อินไซต์เศรษฐกิจ

ธุรกิจคึกคัก แห่พัฒนาสินค้า เมื่อกัญชา กัญชงปลดล็อก

9 มิ.ย. 65
ธุรกิจคึกคัก แห่พัฒนาสินค้า เมื่อกัญชา กัญชงปลดล็อก

กระแสขอกัญชง-กัญชา ฟีเวอร์ถูกโหมมาต่อเนื่องทั้งจากนโยบายของรัฐบาลที่มีความพยายามปลดล็อคกฎหมาย เพื่อผลักดันพืชกัญชง-กัญชาให้เป็นพืชเศรษฐฏิจความหวังใหม่ของประเทศไทย โดยในวันที่ 9 มิ.ย. นี้จะเป็นวันแรกที่เริ่มปลดล็อคอย่างเป็นทางการให้คนไทยทุกคนสามารถปลูกกัญชง กัญชาเพื่อไว้ใช้ในครัวเรือน ใช้ทางการแพทย์ รวมทั้งผู้ประกอบการที่ปลูกในเชิงพาณิชย์ โดยไม่ต้องขออนุญาต แต่ต้องจดแจ้งผ่านแอปพลิเคชัน "ปลูกกัญ" ขององค์การอาหารและยา (อย.)


ปลดล็อคกัญชง


ไทยเป็นประเทศแรกในอาเซียนที่ปลดล็อคกัญชา


เมื่อกัญชา และ กัญชง ถูกถอดออกจากบัญชีรายชื่อสารเสพติดประเภทที่ 5 ส่งผลให้ประเทศไทยเป็นประเทศแรกในอาเซียนที่ปลดล็อคกัญชง กัญชา สำเร็จ และผลักดันเป็นพืชเศรษฐกิจตัวใหม่ที่ภาคธุรกิจทั้งรายใหญ่และรายเล็กมองเป็นโอกาสในการพัฒนาสินค้าทั้งหมวดของอาหาร สุขภาพ และ เครืองสำอาง โดยมีการประเมินว่่ามูลค่าการลงทุนในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับกัญชง กัญชา จะสูงถึง1,200 ล้านบาท และเป็นการกระจายเม็ดเงินไปในหลายภาคส่วนตั้งแต่การปลูก สกัด และ การพัฒนาสินค้า 

 

ข้อมูลจากสมาคมการค้าอุตสาหกรรมกัญชงไทยระบุว่า มูลค่าของตลาดกัญชาและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องโดยรวมอยู่ประมาณ  40,000 ล้านบาท และคาดว่าจะเติบโตไปถึง 70,000 ล้านบาทได้ภายในปี 2024 หรืออีก 2 ปีข้างหน้า  ขณะที่มูลค่าของธุรกิจนี้ในระดับโลกปัจจุบันแตะที่ 100,000 ล้านบาทแล้ว  มูลค่ามหาศาลดังกล่าวทำให้กัญชา กัญชง กลายป็นพืชเศรษฐกิจของประเทศไทยที่น่าจับตามอย่างมาก


ตลอด 2 ปีกว่าที่ผ่านมาภาคธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีความพร้อมต่างมองเห็นโอกาสและเริ่มคิดค้น พัฒนาสินค้ากัญชา กัญชง มาก่อนหน้านี้แล้ว เรียกว่าผันตัวเข้าสู่วงการ "สายเขียว"  ก่อนธุรกิจรายกลาง รายเล็ก ดังนั้นปัจจุบันเราเริ่มได้เห็นผลิตภัณฑ์จากกัญชา กัญชง 
ออกมาขายหลากหลายมากที่สุดเห็นจะเป็นในหมวดอาหารและเครื่องดื่มที่รายใหญ่กระโดลงไปเล่นกันหลายเจ้าเลยทีเดียว จะมีใครบ้าง SPOTLIHGT รวบรวมมาไว้ให้ พร้อมรายละเอียดว่าแต่ละบริษัท ลงทุนไปกับอะไรบ้าง 

 

343884 

 


หมวดอาหารและเครื่องดื่ม

กัญชา เซปเป้

 

  • บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ CPF ประกาศขยายธุรกิจเข้าไปทำในกลุ่มอาหาร และ เครื่องดื่ม วางเป้าหมายสินค้าที่มีส่วนผสมจากกัญชง จะวางจำหน่ายตลาดในประเทศเป็นหลัก เนื่องจากการผลิตทุกอย่างอยู่ภายใต้เงื่อนไขของไทย ส่วนตลาดต่างประเทศนั้น บางแห่งยังถูกกำหนดให้เป็นพืชเสพติด

 

  • บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ TU ศึกษานำส่วนผสมกัญชงมาผสมในผลิตภัณฑ์อาหาร เช่น อาหารเสริม อาหารกระป๋อง โดยทดลองนำไปทำเป็นทูน่ากระป๋องในน้ำมันกัญชงที่มีโอเมก้า 3 และโปรตีนจากกัญชงเพื่อขยายไลน์สินค้าเพิ่มเติม

  • บริษัท สหพัฒนา อินเตอร์ โฮลดิ้ง ในเครือสหพัฒน์ ก็ได้ร่วมลงทุนถึง 370 ล้านบาท กับ ยูไนเต็ด พาววเอร์ ออฟ เอเชีย และ โกลด์เด้นท์ ไทรแองเกิล กรู๊ป เพื่อปลูกกัญชาในพื้นที่จังหวัดเขียงราย  เพื่อนำสารสกัดจากพืชกัญชาให้กับลูกค้าที่สนใจไปพัฒนาเป็นยา อาหาร และเครื่องดื่ม 

 

  • บริษัท พีทีจี เอ็นเนอยี จำกัด (มหาชน) หรือ PTG ยื่นขอ อย. ทำธุรกิจเกี่ยวกับกัญชง และร่วมกับวิสาหกิจชุมเพื่อปลูกกัญชงมาใช้เป็นวัตถุดิบในผลิตสินค้าจากกัญชง โดยมีแผนวางจำหน่ายในร้านค้าในเครือทั้งร้านค้าปลีก ร้านอาหาร และร้านเครื่องดื่ม เช่น MAX Mart ร้านกาแฟพันธุ์ไทย ร้านคอฟฟี่เวิลด์ ที่มีสาขาอยู่ทั่วประเทศ

 

  • บริษัท อาร์ แอนด์ บี ฟู้ด ซัพพลาย จำกัด (มหาชน) หรือ RBF ได้รับใบอนุญาตจาก อย. ทำธุรกิจเกี่ยวกับกัญชง โดยบริษัทมีที่ดินพร้อมปลูกกัญชงและมีโรงงานพร้อมทำขั้นตอนการสกัด โดยจะะเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายวัตถุดิบที่ใช้เป็นส่วนผสมในอาหารตามคำสั่งซื้อของลูกค้า

  • บริษัท แบล็คแคนยอน (ประเทศไทย) จำกัด ประกาศแผนทำธุรกิจอาหาร และเครื่องดื่ม ที่เกี่ยวข้องกับกัญชา และกัญชง โดยล่าสุดได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU)กับ บริษัท กันกุลเอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ GUNKUL เพื่อซื้อขายกัญชา และกัญชง

 

แบล็ค แคนยอน กัญชา

 

 

  • บริษัท เซ็ปเป้ จำกัด (มหาชน) หรือ SAPPE เปิดตัวเครื่องดื่มกัญชงเปิดตัวเครื่องดื่มซีรีย์ใหม่ “มาเพรียวกัญ” Preaw x Cannabis นำเสนอ 2 เมนูใหม่ได้แก่เครื่องดื่ม“มาเพรียวกัญ” เป็นสูตรกาแฟพิเศษจากน้ำ Detox ผสมกับน้ำต้มกัญชา

 

  • บริษัท เอ็นอาร์ อินสแตนท์ โปรดิวซ์ จำกัด (มหาชน) หรือ NRF เข้าลงทุนใน บริษัท โกลเด้น ไตรแองเกิล เฮลท์ จำกัด (GTH) เป็นผู้นำเข้าเมล็ดกัญชง พัฒนาการปลูกและสกัด ตลอดจนพัฒนาสินค้าอาหารและเครื่องดื่มที่มีกัญชงภายใต้แบรนด์ของ GTH

 

  • บริษัท ทิปโก้ฟู้ดส์ จำกัด (มหาชน) หรือ TIPCO ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยนำร่องในการพัฒนาสายพันธุ์กัญชาและกัญชง ตั้งแต่ปี 2562 ในการวิจัยและพัฒนาจนได้สายพันธุ์ที่มีคุณภาพเพื่อผลิตเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มและอาหาร

 

 

สควีซ กัญชา

 

  • บริษัท ที.เอ.ซี.คอนซูเมอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ TACC ประกาศซื้อหุ้นสัดส่วน 30% ใน บริษัท ไทยคานาเทคอินโนเวชั่น จำกัด (TCI) เพื่อต่อยอดธุรกิจและแตกไลน์สินค้าใหม่ในกลุ่มอุปโภคบริโภคที่มีส่วนผสมจากกัญชงที่มีความเชี่ยวชาญในการปลูกและสกัดกัญชงมากว่าสิบปี และได้รับอนุญาตในการปลูก สกัด และจำหน่ายเชิงพาณิชย์จาก อย.

 

  • บริษัท คาราบาวกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ CBG ประกาศว่าแผนในปี 2565 จะออกสินค้าอื่นๆ อย่างต่อเนื่อง อาทิ สินค้าในกลุ่มกัญชง กัญชาที่ผสมสารสกัด CBD โดยจะเห็นผลิตภัณฑ์ใหม่ 3 รายการในกลุ่มซอฟท์ดริ้งก์ และฟังก์ชันนอลดริ้งก์ คาดว่าจะออกวางขายได้ภายในปีนี้

 

  • บริษัท โกลบอล คอนซูเมอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ GLOCON ได้รับใบอนุญาตสกัดน้ำมันจากเมล็ดกัญชง (Hemp Seed Oil) พร้อมใบอนุญาตผลิตอาหารประเภทอาหารควบคุมเฉพาะ ได้แก่ เมล็ดกัญชง, น้ำมันจากเมล็ดกัญชง, โปรตีนจากเมล็ดกัญชง และผลิตภัณฑ์อาหารที่มีส่วนประกอบของเมล็ดกัญชง, น้ำมันจากเมล็ดกัญชง หรือโปรตีนจากเมล็ดกัญชง (เฉพาะน้ำมันจากเมล็ดกัญชง) ที่ขึ้นทะเบียนอาหารไว้

 

  • บริษัท อิชิตัน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ ICHI ออกเครื่องดื่มแบรนด์ใหม่ "อิชิตัน กรีนแลป" น้ำชาเขียวผสมเทอร์ปีนและแอลธีอะนีน เป็นสารสกัดธรรมชาติที่มีกลิ่นชนิดเดียวกับ CBD ในกัญชงที่มีคุณสมบัติช่วยรีแลกซ์และบรรเทาอาการนอนไม่หลับ

 

  • บริษัท เถ้าแก่น้อย ฟู้ดแอนด์มาร์เก็ตติ้ง จำกัด(มหาชน) หรือ TKN จับมือกับร่วมกับบริษัท ทีดับบลิวแซด คอร์ปอเรชั่น จำกัด(มหาชน) หรือ TWZ เป็นคู่สัญญาโดยทาง TWZ ได้ร่วมลงทุนในบริษัท กัญช์ยารักษ์ จำกัด เป็นบริษัทจัดหาและจัดจำหน่ายวัตถุดิบ ที่มีส่วนผสมของพืชกัญชง หรือกัญชา โดยบริษัท กัญช์ยารักษ์ และขายผลิตภัณฑ์ให้กับลูกค้า หรือกิจการที่เข้าร่วมทุนอื่น ๆ แต่ส่วนใหญ่จะเน้นการเข้าร่วมทุนกับกิจการอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ให้กับผู้บริโภคในกลุ่มต่างๆ หรือ ที่เรียกว่า กลุ่มปลายน้ำ เช่น กลุ่มเครื่องดื่ม กลุ่มอาหาร กลุ่มสแน็ค กลุ่มสุขภาพและความงาม เป็นต้น

 

 

หมวดสุขภาพ

 RS เปิดตัวเครื่องดื่มวิตามินซีผสมกัญชง

 

  •  บริษัท ธนบุรี เฮลท์แคร์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ THG มีแผนทำธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ "กัญชาทางการแพทย์" โดยจะมีการสร้างศูนย์การแพทย์ผสมผสาน Wellness การแพทย์แผนไทย หรือ Canabiz Care ในโรงพยาบาลเอกชน โครงการนำร่องใน 3 ที่โรงพยาบาลธนบุรี บำรุงเมือง โรงพยาบาลธนบุรี 1 และโรงพยาบาลธนบุรีบูรณาซึ่งเป็นโรงพยาบาลผู้สูงอายุ และจะเมดิคัลทัวร์กัญชาในสถานที่จริงเพื่อสร้างพลังให้กับผู้ป่วย รวมถึงอนาคตจะมีการส่งออกผลิตภัณฑ์ที่มีมาตรฐานทางการแพทย์ที่เกี่ยวเนื่องกับกัญชามากขึ้น เช่น เซรั่ม ครีม โลชั่น เจล ออย บาล์ม Mask และสบู่ เป็นต้น

 

  • บริษัท เค.ดับบลิว.เม็ททัล เวิร์ค จำกัด (มหาชน) หรือ KWM ร่วมมือทำโครงการเครื่องสกัดสารจากพืชกัญชาและกัญชงกั บบริษัท โรงงานเภสัชอุตสาหกรรม เจเอสพี (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ในโครงการการสกัดสารสกัดจากพืชกัญชาและกัญชงเพื่อนำไปสู่การผลิตยาและยาสมุนไพร หลังจากบริษัทได้พัฒนาและผลิตเครื่องสกัดสารจากพืชกัญชาและกัญชง

 

  • บริษัท เจเคเอ็น โกลบอล กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ JKN ออกผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่มีสารสกัดจากกัญชาและกัญชงมาเป็นส่วนผสม ผ่านการพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ กว่า 30 รายการ ครอบคลุมผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ผลิตภัณฑ์สินค้าอุปโภคบริโภค ที่มีส่วนผสมของน้ำมันกัญชง ผลิตภัณฑ์สินค้าอุปโภคบริโภค กว่า 30 รายการ

 

jkn กัญชา

 

  • บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) หรือ RS เปิดตัว‘เครื่องดื่มวิตามินซีผสมกัญชง’ และ ‘เครื่องดื่ม CBD Shot’ ที่มีสารสกัดจากกัญชงและ CBD สินค้าดังกล่าวจะออกภายใต้แบรนด์คามูซี ซึ่งเป็นเครื่องดื่มฟังก์ชันนัลดริงก์ โดยเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของสารสกัดจากใบกัญชงและสารสกัด CBD ที่จะออกจำหน่าย ได้แก่ คามูซี พลัส กัญชง, คามูซี ซีบีดี ช็อต สูตรฮันนี เลมอน และ คามูซี ซีบีดี ช็อต สูตรคาโมมายล์

 

  • บริษัท โอสถสภา จำกัด (มหาชน) ร่วมมือกับริษัท ยันฮี วิตามิน วอเตอร์ จำกัด เปิดตัว “ยันฮี น้ำกัญชาผสมวิตามิน” กลิ่นลาเวนเดอร์ มิกซ์ เบอร์รี่ ผลิตภัณฑ์แรกของบริษัทฯ เพื่อรุกธุรกิจเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของกัญชารับกระแสการดูแลสุขภาพ โดยสกัดจากใบกัญชาแท้ มีวิตามินบี 12 ช่วยเสริมสร้างระบบประสาทและสมองให้ผ่อนคลาย

 

น้ำดื่มกัญชายันฮี

 

 

  • บริษัท อินเตอร์ ฟาร์มา จำกัด (มหาชน) หรือ IP ร่วมกับบริษัท อาร์บีเจ จำกัด พัฒนาผลิตภัณฑ์กัญชงและกัญชาที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย ในกลุ่มผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพในรูปแบบต่างๆ อาทิ ยาสมุนไพร โภชนบำบัด เวชสำอาง เป็นต้น และ อาร์บีเจ จะเป็นผู้พัฒนาและจำหน่ายสารสกัดจากกัญชงและกัญชาให้กับบริษัท

 

  • บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT เข้าซื้อหุ้นใน บริษัท อินเตอร์ ฟาร์มา จำกัด (มหาชน) หรือ IP สัดส่วน 20% มูลค่า 1,043 ล้านบาท โดย IP มีแผนที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์กัญชงและกัญชา อาทิ ยาสมุนไพร โภชนบำบัด เวชสำอาง เป็นต้น ทำให้ ปตท.จะมีบริษัทในเครือที่ไปลงทุนที่เกี่ยวกับกัญชงและกัญชา

 


หมวดเครื่องสำอาง

851414

 

  • บริษัท สยามเฮลท์กรุ๊ป ผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์เจ้าของแบรนด์ "สมูทอี-เดนทิสเต้" ออกสินค้าเดนทิสเต้กลุ่มเมาท์ สเปรย์, ยาสีฟัน มีส่วนผสมกัญชง

 

  • บริษัท ดีโอดี ไบโอเทค จำกัด (มหาชน) หรือ DOD ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งโรงงานสกัดกัญชงเพื่อผลิตผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางและสมุนไพรที่ผสมสารสกัดจากกัญชงออกจำหน่าย

 

  • บริษัท โรจูคิส อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) หรือ KISS อยู่ระหว่างศึกษาวิจัยและพัฒนาสินค้ากลุ่มผลิตภัณฑ์ดูแลผิวและกลุ่มผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร จากการนำกัญชงมาเป็นวัตถุดิบในผลิต

 

  • บริษัท บิวตี้ คอมมูนิตี้ จำกัด (มหาชน) หรือ BEAUTY มีแผนจะพัฒนา 4 ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้า และผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากสารสกัดจากกัญชง คือ Whitening Gel Cream: ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าเพื่อความขาวกระจ่างใส , Dietary Supplement for Sleep Well Plus Omega: ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารช่วยในการนอนหลับและคลายเครียดวิตกกังวล , Organic Tea: ผลิตภัณฑ์ชากัญชงช่วยในการผ่อนคลายและลดความเครียดวิตกกังวล, Organic Tea Plus Detox: ผลิตภัณฑ์ชาชงช่วยดีท็อกซ์ของเสียที่ตกค้างในระบบดูดซึมสารอาหาร

 

 

ส่วนต่างๆของกัญชา ใช้ทำอะไรได้บ้าง?

845784

 

ที่มาข้อมูล : สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.)

 

 

การตรวจสอบมาตรฐานของสารสกัดจากกัญชงกัญชา

 

สำหรับผู้ประกอบการรายกลาง รายเล็กที่สนใจพัฒนาสินค้าจากกัญชง กัญชา มีขั้นตอนที่สำคัญอีกจุดคือ การตรวจสอบสารสกัดที่ได้จากกัญชง กัญชา นั้นเป็นไปตามมาตรฐานขององค์การอาหารและยาหรือไม่ ดังนั้นก่อนที่สินค้าจะได้รับการรับรองจาก อย. จะต้องมีการตรวจสอบสารสกัดจากห้องปฏิบัติการที่ได้มาตรฐานเสียก่อน

 

ซึ่งปัจจุบันผู้ที่ต้องตรวจสอบสารจากกัญชง กัญชา จะต้องเป็นแลปของทางภาครัฐเท่านั้น ซึ่งมี กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่คอยตรวจสอบให้ และอีกแลป คือ Central Lab Thai ที่ได้รับการรับรองให้ตรวจสอบได้เช่นกัน ผู้บริหารให้ข้อมูลกับ SPOTLIHGT ว่า ปัจจุบันมีผู้สนใจพัฒนาสินค้าจากกัญชง กัญชา จำนวนมาก ที่นิยมนำมาตรวจสอบจากแลป มีประมาณค่ามาตรฐานประมาณ 12 ชนิด เช่น ทดสอบมาตรฐาน ตะกั่ว แคทเมี่ยม เชื้อรา เป็นต้น โดยทางแลปคิดค่าใช้จ่ายสารละ 5,000 บาท เมื่อผู้ประกอบการทราบค่ามาตรฐานแล้ว ก็นำไปปรับกับสูตรสินค้าของตัวเอง เพื่อนำไปจดแจ้งหรือขึ้นทะเบียนกับอย. แลปจึงถือเป็นตัวกลางที่จะทำให้ผู้ประกอบการสามารถพัฒนาสินค้าที่มาจากกัญชงและกัญชาต่อไปได้


แต่เนื่องจากผลิตภัณฑ์ที่มาจากกัญชง และกัญชา เป็นผลิตภัณฑ์ค่อนข้างใหม่ทำให้ปัญหาที่พบในขณะนี้ คือสารที่ใช้ในการตรวจสอบมีไม่หหลากหลายครอบคลุมและความชัดเจนในการปฏิบัติสำหรับผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดยังมีไม่มากพอ แต่เชื่อว่าสถานการณ์จะดีขึ้นในอนาคต ตามความต้องการของสินค้าที่มาจากกัญชง และกัญชาเพิ่มมากขึ้น 

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

1.ปลดล็อคกัญชา 9 มิ.ย. กัญชา กัญชง อนาคตพืชเศรษฐกิจไทย

 

2.เตรียมจัดงาน “กัญชง - กัญชานานาชาติ” ปลายปี หวังปั้นไทยสู่ฮับระดับโลก

 

3.อาหารเสริม CBD จากกัญชงรายแรกในไทย! RS มุ่งเจาะกลุ่มข้อเข่า-ผู้สูงอายุ

 

4.สายเขียวรอรับได้เลย รัฐบาลเล็งแจก กัญชา 1 ล้านต้นให้ปลูกได้ในบ้าน

advertisement

Relate Post

SPOTLIGHT