สำหรับใครที่มีคำถามเกี่ยวกับกองทุนลดหย่อนภาษีอย่าง TESGX ตอนนี้น่าจะมีคำถามกลับมาอีกครั้ง ว่าควรเอายังไงดี เพราะว่าเข้าสู่เดือนพฤษภาคม 2568 ซึ่งเป็นช่วงที่หลาย ๆ บลจ.กำลังออก กองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืนแบบพิเศษ มาให้เลือกซื้อหน่วยลงทุน (ซื้อใหม่) และให้โอนย้ายจาก LTF (ที่คงอยู่) มาตัดสินใจกันอีกครั้งหนึ่ง
ก่อนที่จะไปตัดสินใจ เรามาเช็คเงื่อนไขลดหย่อนภาษีของกองทุนนี้กันอีกทีครับ โดยเงื่อนไขตามกฎหมายได้กำหนดไว้ว่า กองทุนดังกล่าวต้องลงทุนในสินทรัพย์ดังต่อไปนี้
โดยเงื่อนไขในการลดหย่อนภาษีที่ว่า จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ซื้อใหม่ และ สับเปลี่ยน (โอนย้ายจาก LTF)
โดยทั้งสองกรณีนี้ มีช่วงเวลาใช้สิทธิ์เพื่อซื้อหรือโอนย้ายในเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 2568 และหลังจากซื้อหรือโอนย้ายแล้วต้องถือครอง 5 ปีเต็มนับจากวันที่ซื้อหรือใช้สิทธิ์
มาถึงคำถามที่หลายคนถามว่าควรทำอย่างไรดี ผมคิดว่าสำหรับคนที่ “ซื้อ” อาจจะตัดสินใจไม่ยากนัก เพราะคำถามที่เราใช้เพื่อตัวเองคงมีไม่มาก เช่น อัตราภาษี (เงินได้บุคคลธรรมดา) ที่เราเสียอยู่ คุ้มค่าไหม เราสนใจลงทุนในหุ้นไทย (กลุ่ม ESG) หรือเปล่า พอร์ตการลงทุน เป้าหมายการลงทุนเป็นอย่างไร และสภาพคล่องไหวหรือไม่ เนื่องจากต้องถือครองไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปี นั่นแปลว่า ถ้าใครมีคำตอบทั้งหมดนี้ได้แบบชัด ๆ ก็ตอบได้ทันทีว่าจะ “ซื้อ” หรือ “ไว้ก่อน”
แต่ถ้าหากย้อนกลับมาที่ฝั่งของคนที่ตัดสินใจ “โอนย้าย” อันนี้จะตัดสินใจได้ค่อนข้างยาก โดยเฉพาะคนที่ยังไม่ได้ขาย LTF ตั้งแต่วันที่ 11 มีนาคม 2568 เป็นต้นไป เพราะทางเลือกมีให้ 2 ทาง ดังนี้ครับ
สำหรับคนที่เลือกกลุ่มนี้ มักจะมีเงื่อนไขร่วมกัน คือ มีจำนวน LTF คงเหลือในมูลค่าที่มากกว่า 500,000 บาท ซึ่งได้พิจารณาแล้วว่าไม่คุ้มกับสิ่งที่ได้รับ ไม่ว่าจะเป็นสิทธิ์ในการลดหย่อนภาษี, การถือครองที่ลดสภาพคล่อง และความต้องการลงทุนในหุ้นไทย (กลุ่ม ESG) รวมถึงปัจจัยและทางเลือกอื่น ๆ ที่มีในการจัดการเงินตามเป้าหมาย
แต่อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ผมอยากแนะนำเพิ่มเติมสำหรับกลุ่มที่กำลังตัดสินใจว่า โอนย้าย ดีไหม มีเงื่อนไขเพิ่มเติมตามนี้ครับ
สุดท้าย ต้องบอกว่าแนวทางทั้งหมดนี้เป็นแนวทางที่ผมใช้พิจารณากับตัวเองในการลงทุนนะครับ หากท่านใดมีความเห็นแตกต่าง หรือ เป้าหมายการลงทุนที่ต่างออกไป ขอให้เลือกพิจารณาตามความเสี่ยง และผลตอบแทนที่ท่านต้องการ เพื่อให้ลงทุนและวางแผนภาษีได้อย่างมีความสุขครับ
ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษี เจ้าของเพจ TAXBugnoms