ความยั่งยืน

รัฐจับมือ 14องค์กรเอกชน รับมือโลกร้อน จัดการคาร์บอนเครดิต 77 ป่าชุมชน

18 ส.ค. 66
รัฐจับมือ 14องค์กรเอกชน รับมือโลกร้อน จัดการคาร์บอนเครดิต 77 ป่าชุมชน

มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ จับมือภาครัฐ ชุมชน และ 14 เอกชนชั้นนำ ร่วมมือใน”โครงการจัดการคาร์บอนเครดิตในป่าเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน” ใน 77 ป่าชุมชน ตั้งเป้ากระจายรายได้ให้ชุมชนกว่า 500 ล้านบาท และ ผลิตคาร์บอนเครดิต 500,000 ตัน

joke9904

โลกร้อน ผลจากการกระทำของมนุษย์

การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ (Climate Change) หรือ ภาวะโลกร้อน (Global Warming) ปัญหาที่น่าปวดใจที่เราต้องพบเจอ จากการกระทำของมนุษย์เราเองทั้งสิ้น สิ่งเหล่านี้ส่งผลให้มนุษย์เราต้องพบเจอการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติหลากหลายรูปแบบ เช่น

ด้านระบบนิเวศวิทยา – ภูเขาน้ำแข็งละลายตัวอย่างรวดเร็ว

ด้านเศรษฐกิจ – ธุรกิจท่องเที่ยวทางทะเลที่สำคัญสูญเสียรายได้มหาศาล

ด้านสุขภาพ – ฝุ่น PM2.5

istock-157313230

ทำให้หลายๆองค์กรต่างเข้ามาช่วยกันคนละไม้คนละมือ เพื่อช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อม ให้อยู่สืบต่อไปจนถึงรุ่นลูกหลาน เช่นเดียวกันกับ โครงการจัดการคาร์บอนเครดิตในป่าเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ที่เป็นการร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน เพื่อร่วมกันเป็นส่วนหนึ่งในการรับมือกับภาวะโลกร้อน อีกทั้งไฟป่า หมอกควัน ฝุ่นละอองขนาดเล็ก หรือ ฝุน PM 2.5 ซึ่งส่วนใหญ่ล้วนเกิดมาจากการเผาไหม้ของเครื่องจักร โดยเฉพาะเครื่องยนต์ และฝุ่นควันจากไฟป่า

จุดเริ่มต้นของโครงการ

โครงการจัดการคาร์บอนเครดิตในป่าเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน เกิดขึ้นจากแนวคิดเรื่อง “คาร์บอนเครดิต” (Carbon Credit) ในภาคการเกษตรและป่าไม้ นั่นคือ ต้นไม้สามารถกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ได้ และในประเทศไทยมีชุมชนที่ดูแลป่าดีอยู่แล้ว โดยมุ่งสร้างสิ่งแวดล้อมที่อุดมสมบูรณ์ (Healthy Environment) ในการบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน (Caebon-neutrality) ภายในปี 2573 สู่เป้าหมายการเป็นองค์กรที่การปล่อยก๊าซคาร์บอนเป็นศูนย์ (Net Carbon Zero) ในปี 2593

โดยเป็นการร่วมมือของมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ และ ภาคเอกชนกว่า 14 บริษัทชั้นนำ ตั้งแต่ปี 2564 ใน 10 จังหวัดทั่วประเทศไทย ได้แก่ : เชียงราย เชียงใหม่ พะเยา ลำปาง แม่ฮ่องสอน กำแพงเพชร อุทัยธานี ยโสธร อำนาจเจริญ และกระบี่ ในพื้นป่ากว่า 147,037 ไร่ และประชากรกว่า 120 ชุมชน

โดยจะเป็นการสร้างประโยชน์ในทุกมิติ จากแนวคิดว่าคาร์บอนเครดิตเป็นกลไกที่จะกระตุ้นให้ชุมชนดูแลป่าและดูแลตัวเองได้ดีขึ้น ส่งผลให้ลดการสูญเสียพื้นที่ป่า ลดอัตราการเกิดไฟป่าและลดปัญหาฝุ่นควัน pm 2.5 ซึ่งเมื่อชุมชนมีความเป็นอยู่ที่ดีก็จะบรรเทาปัญหาการว่างงาน หนี้ครัวเรือนและในขณะเดียวกันก็สามารถช่วยภาคเอกชนในการชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการดำเนินธุรกิจได้ด้วย

3_0

แผนดำเนินการปี 2563-2567

ระยะพัฒนาระบบ

ปี 2563-2565 : มีพื้นที่ปฎิบัติการ 52 ป่าชุมชน ครอบคลุมพื้นที่ 51,354 ไร่ ใน 7 จังหวัด มีชุมชนมาเข้าร่วมกว่า 12,361 ครัวเรือน

ระยะขยายผล

ปี 2566 : ร่วมมือกับชุมชน 129 แห่ง ใน 9 จังหวัดครอบคลุมพื้นที่ 194,850 ไร่ ป้อนคาร์บอนได้ 500,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า และสร้างประโยชน์แก่ชุมชนในป่า 25,082 ครัวเรือน การดำเนินงานในแต่ละป่าชุมชนครอบคลุมระยะเวลา10ปี และคาดว่าจะทำให้เกิดประโยชน์ทางตรงด้านรายได้ชุมชนรวมเพิ่มขึ้นประมาณ 500-630 ล้านบาท

ปี 2567 : ตั้งเป้าขยายงานครอบคลุมพืนที่อีก 150,000 ไร่ เพื่อนำไปสู่เป้าหมายผลิตคาร์บอนเครดิต 1 ล้านตันภายในปี 2570

6i2a6250_0

ชาวบ้านได้อะไรจากโครงการ

  • ค่าเฉลี่ยของการเกิดไฟป่า ลดลง 17.24% ในพื้นที่
  • เงินสนับสนุนกองทุนดูแลป่า 11,885,656 บาท
  • เงินสนับสนุนกองทุนเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน 5,402,897 บาท
  • ดูแลผืนป่าโดยตรง เช่น แนวกันไฟ ลาดตระเวน อนุรักษ์และสร้างความชุ่มชื้นแก่ป่า
  • ส่งเสริมอาชีพให้คนอยู่ร่วมกับป่า เช่น การผลิตภาชนะจากเศษใบไม้ของชุมชนบ้านต้นผึ้ง, ตลาดของป่าชุมชน ของชุมชนบ้านฮ้องไคร้, กลุ่มเลี้ยงผึ้งโพรงของชุมชนบ้านปิ้
  • ส่งเสริมให้ชาวบ้านกว่า 120 ชุมชน สามารถสร้างรายได้ให้ชุมชนกว่า 79.97 ล้านบาท ซึ่งสามารถนำไปดูแลผืนป่าและพัฒนาคุณภาพชีวิตได้

องค์กรภาคเอกชนที่เห็นถึงความสำคัญและเข้าร่วมในโครงการประกอบด้วย

2563 – 2565 ระยะพัฒนาระบบ

  1. บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน)
  2. สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
  3. ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
  4. บริษัท คิวทีซี เอนเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน)
  5. บริษัท ทีเอ็มที สตีล จำกัด (มหาชน)
  6. บริษัท อินทัช โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน)
  7. บริษัท พีทีจี เอ็นเนอยี จำกัด (มหาชน)
  8. บริษัท ไพร้ซวอเตอร์เฮาส์ คูเปอร์ส เอบีเอเอส จำกัด
  9. บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
  10. บริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)

6i2a6375_0

2566 ระยะขยายผล

  1. บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)                      
  2. บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน)
  3. บริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)          
  4. บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) 
  5. บริษัท ปตท. นํ้ามัน และการค้าปลีก จำกัด (มหาชน)           
  6. บริษัท พีทีทีโกลบอล เคมิคอล จํากัด (มหาชน)
  7. บริษัท บริการเชื้อเพลิงการบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
  8. ธนาคารออมสิน
  9. บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
  10. บริษัท ยูนิชาร์ม (ประเทศไทย) จำกัด  
  11. ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) 
  12. ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) 
  13. บริษัท พฤกษา โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) 
  14. บริษัท น้ำตาลมิตรผล จำกัด

 

 

 

 

 

advertisement

Relate Post

SPOTLIGHT