ธุรกิจการตลาด

คาดยอดจดทะเบียนรถ EV ในไทย ทะลุ 1.5 แสนคันในปีนี้

20 ม.ค. 67
คาดยอดจดทะเบียนรถ EV ในไทย ทะลุ 1.5 แสนคันในปีนี้

อุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยกำลังถูกจับตามองมากขึ้นเรื่อยๆเพราะความโดดเด่นทั้งในแง่ตลาดที่ขยายตัวย่างมากในช่วงเวลาไม่ถึง 2 ปี แถมล่าสุดยังมีข่าวดีว่าประเทศไทยพบแร่ศักยภาพลิเธียม-โซเดียมซึ่งเป็นแร่หลักในการผลิตแบตเตอรี่รถ EV กว่า 14,800,000 ล้านตันมากที่สุดเป็นอันดับ 3 ของโลกรองจากโบลิเวีย และอาร์เจนตินา นี่จึงเป็นความหวังให้ประเทศไทยจะสามารถเป็นฮับในการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในภูมิภาคนี้ได้ 

บทความบลูมเบิร์กสัมภาษณ์นายกฤษฎา อุตตโมทย์ นายกสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย ระบุว่า อดจดทะเบียนรถ EV มีแนวโน้มจะทะลุ 150,000 คันภายในสิ้นปีนี้ซึ่งจะทำให้รถ EV คิดเป็นสัดส่วน 20% ของยอดการจดทะเบียนรถยนต์นั่งส่วนบุคคลทั้งหมดในไทยในปี 2567 ถือว่าเพิ่มขึ้นจาก 12% ในปีที่ผ่านมาและเพิ่มขึ้นจากเลขหลักเดียวในปี 2565

การเติบโตของการซื้อรถ EV ของคนไทยมาจากการที่รัฐบาลมีมาตรการสนับสนุนสร้างแรงจูงใจ ด้วยมาตรการ  EV 3.0 ที่รัฐให้ให้เงินอุดหนุนรถยนต์ไฟฟ้า รถกระบะไฟฟ้า รถมอเตอร์ไซต์ไฟฟ้าตั้งแต่ 18,000 - 150,000 บาท  ซึ่งมาตรการนี้หมดอายุไปเมื่อปี 2566 และสนับสนุนต่อเนื่องจากปีนี้ 2567-2570 ด้วยมาตรการ EV 3.5  ด้วยอัตราอุดหนุนตั้งแต่ 5,000 - 100,000 บาท ทำให้ราคารถ EV ลดลงจูงใจผู้ซื้อ ยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าของไทยอาจเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวในปีนี้ เนื่องจากกลุ่มผู้ผลิตยานยนต์จีนเตรียมเปิดตัวรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ที่ผลิตในประเทศไทยเป็นครั้งแรกและเงินจูงใจจากรัฐบาลมูลค่า 2.4 พันล้านดอลลาร์จะช่วยกระตุ้นอุปสงค์ในกลุ่มผู้บริโภค

ev3.5-01

มาตรการสนับสนุนจากรัฐนี้ทำให้ผู้ผลิตก็ได้สิทธิประโยชน์และเงื่อนไขที่จูงใจมากขึ้น เห็นได้ชัดจากการเข้ามาทำตลาดในไทยของบรรดาค่ายรถEV สัญชาติจีน โดยกลุ่ม บีวายดี และเกรท วอลล์ มอเตอร์ ได้เปิดโรงงานในไทย ซึ่งจะทั้งส่งเสริมอิทธิพลด้านการผลิตของไทยและช่วยให้ไทยบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2593

"ปีนี้จะได้เห็นผู้ผลิตยานยนต์จำนวนมากเปิดตัวรถ EV ที่ผลิตในไทยเป็นครั้งแรก โดยผู้ผลิตเหล่านี้เข้าร่วมมาตรการจูงใจครั้งแรกและสัญญาว่าจะผลิตรถ EV ในไทย" นายกฤษฎากล่าว  

โดยนายกฤษฎากล่าวว่า ยอดจดทะเบียนรถ EV รายปีอาจพุ่งสู่ระดับ 225,000 คันในปี 2568 ซึ่งจะบรรลุเป้าหมายของคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ (บอร์ดอีวี) ที่ตั้งเป้าให้สัดส่วนการใช้รถ EV แตะ 30% ของยอดการจดทะเบียนรถยนต์นั่งส่วนบุคคลทั้งหมดในไทย

อย่างไรก็ตาม ศูนย์วิจัยกสิกรไทยระบุในรายงานเมื่อเดือนต.ค.ปีที่แล้วว่า อุตสาหกรรมยานยนต์ของไทยยังมีอุปสรรคสำคัญในการขยายการใช้งานรถ EV อย่างรวดเร็ว โดยสถานีชาร์จรถ EV สาธารณะอาจไล่ไม่ทันยอดขายรถ EV ซึ่งบั่นทอนความต้องการรถ EV ของกลุ่มผู้ซื้อในตลาดมวลชนที่เน้นปริมาณยอดขาย

แต่นายกฤษฎากล่าวว่า ไทยมีโครงสร้างพื้นฐานสนับสนุนการเติบโตของอุตสาหกรรมรถ EV โดยปัจจุบันมีเครื่องชาร์จรถ EV กว่า 8,700 เครื่องในสถานีชาร์จประมาณ 2,200 จุดทั่วประเทศ ณ เดือนก.ย.ปีที่แล้ว ขณะที่ ไทยมีรถยนต์ไฟฟ้าพลังแบตเตอรี่ประมาณ 90,000 คันและรถยนต์ไฟฟ้าแบบปลั๊กอินไฮบริดอีก 54,000 คัน

นั่นหมายถึงค่าเฉลี่ยของที่ชาร์จสาธารณะ 1 จุดต่อรถEV  16.5 คัน ซึ่งไทยยังถือว่าขยายตัวช้ากว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกเล็กน้อยที่ 15.9 คัน ซึ่งบริษัทที่ปรึกษาของยุโรป Roland Berger ระบุว่า ขณะนี้ไทยอยู่ในแนวเดียวกับเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซียและอินโดนีเซีย เนื่องจากทั้งสองประเทศได้ยกระดับอุตสาหกรรม EV เช่นกัน 

ขณะเดียวกันมาตรการสนับสนุนของรัฐบาลล่าสุด EV 3.5 ประเทศไทยลดสิทธิประโยชน์บางประการในแพ็คเกจจูงใจ ทำให้บางค่ายอย่าง ล่าสุด Kia Corp. ของเกาหลีใต้ยกเลิกแผนสร้างโรงงานประกอบในประเทศไทย แต่จะเปิดหน่วยขายในประเทศไทยแทน ซึ่ง BOI ชี้แจงว่า Kia ว่ายังคงเดินหน้าการเจรจากับรัฐบาลไทย และจะทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดโดยจะเปิดตัวบริษัท เกีย เซลล์ (ประเทศไทย) จำกัด อย่างเป็นทางการในช่วงปลายเดือนมกราคมนี้ซึ่งจะเป็นการต่อยอดไปสู่การลงทุนในอนาคต ดังนั้นปัจจุบันทำให้ผู้ผลิตรถยนต์ของจีนยังคงเป็นผู้นำในการเริ่มการผลิตในท้องถิ่นในปี 2567 ซึ่งเป็นก้าวแรกที่สำคัญในการบรรลุเป้าหมายของประเทศไทย 

เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เกรท วอลล์ มอเตอร์ ได้เปิดตัวสายการผลิตในท้องถิ่นสำหรับ Ora Good Cat ใหม่ ซึ่งกลายเป็นรถยนต์ไฟฟ้าพลังงานแบตเตอรี่รุ่นแรกที่ผลิตและจำหน่ายเชิงพาณิชย์ในประเทศไทย และคาดว่า ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าของจีนจำนวนมากขึ้นคาดว่าเดินรอยตามโดยคาดว่า BYD และ Hozon New Energy Automobile Co. จะเริ่มการผลิตในไทยปีนี้

ที่มา Bloomberge

advertisement

SPOTLIGHT