ธุรกิจการตลาด

สู่ยุคใหม่ เอไอ สร้างโลก ศาลออสซี่ ยอมรับ 'เอไอ' เป็นผู้สร้างนวัตกรรม

14 ก.พ. 65
สู่ยุคใหม่ เอไอ สร้างโลก ศาลออสซี่ ยอมรับ 'เอไอ' เป็นผู้สร้างนวัตกรรม
ไฮไลท์ Highlight
  “มนุษย์เราทั้งถูกสร้าง (โดยพระเจ้า) และเป็นผู้สร้างสรรค์สิ่งใหม่ แล้วทำไมผลงานที่เราสร้างขึ้น จะสร้างสรรค์สิ่งใหม่บ้างไม่ได้?”

ศาลรัฐบาลกลางออสเตรเลีย ตัดสินให้ “ปัญญาประดิษฐ์” ได้สิทธิ์เป็น “ผู้คิดค้นนวัตกรรม” ในขณะที่กฎหมายอังกฤษ และสหรัฐ เห็นว่า มนุษย์เท่านั้น ที่จะได้เครดิตเป็นผู้คิดค้น
 
istock-1332827062

 

หากมีมนุษย์สักคน สร้างหุ่นยนต์นักประดิษฐ์ ที่มีความฉลาดล้ำยุค แล้วหุ่นยนต์ตัวนั้นเกิด สร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ขึ้นมา ในสิทธิบัตรของนวัตกรรมชิ้นนั้น ควรบันทึกว่าใครเป็นผู้คิดค้น? “หุ่นยนต์” หรือ “มนุษย์”?

ผู้คนในวงการวิทยาศาสตร์ รวมถึงรัฐบาลของนานาประเทศ มีมุมมองแตกต่างกันต่อคำถามดังกล่าว แต่ในคดีที่เกิดขึ้นเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ศาลออสเตรเลียได้ตัดสินว่า “ปัญญาประดิษฐ์ หรือ เอไอ” คือ ผู้คิดค้นนวัตกรรม

 

 000_hkg982262(1)


ศาลออสเตรเลีย ตัดสิน ‘เอไอ’ ได้สิทธิ์ “ผู้คิดค้นนวัตกรรม”



ปลายเดือน กรกฎาคม ของปีที่ผ่านมา ศาลรัฐบาลกลางออสเตรเลีย ตัดสินให้ปัญญาประดิษฐ์ “DABUS” ได้สิทธิ์เป็น “ผู้คิดค้น” นวัตกรรมสองชิ้นที่เอไอตัวนี้สร้างขึ้น คือ ภาชนะใส่อาหาร และเครื่องส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือชนิดใหม่ หลังจากที่ “Ryan Abbott” ศาสตราจารย์ด้านกฎหมาย มหาวิทยาลัยเซอร์เรย์ ยื่นขอจดสิทธิบัตรในนามของ “Stephen Thaler” ผู้สร้าง DABUS ที่พยายามจะประกาศให้ทั้งโลกรู้ว่า เอไอ สามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมได้ และพวกเขาควรจะได้สิทในการเป็น “ผู้คิดค้น” ของผลงานเหล่านั้น
 
DABUS มีชื่อย่อมาจาก “Device for the Autonomous Bootstrapping of Unified Sentience” เป็นปัญญาประดิษฐ์ประเภท “โครงข่ายประสาทเทียม - Artificial Neural Networks” ที่ Stephen นิยาม เป็น “เครื่องยนต์แห่งความคิดสร้างสรรค์” ที่มีความสามารถในการสร้างไอเดียและนวัตกรรมใหม่ๆ จากการทำงานร่วมกันของหน่วยประมวลผล “นับล้านล้านหน่วย” คล้ายกับการทำงานเซลล์ประสาทของมนุษย์
 
ผู้พิพากษาจากศาลออสเตรเลีย Jonathan Beach วินิจัฉัยว่า DABUS ไม่ใช่ผู้ทั้งขอสิทบัตร (Applicant) และผู้ได้รับสิทธิบัตร (Grantee) แต่สามารถเป็นผู้คิดค้น (Inventor) ได้ โดยสองบทบาทแรกกำหนดให้ Stephen เป็นผู้ขอและผู้รับสิทธิบัตร โดยเขาให้มุมมองแฝงนัยยะเชิงศาสนาว่า

 

“มนุษย์เราทั้งถูกสร้าง (โดยพระเจ้า) และเป็นผู้สร้างสรรค์สิ่งใหม่ แล้วทำไมผลงานที่เราสร้างขึ้น จะสร้างสรรค์สิ่งใหม่บ้างไม่ได้?”

 

technology-human-touch-backgr
 
 สหรัฐ - อังกฤษยังยึดมั่น ต้อง “มนุษย์” เท่านั้นจึงได้สิทธิ์



นอกจากประเทศออสเตรีเลียแล้ว Ryan และ Stephen ยังได้ ยื่นขอจดสิทธิบัตรโดยใส่ชื่อ DABUS เป็นผู้คิดค้น ในอีก 17 ประเทศด้วยกัน เช่น สหราชอาณาจักร นิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย

ประเทศแอฟริกาใต้ มีผลวินิจฉัยยอมรับ DABUS เป็นผู้คิดค้นนวัตกรรม เช่นเดียวกับประเทศออสเตรเลีย ส่วนสหรัฐมีมุมมองต่างออกไป โดยกฎหมายสหรัฐกำหนดว่า จะต้องเป็น “บุคคล หรือกลุ่มบุคคล” เท่านั้นที่ได้สิทธิ์เป็นผู้คิดค้นนวัตกรรม ด้าน กรมทรัพย์สินทางปัญญาของสหราชอาณาจักร และสำนักงานสิทธิบัตรยุโรป ก็มีความคิดเห็นเช่นเดียวกัน
 

 

closeup-shot-person-holding-g

 

ความเสี่ยงในการถูกฟ้องร้อง หากให้สิทธิ์ผู้คิดค้นกับ ‘มนุษย์’

 

อุตสาหกรรมด้านเทคโนโลยีทุกวันนี้ เช่น สายวิทยาศาสตร์และการแพทย์ ได้นำ “ปัญญาประดิษฐ์” เข้ามาช่วยเร่งความเร็วในกระบวนการการทำวิจัย ทำให้เกิด เช่น การสร้างแบบจำลองการทดลองด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ก่อนทำการทดลองจริง จากที่ต้องลองผิดลองถูก 10,000 ครั้ง แบบจำลองอาจช่วยเลือกชุดการทดลองที่ดีที่สุดเพียง 10 ชุด เพื่อเริ่มการทดลองจริง ประหยัดเวลา ทรัพยากร และเพิ่มโอกาสสำเร็จในงานวิจัยได้อย่างมหาศาล


อย่างไรก็ตาม Ryan ได้ชวนคิดถึง ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต…


ตามกฎหมายสิทธิบัตรแล้ว สิทธิบัตรของสิ่งประดิษฐ์จะเป็นโมฆะ หากพิสูจน์ได้ว่าผู้คิดค้นที่ระบุบนสิทธิบัตรไม่ถูกต้อง หากในอนาคต บริษัทยายักษ์ใหญ่ถูกฟ้องร้องว่า ยาตัวเก่งที่สร้างรายได้มหาศาลให้บริษัท ไม่ได้ถูกคิดค้นโดยมนุษย์ที่มีชื่อบนสิทธิบัตร แต่แท้จริงแล้วเป็นผลงานของ เอไอ สิทธิบัตรก็จะเป็นโมฆะ บริษัทจะสูญเสียสิทธิ์ในการเป็นเจ้าของสิ่งประดิษฐ์นั้น และสร้างความเสียหายให้แก่บริษัท ทำให้บริษัทไม่สามารถนำเงินมาลงทุนใน เอไอ เพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ได้

 

pexels-pavel-danilyuk-8439175
 
การเกิดขึ้นของกรณี DABUS จึง “สร้างความท้าทายที่น่าสนใจ และน่าติดตามอย่างยิ่ง ต่อกฎหมายสิทธิบัตร” Ryan กล่าว

advertisement

Relate Post

SPOTLIGHT