อินไซต์เศรษฐกิจ

มาเช็คราคาสินค้า 6 เดือนแรกปี 2565 ของแพงขึ้นแค่ไหน?

24 มิ.ย. 65
มาเช็คราคาสินค้า 6 เดือนแรกปี 2565 ของแพงขึ้นแค่ไหน?

ทั่วโลกกำลังเผชิญกับภาวะ "เงินเฟ้อ" หรือ การที่ราคาสินค้ามีแนวโน้มเพิ่มพุ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะจากผลกระทบสงครามยูเครนกับรัสเซียที่ยืดเยื้อมาตั้งแต่ต้นปีนี้จนทำให้เกิดมาตรการคว่ำบาตรพลังงานทั้งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติจนทำให้ราคาน้ำมันทะยานในช่วงต้นปีนี้พุ่งไปแตะ 130 ดอลลาร์/บาร์เรล มาแล้ว และปัจจุบันยังยืนระดับเกิน 100 ดอลลาร์/บาร์เรล

 

ปัญหาสงครามยังลามไปถึงวิฤตอาหารด้วยเพราะรัสเซียนั้นถือเป็นแหล่งประเทศส่งออกทั้่งปุ๋ยเคมีและข้าวสาลีที่ทั่วโลกใช้ให้ราคาแพงขึ้นตามไปด้วย ไม่เว้นไทยที่โดน "พิษต้นทุน" การผลิตที่สูงขึ้นทั้งราคาเชื้อเพลิงพลังงานและปุ๋ยที่เพิ่มจนส่งผลมาถึงสินค้าปลายทางที่ต้องซื้อแพงขึ้นแบบเลี่ยงไม่ได้

 

679600

 

โดยล่าสุด กระทรวงพาณิชย์ รายงานตัวเลขเงินเฟ้อ เดือนพ.ค. ปีนี้ออกมา  7.10% สูงสุด ในรอบ 13 ปี โดยเฉพาะราคาน้ำมันเชื้อเพลิงสูงขึ้นถึง 35.89% เมื่อเปรียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แลโดยเป็นปรับสูงขึ้นตามทิศทางราคาน้ำมันในตลาดโลก ค่ากระแสไฟฟ้า สูงขึ้น 45.43% ตามการปรับเพิ่มค่าไฟฟ้าผันแปร (Ft) ในรอบเดือนพ.ค.-ส.ค. 2565 และราคาก๊าซหุงต้ม สูงขึ้น 8 % จากการทยอยปรับเพิ่มขึ้นแบบขั้นบันได ตั้งแต่เดือน เม.ย.-มิ.ย. 2565 โดย กลุ่มอาหาร ราคาสูงขึ้นเฉลี่ย 6.18% เช่น เนื้อสุกร ไก่สด ไข่ไก่ ราคาเปลี่ยนแปลงตามต้นทุนการเลี้ยง

 

ดังนั้นเหตุผลของ 'เงินเฟ้อ' ในรอบนี้คือปัญหา "Cost-push Inflation" หรือ ราคาสินค้าแพงขึ้น จากต้นทุนที่แพงขึ้น อาทิ วัตถุดิบแพงขึ้น น้ำมันแพงขึ้น

 

เมื่อสำรวจราคารายการสินค้าสำคัญๆ ในชีวิตประวันของคนไทย จะพบว่าในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ ไม่รอดผลผลกระทบจากพิษสงคราม จะพบว่าราคาสินค้าทุกรายการขึ้นราคาแบบยกแผง  

 

 SPOTLIGHT จะพาไปสำรวจ ตัวอย่างสินค้าหลัก 5 รายการที่ปรับขึ้นราคาในช่วง 6 เดือน ว่ามีอะไรบ้าง

 

169598

 

 

 

 

 

KKP Research ชี้ 'ของแพง' เสี่ยงทำหนี้ครัวเรือนพุ่ง         

804404                   

ด้านฝ่ายวิจัยกลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร (KKP Research) คาดการณ์ว่าเงินเฟ้ออาจไม่ใช่ปัญหาระยะสั้นและมีโอกาสปรับตัวสูงขึ้นยาวนานกว่าที่คาด ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยไทยกำลังเปลี่ยนทิศทางเป็นขาขึ้น โดยคาดการณ์เงินเฟ้อปี 2565 ระดับ 6.6% และปี 2566 ที่ระดับ 3.1%  จึงเป็นแรงกดดันในปัจจุบันทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้น 3 ครั้งในปี 2565 และขึ้นอีก 4 ครั้งในปี 2566 อย่างไรก็ตาม การปล่อยให้อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับสูงเป็นเวลานาน จะทำให้การควบคุมเงินเฟ้อทำได้ยากขึ้น และ ธปท.อาจต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ยมากกว่าเดิม

 

ดังนั้น สิ่งที่ต้องจับตามอง คือ แนวโน้มเงินเฟ้อสูงและดอกเบี้ยจะส่งผลอย่างมากต่อปัญหาค่าครองชีพ ต้นทุน และส่งผลต่อเนื่องกับภาระการชำระหนี้ของครัวเรือนที่จะปรับตัวสูงขึ้นสร้างความเสี่ยงให้เศรษฐกิจไทยซึมยาว โดยแนวโน้มเงินเฟ้อโลกที่เปลี่ยนไปในระยะยาวและทิศทางดอกเบี้ยขาขึ้นจะส่งผลให้ภาระหนี้ของภาคครัวเรือนไทยปรับตัวสูงขึ้นและเพิ่มความเสี่ยงกับเศรษฐกิจในประเทศได้ สถานการณ์หนี้ครัวเรือนของไทยที่สูงเกินกว่า 90% ของ GDP สะท้อนว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มที่จะมีความเปราะบางต่อการปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นมากด้วย

 

 แบงก์ชาติ ยอมรับ 'เงินเฟ้อ' ปีนี้พุ่งทะลุกรอบเป้าหมาย

948993

 

ส่วนธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ออกจดหมายเปิดผนึกเมื่อต้นเดือน เม.ย. 2565 ยอมรับว่า ในช่วง 1 ปีข้างหน้าเงินเฟ้อไทยจะสูงถึง 4% เกินเป้าหมายที่กำหนดไว้ในกรอบที่ 1 - 3% แต่ต้นปี 2566 "เงินเฟ้อ" จะกลับเข้าเป้าได้ โดยมีมุมมองว่าราคาน้ำมันและต้นทุนวัตถุดิบคงไม่แพงต่อเนื่องจากปีนี้ที่แพงขึ้นมามากแล้ว เพราะสถานการณ์รัสเซียกับยูเครนที่เป็นตัวการสำคัญทำให้สินค้าโภคภัณฑ์โลกขาดแคลน ก็น่าจะคลี่คลายได้ในปีนี้ นโยบายการเงินจึงยังไม่รีบปรับขึ้นดอกเบี้ยจากระดับต่ำเป็นประวัติการณ์เพื่อคุมเงินเฟ้อสูงชั่วคราวจากด้านต้นทุนแพงเช่นนี้ ยังสามารถใช้เครื่องมือดอกเบี้ยต่ำช่วยฟื้นเศรษฐกิจได้ต่อ ขณะที่รัฐบาลก็เร่งออกมาตรการบรรเทาค่าครองชีพสูงชั่วคราว มีกลไกตรึงราคาสินค้าจำเป็นช่วยกลุ่มคนที่เดือดร้อน

 

 ด้านศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้หั่นจีดีพีไทยปีนี้ลดลงมาอยู่ที่ 3.1% จากเดิม 4.2% เพราะผลกระทบจากราคาพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้น โดยประเมินว่าหากราคาเบนซินเพิ่มขึ้น 1 บาท/ลิตร กระทบต่อเศรษฐกิจไทย 0.1% และหากราคาดีเซลเพิ่มขึ้น 1 บาท/ลิตร กระทบต่อเศรษฐกิจไทย 0.2% โดยหากขึ้นพร้อมกัน 2 บาท/ลิตร จะกระทบเศรษฐกิจไทย 0.3%

advertisement

Relate Post

SPOTLIGHT