ธุรกิจการตลาด

Xiaomi ลุยตลาด EV เต็มตัว ด้วยรถ SU7 สเปคซุปเปอร์คาร์ คาดผู้ใช้ 20 ล้านคน

26 ก.พ. 67
Xiaomi ลุยตลาด EV เต็มตัว ด้วยรถ SU7 สเปคซุปเปอร์คาร์ คาดผู้ใช้ 20 ล้านคน

000000470461_0d91996a_a141_41

Xiaomi รุกตลาดรถยนต์ไฟฟ้า

หลายๆคนคงรู้จักแบรนด์ Xiaomi ในฐานะบริษัทผู้นำด้านเทคโนโลยีและสมาร์ทโฟนรายใหญ่ของจีน ที่มีสินค้าแกดเจ็ต IT หลากหลายครอบคลุมชีวิตในประจำวันของเรา ตั้งแต่ สมาร์ทโฟนเสปกสูงราคาย่อมเยา, เครื่องฟอกอากาศ และหน้ากากกันฝุ่น PM 2.5, สมาร์ทีวี, พัดลมตั้งพื้น หรือ กล้องวงจรปิด CCTV

ล่าสุด แบรนด์ Xiaomi เตรียมกระโดดเข้าสู่ธุรกิจด้านรถยนต์ไฟฟ้าอย่างเต็มตัวขยายผลิตภัณฑ์เพิ่มลงในพอร์ตโฟลิโออย่างการเปิดตัวรถยนต์ไฟฟ้า Xiaomi SU7 ที่เป็นการจับมือระหว่าง 2 บริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Xiaomi และ Beijing Automotive Industry Holding Co. Ltd (BAIC) ที่มีดีกรีเป็นผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่อันดับ 6 ของจีน

โดย รถยนต์ไฟฟ้า Xiaomi SU7 เป็นรถยนต์ซีดาน ฝังชิป NVIDIA DRIVE Orin สเป็กระดับซูเปอร์คาร์ อัตราเร่ง 0-100 กม./ชม. ได้ใน 2.78 วินาที สามารถวิ่งได้ระยะทางสูงสุด 800 กิโลเมตร/ชาร์จหนึ่งครั้ง ที่ได้เผยโฉมครั้งแรกที่ประเทศจีน เมื่อปลายเดือนธ.ค.66 ที่ผ่านมา แต่แม้ว่าจะยังไม่มีการเปิดเผยราคาอย่างเป็นทางการ แต่คาดว่าน่าจะเปิดตัวที่ราคา 400,000 หยวน หรือราว 1.95 ล้านบาท

รถยนต์ไฟฟ้า Xiaomi SU7 จะเข้ามาเจาะกลุ่มฐานผู้ใช้สมาร์ทโฟนระดับพรีเมียมเดิมของ Xiaomi ที่มีกว่า 20 ล้านคนภายในประเทศจีน และกว่า 500 ล้านคนทั่วโลกในผลิตภัณฑ์อื่นๆของทาง Xiaomi

000000747125_efb4ef23_3577_40

บทบาทของระบบ Hyper OS หัวใจหลักของ Xiaomi

ระบบ Xiaomi Hyper OS คาดว่าจะเข้ามามีบทบาทความสำคัญในรถยนต์ไฟฟ้า Xiaomi SU7 เนื่องจากทางบริษัท เรียกระบบนี้ว่า “คน X รถยนต์ X บ้าน “โดยที่สมาร์ทโฟนและรถยนต์อัจฉริยะอยู่ร่วมกันอย่างกลมกลืน

ระบบปฎิบัติการ Hyper OS จะเข้ามาสร้างความแตกต่าง สร้างประสบการณ์ที่ดีเยี่ยมให้ผู้ใช้งานผลิตภัณฑ์อื่นๆของ Xiaomi เปรียบเสมือนกาวที่เชื่อมโยงระบบนิเวศของ Xiaomi ที่ไม่ว่าใช้ผลิตภัณฑ์ไหนก็สามารถเชื่อมต่อกันได้อย่างไร้รอยต่อ

โดยมีจุดเด่น อย่างเช่น

1.HyperConnect ประสบการณ์ไร้รอยต่อ 

ผู้ใช้งานสามารถควบคุมอุปกรณ์เกือบทุกอย่างได้จากในที่เดียว และรองรับการทำงานร่วมกันแบบข้ามอุปกรณ์ เช่น ซิงก์การแจ้งเตือนจากมือถือไปยังแท็บเล็ต สตรีมภาพจากกล้องมือถือไปยังหน้าจอแท็บเล็ตแบบเรียลไทม์ ก๊อบปี้และวางไฟล์ข้ามไปข้ามมาระหว่างอุปกรณ์

2.HyperMind คิดอ่านใจได้ 

นับว่าเป็นศูนย์กลางการรับรู้ของระบบนิเวศอุปกรณ์ของ Xiaomi ที่มีความสามารถในการรับรู้และทำความเข้าใจสภาพแวดล้อม การมองเห็น เสียง และพฤติกรรม

โดยสิ่งเหล่านี้ จะถูกต่อยอดไปสู่ปัญญาประดิษฐ์เชิงรุก โดยระบบจะนำทั้งสี่อย่างนี้มาเรียนรู้และวิเคราะห์ว่า ควรทำอะไร ที่ไหน และเมื่อไหร่ จากนั้นจะส่งคำสั่งไปยังอุปกรณ์โดยอัตโนมัติ โดยที่ผู้ใช้งานไม่จำเป็นต้องสั่งงานเอง เช่น หากเปิดประตูห้องนั่งเล่น ไฟในห้องก็จะเปิดตาม 

3.Xiaomi AI Assistant ฉลาดกว่าเดิม

Xiaomi ได้มีการปรับปรุงการใช้งานของ NPU ร่วมกับระบบอื่นๆ เพื่อให้ Xiaomi AI Assistant ฉลาดกว่าเดิม รองรับฟีเจอร์ปัญญาประดิษฐ์ขั้นสูง เช่น text to image และ image extender

  • ลดขนาดโมเดลและหน่วยความจำลงได้ 75%
  • ลดเวลาการประมวลผลจากเหลือ 5 วินาที จาก 100 วินาที (คิดเป็น 95%) 

ตลาด EV และความท้าทายของผู้เล่นคนใหม่

Giz China ได้มีการวิเคราะห์ไว้ว่า Xiaomi เป็นที่รู้จักกันในฐานะผู้นำตลาดเรื่องของเทคโนโลยี โดยเฉพาะสมาร์ทโฟนและแกดเจ็ต IT เครื่องใช้ภายในบ้านที่มีราคาย่อมเยา การเข้ามาเจาะตลาดรถยนต์ไฟฟ้าที่มีผู้เล่นรายใหญ่ผลัดกันชิงบัลลังก์เจ้าตลาด อย่าง BYD หรือ Tesla นับเป็นเรื่องยาก ยิ่งผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าต้องเล่นสงครามราคาเพื่อจูงใจผู้ซื้อ หรือพยายามพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เหนือกว่าคู่แข่งออกมาให้ได้

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะมีความท้าทายเหล่านี้ แต่ Xiaomi ก็เป็นหนึ่งในบริษัทขนาดใหญ่ ที่มีฐานผู้ใช้งานในจีนกว่า 20 ล้านคน มีผลิตภัณฑ์อื่นๆที่ครบวงจร ทำให้ความสามารถทั้งในเรื่องของเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยของบริษัท รวมถึงระบบนิเวศ หรือ Ecosystems ที่ครบวงจรที่เป็นจุดเด่นของบริษัท ก็อาจเป็นตัวเร่งที่สามารถขับเคลื่อนจากบริษัทสมาร์ทโฟนยักษ์ใหญ่ ไปสูหนี่งในผู้เล่นที่น่าเกรงขามในอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้าก็เป็นไปได้ 

000000675601_20b5b058_9ede_44ที่มา 

CNBC 

Xiaomi 

BNN

GizChina 

advertisement

Relate Post

SPOTLIGHT