ความยั่งยืน

ถอดปาฐกถาพิเศษ นายกเศรษฐา ความสำเร็จของไทยสู่เป้าหมาย ‘Net Zero’

7 ต.ค. 66
ถอดปาฐกถาพิเศษ นายกเศรษฐา ความสำเร็จของไทยสู่เป้าหมาย  ‘Net Zero’
ไฮไลท์ Highlight
  “เราต้องใช้โอกาสนี้ให้เต็มที่ ในการทรานสฟอร์มประเทศไทย ไปสู่ความสมดุลและยั่งยืน นี่คือเวลาที่เราจะเปลี่ยนกรอบความคิด พฤติกรรม ทั้งการผลิตและบริโภค ให้ยั่งยืนมากขึ้น ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือเชิงรุกและสร้างสรรค์จากทุกฝ่าย”

ตลอดทั้งสัปดาห์ของการจัดงาน ‘Sustainability Expo 2023’ ในวันที่ 2 - 8 ตุลาคม 2023 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ถูกเนรมิตให้เป็นศูนย์กลางด้านความยั่งยืน เป็นสถานที่จัดงานเสวนาและการการชุมด้านสิ่งแวดล้อมที่สำคัญมากมาย หนึ่งในนั้น คือ การปฏิบัติงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของไทย (Thailand Climate Action Conference) หรือ TCAC 2023 ซึ่งจัดขึ้นโดยกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม (สส.) องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) (อบก.) เครือข่ายคาร์บอนนิวทรัลประเทศไทย หรือ Thailand Carbon Neutral Network (TCNN) และพันธมิตร

 

เศรษฐา



โดย นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้กล่าวปาฐกถาพิเศษ โดยมีไฮไลต์สำคัญ คือสิ่งที่ประเทศไทยได้ทำสำเร็จ เพื่อมุ่งสู่เป้าหมาย Net Zero ภายในปี 2065 อาทิ

 

  • ได้รับเลือกให้เป็น 1 ใน 38 ประเทศขึ้นแถลงแผนการด้านความยั่งยืน บนเวที Climate Ambition Summit
  • ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 15% ในภาคพลังงานและภาคการขนส่งจากเกณฑ์มาตรฐาน
  • สร้าง Thailand Taxonomy (มาตรฐานกลางที่ใช้อ้างอิงในการจำแนกและจัดกลุ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของไทย) เพื่อเป็นเครื่องมือสร้างมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม
  • ออกพันธบัตรเพื่อความยั่งยืน (Sustainability Bond) ชุดนี้ ได้จดทะเบียนและขึ้นแสดงใน Luxembourg Green Exchange (LGX) ของตลาดหลักทรัพย์ลักเซมเบิร์ก (Luxembourg Stock Exchange: LuxSE) เพื่อสร้างการรับรู้การลงทุนสีเขียวและเพื่อสังคม ซึ่งสามารถระดมทุนไปได้แล้วกว่า 1.25 หมื่นล้านดอลลาร์ (4.62 แสนล้าน) ผ่านกลไกนี้

 

 

นายก เศรษฐา

 

แต่ก็ยังมีอีกหลายมาตรที่ประเทศไทยยังต้องเร่งดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายด้านสภาพอากาศที่ตั้งไว้ เช่น

  • ขยายสัดส่วนพลังงานหมุนเวียน ลดการใช้พลังงานจากถ่านหิน
  • ใช้มาตรการไฟฟ้าสีเขียว (Utility Green Tariff)
  • สนับสนุนการใช้โซลาร์เซลล์ติดหลังคา (Solar Rooftop)
  • เพิ่มการไฟรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศ
  • ริเริ่มโครงการการปลูกข้าวแบบปล่อยคาร์บอนต่ำ เพื่อลดการปล่อยก๊าซ และเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรของข้าว

  • เตรียมพร้อมการผลิตในประเทศ และการค้าขายระหว่างประเทศ ให้รองรับการใช้มาตราการ CBAM ระลอกแรก ที่จะเริ่มเก็บจากผลิตภัณฑ์ในกลุ่มซีเมนต์, ไฟฟ้า, ปุ๋ย, เหล็ก และเหล็กกล้า ก่อนการบังคับใช้อย่างเต็มรูปแบบในปี 2026

 

 

เศรษฐา ทวีสิน

 

นอกจากนี้ในเวทีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศระดับโลก COP28 นายเศรษฐา ยังเตรียมตอกย้ำถึงคำมั่นในการสร้างขีดความสามารถ พร้อมด้วยการสนับสนุนจากหลายภาคส่วนเพื่อให้มั่นใจว่า เป้าหมายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม จะอยู่ไม่ไกลเกินเอื้อม

 

“เราต้องใช้โอกาสนี้ให้เต็มที่ ในการทรานสฟอร์มประเทศไทย ไปสู่ความสมดุลและยั่งยืน นี่คือเวลาที่เราจะเปลี่ยนกรอบความคิด พฤติกรรม ทั้งการผลิตและบริโภค ให้ยั่งยืนมากขึ้น ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือเชิงรุกและสร้างสรรค์จากทุกฝ่าย

 

นายก เศรษฐา ทวีสิน



ร่วมฟัง Talk และเสวนาด้านความยั่งยืนในทุกมิติ จากบุคคลสำคัญในแต่ละแวดวง ทั้งระดับชาติ และระดับโลก ชมมหกรรมด้านความยั่งยืนที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน พร้อมเอร็ดอร่อยกับอาหารจากเชฟชื่อดัง และร้านอาหารทั่วฟ้าเมืองไทย ภายใต้แนวคิดของความยั่งยืนได้ ในงาน "Sustainability Expo 2023" ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ตั้งแต่วันนี้ - 8 ต.ค. 66

advertisement

Relate Post

SPOTLIGHT