ข่าวเศรษฐกิจ

4 เรื่องจริงที่ชาวปาเลสไตน์ต้องเผชิญ

20 ต.ค. 66
4 เรื่องจริงที่ชาวปาเลสไตน์ต้องเผชิญ

istock-1166483601.รัฐปาเลสไตน์ พื้นที่มีขนาดเล็กกว่าไทย กว่า 82 เท่า

พื้นที่ของรัฐปาเลสไตน์ โดนแบ่งเป็น 2 ส่วนที่แยกออกจากกัน

  • เขตเวสต์แบงก์ (West Bank) ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำจอร์แดน มีพื้นที่ 5,860 ตร.กม. 

  • ฉนวนกาซา (Gaza Strip) ตั้งอยู่ริมชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน มีพื้นที่เพียง 365 ตร.กม.

เมื่อเอาทั้ง 2 พื้นที่ มารวมกัน ดินแดนปาเลสไตน์ มีพื้นที่เพียง 6,225 ตร.กม.เล็กกว่าประเทศไทยถึง 82 เท่า

แม้พื้นที่ขนาดเล็ก แต่ประชากรในฉนวนกาซามีมากถึง 2.2 ล้านคน จึงถือว่า มีความหนาแน่นของประชากรสูงโดยเฉลี่ยแล้วมีคนมากกว่า 9,000 คนต่อ 1 ตร.กม.

ส่วน รอมัลลอฮ์ มีสถานะเป็นเมืองหลวงโดยพฤตินัย ของรัฐปาเลสไตน์ ที่ตั้งอยู่ในเขตเวสต์แบงก์  

istock-1724628552

2.ฉนวนกาซา ฉายา คุกเปิดที่ใหญ่ที่สุดในโลก

นับตั้งแต่ปี 2007 กลุ่มฮามาสขึ้นสู่อำนาจในการดูแลฉนวนกาซา แต่อิสราเอลร่วมมือกับอียิปต์ประกาศปิดล้อมพื้นที่กาซ่าทั้งทางบก น้ำ อากาศอย่างถาวร

กว่า 16 ปี ที่ชาวปาเลสไตน์ในฉนวนกาซาถูกตัดขาดจากโลกภายนอก ถูกจำกัดสิทธิเสรีภาพในการเข้า-ออก โดยมีจุดผ่านด่านทั้งหมด 3 จุด คือด่านอิสราเอล 2 จุด และด่านอียิปต์อีก 1 จุด โดยแต่ละจุดต้องขออนุญาตจากผู้คุมประตูจากทางการอิสราเอลและอียิปต์ก่อน เพื่อขอใบอนุญาต และต้องผ่านการตรวจอย่างเข้มงวด

นอกจากนี้ ยังโดนจำกัด ในการนำเข้าอาหารการกิน ยารักษาโรค วัสดุก่อสร้าง และสิ่งอื่น ๆ ที่จำเป็นต่อการดำรงชีพ 

จนมีคนเปรียบเปรยว่า พื้นที่ในกาซ่า เสมือนถูกลงโทษให้อยู่ในคุกเปิด 

923591

3.ชีวิตที่โดนริดรอนสิทธิ

สถานการณ์สงครามทำให้ ทำให้การใช้ชีวิตของชาวปาเลสไตน์ในฉนวนกาซ่ายากลำบากลงไปกว่าเดิม เพราะถูกจำกัดทั้งไฟฟ้า อาหาร น้ำ  เชื้อเพลิง ผู้คนต้องเร่งอพยพหลังมีใบปลิวร่อนลงมาจากท้องฟ้า ก่อนที่อิสราเอลจะเข้าโจมตีอย่างหนักหน่วง 

โดยปกติแล้ว คนในฉนวนกาซา มีไฟฟ้าใช้อย่างจำกัดอยู่แล้ว เพียงแค่ 3-4 ช.ม./วัน แต่หลังจาก อิสราเอล ปิดกั้นพรมแดน โลกของฉนวนกาซาเลยมีแต่ความืดมิด

  • ประชากรกว่า 75% ในฉนวนกาซา หรือประมาณ 1.7 ล้านคน ลงทะเบียนเป็นผู้ลี้ภัย

  • ประชากรกว่า 95% ในฉนวนกาซา ไม่สามารถเข้าถึงน้ำดื่มสะอาดได้ เนื่องจากมีการขุดเจาะชั้นหินใกล้ชายฝั่งเกินควร บวกกับการแทรกซึมของน้ำทะเลและน้ำเสีย ทำให้น้ำปามีรสเค็มและปนเปื่อนจึงไม่เหมาะแก่การบริโภค

  • สาธารณสุขอยู่ในภาวะย่ำแย่ เนื่องจากแพทย์ต้องเลือกการดูแลผู้ป่วยจากอาการหนัก ไป เบา ตั้งแต่ปี 2008-2022 มีผู้ป่วย 1 ใน 3 ต้องจบชีวิตลงขณะเผ้ารอการรักษา

273518

4.ถูกควบคุมเกือบทั้งระบบ

ปาเลสไตน์ยังไม่มีระบบเงินตราเป็นของตนเอง เนื่องจากอิสราเอลไม่ยินยอม ปัจจุบันเงินตราที่ใช้เป็นสกุลเงินชคเกลของอิสราเอล และสกุลเงินดีนารของจอร์แดน 

  • ปาเลสไตน์พาสปอร์ต ถูดจัดอยู่ใน ranked ที่ 106 สามารถบินโดยไม่ต้องขอวีซ่าเพียงแค่ 11 ประเทศเท่านั้น ซึ่งจัดว่าเป็นrankedที่ต่ำสุดจากการจัดลำดับ

  • ทางการอิสราเอล ได้ควบคุมทะเบียนประชากรของชาวปาเลสไตน์ในเขตเวสต์แบงก์และฉนวนกาซา โดยนับตั้งแต่ก่อตั้งรัฐมา Palestinian National Authority หรือ PNA จะเป็นคนออกบัตรประจำตัวชาวปาเลสไตน์ โดยทางการอิสราเอลเป็นผู้อนุมัติ

  • ระบบบัตรประจำตัวจะมีสีต่างกัน แต่ละสีจะกำหนดสถานที่ที่ผู้คนอยู่อาศัย ทำงาน และเดินทางได้ และสิทธิอื่นๆที่พวกเขาสามารถเข้าถึง ซึ่งระบบการระบุตัวตนนี้ คล้ายคลึงกับระบบผ่านในแอฟริกาใต้ที่มีการแบ่งแยกสีผิว 

istock-1007444784_2

ที่มา Gatestone

Guide

Ocha

BBC

advertisement

SPOTLIGHT