ความยั่งยืน

วางแผนอย่างไร หากประชากรโลกกำลังมีอายุยืนขึ้นเกิน100 ปี

1 ต.ค. 66
วางแผนอย่างไร หากประชากรโลกกำลังมีอายุยืนขึ้นเกิน100 ปี

การสำรวจและคาดการณ์โดยองค์การสหประชาชาติ (United Nations) และ เวิลด์ อิโคโนมิค ฟอรั่ม (World Economic Forum)คนทั่วโลก พบว่า มีอายุยืนขึ้น เมื่อเทียบกับ 100 ปีที่ผ่านมา หรือเทียบระหว่างปี ค.ศ. 1950 หรือปี พ.ศ. 2493 จากที่อายุเฉลี่ยคนทั่วโลก อยู่ถึงแค่ 46.5 ปี แต่ 100 ปีต่อมา คือ  ค.ศ. 2050 หรือปี พ.ศ. 2593 คาดว่า มนุษย์จะมีอายุยืนเฉลี่ยถึง 77.3 ปี

โดยคนเอเชีย จะมีอายุยืนยาวถึง 79.5 ปี ส่วนชาวยุโรปจะมีอายุยืน 83.8 ปี และอเมริกาเหนือ 84 ปี ส่วนอายุเฉลี่ยคนไทย เกินค่าเฉลี่ยโลก คืออายุยืนไปถึง 82.3 ปี ในปี 2050  ส่วนภูมิภาคที่ประชากรอายุยืนยาวน้อยที่สุดคือแอฟริกา คาดว่าอยู่ที่ 68.3 ปี

จากผลการสำรวจนี้ พบว่า ในปี 2050 หรือ พ.ศ.2493 จะมีคนอายุเกิน 80 ปี ถึงกว่า 420 ล้านคน จากประชากรโลกทั้งหมดกว่า 9,735 ล้านคน

ฝ่ายประชากรขององค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ประเมินว่าในปี 2021 มีประชากรอายุเกิน 100 ปีอยู่ในโลกกว่า 621,000 คน และคาดว่าจะทะลุ 1 ล้านคนภายในช่วงปลายทศวรรษนี้

ในปี 1990 มีประชากรโลกที่อายุยืนเกิน 100 ปี เพียง 92,000 คน ซึ่งการที่มนุษย์เรามีอายุยืนยาวขึ้นเป็นผลมาจากความเจริญก้าวหน้าในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านการแพทย์ อาหาร และสภาพความเป็นอยู่ที่ดีกว่าในอดีต

 ประชากรโลกอายุยืนขึ้น

คำถามคือ เราทุกคนเตรียมพร้อมกับการอยู่ให้นานขึ้นแล้วหรือยัง ?
ประเทศต่างๆมีการเตรียมแผนรองรับประชากรสูงวัยพร้อมหรือยัง?
 

และด้วยแนวโน้มประชากรจะมีอายุยืนยาวขึ้นนี้เอง ทำให้ในมุมของธุรกิจก็เปลี่ยนแปลงไปตามเทรนด์นี้ด้วยเช่นกัน ตัวอย่างเช่น เทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ก้าวหน้า สินค้าหรือบริการที่มาแก้ปัญหาให้กับผู้สูงอายุ หรือ มาช่วยอำนวยความสะดวกให้กับกลุ่มผู้สูงวัย 

ในปี 2021 อุตสาหกรรมการดูแลสุขภาพทั่วโลกมีมูลค่าประมาณ 104.44 พันล้านดอลลาร์ และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 272.76 พันล้านดอลลาร์ภายในสิ้นปี 2570

หรือแม้แต่ผลิตภัณฑ์ทางการเงิน เช่น ประกันชีวิต ผลิตภัณฑ์เงินฝาก หรือ การลงทุนต่างๆ ยังต้องออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์ให้กับคนที่ต้องเตรียมตัวเกษียณอย่างมีความสุข 

ภายในงาน Sustainability Expo 2023 (SX 2023)  มหกรรมด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน ไม่ได้มีเฉพาะแค่เรื่องสิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่งานนี้ยังมีความรู้เกี่ยวกับ การใช้ชีวิตประจำวัน เพราะความยั่งยืนเป็นเรื่องของทุกคน 

โดยบริเซณโซน  Better ME  มีแนวคิดคือ  เพราะทุกสิ่งดีขึ้นได้..เริ่มต้นที่ตัวเรา อันจะส่งผลดีต่อเราและดีต่อโลก ถือเป็นหนึ่งโซนไฮไลน์เด็ดในงาน

การเริ่มต้นที่ตัวเราให้ดีขึ้น ทำให้โซนนี้มีกิจกรรมทั้งส่องเทรนดสุขภาพให้ท้นโลก ตั้งแต่การเกิดการ นอน การกิน การออก กำลังกาย มีมุมองการใช้ชีวิต การปฏิบัติตตนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน  และการลงมือทำเพื่อคนอื่น และเพื่อโลก ที่จะสร้างความเพลิดเพลินไปพร้อมกับความรู้แบบ ไม่มีเบื่อไปด้วยกันในโซน Better Me และ ร่วมสัมผัสนวัตกรรมอาหารกู้โลก การดูแลสุขภาพและชีวิตที่ยืนยาวอย่างยั่งยืน ด้วยการเริ่มที่ตัวเรา กับแนวคิด 4 เรื่องหลัก คือ

  1. Healthy Life/ Healthy Earth ทั้งด้านร่างกาย /(Preventive Health) จิตใจ Mental Health /และการแบ่งปันเพื่อสังคม (Sharing)  นวัตกรรมทางอาหาร (Future Fare : Sustainable, Mindful, and Innovative Food Trends, Up cycling Food) และ Food 3D Printing นวัตกรรมอาหารแห่งอนาคตมุ่งเน้นผลิตภัณฑ์อาหารเฉพาะบุคคล ที่ให้คุณค่าทางโภชนาการที่เหมาะสมต่อความต้องการทางร่างกายของบุคคลแต่ละกลุ่ม เช่น เด็ก ผู้สูงอายุ นักกีฬา ผู้ที่มีโรคประจำตัว หรือทหารในกองทัพที่ต้องรับการฝึกร่างกายเป็นประจำ

  2. Aging Society (สังคมผู้สูงวัย)รู้จักตัวช่วยดูแลผ้สูงอายุกับหุ่นยนต์ดินสอ และกิจกรรมฐานจำลองผู้สูงอายุ เป็นฐานที่ทำให้คนเริ่มเตรียมความพร้อมและเผชิญกับสภาวะในการเข้าสู่ช่วงสูงวัยจากหน่วยงาน อพวช. และ สวทช. และรู้จักกับแหล่ง Community ที่สูงวัยทุกคนสามารถมีสังคมและกิจกรรมทำร่วมกับผ่าน Application ของ Young Happy
  3. Smart Farming การเกษตรเพื่อโลกที่ยั่งยืน นำเสนอภาพภาคการเกษตรไทยในบริบทความเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงและความยั่งยืนทางอาหาร ตลอดจนการปรับตัว และลดปัญหา โดยมุ่งหวังเป็นแนวทางปฏิบัติแก่เกษตรกร และบุคคลทั่วไปเพื่อนาไปประยุกต์ใช้ พร้อมกับเชื่อมโยงเทคโนโลยีทางภูมิสารสนเทศ เพื่อการเกษตร ซึ่งมีบทบาทสำคัญต่อการสร้างแนวทางการทำการเกษตรโดยใช้ Big Data วิเคราะห์ภูมิอากาศ ภูมิประเทศ เพื่อวางแผนผลผลิตทางการเกษตร และนำเสนอความอัจฉริยะการทำการเกษตรทั้งรูปแบบเทคโนโลยี และไม่มีเทคโนโลยี กับ Gistda และโรงเรียนมีชัยพัฒนา

  4. Life Long Learning การเรียนรู้ตลอดช่วงอายุวัย ตั้งแต่การศึกษาขั้นพื้นฐาน อุดมศึกษา วัยทำงาน และวัยเกษียร บนพื้นฐาน สามารถพึ่งพาตัวเองได้ รับผิดชอบต่อสังคมชุมชน และรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม  ทั้งในระดับการนำเสนอ Showcase จากโครงการที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษา โดยมุ่งหวังให้เด็กและเยาวชน ได้รับการศึกษาพร้อมๆกับวางแผนเพื่อสร้างอาชีพและรายได้ในอนาคต อาทิเช่น โครงการ  OTOP Junior ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์จากผู้ประกอบการรุ่นจิ๋ว ที่อาศัยวัตถุดิบจากชุมชนท้องถิ่นมาผลิต เกิดเป็นสินค้า (กลุ่ม Partnership School / Connect ED)ทุกผลิตภัณฑ์ติด tag เพื่อให้ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อกลับสินค้าเพื่อต่อยอดงานด้านธุรกิจได้ นอกจากนั้นในระดับ อุดมศึกษายังได้ Introduction นำเสนอ Represent รูปธรรมการบ่มเพาะผู้ประกอบการและความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมผ่าน Showcase ร้านค้าปลีก Refill Shoppe ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และโครงการอื่นๆ ที่น่าสนใจอีกมากมาย

advertisement

Relate Post

SPOTLIGHT