ทีม SPOTLIGHT ได้รวบรวมสาระสำคัญในหัวข้อการบรรยาย Experiencing Thailand: Innovative Integral into Tourism Landscape โดยนายธนวัต ศิริกุล รองอธิบดีกรมสารนิเทศ นายนิธี สีแพร รองผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ด้านดิจิทัล วิจัย และพัฒนา นางกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา จากงาน TechSauce Global Summit 2023
ภาคการท่องเที่ยว นับว่า เป็นอุตหกรรมหลักสำคัญที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศไทย ให้ก้าวเดินไปข้างหน้าหลังจากเศรษฐกิจถดท้อยจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ปฎิเสธไม่ได้เลยว่า โลกหลังโรคระบาดมีการเปลี่ยนแปลง ผู้คนก็ย่อมมีการเปลี่ยนไป เช่นเดียวกันกับการท่องเที่ยว
เรียกได้ว่า ปี 64 เป็นเรื่องของการปรับตัว และ ปี 65 เป็นเรื่องของการเปลี่ยนแปลง เช่น แผนพลิกฟื้นการท่องเที่ยวอย่างสร้างสรรค์ ท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบต่อสังคม ปรับจากตลาดแมส (mass tourism) เป็นตลาดคุณภาพ และนี่ถือว่า เป็นอีกหนึ่งโจทย์ที่ท้าทาย ของการท่องเที่ยวไทย นั่นก็คือ การ Rebrand ให้ประเทศมีความทันสมัย ทันต่อเทคโนโลยี แต่ก็ยังคงผดุงรักษา และเผยแพร่ความเป็นไทยในเวลาเดียวกัน
คุณกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ได้กล่าวว่า “แม้ว่าการท่องเที่ยวไทย จะสามารถสร้างเม็ดเงินมหาศาลในการขับเคลื่อนภาพรวมของเศรษฐกิจไทย แต่ในขณะเดียวกัน การท่องเที่ยวก็ควรแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อมด้วย โดยนำ BCG Model and Happy Model มาปรับใช้ เพราะนอกจากจะเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวแล้ว ยังคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม และทรัพยากรธรรมชาติของประเทศเราอีกด้วย”
BCG Model คือ โมเดลการพัฒนาเศรษฐกิจใหม่สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
โดยขับเคลื่อน เศรษฐกิจทั้ง 3 ด้านไปพร้อมกัน
- เศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy) ใช้ทรัพยากรชีวภาพเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม
- เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) คำนึงถึงการนำวัสดุต่างๆ กลับมาใช้ประโยชน์ให้เต็มประสิทธิภาพ
- เศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) ควบคู่ไปกับการใช้เทคโนโลยีการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สู่ความสมดุล มั่นคงและยั่งยืน
Happy Model (โมเดลอารมณ์ดีมีความสุข) โดยการนำอัตลักษณ์ชุมชนมาเล่าเรื่องราว เพิ่มมูลค่าสินค้าและการบริการในแต่ละพื้นที่ พร้อมทั้งพัฒนาคุณภาพและสร้างมาตรฐานแก่สินค้า และบริการทางวัฒนธรรม เพื่อตอบโจทย์นักท่องเที่ยวคุณภาพ ในเจเนอเรชั่นใหม่
- กินดี (Eat Well) : การกินอาหารท้องถิ่นที่อร่อย สะอาด มีประโยชน์ และสร้างมูลค่าเพิ่มในแก่สินค้าด้วยการสร้างแบรนด์
- อยู่ดี (Live Well) : การทำให้ที่พักได้มาตรฐาน ปลอดภัย ดูแลสิ่งแวดล้อม ทั้งเรื่องคุณภาพน้ำ ขยะ และมีกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพกายและใจ เช่น นวด/สปาของแต่ละท้องถิ่น
- ออกกำลังกายดี (Fit Well) : Health and wellness
- แบ่งปันสิ่งดีๆ (Give Well) : การให้ข้อมูลเกี่ยวกับท้องถื่นเพื่อแนะนำสินค้า และสถานที่ Unseen แลกเปลี่ยนความรู้กับปราชญ์ชาวบ้าน
ด้านนายนิธี สีแพร รองผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เผยว่า ปีนี้ ททท.ยังคงตั้งเป้านักท่องเที่ยวเข้าไทยไว้ที่ 25-30 ล้านคน
สิ่งที่ต้องเร่งทำตอนนี้ คือ การสร้างความประทับใจใหม่ ด้วยการนำเสนอจุดขายที่ดึงนักท่องเที่ยวเดิมให้กลับมา และดึงนักท่องเที่ยวใหม่เพิ่มขึ้น พร้อมผลักดันและส่งเสริม อาหารไทย เป็น Soft Power ที่สร้างมูลค่าและเม็ดเงินให้กับประเทศด้วยการท่องเที่ยวเชิงอาหาร (Gastronomy Tourism) และการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Wellness Tourism)
เช่นเดียวกันกับการใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการท่องเที่ยว เช่น แอปพลิเคชั่น TAGTHAI , เกมส์ออนไลน์เพื่อโปรโมทการท่องเที่ยวไทย เช่น Home Sweet Home, Digital Asset, NFT, หรือ Metaverse
อย่างไรก็ตาม ถ้าเราทำการร่วมด้ววยกันในทุกภาคส่วน จะทำให้นักท่องเที่ยวรู้จักประเทศไทยมากขึ้นในทุกมิติ เพราะ“ประเทศไทยไม่ได้มีแค่กรุงเทพ อาหารไทยที่อร่อย ไม่ได้มีแค่ ต้มยำกุ้งหรือผัดไทย
ที่มา TechSauce