การแข่งขันเพื่อรักษาสิทธิประโยชน์ทางการค้ากับสหรัฐฯ กำลังเข้มข้นขึ้นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เมื่ออินโดนีเซียกลายเป็นประเทศล่าสุดที่บรรลุข้อตกลงลดภาษีนำเข้าสินค้าสหรัฐฯ จาก 32% เหลือเพียง 19% แลกกับการสั่งซื้อพลังงาน สินค้าเกษตร และเครื่องบิน Boeing รวมมูลค่าหลายหมื่นล้านดอลลาร์ พร้อมทั้งเปิดตลาดให้สินค้าสหรัฐฯ เข้าถึงได้อย่างเสรี นี่ไม่ใช่ดีลธรรมดา แต่คือสัญญาณชัดว่า “การเจรจาเชิงแลกเปลี่ยน” กำลังกลายเป็นเงื่อนไขใหม่ในการรักษาความสามารถในการแข่งขันของแต่ละประเทศในยุคสงครามภาษี
ในขณะเดียวกัน ไทยเองก็กำลังอยู่ระหว่างการเจรจาขั้นตอนสุดท้ายกับสหรัฐฯ โดยได้ยื่นข้อเสนอรอบใหม่ที่เน้นการสั่งซื้อ LNG, เครื่องบิน Boeing และสินค้าเกษตรจากสหรัฐฯ รวมถึงตั้งเป้าลดดุลการค้าเกินดุลภายใน 7-8 ปี อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อกังวลว่าข้อเสนอของไทยอาจไม่เพียงพอในมุมของการเปิดตลาดและกลไกภาษี Transshipment ที่ยังไม่มีความชัดเจน
แรงกดดันเพิ่มขึ้นต่อไทยอย่างชัดเจนเมื่อพิจารณาจาก “ช่องว่างภาษี” (Tariff Gap) ที่ขยายตัวออกไปเรื่อย ๆ เมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน อัตราภาษีนำเข้าสินค้าสหรัฐฯ ของไทยยังอยู่ที่ 36% ซึ่งสูงกว่าของเวียดนาม อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และมาเลเซีย หากไม่สามารถขยับทันเวลา ผลกระทบอาจลามจากการค้าไปสู่การลงทุนในห่วงโซ่อุปทานระยะยาว
สหรัฐอเมริกาและอินโดนีเซียได้บรรลุข้อตกลงทางการค้าฉบับใหม่ โดยมีสาระสำคัญคือการปรับลดอัตราภาษีนำเข้าสินค้าจากฝั่งสหรัฐฯ จากเดิม 32% เหลือเพียง 19% ภายในกรอบเวลาที่ตกลงร่วมกัน ข้อตกลงนี้มีลักษณะคล้ายกับที่สหรัฐฯ ลงนามกับเวียดนามก่อนหน้านี้ โดยมุ่งเน้นการลดความไม่สมดุลทางการค้า และส่งเสริมการเปิดตลาดระหว่างกันในระยะยาว
สาระสำคัญของข้อตกลงระบุว่า อินโดนีเซียจะดำเนินการสั่งซื้อสินค้าจากฝั่งสหรัฐฯ มูลค่ารวมหลายหมื่นล้านดอลลาร์ ประกอบด้วย พลังงาน มูลค่า 15,000 ล้านดอลลาร์ สินค้าเกษตร มูลค่า 4,500 ล้านดอลลาร์ เครื่องบิน Boeing จำนวน 50 ลำ
นอกจากนี้ อินโดนีเซียยังยินยอมเปิดตลาดให้นำเข้าสินค้าจากสหรัฐฯ แทบทุกประเภท โดยลดหรือยกเลิกภาษีนำเข้าในหลายหมวดสินค้า พร้อมยอมรับการจัดเก็บภาษีสำหรับสินค้า Transshipment ตามมูลค่าเพิ่ม (value-added-based tariff)
ข้อมูลการค้าระหว่างสองประเทศ ณ ปี 2024 ระบุว่า อินโดนีเซียมีดุลการค้าเกินดุลต่อสหรัฐฯ อยู่ที่ประมาณ 15,000-18,000 ล้านดอลลาร์ โดยสินค้าหลักที่ส่งออกไปยังสหรัฐฯ ได้แก่ น้ำมันปาล์ม เฟอร์นิเจอร์ ยางพารา และสิ่งทอ
ด้านประเทศไทย ความคืบหน้าในการเจรจาการค้ากับสหรัฐฯ ล่าสุด กระทรวงพาณิชย์ได้ยื่นข้อเสนอรอบที่สองต่อคณะผู้แทนการค้าสหรัฐฯ โดยมีเป้าหมายหลักในการลดดุลการค้าเกินดุลลงให้ได้ 70% ภายใน 5 ปี และเข้าสู่สมดุลทางการค้าภายใน 7-8 ปี จากเดิมที่ตั้งเป้าไว้ในกรอบ 10 ปี โดยข้อเสนอของไทยประกอบด้วย
ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับข้อเสนอของอินโดนีเซีย พบว่าไทยมีข้อเสนอที่ใกล้เคียงกันในแง่ของมูลค่าการซื้อสินค้า อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีความชัดเจนในอีก 2 ประเด็นที่สหรัฐฯ ให้ความสำคัญ ได้แก่ การเปิดตลาดเพื่อลดภาษีนำเข้าสินค้าสหรัฐฯ อย่างครอบคลุม และการยอมรับระบบภาษีสำหรับสินค้า Transshipment
แหล่งข่าวในวงการเจรจาการค้าเปิดเผยว่า ช่วง 2 สัปดาห์สุดท้ายก่อนเส้นตายวันที่ 1 สิงหาคม ความเสี่ยงของไทยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากช่องว่างของอัตราภาษีนำเข้าสินค้าสหรัฐฯ (Tariff Gap) ระหว่างไทยกับประเทศอื่นในภูมิภาคเริ่มขยายออกอย่างชัดเจน โดยไทยยังคงใช้อัตราภาษีที่ 36% ซึ่งสูงกว่าคู่แข่งสำคัญในอาเซียน ได้แก่
นักวิเคราะห์เตือนว่า หากไทยไม่สามารถบรรลุข้อตกลงได้ทันเวลา ความสามารถในการแข่งขันด้านการค้า การส่งออก และการดึงดูดเม็ดเงินลงทุนจากสหรัฐฯ อาจได้รับผลกระทบระยะยาว
ฝ่ายวิจัยบริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย (KS) ประเมินว่า ตลาดหุ้นไทย (SET Index) มีแนวโน้มเข้าสู่โซนพักฐานระยะสั้นในกรอบ 1,175 จุด บวกลบ โดยแนะนำให้นักลงทุนปรับพอร์ตไปสู่กลุ่มหุ้นที่ underperform ในช่วงที่ผ่านมา และหลีกเลี่ยงกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงในครึ่งปีหลัง โดยกลุ่มที่แนะนำ ได้แก่
ปัจจัยบวกคือความชัดเจนหลังการประมูลคลื่นเมื่อ 29 มิ.ย. ที่ผ่านมา ซึ่งช่วยลดความไม่แน่นอนของอุตสาหกรรม และคาดว่าจะไม่มีการประมูลใหม่จนถึงปลายปี 2027 ประกอบกับการแข่งขันที่ลดลงในตลาดลักษณะ duopoly ทำให้ผลประกอบการมีเสถียรภาพ
TRUE ยังมีโอกาสได้อานิสงส์จากการควบรวมกิจการผ่านการลดต้นทุนจาก network synergy โดยเฉพาะการปรับปรุงระบบโครงข่ายที่จะแล้วเสร็จในไตรมาส 3/2568
Spread สินค้าโอเลฟินส์เริ่มฟื้นตัวจากต้นทุน Naphtha ที่ลดลงตามราคาน้ำมันดิบในช่วงต้นไตรมาส 2/2568 ขณะเดียวกัน การกระตุ้นเศรษฐกิจของจีนในครึ่งปีหลังเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย GDP ที่ 5% จะเป็นแรงหนุนต่อความต้องการสินค้าปิโตรเคมี และอาจผลักดัน spread ให้ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตาม กลุ่มที่ควรระวังคือ กลุ่มธนาคาร เนื่องจากมีความเสี่ยงจากการตั้งสำรองหนี้เสียของลูกค้ากลุ่มส่งออกในช่วงครึ่งหลังของปี 2568 อันเป็นผลจากแรงกดดันทางการค้าและความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก