“แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น YLG ประเมินว่าปัจจัยพื้นฐานจะเป็นประเด็นหลักที่จะชี้วัดว่าราคาทองคำจะเป็นเช่นไรในครึ่งปีหลังของปี 2022 หากเฟดเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยอย่างแข็งกร้าวไปพร้อมๆกับการที่เศรษฐกิจสหรัฐสามารถหลีกเลี่ยงสภาวะเศรษฐกิจถดถอยได้ อาจเป็นปัจจัยหลักที่ยังคงกดดันทองคำต่อเนื่อง แต่หากเศรษฐกิจสหรัฐเผชิญกับสภาวะเศรษฐกิจถดถอย และกระตุ้นให้เฟดต้องชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยหรือแม้แต่กระทั่งกลับมาปรับลดดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ สถานการณ์ข้างต้นจะพลิกกลับมาเป็นสภาพแวดล้อมที่เป็นบวกสำหรับทองคำอีกครั้ง นั่นทำให้แนวทางการดำเนินนโยบายการเงินของเฟด และผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการเร่งขึ้นดอกเบี้ยของเฟดจะกลายเป็นจุดโฟกัสที่มีผลต่อการเคลื่อนไหวของทองคำในช่วง H2 ของปี 2022 นั่นเอง”
“ช่วงครึ่งปีแรกของปี 2022 ราคาทองคำในตลาดโลกปรับตัวลดลง 23.04 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หรือ -1.2% จากราคาเปิด 1,828 ดอลลาร์ต่อออนซ์ สู่ระดับ 1,806.20 ดอลลาร์ต่อออนซ์ โดยระดับสูงสุดของปีนี้ คือ 2,069.74 ดอลลาร์ต่อออนซ์ซึ่งราคาเพิ่งขึ้นไปทดสอบในวันที่ 8 มี.ค. ส่วนระดับต่ำสุดของปีนี้อยู่ที่ 1,786 ดอลลาร์ต่อออนซ์”
ราคาทองคำปี 2022 เปิดปีที่ 1,828 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ก่อนที่จะอ่อนตัวลง โดยได้รับแรงกดดันจากการคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด)อาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างเร็วสุดในการประชุมนโยบายการเงินเดือนมี.ค.ซึ่งเป็นเดือนเดียวกันที่มาตรการ QE ของเฟดสิ้นสุดลง หลังจากนั้น ความวิตกเกี่ยวกับเงินเฟ้อ และสงครามในยูเครนได้กลายเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้นักลงทุนเข้าซื้อทองคำทั้งในฐานะสินทรัพย์ที่ช่วยป้องกันความเสี่ยงจากเงินเฟ้อ และสินทรัพย์ปลอดภัย จนทำให้ราคาทองคำในช่วงไตรมาส 1 ของปีนี้ปิดทะยานขึ้นเกือบ 6%
ก่อนที่นักลงทุนจะซึมซับสงครามในยูเครน และการคุมเข้มนโยบายการเงินอย่างแข็งกร้าวของธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด)ด้วยการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 25 bps ในการประชุมเดือนมี.ค., ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 50 bps ในเดือนพ.ค. และอีก 75 bps เมื่อเดือนที่แล้วสู่ระดับ 1.5-1.75% ทำให้ดัชนีดอลลาร์แข็งค่าแตะระดับสูงสุดในรอบ 20 ปี ส่วนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปีพุ่งเหนือ 3% จนทำให้ราคาทองคำปรับตัวลดลง
แม้ทองคำในตลาดโลกจะทำผลงานไม่สดใส อย่างไรก็ดี เมื่อเทียบกับสินทรัพย์ส่วนใหญ่ในปีนี้ พบว่าทองคำยังเป็นสินทรัพย์หัวตาราง เพราะแม้ทองคำให้ผลตอบแทนเป็นลบก็จริง แต่ปรับตัวลงเพียง 1.2% สะท้อนว่ามีความยืดหยุ่นอย่างมาก แม้ว่าจะเผชิญกับแรงกดดันสำคัญอย่างดัชนีดอลลาร์ที่แข็งค่ามากถึง 9.5% ก็ตาม
มีหลากหลายปัจจัยที่นักลงทุนทองคำต้องติดตามอย่างใกล้ชิดในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2022 ไม่ว่าจะเป็นการดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลางทั่วโลกโดยเฉพาะธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด) พัฒนาการทางเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อ ปัจจัยภูมิรัฐศาสตร์และความไม่แน่นอนทางการเมือง รวมไปถึงความเชื่อมั่นต่อการลงทุนทองคำที่สะท้อนผ่านการลงทุนในภาค ETF ทองคำและการถือสถานะของนักเก็งกำไรในตลาดฟิวเจอร์สทองคำ COMEX
อย่างไรก็ดี YLG ได้คัดเอา 3 ประเด็นหลักที่อยากให้นักลงทุนทองคำจับตาอย่างใกล้ชิด ได้แก่
หลังจากเฟดเริ่มคุมเข้มนโยบายการเงินด้วยการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 25 bps ในการประชุมเดือนมี.ค., ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 50 bps ในเดือนพ.ค. และอีก 75 bps เมื่อเดือนที่แล้วสู่ระดับ 1.5-1.75%
แต่การเคลื่อนไหวของราคาทองคำในช่วงครึ่งปีหลังของปีนี้จะขึ้นอยู่กับว่าเฟดจะดำเนินการอย่างแข็งกร้าวมากขึ้นหรือน้อยลง หรือไม่และอย่างไร ปัจจุบัน ตลาดกำลัง price in ความน่าจะเป็นที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อเนื่องในปีนี้ ทั้งนี้ จาก CME Fedwatch tool พบว่า...
Source : CME FED watch Tool * Data as of 22 /07/2022 11:29:26 CT
“ดังนั้น หากเฟดดำเนินการอย่างแข็งกร้าวต่อไปจะเป็นปัจจัยกดดันให้ราคาทองคำดิ่งลงต่อได้ กลับกันหากมีปัจจัยที่ส่งผลให้เฟดชะลอการคุมเข้มนโยบายการเงิน จะส่งผลบวกต่อราคาทองคำได้อย่างมีนัยสำคัญ”
ความกังวลว่าเศรษฐกิจจะเกิดภาวะถดถอยเริ่มก่อตัวขึ้น สะท้อนจาก Google พบว่า ประชากรในสหรัฐค้นหาคำว่า “recession” มากกว่าช่วงเวลาไหนในรอบ 2 ปีที่ผ่านมา
ล่าสุดนักเศรษฐศาสตร์จาก Goldman Sachs Group Inc. ปรับลดคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจของสหรัฐและเตือนว่าความเสี่ยงที่เศรษฐกิจจะถดถอยกำลังเพิ่มสูงขึ้น และทีมของ Goldman มองเห็นความเป็นไปได้ 30% ที่เศรษฐกิจสหรัฐจะเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยในปีหน้า โดยเพิ่มขึ้นจากความเป็นไปได้ 15% และมีความเป็นไปได้ 25% ที่เศรษฐกิจสหรัฐจะเข้าสู่สภาวะเศรษฐกิจถดถอยในอีก2 ปีข้างหน้าถ้าหากไม่เกิดภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจในปีหน้า นั่นทำให้โอกาสที่จะเกิดภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจภายใน 2 ปีข้างหน้าเพิ่มขึ้นจาก 35% สู่ระดับ 48%
ผลสำรวจล่าสุดของผู้เชี่ยวชาญใน Wall Street ที่จัดทำโดย Deutsche bank พบว่า "ความเสี่ยงของภาวะเศรษฐกิจถดถอยในสหรัฐภายในสิ้นปี 2023 “เพิ่มขึ้น” ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา โดย 88% ของผู้เชี่ยวชาญใน Wall Street คาดว่า ภาวะเศรษฐกิจถดถอยในสหรัฐจะเกิดขึ้นภายในสิ้นปี 2023 ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก 78% ในเดือนที่แล้ว
แม้จะมี 17% เท่านั้นที่เชื่อว่าภาวะเศรษฐกิจถดถอยจะเริ่มต้นในปีนี้ แต่ถือว่าเป็นสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นจาก 13% ในเดือนที่แล้ว และเพิ่มขึ้นจากระดับ 0% ในผลสำรวจเดือนกุมภาพันธ์ มีเพียง 8% เท่านั้นที่คาดว่าจะไม่เกิดภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจจนถึงปี 2024 แต่สัดส่วนดังกล่าวถือว่าลดลงจากระดับ 45% ในผลสำรวจเดือนกุมภาพันธ์
“แน่นอนว่าหากเศรษฐกิจสหรัฐชะลอตัวลง หรือ หากเลวร้ายถึงขนาดเกิดสภาวะเศรษฐกิจถดถอย นั่นจะส่งผลให้เฟดต้องชะลอการคุมเข้มนโยบายการเงิน หรือ กลับมาผ่อนคลายนโยบายการเงิน ซึ่งจะเป็นปัจจัยหนุนราคาทองคำในที่สุด”
กระแสเงินทุนที่ไหลเข้า-ออกกองทุน ETFs ทองคำถือเป็นปัจจัยหนึ่งที่นักลงทุนควรติดตามอยู่เสมอ เพราะนอกจากจะเป็นส่วนสำคัญในตลาดทองคำที่อาจส่งผลในเชิงจิตวิทยาต่อการลงทุนทองคำแล้วนั้น ยังจะทำให้นักลงทุนได้เห็นมุมมองของนักลงทุนรายใหญ่ที่มีต่อตลาดทองคำเนื่องจากนักลงทุนสถาบันและนักลงทุนรายใหญ่ในต่างประเทศมักจะใช้กองทุน ETFs ทองคำเพื่อเป็นเครื่องมือหนึ่งในการบริหารพอร์ตการลงทุน
แม้กระแสเงินทุนใรกองทุน SPDR ซึ่งเป็นกองทุน ETF ทองคำที่ใหญ่ที่สุดในโลกยังคงเป็นบวก โดยมีการถือครองทองคำเพิ่ม 30.21 ตัน อย่างไรก็ดี กองทุน SPDR ถือครองทองคำลดลงในเดือนพ.ค.และมิ.ย. 2 เดือนติดต่อกันจำนวน -26.19 ตันและ -18.05 ตันตามลำดับ รวม 44.24 ตัน ขณะที่ในเดือนก.ค.(1-22 ก.ค.) กองทุน SPDR ถือครองทองคำลดลงแล้ว -44.44 ตันซึ่งถือว่าการลดการถือครองทองคำของ SPDR สอดคล้องกับการปรับตัวลดลงของทองคำ
“ดังนั้น หาก SPDR ลดการถือครองทองคำต่อเนื่องจำเป็นปัจจัยที่นักลงทุนต้องระมัดระวัง แต่กาSPDR เริ่มชะลอแรงขายจะสะท้อนว่านักลงทุนยังคงถือครองทองคำ ยิ่งหากกลับมาเพิ่มการถือครองทองคำต่อไปจะสะท้อนความเชื่อมั่นในการลงทุนทองคำซึ่งเป็นสัญญาณเชิงบวกที่ช่วยหนุนราคาทองคำ”
สำหรับตลาดฟิวเจอร์ส COMEX พบว่า ในสัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 12 ก.ค. พบว่า จำนวนสถานะซื้อของนักเก็งกำไร ลดลง 11,803 สัญญา สู่ระดับ 91,669 สัญญา ส่วนจำนวนสถานะขายของนักเก็งกำไร เพิ่มขึ้น 11,364 สัญญา สู่ระดับ 97,802 สัญญา ทำให้สถานะสุทธิในหมู่นักเก็งกำไรทองพลิกกับมาเป็น “สถานะขายสุทธิ” เป็นครั้งแรกในรอบกว่า 3 ปีบ่งชี้นักเก็งกำไรมองทองในเชิงลบมากขึ้น
“หากปริมาณสถานะสุทธิในตลาดสามารถใช้เป็นสัญญาณที่บ่งชี้ถึงการกลับตัวของตลาดได้ และอาจกำลังสะท้อนภาวะขายมากเกินไป(oversold) ในตลาดทองคำ แต่หากสถานะขายสุทธิเพิ่มขึ้นต่อเนื่องหลายสัปดาห์ติดต่อกัน จะถือเป็น Sentiment เชิงลบที่นักลงทุนทองคำต้องระมัดระวัง”
ในระยะยาว ราคาทองคำมีการยกระดับต่ำสุดขึ้นต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี 2018, 2019, 2020 และ 2021 พร้อมกับนี้ยังทำระดับสูงสุดต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี 2017, 2018, 2019, 2020 แม้ว่าในปี 2021ราคาจะไม่สามารถทำระดับสูงสุดที่เหนือกว่าปีก่อนหน้าได้ แต่ล่าสุดในปี 2022 ราคาทองคำได้ทะลุผ่านระดับสูงสูงสุดของปี 2021 บริเวณ 1,960 ดอลลาร์ต่อออนซ์ได้สะท้อนมุมมองเชิงบวกในระยะยาวที่เคยแข็งแกร่งอย่างมาก
อย่างไรก็ดี มุมมองเชิงบวกในระยะยาวลดลง และกลับมาเป็นกลางมากขึ้น หลังจากราคาหลุด 11,780 ดอลลาร์ต่อออนซ์ และเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักที่ทำให้ราคาปรับตัวลงมาสร้างฐานบริเวณแนวรับสำคัญ และเป็นฐานของราคาทองคำในปี 2021 บริเวณ 1,676-1,630 ดอลลาร์ต่อออนซ์อีกครั้งซึ่งถือเป็นจุดที่นักลงทุนต้องจับตาอย่างใกล้ชิด เพราะหากราคาหลุดบริเวณ 1,676-1,630 ดอลลาร์ต่อออนซ์ จะทำให้ทิศทางราคาในระยะยาวเปลี่ยนเป็นลบมากขึ้นอย่างชัดเจน โดยมีโอกาสปรับฐานในรูปแบบที่ลึก และมีเป้าแนวรับถัดไปจะอยู่ในโซน 1,530 ดอลลาร์ต่อออนซ์ (ฐานของราคาทองคำในปี 2012) กลับกันหากราคาสามารถยืนเหนือกรอบแนวรับบริเวณ 1,676-1,630 ดอลลาร์ต่อออนซ์ได้อาจเป็นจุดกลับตัวที่สำคัญของราคาทองคำเช่นกัน
ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท YLG Bullion And Future จำกัด