คนไทยและโรคมะเร็ง ภัยร้ายเบอร์ 1 ที่คร่าชีวิตคน
โรคมะเร็ง โรคร้ายที่คนทั่วโลกต่างหวาดกลัว และถือเป็นสาเหตุอันดับต้นๆ ของการเสียชีวิตของของคนทั่วโลก รวมถึงประชากรไทยตั้งแต่อดีตจวบจนถึงปัจจุบัน และยังคงมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่อง
โดยจากข้อมูลล่าสุดจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ พบว่า โรคมะเร็งเป็นสาเหตุการตายอันดับ 1 ในประเทศไทยติดต่อกันในหลายสิบปีที่ผ่านมา
ปัจจุบันคนไทยมีผู้ป่วยโรคมะเร็งรายใหม่ถึงวันละ 336 คน หรือ 122,757 คนต่อปี และเสียชีวิตวันละ 221 คน หรือ 80,665 คนต่อปี
-
พบในเพศหญิง 151 คน ต่อประชากร 100,000 คน
5 อันดับโรคมะเร็งของผู้หญิงไทย : มะเร็งเต้านม, มะเร็งปากมดลูก, มะเร็งตับและท่อน้ำดี, มะเร็งปอดและมะเร็งลำไส้ใหญ่
-
พบในเพศชาย 169.3 คน ต่อประชากร100,000 คน
5 อันดับโรคมะเร็งของผู้ชายไทย : มะเร็งตับและท่อน้ำดี, มะเร็งปอด, มะเร็งลำไส้ใหญ่, มะเร็งต่อมลูกหมาก และมะเร็งต่อมน้ำเหลือง
นอกจากนี้ มะเร็งบางชนิดอาจไม่แสดงอาการ หรือพบความผิดปกติใดๆในช่วงแรก ทำให้ทุกนี้โรคมะเร็งกลายเป็นภัยร้ายที่น่ากลัวที่คร่าชีวิตมาแล้วนับไม่ถ้วน และยังถือเป็นปัญหาสาธารณสุขเกือบทุกประเทศ โดยทุกวันที่ 4 ก.พ. ของทุกปี จัดว่าเป็นวันมะเร็งโรค (World Cancer Day) เพื่อสร้างการรับรู้ที่ถูกต้องของโรค เพราะแม้จะเป็นโรคที่ดูร้ายแรงและน่ากลัว แต่หากเราตรวจพบแต่เนิ่นๆ รักษาให้ทันท่วงที โรคนี้อาจหายขาด หรือสามารถต่อชีวิตคนที่เรารักได้
PM 2.5 เสี่ยงเกิดมะเร็งปอด
หลายๆคนอาจคิดว่า ‘บุหรี่’ เป็นหนึ่งในปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดมะเร็งปอด แต่แท้จริงแล้ว ความสกปรกของอากาศ เช่น ภาวะอากาศเป็นพิษ โดยเฉพาะฝุ่นละอองเล็กจิ๋วอย่าง PM 2.5 ที่สามารถเพิ่มความเสี่ยงการเกิดมะเร็งปอดได้ 1-1.4 เท่า
จากสถิติจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติในปี 62 พบว่าประเทศไทยพบผู้ป่วยมะเร็งปอดใหม่ จำนวนวันละ 47 คน หรือถ้าคิดเป็นปีอยู่ที่ 17,222 คน ต่อปี แบ่งเป็น
-
ชาย - 10,766 คน
-
หญิง - 6,456 คน
แต่ในช่วงปีที่ผ่านมา PM2.5 ในไทย ถึงขั้นวิกฤต เนื่องจากสามารถวัดค่าความหนาเเน่นเฉลี่ยได้ถึง 26.4 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยตามที่องค์การอนามัยโลกประกาศไว้ (ไม่เกิน10 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร) ส่งผลต่อประชากรที่ต้องป่วยด้วยโรคจากมลพิษทางอากาศ รวมกว่า 9.2 ล้านคน และมะเร็งปอด กลายเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 2 ของคนไทย ซึ่งแต่ละปีมีผู้เสียชีวิตสูงถึง 19,000 ราย
BDMS จับมือ Astrazeneca ยกระดับการรักษามะเร็ง
ล่าสุด BDMS นำร่องโรงพยาบาลมะเร็งกรุงเทพ วัฒโนสถ ร่วมกับ บริษัท แอสตร้าเซนเนก้า (ประเทศไทย) วินิจฉัยและรักษาโรคมะเร็งปอด ด้วยการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ อย่างปัญญาประดิษฐ์ หรือเทคโนโลยี AI เข้ามาใช้ เพื่อช่วยวินิจฉัยและวางแผนการรักษาผู้ป่วยมะเร็งปอด เพื่อปิดช่องว่างในการวินิจฉัยและรักษาโรคมะเร็งปอด ด้วยแคมเปญ Close the care gap ขององค์การอนามัยโลก (WHO) พร้อมตั้งเป้าดูแลผู้ป่วยแบบครบองค์รวมในทุกขั้นตอนการรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสม และการตรวจหาสารพันธุกรรมของเซลล์มะเร็งในร่างกาย เพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีในระยะยาว ชูความเป็นศูนย์แห่งความเป็นเลิศด้านโรคมะเร็งแห่งเอเชียแปซิฟิก (Center of Excellence - Cancer)
ตรวจหามะเร็งปอด ด้วยความแม่นย้ำของ AI
ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI จะเข้ามาช่วยในวินิจฉัยภาพเอกซเรย์รังสีทรวงอกในผู้ที่เข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปี ยิ่งไปกว่านั้น AI จะทำหน้าที่เหมือนหน่วยคัดกรองที่ช่วยให้แพทย์ตรวจพบเงาของก้อนเนื้อในปอดในระยะเริ่มต้นที่อาจมีขนาดเล็กหรือมองเห็นได้ยากภายในระยะเวลา 3 นาที
ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยและสามารถเข้าสู่กระบวนการรักษาอย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น ลดอัตราการเสียชีวิต เพิ่มอัตราการรอดชีวิต 5 ปีของผู้ป่วยมะเร็งปอดได้มากยิ่งขึ้น
หลังจากนั้น โรงพยาบาลนำชุดตรวจหาสารพันธุกรรมของเซลล์มะเร็งในร่างกายจากเลือด (Circulating Tumor DNA : ctDNA) โดยใช้เทคโนโลยี Next-Generation Sequencing ที่สามารถตรวจหามะเร็งหลายชนิดพร้อมกัน เพื่อค้นหาโรคมะเร็งตั้งแต่ก่อนเป็นจนถึงระยะเริ่มต้น ซึ่งช่วยเสริมการตรวจคัดกรองประเมินความเสี่ยงโรคมะเร็งเฉพาะบุคคล พร้อมทั้งช่วยให้แพทย์วางแผนการรักษาได้อย่างเหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย