำให้จีนถูกเรียกเก็บภาษีรวมสูงถึง 104%
นักลงทุนจับตารายงานการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ในวันพุธ (9 เม.ย.) เพื่อหาสัญญาณบ่งชี้ทิศทางอัตราดอกเบี้ย รวมทั้งจับตาข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐฯ ในสัปดาห์นี้ ซึ่งรวมถึงดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือน มี.ค., ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือน มี.ค.
สำหรับสถานะพอร์ตการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติ เมื่อวานนี้นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิหุ้นไทย 2,475.94 ล้านบาท และซื้อสุทธิพันธบัตรไทย 4,100 ล้านบาท
*แนะนำ ทยอยซื้อที่ 34.80/ขาย 35.10
* แนะนำ ซื้อ 38.10 / ขาย 38.70
* แนะนำ ซื้อ 0.2370 / ขาย 0.2420
ฝ่ายธุรกิจตลาดเงินและธุรกรรมระหว่างประเทศ ทีเอ็มบีธนชาต (ttb) เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด 34.70 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าเมื่อเทียบกับราคาปิดตลาดเมื่อวันศุกร์ที่ระดับ 34.20 บาท/ดอลลาร์
ดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ หลังจากนักลงทุนซื้อสกุลเงินปลอดภัย ท่ามกลางความวิตกกังวลว่ามาตรการภาษีศุลกากรของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ผู้นำสหรัฐฯ จะส่งผลให้เกิดสงครามการค้าและทำให้เศรษฐกิจทั่วโลกเข้าสู่ภาวะถดถอย
โกลด์แมน แซคส์ (Goldman Sachs) ระบุว่า มีโอกาส 45% ที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ จะเข้าสู่ภาวะถดถอยในอีก 12 เดือนข้างหน้า ขณะที่เจพีมอร์แกน (JPMorgan) คาดการณ์ว่ามีโอกาส 60% ที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ และเศรษฐกิจโลกจะเข้าสู่ภาวะถดถอย
นอกจากนี้จีนยังได้ดำเนินการตอบโต้ ด้วยการประกาศเก็บภาษีนำเข้าสินค้าทั้งหมดจากสหรัฐฯเพิ่มอีก 34% โดยจะมีผลตั้งแต่วันที่ 10 เม.ย. ซึ่งยิ่งเพิ่มความกังวลเรื่องภาวะเศรษฐกิจถดถอย และเป็นปัจจัยฉุดตลาดหุ้นทั่วโลกร่วงลงอย่างหนัก
ทางด้านสหภาพยุโรป (EU) ก็ได้ขู่ตอบโต้สหรัฐเช่นกัน หากการเจรจาเพื่อลดอัตราภาษีประสบความล้มเหลว
นักลงทุนจับตาการแสดงความเห็นของเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) และข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐฯ ในสัปดาห์นี้ ซึ่งรวมถึงดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือน มี.ค., ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือน มี.ค., ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคขั้นต้นเดือนเม.ย.จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์
เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมานักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิในตลาดพันธบัตรไทย 1,580 ล้านบาท และขายสุทธิในตลาดหุ้นไทย 6,399 ล้านบาท
*แนะนำ ซื้อ 34.55 / ขาย 34.85
* แนะนำ ซื้อ 37.70 / ขาย 38.20
* แนะนำ ซื้อ 0.2330 / ขาย 0.2370
ฝ่ายธุรกิจตลาดเงินและธุรกรรมระหว่างประเทศ ทีเอ็มบีธนชาต (ttb) เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด 34.25 บาท/ดอลลาร์ ใกล้เคียงกับราคาปิดตลาดเมื่อวานที่ระดับ 34.27 บาท/ดอลลาร์
ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวอ่อนค่าอย่างรวดเร็วหลังรัฐบาลสหรัฐ ได้ประกาศมาตรการภาษีนำเข้าตอบโต้ (Reciprocal Tariff) ในสินค้านำเข้าจากประเทศไทย ที่จะถูกเรียกเก็บภาษีในอัตราที่สูงถึง 37% ซึ่งการประกาศมาตรการภาษีนำเข้าดังกล่าวนั้นสูงกว่าที่ตลาดได้ประเมินไว้พอสมควร กดดันให้บรรยากาศในตลาดการเงินอยู่ในภาวะปิดรับความเสี่ยงสินทรัพย์และราคาทองคําสปอตแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ $3,165 ต่อออนซ์
ทั้งนี้จีนได้รับผลกระทบมากที่สุดจากการเคลื่อนไหวครั้งนี้ โดยภาษีทั้งหมดที่เก็บจากจีน นับตั้งแต่การเข้ารับตําแหน่งของทรัมป์ ตอนนี้รวมเป็น 54% ขณะที่สหภาพยุโรปจะเผชิญกับภาษี 20% ในขณะที่เวียดนาม ไต้หวัน ญี่ปุ่น และอินเดียถูกเรียกเก็บภาษีระหว่าง 24% ถึง 46% โดยในส่วนของภาษีพื้นฐาน 10%จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 5 เมษายน ในขณะที่ภาษีตอบโต้จะเริ่มในวันที่ 9 เมษายน ซึ่งตลาดคงต้องจับตามองต่อไปถึงมาตรการตอบโต้ทางภาษีของประเทศต่างๆ โดยเฉพาะจากทางการจีนรวมถึงการเจรจาที่อาจจะเกิดขึ้น.
สำหรับแนวโน้มค่าเงินบาทวันนี้ คาดว่าเงินบาทจะมีกรอบการเคลื่อนไหวที่ 34.20-34.50 บาทต่อดอลลาร์ฯ
เมื่อวานนักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิในตลาดพันธบัตร 3,835 ล้านบาท และขายสุทธิในตลาดหุ้นไทย 2,100 ล้านบาท
*แนะนำ ทยอยขายที่ระดับ 34.50
* แนะนำ ทยอยขายที่ระดับ 38.10
* แนะนำ ทยอยซื้อ 0.2330
นางสาวชญาวดี ชัยอนันต์ ผู้ช่วยผู้ว่าการสายองค์กรสัมพันธ์ และโฆษกธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า จากการที่สหรัฐฯ ได้ออกแถลงการณ์มาตรการขึ้นภาษีตอบโต้ของสหรัฐฯ (Reciprocal Tariffs) ต่อไทยที่อัตราร้อยละ 37 โดยจะมีผลตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน 2568 นั้น เป็นอัตราที่สูงกว่าที่คาดไว้ โดยหลังแถลงการณ์ดังกล่าว ความผันผวนในตลาดการเงินปรับสูงขึ้น ส่งผลให้ราคาสินทรัพย์เสี่ยงปรับลดลง ทั้งในหลักทรัพย์และค่าเงินของกลุ่มประเทศเกิดใหม่ที่ถูกกระทบจากการประกาศขึ้นภาษี ขณะที่ราคาสินทรัพย์ปลอดภัย อาทิ ทองคำ ปรับเพิ่มขึ้น โดยช่วงปิดตลาดเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2568 ค่าเงินบาทปรับอ่อนลง 0.28% จากวันก่อนหน้า มาอยู่ที่ 34.26 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยโดยรวมปรับลดลงประมาณ 0.05% โดยพันธบัตรระยะ 10 ปีอยู่ที่ 1.89% สำหรับความเสี่ยงด้านเครดิตของไทยสะท้อนผ่าน credit default swaps ปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ทั้งนี้ การเปลี่ยนแปลงของราคาสินทรัพย์ไทยโดยรวมเป็นไปในทิศทางเดียวกับประเทศในภูมิภาค
ธปท. อยู่ระหว่างการประเมินผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย ซึ่งต้องคำนึงถึงปัจจัยและช่องทางต่าง ๆ ที่ผลของมาตรการจะถูกส่งผ่านมายังภาคเศรษฐกิจให้ครบถ้วน โดย ธปท. จะติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และพร้อมดูแลความผันผวนในตลาดการเงินเพื่อลดผลกระทบต่อภาคธุรกิจและเสถียรภาพระบบการเงินโดยรวม
ฝ่ายธุรกิจตลาดเงินและธุรกรรมระหว่างประเทศ ทีเอ็มบีธนชาต (ttb) เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด 34.32 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าจากราคาปิดตลาดเมื่อวานที่ระดับ 34.18 บาท/ดอลลาร์
ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ขณะที่นักลงทุนจับตาการประกาศมาตรการภาษีศุลกากรของสหรัฐฯ และการกล่าวสุนทรพจน์ของเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ในสัปดาห์นี้ นอกจากนี้นักลงทุนรอดูการเปิดเผยตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรประจำเดือนมี.ค.ของสหรัฐฯ ในวันศุกร์นี้ ขณะที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า ตัวเลขจ้างงานจะเพิ่มขึ้นเพียง 139,000 ตำแหน่งในเดือน มี.ค. หลังจากเพิ่มขึ้น 151,000 ตำแหน่งในเดือน ก.พ. และคาดว่าอัตราว่างงานจะทรงตัวที่ระดับ 4.1% ในเดือนมี.ค.
เมื่อวานนี้ นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิในตลาดพันธบัตรไทย 3,129 ล้านบาท และ ซื้อสุทธิในตลาดหุ้นไทย 1,565 ล้านบาท
*แนะนำ ซื้อ 34.10/ ขาย 34.40
* แนะนำ ซื้อ 37.20 / ขาย 37.70
* แนะนำ ซื้อ 0.2300/ ขาย 0.2350
ฝ่ายธุรกิจตลาดเงินและธุรกรรมระหว่างประเทศ ทีเอ็มบีธนชาต (ttb) เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด 34.20 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าเทียบกับราคาปิดตลาดเมื่อวานที่ระดับ 34.16 บาท/ดอลลาร์
ดอลลาร์แข็งค่าเทียบสกุลเงินหลัก นักลงทุนจับตาตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐ ขณะที่ตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี ร่วงลงหลุดระดับ 4.2% ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับการทำสงครามการค้าของสหรัฐ ก่อนที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ จะประกาศเรียกเก็บภาษีศุลกากรตอบโต้ (reciprocal tariff) ในวันที่ 2 เม.ย.ต่อทุกประเทศทั่วโลก
ปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ สุนทรพจน์ของนายเจอโรม พาวเวล ในการประชุมประจำปีของ Society for Advancing Business Editing and Writing (SABEW) ในวันศุกร์ที่ 4 เม.ย
สถานะพอร์ตการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติ เมื่อวานนี้นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิหุ้นไทย 1,450 ล้านบาท และซื้อสุทธิตลาดพันธบัตรไทย 1,259 ล้านบาท
*แนะนำ ทยอยซื้อที่ 34.10/ ขาย 34.40
ฝ่ายธุรกิจตลาดเงินและธุรกรรมระหว่างประเทศ ทีเอ็มบีธนชาต (ttb) เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด 33.97 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าเมื่อเทียบกับราคาปิดตลาดเมื่อวานที่ระดับ 33.92 บาท/ดอลลาร์
ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเล็กน้อยเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักโดยมีตัวเลขเงินเฟ้อ Core PCE ของสหรัฐ ที่รายงานออกมาทำให้เป็นปัจจัยสะท้อนภาพเงินเฟ้อสหรัฐมีการปรับตัวขึ้น รวมทั้งการเดินหน้ามาตรการภาษีตอบโต้ที่จะมีการประกาศออกมาในวันที่ 2 เม. ย. นอกจากนี้นายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีกำหนดกล่าวสุนทรพจน์ว่าด้วยแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐในวันที่ 4 เมษายนนี้
ปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ ราคาทองคำและนโยบายกำแพงภาษีที่รัฐบาลสหรัฐจะประกาศในวันที่ 2 เม.ย.นี้ ว่าจะมีผลบังคับใช้กับประเทศคู่ค้าใดบ้าง ส่วนปลายสัปดาห์ ตลาดรอดูตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตร เดือน มี.ค.ของสหรัฐนักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า ตัวเลขจ้างงานเพิ่มขึ้นเพียง 139,000 ตำแหน่งในเดือน มี.ค. หลังจากเพิ่มขึ้น 151,000 ตำแหน่งในเดือน ก.พ.
สถานะพอร์ตการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติ เมื่อวานนี้นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิหุ้นไทย 1,487 ล้านบาท และซื้อสุทธิตลาดพันธบัตรไทย 5,195 ล้านบาท
*แนะนำ ทยอยซื้อที่ 33.70/ ขาย 34.20
* แนะนำ ซื้อ 36.50/ ขาย 36.90
* แนะนำ ซื้อ 0.2250 / ขาย 0.2300