5 แบงก์ใหญ่สุดในไทย ใครกำไรมากสุด
รายได้ กำไร ในไตรมาส 2 ปี 2568
- รายได้ 48,600 ล้านบาท ลดลง 1.0% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
- กำไร 12,500 ล้านบาท ลดลง 9.5%
รายได้ กำไร ครึ่งปีแรกของปี 2568
- รายได้ 97,700 ล้านบาท ลดลง 2.8%
- กำไร 26,300 ล้านบาท ลดลง 1.0%
รายได้ลดลงจากรายได้ดอกเบี้ยที่ลดลงตามภาวะตลาด และ จากมาตรการลดดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อช่วยลดภาระให้กับลูกค้า ส่งผลให้กำไรลดลงตามรายได้ไปด้วย
สำหรับมุมมองเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2568 นี้ มีแนวโน้มเติบโตต่ำกว่าครึ่งแรกของปี หรือ มีความเสี่ยงที่จะไม่โตเลย
จากการส่งออกที่มีแนวโน้มหดตัว จากฐานที่สูงในช่วงครึ่งปีแรก และยังมีปัจจัยกดดันอย่าง นโยบายภาษีนำเข้าของสหรัฐอเมริกาที่อาจะเก็บภาษีไทยในอัตราที่สูงกว่าคู่แข่งหลายประเทศ
แรงกดดันตรงนี้อาจทำให้การลงทุนชะลอลงตามความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้นด้วย ส่วนการท่องเที่ยวมีแนวโน้มชะลอลงแรง อีกทั้งเม็ดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐยังมีผลในระดับที่จำกัด ซึ่งอาจกดดันเศรษฐกิจไทยในปี 2569 ด้วย
รายได้ กำไร ในไตรมาส 2 ปี 2568
- รายได้ 43,650 ล้านบาท เติบโต 1.0% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
- กำไร 12,790 ล้านบาท เติบโต 27.7%
รายได้ กำไร ครึ่งปีแรกของปี 2568
- รายได้ 86,650 ล้านบาท เติบโต 0.5%
- กำไร 25,290 ล้านบาท เติบโต 18.7%
กำไรที่เพิ่มขึ้นมาจากกำไรจากการลงทุนที่เพิ่มขึ้น ผลขาดทุนด้านเครดิตที่จะกลายเป็นค่าใช้จ่ายที่ลดลง ไปจนถึงค่าใช้จ่ายด้านการบริหารที่ลดลงหลังขายธุรกิจ Robinhood ออกไป
โดยปัจจัยบวกตรงนี้ชดเชยปัจจัยกดดัน อย่างเช่น อัตราดอกเบี้ยที่ลดลง และ การปล่อยสินเชื่อที่ลดลง จนทำให้รายได้ดอกเบี้ยลดลง
ส่วนมุมมองเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2568 นี้ ทางศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ (SCB EIC) มองว่าเศรษฐกิจไทยมีความเสี่ยงที่จะเกิดการถดถอยทางเทคนิคเพิ่มขึ้นโดยมีสาเหตุมาจากจำนวนนักท่องเที่ยวที่ลดลง
สำหรับแนวโน้มดอกเบี้ยคาดว่าจะมีการลดดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มอีก 2 ครั้ง ซึ่งจะทำให้ในสิ้นปีนี้ดอกเบี้ยนโยบายอาจอยู่ที่ระดับ 1.25%
- รายได้ 44,420 ล้านบาท เติบโต 2.0% (เทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว)
- กำไร 11,840 ล้านบาท เติบโต 0.3%
ส่วนผลประกอบการครึ่งปีแรกของปี 2568
- รายได้ 90,070 ล้านบาท เติบโต 5.7% (เทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว)
- กำไร 24,460 ล้านบาท เติบโต 9.5%
ต่อไปมาดูกันว่ารายได้ที่เติบโตขึ้นตรงนี้มาจากส่วนไหนเป็นหลัก
รายได้จากดอกเบี้ย จากธุรกิจอย่างเช่น สินเชื่อ
- รายได้ 31,710 ล้านบาท ลดลง 4%
รายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยจากธุรกิจอย่างเช่น บริการธุรกรรมต่าง ๆ ที่มีการเก็บค่าธรรมเนียม
- รายได้ 12,720 ล้านบาท เติบโต 22%
จะเห็นได้ว่า หลัก ๆ แล้วรายได้เติบโตขึ้นจากธุรกิจที่ไม่ใช่ดอกเบี้ย ซึ่งเติบโตมาจากการปรับมูลค่าเครื่องมือทางการเงินที่เปลี่ยนแปลงตามภาวะตลาด และ กำไรจากเงินลงทุน
ส่วนรายได้จากค่าธรรมเนียม และ บริการ ที่ได้จากการบริการ อย่างเช่น การทำธุรกรรมผ่านธนาคาร ในไตรมาสนี้ลดลง 11%
ส่วนกำไรสุทธิในไตรมาสนี้เติบโตขึ้นจากรายได้ที่เพิ่มขึ้น
ส่วนเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 2 นี้ เติบโตขึ้นจากสินค้าหมวดอิเล็กทรอกนิกส์ เครื่องจักรและอุปกรณ์ และยานยนต์
จากการเร่งคำสั่งซื้อก่อนนโยบายภาษีนำเข้าของคุณโดนัลด์ ทรัปม์ จะมีผล ซึ่งเหตุการณ์ตรงนี้ยังไม่สะท้อนว่าความต้องการในระดับโลกฟื้นตัวขึ้นจริง
ด้านภาคบริการยังมีแรงกดดันจากนักท่องเที่ยวจีนที่ลดลง ถึงแม้นักท่องเที่ยวจากกลุ่มประเทศอื่นจะฟื้นตัวขึ้นก็ตาม
อัตราเงินเฟ้อทั่วไปตอนนี้อยู่ในระดับต่ำหนี้ครัวเรือนที่สูง และความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นต่อการลงทุนของภาคเอกชน และ การใช้จ่ายของคนในประเทศ
ส่วนราคาหุ้นของ BBL วันนี้ -0.4% จากการที่ธุรกิจหลักอย่างสินเชื่อ และ ค่าธรรมเนียมจากการทำธุรกรรมเติบโตลดลง รวมถึงรายได้ กำไร ที่ยังเติบโตในระดับต่ำ
ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารใหญ่สุดอันดับ 3 ของไทย ได้ประกาศผลประกอบการประจำไตรมาส 2 ปี 2568 ออกมา
- รายได้ 40,170 ล้านบาท เติบโต 0.3% (เทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว)
- กำไร 11,120 ล้านบาท ลดลง 6.0%
ส่วนผลประกอบการครึ่งปีแรก ปี 2568
- รายได้ 80,460 ล้านบาท ลดลง 1.1%
- กำไร 22,840 ล้านบาท ลดลง 2.7%
รายได้ลดลงจากรายได้ดอกเบี้ยที่ลดลง โดยมีสาเหตุมาจากการปรับอัตราดอกเบี้ยเพื่อรักษาลูกค้า ส่วนพอร์ตสินเชื่อในไตรมาสนี้ ยังเติบโตที่ 4.4% หากเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
ธุรกิจที่ธนาคารเน้นให้บริการจะเป็นธุรกิจบริหารความมั่งคั่งที่มีรายได้เป็นไปตามสภาวะตลาด ส่วนกำไรที่ลดลงมาจากรายได้ที่เติบโตลดลง โดยธนาคารยังบริหารต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สำหรับเศรษฐกิจไทยในปี 2568 นี้ ต้องเจอกับความไม่แน่นอนจากภาษีนำเข้าสินค้าของสหรัฐอเมริกา โดยหากไทยถูกเก็บภาษีนำเข้าในอัตราที่สูงกว่าประเทศคู่แข่งการส่งออกไทยจะได้รับผลกระทบ
นอกจากนั้นหากจีนถูกเก็บภาษีนำเข้าในอัตราที่สูง ประเทศไทยจะได้รับผลกระทบตามไปด้วย เพราะว่ามีอุตสาหกรรมบางส่วนที่พึ่งพากัน
ด้านการท่องเที่ยว ตัวเลขนักท่องเที่ยวในปีนี้ อาจต่ำกว่าปีที่แล้ว จากนักท่องเที่ยวจีนที่หายไป
ส่วนธุรกิจขนาดกลาง-เล็ก หรือ SME ต้องเจอแรงดันด้านต้นทุนจาก ค่าแรง และ ต้นทุนค่าใช้จ่ายที่สูง จากโครงสร้างเศรษฐกิจไทยที่ยังเปราะบาง
รายได้ กำไร ในไตรมาส 2 ปี 2568
- รายได้ 16,380 ล้านบาท ลดลง 5.7% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
- กำไร 5,000 ล้านบาท ลดลง 7.2%
รายได้ กำไร ครึ่งปีแรกของปี 2568
- รายได้ 32,930 ล้านบาท ลดลง 6.0%
- กำไร 10,100 ล้านบาท ลดลง 6.2%
รายได้ลดลงจากอัตราดอกเบี้ยที่ลดลง และ การลดดอกเบี้ยให้กับลูกค้าในโครงการช่วยเหลือ อย่างเช่น โครงการคุณสู้เราช่วย
ส่วนกำไรที่ลดลงมาจากรายได้ที่ลดลง และ ค่าใช้จ่ายด้านระบบไอทีจากการปรับโครงสร้างธุรกิจเป็นแบบดิจิทัล ที่บริษัทเชื่อว่าจะช่วยลดต้นทุนด้านการบริหารในระยะยาวลง
สำหรับแนวโน้มเศรษฐกิจในไตรมาส 3 ของปี 2568 ภาพรวมมีแนวโน้มชะลอตัวลงจากการใช้จ่าย การลงทุน รวมถึงการส่งออกที่จะเติบโตลดลงหลังผู้ส่งออกเร่งส่งสินค้าก่อนนโยบายภาษีจะมีผลกันไปแล้ว
โดยทาง ttb analytics คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2568 จะเติบโตน้อยกว่า 2% จากความไม่แน่นอนอย่างเช่น นโยบายภาษีนำเข้า อัตราเงินเฟ้อที่ต่ำ และ จำนวนนักท่องเที่ยวที่ลดลง
ด้านอัตราดอกเบี้ยคาดการณ์ว่า กนง. ยังลดดอกเบี้ยได้อีก 2 ครั้งในปีนี้ ลงไปที่ระดับ 1.25% ส่วนค่าเงินบาทคาดว่าจะอยู่ในกรอบ 32.00-33.00 บาท หลังสิ้นสุดไตรมาสที่ 3 ของปี 2568
ที่มา: weblink.set.or.th, คำอธิบายและวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ ในไตรมาส 2 และ ครึ่งปี ของแต่ละบริษัท