แบตเตอรีรถ EV เป็นหนึ่งในชิ้นส่วนที่แพงที่สุดของรถแต่ละคัน จากกรณีรถยนต์ BYD Atto 3 ที่เกือบต้องเสียเงินแพงกว่าซื้อรถคันใหม่ จากความเสียหายที่เกิดขึ้นกับฝาครอบแบตเตอรี (ซึ่งตอนนี้จบลงได้ด้วยดีแล้ว) ข่าวดีล่าสุดจาก ครม. กำลังจะเข้ามาบรรเทาปัญหานี้
นายพันธ์ทอง ลอยกุลนันท์ รองอธิบดีกรมศุลกากร รักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านการพัฒนาและบริหารการจัดเก็บภาษี ในฐานะโฆษกกรมศุลการ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2566 คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบ ร่างประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การยกเว้นอากรศุลกากรสำหรับชิ้นส่วนยานยนต์ไฟฟ้า หรือ เรือแบบพลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่
กรมศุลกากร จึงได้ดำเนินการเสนอร่างประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การยกเว้นอากรศุลกากรสำหรับชิ้นส่วนยานยนต์ไฟฟ้า โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. ยกเว้นอากร สำหรับของและส่วนประกอบของของ ไม่ว่าจะจัดอยู่ในพิกัดประเภทใด
เพื่อประกอบหรือผลิตเป็นยานยนต์ไฟฟ้า หรือ เรือแบบพลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ ดังนี้
2. ของที่ได้รับการยกเว้นอากรตามข้อ 1 ต้องมีหนังสือรับรองจากสถาบันยานยนต์ว่า เป็นของหรือส่วนประกอบของของ สำหรับนำมาเพื่อประกอบหรือผลิตเป็นยานยนต์ไฟฟ้า หรือ เรือแบบพลังงานไฟฟ้า
จากแบตเตอรี่
3. มีผลตั้งแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2568
อย่างไรก็ดี กระทรวงการคลังคาดการณ์ว่า รัฐอาจจะสูญเสียรายได้จากอากรขาเข้าโดยเฉลี่ยประมาณ 3,143 ล้านบาทต่อปี แต่จะเป็นการสร้างแรงจูงใจให้เกิดการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า (BEV) ในประเทศ ส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าในภูมิภาคด้วย
ก่อนหน้านี้ นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพสามิต เผยเมื่อเดือนก.พ. ที่ผ่านมาว่า ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ (บอร์ด EV) ครั้งล่าสุด เห็นชอบแผนจัดเก็บภาษีสรรพสามิตแบตเตอรีจาก 8% ลดเหลือ 1% เพื่อส่งเสริมการผลิตแบตเตอรี รองการการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า
เพราะขณะนี้มียอดจองรถไฟฟ้า 30,000 คัน นับว่าความต้องการใช้รถยนต์ไฟฟ้าเติบโตสูงมาก การลดภาษีแบตเตอร์ให้กับผู้ประกอบการ โดยมีเงื่อนไขว่า ผู้ประกอบการต้องมีแผนรีไซเคิลแบตเตอรีโดยจะติดตั้งระบบติดตามเพื่อจัดทำรีไซเคิล และทดสอบตำแหน่งที่อยู่ของแบตเตอรี เพื่อป้องกันการจำกัดแบตเตอรีอย่างไม่ถูกวิธี