ธุรกิจการตลาด

อินเดียหวังเป็น ผู้ผลิตชิปเซมิคอนดักเตอร์รายใหญ่ของโลก ภายใน 5 ปี

18 มี.ค. 67
อินเดียหวังเป็น ผู้ผลิตชิปเซมิคอนดักเตอร์รายใหญ่ของโลก ภายใน 5 ปี

นายอัศวิน ไวษณวะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอิเล็กทรอนิกส์และเทคโนโลยีสารสนเทศ กระทรวงการรถไฟ และกระทรวงการสื่อสารอินเดีย เผยว่า ภายในอีก 5 ปี อินเดียตั้งเป้าที่จะเป็นผู้ผลิตเซมิคอนดักเตอร์รายใหญ่ที่สุดใน 5 อันดับแรกของโลก ถึงแม้ตลาดชิปและห่วงโซ่อุปทานโลกในตอนนี้ มีความซับซ้อนเป็นอย่างมาก

อัศวินยังบอกด้วยว่า อินเดียมองตัวเองเป็น พันธมิตรห่วงโซ่คุณค่าที่เชื่อถือได้ สำหรับผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อิเล็กทรอนิกส์ทางอุตสาหกรรมและกลาโหม และอิเล็กทรอนิกส์ไฟฟ้า หรือพูดง่ายๆ คือ ผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทุกประเภท ที่ต้องผลิตและออกแบบเซมิคอนดักเตอร์

ข้อมูลจาก TrendForce เผยว่าในเดือนธันวาคม ปีที่ผ่านมา ไตหวันมีกำลังการผลิตหล่อเซมิคอนดักเตอร์ทั่วโลกที่ 46% ตามมาด้วยจีน (26%) เกาหลีใต้ (12%) สหรัฐอเมริกา (6%) และญี่ปุ่น (2%)

อินเดียจะได้รับประโยชน์จากการที่บริษัทต่างๆ ลดการพึ่งพาจากจีน จากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกา-จีน ที่ดูไม่มีทีท่าที่จะจบสักที

ในสัปดาห์ที่ผ่านมา นเรนทระ โมที นายกรัฐมนตรีอินเดีย ได้ทำพิธีเปิดโรงงานเซมิคอนดักเตอร์ 3 แห่ง โดยหนึ่งในโรงงาน เป็นการร่วมทุนระหว่าง Tata Electronics และ Powerchip Semiconductor Manufacturing Corp. (PSMC) ของไต้หวัน ซึ่งประธาน PSMC บอกกับสำนักข่าว The Economic Times ว่าเป้าหมายคือ สร้างชิปเซมิคอนดักเตอร์ตัวแรกของอินเดียภายในปี 2026

Rajeev Chandrasekhar รัฐมนตรีสหภาพกล่าวในการแถลงข่าวว่า ชิป Made in India ที่ผลิตในอินเดียจะช่วยสร้างสถานะที่แข็งแกร่งและสำคัญสำหรับอินเดียในห่วงโซ่คุณค่าระดับโลก และจะทำให้อินเดียเป็นศูนย์กลางเซมิคอนของโลก ส่วนในอีก 7 ปีข้างหน้า มีความเป็นไปได้ที่ภาคเซมิคอนดักเตอร์ทั่งโลก จะมีมูลค่าหลักล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ที่มา CNBC

advertisement

SPOTLIGHT