5 บริษัทจดทะเบียนใหญ่สุดในไทยได้ออกมาประกาศงบในช่วงไตรมาสแรกของปี 2568 ออกมาเรียบร้อยแล้ว
มาดูกันว่าผลประกอบการของ 5 บริษัทที่มีมูลค่ามากสุดในไทยเป็นอย่างไร ?
เริ่มกันที่ บริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
ประกอบธุรกิจ ผลิตและจำหน่ายอุปกรณ์จ่ายไฟ (พาวเวอร์ซัพพลาย), อุปกรณ์สำหรับโครงสร้างพื้นฐาน อย่างเช่น เครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า, อุปกรณ์อัตโนมัติสำหรับใช้ในโรงงาน
- รายได้ 42,740 ล้านบาท เติบโต 13%
- กำไร 5,488 ล้านบาท เติบโต 27%
- อัตรากำไร 12.9%
รายได้ที่เติบโตขึ้นมาจากการเติบโตของธุรกิจ Data Center ที่เติบโตตามกระแส AI จนส่งผลให้กลุ่มผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับระบบไฟฟ้าของบริษัทขายดีตามไปด้วย
ส่วนกำไรที่เติบโตขึ้นครั้งนี้ก็มาจากรายได้ที่เพิ่มขึ้น ถึงแม้บริษัทจะมีการลงทุนไปกับการวิจัย และ พัฒนา เพิ่มขึ้นตามไปด้วย
บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน)
ประกอบธุรกิจ เครือข่ายมือถือ AIS, ธุรกิจขายซิมและอุปกรณ์, อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง,
และ อื่น ๆ
- รายได้ 56,310 ล้านบาท เติบโต 6%
- กำไร 10,580 ล้านบาท เติบโต 25%
- อัตรากำไร 18.8%
รายได้เติบโตขึ้นมาจาก 2 ธุรกิจหลักที่เติบโต
- ธุรกิจมีรายได้ 31,640 ล้านบาท เติบโตขึ้น 4.3% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
โดยมาจากจำนวนลูกค้าที่เพิ่มขึ้นและลูกค้าเก่าที่ยังคงใช้งานอยู่
นอกจากนั้นบริษัทยังเสนอขายแพ็คเกจ และ บริการให้กับลูกค้าได้มากขึ้น ส่งผลให้รายได้เฉลี่ยต่อผู้ใช้งาน หรือ ARPU เติบโตขึ้น
สรุปง่าย ๆ ก็คือ ลูกค้าเก่ายังอยู่ มีลูกค้าใหม่เพิ่มขึ้น และยังเสนอขายแพ็คเกจ และ บริการได้มากขึ้น จนทำให้รายได้เติบโต
- ธุรกิจมีรายได้ 7,830 ล้านบาท เติบโตขึ้น 10% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
โดยบริษัทยังรักษาลูกค้าเดิมเอาไว้ได้ และ มีจำนวนลูกค้าใหม่เพิ่มมากขึ้น และยังเสนอขายแพ็คเกจ และ บริการเสริม ให้กับลูกค้าจนทำให้รายได้ในธุรกิจเติบโตขึ้น
ส่วนกำไรที่เพิ่มขึ้น มาจากรายได้ที่เติบโตขึ้น และ ต้นทุนค่าเสื่อมที่ลดลง และ ต้นทุนดอกเบี้ยที่ลดลงจากการรีไฟแนนซ์และจ่ายคืนเงินกู้
บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
ประกอบธุรกิจ ก๊าซธรรมชาติครบวงจร, น้ำมัน, ปิโตรเคมี, นำเข้า ส่งออก พลังงาน และ อื่น ๆ
- รายได้ 700,220 ล้านบาท ลดลง 11%
- กำไร 23,320 ล้านบาท เติบโต 20%
- อัตรากำไร 3.3%
รายได้ลดลงจากราคาน้ำมันที่ลดลง ส่งผลให้ธุรกิจนำเข้า ส่งออกพลังงานระหว่างประเทศ, ธุรกิจปิโตรเคมี มีรายได้ลดลง
ส่วนอีกธุรกิจหลักอย่างธุรกิจก๊าซธรรมชาติก็มีรายได้ลดลงเช่นกัน โดยมีสาเหตุมาจากปริมาณการขาย และ ราคาก๊าซที่ลดลง
ส่วนกำไรที่ลดลง มีสาเหตุมาจากส่วนต่างราคา และ ต้นทุนของธุรกิจปิโตรเคมี และ การกลั่น ที่ลดลง
รวมถึงธุรกิจสำรวจและขุดเจาะ และธุรกิจก๊าซธรรมชาติ ที่ได้รับผลกระทบตามราคาพลังงานที่ลดลงด้วยเช่นกัน
บริษัท กัลฟ์ ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน)
ประกอบธุรกิจ บริษัทโฮลดิ้งที่เป็นเจ้าของหลายธุรกิจ อย่างเช่น ธุรกิจผลิตไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติและพลังงานหมุนเวียน, ธุรกิจดาวเทียม, เครือข่ายมือถือ, แพลตฟอร์มซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซี และ อื่น ๆ
- รายได้ 32,340 ล้านบาท เติบโต 0.2%
- กำไร 5,400 ล้านบาท เติบโต 54%
- อัตรากำไร 16.7%
รายได้เติบโตขึ้นเล็กน้อยจากธุรกิจผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน อย่างเช่น พลังงานลม แสงอาทิตย์
ส่วนธุรกิจโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภค, ธุรกิจผลิตไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติ และธุรกิจดาวเทียม มีรายได้ลดลงหากเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ส่วนกำไรที่เติบโตขึ้นหลัก ๆ แล้วมาจากส่วนแบ่งกำไรจากบริษัท INTUCH และจากโรงไฟฟ้าร่วมทุนที่เพิ่มขึ้นจากปีก่อน
บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)
ประกอบธุรกิจ บริหารสนามบิน และ ให้เช่าพื้นที่ในสนามบิน
- รายได้ 18,390 ล้านบาท ลดลง 0.1%
- กำไร 5,230 ล้านบาท ลดลง 13%
- อัตรากำไร 28.4%
รายได้ลดลงจากธุรกิจที่ไม่เกี่ยวกับการบินที่เติบโตลดลง โดยมีสาเหตุหลักมาจากส่วนแบ่งผลประโยชน์สัมปทานที่ลดลง โดยมาจากธุรกิจร้านค้าปลอดภาษีอากรเป็นหลัก
ส่วนกำไรที่ลดลงมีสาเหตุมาจากรายได้ที่ลดลง และค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะค่าซ่อมแซม และ บำรุงรักษาเครื่องบิน ค่าเสื่อมราคาและตัดจำหน่าย และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ
ที่มา: set.or.th, MD & A ของแต่ละบริษัท, รายงานประจำปีของแต่ละบริษัท, เว็บไซต์ของแต่ละบริษัท