หลังจากมีข่าว SCG หรือ บมจ.ปูนซิเมนต์ไทย ได้ปรับโครงสร้างธุรกิจโดยให้ SCG Decor ตั้งโต๊ะรับซื้อหุ้น COTTO ในราคา 2.40 บาทต่อหุ้น เพื่อยุบรวมบริษัท และนำ SCG Decor เข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้นไทยแทน COTTO ภายในปีนี้ หรือ ต้นปี 2567 กระบวนเข้าจดทะเบียนเป็นอย่างไร และการผนึกกำลังกันของ SCG Decor X COTTO ทำให้เพิ่มศักยภาพของธุรกืจมากแค่ไหน SPOTLIGHT สรุปมาให้
SCG Decor X COTTO บ้านหลังใหม่ที่ใหญ่กว่าเดิม
SCG Decor ถือว่าเป็นการผนึกกำลังกันของ 5 ธุรกิจ คือ COTTO ธุรกิจเซรามิก, WARE ธุรกิจสุขภัณฑ์, PRIME MARIWASA KIA ธุรกิจเซรามิก และ NSP เป็นธุรกิจยิปซัม ซึ่งส่งผลให้ในแง่การผลิต ขนาดของตลาด มูลค่าสินทรัพย์ รายได้ และกำไร ที่จะขยายตัวมากขึ้นหลายเท่าตัว
นายนำพล มลิชัย กรรมการผู้จัดการ บริษัทเอสซีจี เซรามิกส์ จำกัด (มหาชน) หรือ COTTO และประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เอสซีจี เดคคอร์ จำกัด หรือ SCG Decor เปิดเผยว่า SCG Decor เป็นบริษัทแกนหลักของ เอสซีจี ในการประกอบธุรกิจตกแต่งพื้นผิวและสุขภัณฑ์ (Decor Surfaces & Bathroom) พร้อมช่องทางจัดจำหน่ายทั่วทั้งภูมิภาคอาเซียน
การผนึกรวมกำลังกันทำให้ SCG Decor ขยายใหญ่มากยิ่งขึ้น โดยมีรายได้จากการขาย ปี 2563 ที่ 24,378.6 ล้านบาท ปี 2564 ที่ 25,937.4 ล้านบาท และปี 2565 ที่ 30,253.8 ล้านบาท ถือว่าเพิ่มขึ้นจาก ร้อยละ 6.4 เป็น 16.6
ในแง่การส่งออก ปี 2565 ส่งออกสินค้าไปสู่ตลาดในอาเซียน เช่น กัมพูชา ลาว พม่า และประเทศอื่น ๆ รวมกว่า 53 ประเทศ มีรายได้จากการส่งออกกว่า 4,500 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 15.0 ของรายได้รวม
โดยกลุ่มบริษัทย่อยที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย ประเทศเวียดนาม ประเทศฟิลิปปินส์ และประเทศอินโดนีเซีย ได้แก่
1.บริษัท เอสซีจี เซรามิกส์ จำกัด (มหาชน) หรือ COTTO ดำเนินธุรกิจผลิตและจำหน่ายกระเบื้องปูพื้นและบุผนังในประเทศไทย มียอดขายกระเบื้องเซรามิกเป็นอันดับ 1 ในประเทศ ด้วยส่วนแบ่งการตลาด ร้อยละ 33.0
2.บริษัท สยามซานิทารีแวร์ จำกัด (SSW) ดำเนินธุรกิจผลิตและจำหน่ายสุขภัณฑ์ในประเทศไทยและส่งออกไปต่างประเทศ มียอดขายสุขภัณฑ์เป็นอันดับ 1 ในประเทศ ด้วยส่วนแบ่งการตลาดร้อยละ 32.8
3.Prime Group ดำเนินธุรกิจผลิตและจำหน่ายกระเบื้องปูพื้นและบุผนังในประเทศเวียดนาม มียอดขายเป็นอันดับ 1 ในประเทศ ด้วยส่วนแบ่งการตลาดร้อยละ 26.4
4.บริษัท Mariwasa-Siam Ceramics, Inc (MSC) ดำเนินธุรกิจผลิตและจำหน่ายกระเบื้องปูพื้นและบุผนังในประเทศฟิลิปปินส์ มียอดขายเป็นอันดับ 1 ในประเทศ ด้วยส่วนแบ่งการตลาดร้อยละ 16.8
5.PT Keramika Indonesia Assosiasi, Tbk (KIA) ดำเนินธุรกิจผลิตและจำหน่ายกระเบื้องปูพื้นและบุผนังในประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งมีประชากร 274 ล้านคน สูงที่สุดในภูมิภาคอาเซียน
นายสมิทธิ โกสีย์เจริญ ประธานเจ้าหน้าที่สายงานการเงิน บริษัทเอสซีจี เดคคอร์ จำกัด กล่าวว่า “อุตสาหกรรมกระเบื้องเซรามิก และอุตสาหกรรมสุขภัณฑ์ ทั้งในประเทศไทย รวมถึงเวียดนาม ฟิลิปปินส์ และ อินโดนีเซีย เป็นตลาดที่มีศักยภาพสูง รองรับประชากรเกือบ 560 ล้านคน มีมูลค่าตลาดกระเบื้องปูพื้น บุผนัง และสุขภัณฑ์ รวมกันกว่า 1.9 แสนล้านบาท จึงเป็นโอกาสที่ SCG Decor จะขยายธุรกิจและเติบโตต่อไปในอาเซียนได้อีก”
ทั้งนี้ อัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปี (CAGR) ปี 2565-2569 ของ ตลาดกระเบื้องเซรามิกในประเทศไทยเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 1.2 ขณะที่ตลาดในไทย รวม เวียดนาม ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย เติบโตเฉลี่ยร้อยละ 7.1 ส่วนตลาดสุขภัณฑ์ในประเทศไทยเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 2.1 เทียบกับรวม 3 ประเทศข้างต้น เติบโตเฉลี่ยต่อปี ร้อยละ 8.6 (อ้างอิงจาก Euromonitor ปี 2564)
ไทม์ไลน์การนำ SCG Deco เข้าจดทะเบีบนในตลาดหุ้น แทน COTTO
การปรับโครงสร้างธุรกิจครั้งนี้ จะส่งผลดีต่อผู้ถือหุ้นของ COTTO ที่เปลี่ยนเป็นผู้ถือหุ้นของ SCG Decor คือ ยกระดับเป็น “ผู้ถือหุ้นของบริษัทที่ประกอบธุรกิจตกแต่งพื้นผิวและธุรกิจสุขภัณฑ์ชั้นนำระดับอาเซียน” และยังคงสถานะเป็น “ผู้ถือหุ้นทางอ้อมของ COTTO และบริษัทในกลุ่ม SCG Decor
นายนำพล กล่าวสรุปเพิ่มเติมว่า “บริษัท ฯ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้รับการสนับสนุน และได้รับการอนุมัติอย่างเป็นเอกฉันท์จากผู้ถือหุ้น COTTO ในปัจจุบัน รวมถึงมอบความไว้วางใจตอบรับคำเสนอซื้อในครั้งนี้ ด้วยการแลกหุ้นและกลายเป็นผู้ถือหุ้นของ SCG Decor ต่อไป พร้อมทั้งขอเรียนเชิญผู้ถือหุ้นและนักลงทุนทุกท่าน ร่วมเป็นพลังสำคัญในการนำ SCG Decor สยายปีกสู่การเป็นผู้นำธุรกิจตกแต่งพื้นผิวและสุขภัณฑ์ครบวงจรในอาเซียน”
5 กลยุทธ์ SCG Decor เติบโตสู่ผู้นำธุรกิจตกแต่งพื้นผิวและสุขภัณฑ์ครบวงจรในอาเซียน ได้แก่