ความยั่งยืน

โลกเดือด หายนะจากภัยพิบัติ ความเสี่ยงของเศรษฐกิจ ที่มนุษย์ไม่มีทางสู้

28 เม.ย. 67
โลกเดือด หายนะจากภัยพิบัติ ความเสี่ยงของเศรษฐกิจ ที่มนุษย์ไม่มีทางสู้
ไฮไลท์ Highlight
  • คาดการณ์ว่าปี 2024 อาจจะกลายเป็นปีที่มีอุณหภูมิสูงสุดในประวัติศาสตร์

  • ข้อมูลของนาซ่า ในช่วงปี 2022-2023 ระดับน้ำทะเลทั่วโลกเพิ่มขึ้นถึงประมาณ 0.76 เซนติเมตร หรือ 0.3 นิ้ว เพิ่มขึ้นมากเกือบสี่เท่าของระดับที่เพิ่มขึ้นในระหว่างปี 2021-2022 ถ้าหากยังเพิ่มในอัตราเร่งแบบนี้ไปเรื่อยๆ ระดับน้ำทะเลของโลกจะเพิ่มขึ้นถึง 20 เซนติเมตรภายในปี 2050

  • ในปี 2023 เอเชียเป็นทวีปที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติที่เกิดจากภาวะสภาพอากาศแปรปรวนมากที่สุดในโลก ทั้งในแง่ความเสียหายและผู้เสียชีวิต

โลกเรากำลังร้อนขึ้น อุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุดเป็นประวัติการณ์ 10 เดือนรวด ทำให้อากาศร้อนจัด เกิดภัยพิบัติขึ้นทั่วโลกข้อมูลของ Copernicus หน่วยงานติดตามสภาพอากาศโลกของสหภาพยุโรป พบว่า อุณหภูมิตั้งแต่เดือนมิถุนายนปี 2023 ถึงเดือนมีนาคมปี 2024 ร้อนทำลายสถิติมาตลอด ช่วง 3 เดือนแรกของปี 2024 อุณหภูมิโลกสูงกว่าอุณหภูมิก่อนยุคอุตสาหกรรมถึง 1.6 องศาเซลเซียสและคาดว่าอุณหภูมิในเดือนเมษายนปี 2024 ก็น่าจะสูงทำลายสถิติโลกอีกเช่นกัน

นี่ทำให้มีผู้คาดการณ์ว่าปี 2024 อาจจะกลายเป็นปีที่มีอุณหภูมิสูงสุดในประวัติศาสตร์ โค่นแชมป์ปี 2023 ที่เพิ่งทุบสถิติโลกไปหรืออย่างน้อยก็ต้องเป็นปีที่ร้อนที่สุดในประวัติศาสตร์เป็นอันดับที่ 2 รองจาก 2023 ตัวอย่างที่เห็นชัดคือ ประเทศไทยในขณะนี้ร้อนจัดทะลุ 45 องศาจนเป็นอันตรายสุขภาพ

อากาศร้อน

โลกร้อน เป็นผลโดยตรงจากปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลก ที่ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2023 เพิ่มขึ้นถึง 1.1% จากปีก่อนหน้า แตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 37.4 พันล้านตันแต่นอกจากอากาศร้อนแล้ว สิ่งที่ตามมาจากภาวะโลกร้อนยังเป็น การละลายของน้ำแข็งขั้วโลก สภาพอากาศแปรปรวน และภัยพิบัติต่างๆ 

เดือนเมษายน 2024 นักวิทยาศาสตร์ในทวีปแอนตาร์กติกา หรือขั้วโลกใต้ ได้ออกมาเปิดเผยว่า ในวันที่ 18 มีนาคมปี 2022 พวกเขาตรวจพบว่าอุณหภูมิของทวีปแอนตาร์กติกาพุ่งขึ้นสูงกว่าค่าเฉลี่ยประจำฤดูกาลถึง 38.5 องศาเซลเซียสเพราะโลกร้อนจะทำให้อุณหภูมิน้ำทะเลสูงขึ้น ซึ่งจะทำให้น้ำแข็งขั้วโลกละลายในอัตราที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

โดยจากข้อมูลของนาซ่า ในช่วงปี 2022-2023 ระดับน้ำทะเลทั่วโลกเพิ่มขึ้นถึงประมาณ 0.76 เซนติเมตร หรือ 0.3 นิ้ว เพิ่มขึ้นมากเกือบสี่เท่าของระดับที่เพิ่มขึ้นในระหว่างปี 2021-2022และตั้งแต่ปี 1993 ระดับน้ำทะเลในโลกเพิ่มขึ้นแล้วถึง 10 เซนติเมตร  โดยถ้าหากยังเพิ่มในอัตราเร่งแบบนี้ไปเรื่อยๆ ระดับน้ำทะเลของโลกจะเพิ่มขึ้นถึง 20 เซนติเมตรภายในปี 2050

ทวีปแอนตาร์กติกา
ภาพจาก AFP :ทวีปแอนตาร์กติกา

อุณหภูมิน้ำทะเลที่เพิ่มขึ้นยังไม่ได้ทำให้น้ำแข็งขั้วโลกละลายเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังทำให้แนวปะการังทั่วโลกฟอกขาวใหญ่เป็นครั้งที่ 2 ภายในเวลา 10 ปี และเป็นครั้งที่ 4 เท่าที่เคยมีการบันทึกมา ซึ่งคาดว่าจะส่งผลกระทบกับปะการังกว่า 54% ทั่วโลก ทำให้การฟอกขาวในครั้งนี้ อาจกลายเป็นการฟอกขาวที่ร้ายแรงที่สุดในโลก

การฟอกขาวของปะการังเกิดถี่ขึ้นเรื่อยๆส่งผลเสียเป็นอย่างมาก เพราะปะการังต้องใช้เวลามากกว่า 10 ปีในการฟื้นฟูตัวเองทำให้การฟอกขาวครั้งนี้มีสิทธิที่จะทำให้ปะการังบางส่วนตายถาวร ส่งผลกระทบต่อมนุษย์ คือ ทำให้สัตว์ทะเลรวมไปถึงอาหารทะเลลดลง และอาจทำให้เกิดความไม่มั่นคงทางอาหาร เพราะแนวปะการังเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำขนาดเล็ก

ปะการังฟอกขาว

อีกเหตุการณ์ช็อกโลกที่เกิดขึ้นในปีนี้ก็คือ พายุน้ำท่วมในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และโอมาน ที่ทำให้เกิดน้ำท่วมเฉียบพลันในวันที่ 16 ถึง 19 เมษายนโดยในช่วง 24 ชั่วโมงระหว่างวันที่ 16 ถึง 17 เมษายน “ดูไบ” เมืองที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ต้องเจอปริมาณน้ำฝนถึง 6.26 นิ้ว ซึ่งคิดเป็นปริมาณน้ำฝนกว่า 2 ปีของเมืองซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ผิดปกติ และสะท้อนผลกระทบของภาวะโลกร้อนที่ทำให้อากาศในพื้นที่แห้งแล้งชื้นมากขึ้น จนทำให้ประเทศทะเลทรายอย่างเกิดฝนตกหนักจนเกิดเหตุอุทกภัยขึ้นได้

น้ำท่วมดูไบ
ภาพจาก AFP: น้ำท่วมสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

โดยล่าสุด ทางการสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ออกมาประกาศว่ารัฐบาลจะใช้เงินถึง 544 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 2 หมื่นล้านบาทเพื่อซ่อมแซมและบรรเทาความเสียหายที่จะเกิดขึ้นในครั้งนี้สะท้อนถึงผลกระทบด้านเศรษฐกิจจากภาวะโลกร้อนที่เป็นรูปธรรมมากที่สุด

ภัยพิบัติ บนโลกใบนี้จะยังไม่จบลงแน่นอนงานล่าสุดขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลก พบว่า ในปี 2023 เอเชียเป็นทวีปที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติที่เกิดจากภาวะสภาพอากาศแปรปรวนมากที่สุดในโลก ทั้งในแง่ความเสียหายและผู้เสียชีวิต

โดยในปีที่ผ่านมา เอเชียต้องเจอภัยพิบัติทางน้ำถึง 79 ครั้ง 80% ในนั้นเกิดจากพายุฝนและน้ำท่วม และทำให้มีผู้เสียชีวิตรวมกว่า 2,000 คนนอกจากนี้ อุณหภูมิพื้นผิวทั่วเอเชียยังสูงสุดเป็นอันดับที่ 2 เท่าที่มีการบันทึกมา โดยสูงกว่าค่าเฉลี่ยปี 1991-2020 ถึง 0.91 องศาเซลเซียส และสูงกว่าค่าเฉลี่ยปี 1961-1990 1.87 องศาเซลเซียส 

advertisement

Relate Post

SPOTLIGHT