ธุรกิจการตลาด

ไทยน่าสนใจอย่างไร? ทำไมผู้ผลิตรถ EV หลายค่ายหันมาตั้งโรงงานผลิต

12 ก.ย. 65
ไทยน่าสนใจอย่างไร? ทำไมผู้ผลิตรถ EV หลายค่ายหันมาตั้งโรงงานผลิต

ตลาดรถยนต์ไฟฟ้า(Electric Vehicle:EV) ในไทยถูกปลุกกระแสให้คึกคักอย่างมากทั้งความนิยมของคนไทยที่มีมากขึ้น โดยเฉพาะการเปลี่ยนหนีจากรถยนต์ใช้น้ำมันที่กำลังเป็นขาขึ้นมาใช้รถยนต์ไฟฟ้าแทน รวมถึงนโยบายของรัฐบาลเองที่ออกมาเร่งสนับสนุนให้ประชาชนหันมาใช้รถอีวีในประเทศมากขึ้น

อีกทั้งมีนโยบายส่งเสริมให้เกิดการผลิตในประเทศ โดยรัฐบาลตั้งมีเป้าหมายการในปี 2573 จะผลิตยานยนต์ไฟฟ้าทุกประเภท ทั้งรถยนต์นั่งและรถกระบะทั้งสิ้น 725,000 คัน ประเภทรถจักรยานยนต์จะมีการผลิตทั้งสิ้น 675,000 คัน หรือมีสัดส่วน 30% ของการผลิตทั้งหมด สอดคล้องกับนโยบายคณะกรรมการยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ (บอร์ดอีวี) กำหนดนโยบาย 30@30 คือ การตั้งเป้าการผลิตรถ ZEV (Zero Emission Vehicle) หรือรถยนต์ที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ให้ได้อย่างน้อย 30% ของการผลิตยานยนต์ทั้งหมดในปี 2573 เพื่อก้าวเข้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Society) และการเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนที่สำคัญของโลกหรือศูนย์กลางของภูมิภาค (EV Hub)

ไทย Hub รถยนต์อีวี

ทำให้รัฐบาลได้ออกมาตรการเร่งส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการในด้านสิทธิประโยชน์และภาษีของรถอีวี เพื่อผลักอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าของไทย ให้เป็นศูนย์กลางการผลิตและส่งออกยานยนต์ไฟฟ้าสู่กลุ่มประเทศอาเซียน โดยในวันที่ 9 มิ.ย. 2565 รัฐบาลไทยได้ลดภาษีรถยนต์ไฟฟ้าลงเหลือ 2% จาก 8% เพื่อจูงใจให้ใช้ไทยเป็นการผลิตรถอีวีในอนาคต นอกจากนี้รัฐบาลยังมีนโยบายให้เงินอุดหนุนสูงสุด 150,000 บาท ต่อรถยนต์อีวีหนึ่งคัน

หากไปดูย้อนบริษัทต่างชาติผู้ผลิตรถยนต์ออีวีต่างประเทศหน้าใหม่ที่ต่างเริ่มทยอยประกาศที่ประกาศบุกเข้ามาใช้ประเทศไทยเป็นการผลิตรถยนต์อีวีเป็นครั้งแรก ตอนนี้ก็ถือว่ามีหลายราย โดยทีมข่าว 'SPOTLIGHT' จะรวบรวมตอนนี้มีบริษัทต่างชาติรายใหม่จะรุกเข้าไทยเพื่อมาธุรกิจรถยนต์อีวีแล้วมีใครบ้าง

 

'ฟ็อกซ์คอนน์' จับมือ PTT ทุ่ม 7.2 หมื่นล้าน ปักฐานผลิตรถ EV ในไทย

ฟ็อกซ์คอนน์ ร่วม ปตท.ตั้งโรงงานผลิตรถยนต์ออีวี

โดยเจ้าแรกๆ คงต้องพูดถึงกลุ่ม 'ฟ็อกซ์คอนน์' จากไต้หวัน ที่ออกตัวแรงมาตั้งแต่ช่วงปลาย 2564 โดยประกาศความร่วมมือกับบบริษัทบิ๊กพลังงานแห่งชาติของไทย คือ บมจ.ปตท(PTT) ร่วมทุนกันตั้งโรงงานผลิตรถยนต์อีวีในไทย มูลค่าประมาณ 1,000-2,000 ล้านดอลลาร์ หรือราว 36,000-72,000 ล้านบาท ผ่านการตั้งบริษัทร่วมทุนขึ้น คือ บริษัท ฮอริษอน พลัส จำกัด (HORIZON PLUS) โดย PTT ถือหุ้นสัดส่วน 60% และกลุ่ม 'ฟ็อกซ์คอนน์' ถือหุ้นสัดส่วน 40%

โดย HORIZON PLUS มีเป้าหมายจะตั้งโรงงานผลิตรถ EV บนพื้นที่กว่า 350 ไร่ ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ของไทย โดยมีกำหนดแล้วเสร็จและสามารถเริ่มผลิตยานยนต์ไฟฟ้า 4 ล้อ ออกสู่ตลาดได้ภายในปี 2567 โดยในเฟส 1 มีกำลังการผลิตที่ 50,000 คัน/ปี และภายในปี 2573 มีแผนจะขยายกำลังการผลิตไปถึง 150,000 คัน/ปี เพื่อให้สอดรับกับความต้องการใช้ EV ทั้งภายในประเทศและภูมิภาคอาเซียนที่มีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง

 

BYD ร่วมทุน "สยามกลการ" ผุดโรงงานผลิตรถ EV ในไทย

697785

 

ล่าสุด กลุ่ม BYD ที่ย่อมาอมาจาก Build Your Dreams ผู้ผลิตรถยนต์อีวีรายใหญ่ระดับโลกสัญชาติจีน ประกาศร่วมทุนตั้งโรงงานผลิตรถยนต์ตั้งโรงงานผลิตรถยนต์พวงมาลัยขวาในประเทศไทย โดยใช้ชื่อ ชื่อ BYD Thailand เพื่อเป็นฐานการผลิตและส่งออกในภูมิภาคอาเซียน และ ยุโรป กำลังผลิตประมาณ 1 แสนคันต่อปี มีมูลค่าการลงทุนรวมประมาณ 20,000 ล้านบาท โดยร่วมมือกับกลุ่มสยามกลการที่มีผู้บริหาร คือ 'ประธานวงศ์ พรประภา' ทายาทรุ่นที่ 3 เป็นผู้ดูแล

โดยการลงทุนของ BYD จากประเทศจีน และกลุ่มทุนไทย มีมูลค่ารวม 20,000 ล้านบาท แบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลัก คือ

1. ส่วนโรงงานผลิตรถยนต์ ประมาณ 17,300 ล้านบาท

  • BYD บริษัทแม่ ลงทุนสัดส่วน 85%
  • กลุ่มทุนไทย ลงทุนสัดส่วน 15%

2. ส่วนการขาย และ บริการหลังการขาย ประมาณ 2,300 ล้านบาท

  • กลุ่มทุนไทย ลงทุนสัดส่วน 85%
  • BYD บริษัทแม่ ลงทุนสัดส่วน 15%

ล่าสุด กลุ่ม BYD เร่งแผนการลงทุนอย่างต่อเนื่อง โดยเซ็นสัญญาซื้อที่ดินจำนวน 600 ไร่ ในนิคมอุตสาหกรรม ระยอง 36 ของ ดับบลิวเอชเอของดับบลิวเอชเอ กรุ๊ป ในประเทศไทย โดยนิคมอุตสาหกรรมนี้ ตั้งอยู่ในโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) โดยการซื้อขายที่ดินกับ บีวายดี ครั้งนี้ ซึ่งถือเป็นดีลที่ใหญ่ที่สุดในรอบ 20 ปี ของดับบลิวเอชเอ อีกด้วย โดย BYD มีแผนจะสร้างโรงงานผลิตรถยนต์นั่งไฟฟ้าพวงมาลัยขวาที่ใช้เทคโนโลยีใหม่ล่าสุด โดยคาดว่าจะเริ่มผลิตได้ในปี 2567 ด้วยกำลังการผลิตรถยนต์นั่งไฟฟ้าจำนวน 150,000 คันต่อปี เพื่อส่งออกไปยังประเทศต่าง ๆ ในกลุ่มอาเซียนและยุโรป

 


'Tesla' บุกเปิดบริษัทในไทยประกาศรับสมัครพนักงานแล้ว จับตาจะเปิดโรงงานผลิตด้วยหรือไม่


Tesla รับสมัครพนักงานในไทย

ด้าน Tesla ผู้นำตลาดรถยนต์อีวีของโลกสัญชาติอเมริกันที่มีเจ้าของ คือ 'Elon Musk' ได้ประกาศเปิดรับสมัครพนักงานประจำประเทศไทยแล้ว หลังจากก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 25 เม.ย. 2565 ที่ผ่านมา โดยข้อมูลจากเว็บไซต์ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ได้มีการเผยแพร่เอกสารจดทะเบียนนิติบุคคลในชื่อ บริษัท เทสลา (ประเทศไทย) จำกัด ด้วยทุนจดทะเบียน 3 ล้านบาท เพื่อทำธุรกิจประกอบกิจการขายรถยนต์ไฟฟ้า ระบบเก็บพลังงานแบบติดตั้งและอุปกรณ์ที่ใช้กับระบบเก็บพลังงานแบบติดตั้ง ระบบผลิตพลังงานและอุปกรณ์ที่ใช้กับระบบพลังงาน

รายชื่อคณะกรรมการที่จดทะเบียนบริษัท เทสล่า ประเทศไทย มีทั้งหมด 3 คน ได้แก่

1. เดวิด จอน ไฟน์สไตน์ ผู้อำนวยการอาวุโสด้านการค้าระหว่างประเทศ, ตลาดใหม่ และการเงิน

2. ไวภา ตเนชา หัวหน้าฝ่ายบัญชี Tesla Motors

3. ยารอน ไคลน์ ดำรงตำแหน่งเหรัญญิกของ Tesla Motors และเป็นประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงินของบริษัท Tesla Energy Operations เป็นบริษัทลูกของ Tesla Motors

โดยจาการจดแจ้งของ บริษัท เทสลา (ประเทศไทย) คาดการณ์ได้ว่า Tesla Thailand จะเข้ามาทำธุรกิจในไทยในรูปแบบของการทำธุรกิจ "ขายออนไลน์" คล้ายกับรูปแบบที่ Tesla ทำธุรกิจในประเทศสิงคโปร์ ที่ใช้พวงมาลัยด้านขวาเหมือนกับประเทศไทย โดยผู้ที่สนใจรถยนต์ Tesla สามารถซื้อรถยนต์ไฟฟ้าผ่านเว็บไซต์ Tesla Singapore หรือสามารถไปดูรถยนต์ตัวจริง ได้ที่ Tesla store โดยส่วนใหญ่จะตั้งอยู่ตามห้างสรรพสินค้าในประเทศสิงคโปร์

เมื่อดูวิเคราะห์ดูข้อมูลการทำธุรกิจของ Tesla ในแต่ละประเทศจะเห็นว่าจะมีการบริการอื่นๆ ตามมาด้วย ดังนี้

1.บริการจำหน่ายรถยนต์ใหม่ ทั้งรูปแบบโชว์รูม และรูปแบบออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ Tesla.com

2.ศูนย์บริการรถยนต์ไฟฟ้า Tesla

3.สถานีชาร์จ Tesla Supercharger

โดยมีประเด็นที่ยังต้องจับตาต่อไปว่า Tesla จะเปิดโรงงานผลิตในไทยด้วยหรือไม่ เพราะหลังจากการเกิดขึ้นของ  Tesla Thailand ได้เกิดกระแสข่าวลือต่อเนื่องตามมาว่า Tesla อาจใช้ประเทศไทยเป็นฐานโรงงานผลิตรถของ Tesla เพื่อทำตลาดในเอเชียอีกด้วย โดยยังคงต้องติดตามความชัดเจนในเรื่องนี้ต่อไป 

 


Neta แบรนด์รถอีวีสัญชาติจีนเปิดตัว Neta V ขายในไทย

รถอีวี Neta V เปิดตัวขายในไทย

แบรนด์ Neta รถยนต์ไฟฟ้าสัญชาติจีน อยู่ภายใต้บริษัท โฮซอน นิว เอนเนอร์ยี่ ออโต้โมบิล จำกัด ถือเป็นแบรนด์จีนหน้าใหม่ที่เริ่มเข้ามาทำตลาดในประเทศไทยเมื่อต้นปี 2565 โดยเนต้า ถือเป็นผู้ผลิตรถยนต์พลังงานไฟฟ้า 100% จากประเทศจีนก่อตั้งขึ้นในปี 2557 ด้วยวิสัยทัศน์ที่ต้องการให้ผู้คนสามารถเป็นเจ้าของรถยนต์พลังงานไฟฟ้าที่มีคุณภาพและนวัตกรรมขั้นสูงได้อย่างเท่าเทียมซึ่งมีผลการดำเนินงานที่โดดเด่นในระยะเวลาเพียง 4 ปีของการดำเนินธุรกิจ โดย NETA

แม้ Neta ไม่ได้มีโรงงานในไทย แต่ด้วยฐานการผลิตในจีนที่มี 3 โรงงานตั้งอยู่ในมณฑลเจ้อเจียง มณฑลเจียงซี และหนานหนิงเขตกวางสี ที่มีกำลังการผลิตรวม 250,000 คันต่อปี ซึ่งเพียงพอที่เข้สมาขยายตลาดในประเทศไทย

เริ่มเข้ามทำตลาดในประเทศไทยเมื่อต้นปี 2565 ในชื่อบริษัท เนต้า ออโต้ (ไทยแลนด์) จำกัด (Neta Auto (Thailand) Co., Ltd.) ซึ่งล่าสุดได้ประกาศแต่งตั้ง อเล็กซ์ เป่า จ้วงเฟย ที่เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมยานยนต์ทั้งของไทยและของจีนเข้ารับตำแหน่งผู้บริหารของ NETA ประจำประเทศไทย

โดยล่าสุด Neta Auto Thailand เปิดตัว ราคาไทยของรถยนต์ไฟฟ้า Neta V ออกมาเป็นที่เรียบร้อย โดยราคาที่รวมส่วนลดการสนับสนุนจากรัญบาลไทยแล้วจะอยู่ที่ราคา 549,000 บาท โดย Neta V มาในคอนเซปต์ Touchable Smart EV รถยนต์ไฟฟ้าที่ทุกคนเป็นเจ้าของได้ เป็นนถ City Car เหมาะกับการใช้งานในเมือง สำหรับประเทศไทยมียอดจองล่วงหน้าไปแล้วกว่า 3,000 คัน ลูกค้าที่จองก่อนรับสิทธิ์ชาร์จไฟฟรี 7,000 บาท โดยเตรียมส่งมอบรถยนต์ Neta V ในวันที่ 30 ธ.ค 2565


ขณะที่ข้อมูลปัจจุบันสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ได้อนุมัติโครงการยานยนต์ไฟฟ้าไปแล้ว 26 โครงการเป็นของ 17 บริษัท คิดเป็นยอดกำลังการผลิตรถไฟฟ้า 830,000 คัน และคาดการณ์ว่าภายในต้นปี 2566 ประเทศไทยจะสามารถทำได้ตามเป้าหมายการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าจำนวน 1 ล้านคัน และภายในปี 2573 รถยนต์พลังงานไฟฟ้าจะมีสัดส่วน 30% ของการผลิตรถยนต์ทั้งหมดของประเทศไทย หรือ 700,000 คันต่อปี

 

ใช้ไทยเป็นฐานผลิต EV กระจายความเสี่ยง-แถมตลาดมีดีมานด์สูง

761427

วิจัยกรุงศรี ร่วมมือกับ Krungsri Auto สำรวจความคิดเห็นของผู้บริโภคทั่วไปเกี่ยวกับความต้องการและปัจจัยที่นำไปสู่การใช้รถยนต์ไฟฟ้าในอนาคต โดยทำช่วงปลายปี 2564 พบว่ามีสัดส่วน 83% ของผู้ตอบแบบสอบถามจะซื้อรถยนต์ในช่วง 5 ปีข้างหน้า โดยปัจจัยหลักคือ 1) อายุรถยนต์คันปัจจุบันถึงเวลาที่จะต้องเปลี่ยน และ 2) เปลี่ยนรถตามเทคโนโลยี


โดยวิจัยกรุงศรีพบว่าความต้องการรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยจะเริ่มมาถึงในช่วง 1-2 ปีนี้โดยในระยะแรกความต้องการส่วนใหญ่จะเป็นรถที่มีราคาระดับปานกลางและสูง หลังจากนั้นความต้องการจะเร่งตัวสูงขึ้นมากโดยเฉพาะรถยนต์ไฟฟ้าระดับราคาต่ำกว่า 1 ล้านบาท โดยต้องการรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยในช่วงหลายปีข้างหน้าจะเปลี่ยนแปลงไปตามช่วงเวลาทำให้กลุ่มลูกค้าเป้าหมายมีลักษณะแตกต่างกันด้วย ดังนั้น ทั้งผู้ผลิตรถยนต์และผู้ให้บริการจึงต้องหารูปแบบการให้บริการที่เหมาะสมเพื่อที่จะะตอบสนองลูกค้ากลุ่มต่างๆ

อีกประเด็นที่ผลสำรวจของวิจัยกรุงศรีมีความน่าสนใจ คือ มีผู้ตอบให่ความเห็นจาการสำรวจว่า หากจะซื้อรถยนต์ไฟฟ้าแล้ว ผู้ใช้รถยนต์มีแนวโน้มเลือกซื้อรถยนต์ยี่ห้อใหม่ที่ไม่ได้ใช้อยู่ในปัจจุบันถึงสัดส่วน 72% โดยมีเพียงสัดส่วนเพียง 28% เท่านั้นที่จะใช้รถยนต์ยี่ห้อเดิม อีกทั้งมีสัดส่วน 13% ของกลุ่มที่ผู้จะซื้อรถอีวียี่ห้อใหม่จะลองซื้อรถยนต์จากผู้ผลิตรายใหม่ๆ ที่ไม่เคยผลิตรถยนต์ที่ใช้น้ำมันมาก่อนด้วย ดังนั้นผู้ผลิตรถยนต์ปรับตัวไม่ทันกับความต้องการรถยนต์ไฟฟ้าที่อาจจะสูญเสียส่วนแบ่งตลาดได้ด้วย

เนื่องจากกลุ่มบริโภคความภักดีต่อแบรนด์ (Brand loyalty) ของผู้ใช้รถยนต์ลดลงส่งสัญญาณว่าลูกค้ามองรถยนต์ไฟฟ้าเป็นสินค้าประเภทใหม่ ส่งผลให้สิ่งที่มองหาในรถยนต์และบริการที่เกี่ยวข้องเปลี่ยนแปลงไปด้วย แม้ผู้ผลิตรถยนต์รายเดิมจะถือไพ่เหนือกว่าผู้ผลิตรายใหม่ในแง่ของความคุ้นเคยในตลาด แต่การปรับตัวต่อความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไปจะเป็นปัจจัยสำคัญที่จะะรักษาความสามารถในการแข่งขันในตลาดรถยนต์ได้ในอนาคต

 

TTB คาดปี 65 ไทยมียอดขายรถยนต์ EV สูงสุดเป็นประวัติการณ์ 

evev

ขณะที่ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีทีบี(ttb analytics) ประเมินยอดขายรถยนต์นั่งไฟฟ้า(รถยนต์ EV) ของไทยปี 2565 แตะ 6.36 หมื่นคัน โดยเป็นรถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ (BEV) ถึง 1 หมื่นคัน หรือขยายตัว 539.7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2564 ซึ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์ จากอานิสงส์มาตรการส่งเสริมการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศ ตามกระแสความนิยมยานยนต์ไฟฟ้าที่ตอบโจทย์ผู้บริโภคทั่วโลกในด้านราคาและเทคโนโลยีแบตเตอรี่ รวมถึงราคาน้ำมันดิบที่อยู่ระดับสูงต่อเนื่อง เช่นเดียวกับยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าแบบไฮบริด (Hybrid) และไฮบริดแบบเสียบปลั๊ก (PHEV) ที่คาดว่าจะสูงถึง 5.3 หมื่นคัน สวนทางกับกระแสรถยนต์นั่งเครื่องยนต์สันดาปภายในที่ใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิง (Internal Combustion Engine: ICE) หดตัวจากปี 2564 ถึง 8.8%

 

ปี 65 ความต้องการรถ EV ไทยพุ่งตามกระแสโลก

ttb analytics จึงประเมินว่า ยอดขายรถยนต์ BEV ในปี 2565 จะสูงถึง 10,203 คัน ส่วนยอดขายแบบ Hybrid และ PHEV จะอยู่ที่ 41,927 คัน และ 11,469 คัน ตามลำดับ เหล่านี้เห็นได้จากตัวเลขยอดจองรถยนต์ xEV ในงานมหกรรมมอเตอร์โชว์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 23 มีนาคม – 3 เมษายน 2565) ที่สูงเกิน 3.1 พันคัน หรือคิดเป็นกว่า 10% ของยอดจองรถ 33,936 คัน ประกอบกับแรงส่งในช่วงปลายปีนี้ ที่ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าจากประเทศญี่ปุ่นจะส่งรถยนต์ BEV เข้าสู่ตลาดเพิ่มขึ้นอีก

แม้ตลาดรถยนต์ไฟฟ้าในไทยจะโตเร็ว แต่โอกาสที่ไทยจะกลายเป็นฐานผลิตรถยนต์ BEV ของภูมิภาคยังค่อนข้างยาก เนื่องจากอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยกำลังเผชิญกับการแข่งขันจากค่ายรถยนต์จากจีนมากขึ้น ซึ่งในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ตลาดรถยนต์ BEV ในไทยที่เติบโตอย่างรวดเร็ว ส่วนหนึ่งมาจากตลาดรถยนต์ไฟฟ้าของไทยยังค่อนข้างเล็ก และบริษัทผู้ผลิตหลักจากประเทศญี่ปุ่นยังไม่เดินหน้ารุกตลาด BEV อย่างเต็มที่ จึงทำให้จีนเร่งรุกตลาดสร้างฐานลูกค้าใหม่ได้อย่างรวดเร็ว ส่งผลให้รถยนต์ BEV ที่วิ่งบนท้องถนนในปัจจุบันเกิน 80% เป็นผู้ผลิตรถยนต์จากประเทศจีนทั้งสิ้น

ขณะที่การตั้งฐานผลิตรถยนต์ BEV ของค่ายรถจีนนอกประเทศก็อาจไม่ใช่ตัวเลือกที่คุ้มค่านัก เนื่องจากปริมาณการผลิตรถยนต์ BEV ในโรงงานประเทศจีนมีขนาดใหญ่ จึงมีการผลิตสินค้าจำนวนมากในครั้งเดียวจนได้ต้นทุนที่ต่ำ หรือที่เรียกว่า การประหยัดต่อขนาด (Economies of Scale) ทำให้ต้นทุนการผลิตต่อคันถูกกว่าไทยค่อนข้างมาก อีกทั้งผู้ผลิตยังสามารถนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้าจากจีนมาขายในไทยโดยตรงผ่านสิทธิประโยชน์ด้านเขตการค้าเสรีไทย-จีน (FTA) แทนที่จะเข้าร่วมโครงการสนับสนุนจากภาครัฐที่ผู้ผลิตมีภาระผูกพันที่จะต้องผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศอีกด้วย

 

WHA

ด้าน 'จรีพร จารุกรสกุล' ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บริษัท ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ WHA ให้มุมมองว่า หลังจากจากสถานการณ์ COVID-19 อุตสาหกรรมการผลิตของจีนเริ่มมีการย้ายฐานการผลิตออกจากประเทศจีนเพิ่มขึ้นเพื่อกระจายความเสี่ยงตามยุทธศาสตร์ China Plus One รวมถึงการที่ผู้ประกอบการต่างมุ่งปรับห่วงโซ่อุปทานของตนให้มีความทนทาน (Resilience) ด้วยการกระจายฐานการผลิตไปยังประเทศปลายทางที่ใกล้กับแหล่งผลิต

รวมตลาดผู้บริโภค หรือหลายประเทศที่มีศักยภาพภายในภูมิภาคเดียวกัน แต่ยังคงสามารถเชื่อมต่อถึงกันด้วยระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพ แน่นอนว่าหนึ่งในนั้นคือ การกระจายความเสี่ยงมาตั้งฐานผลิตในไทย

เมื่อเห็นข้อมูลข้างต้นจะพบว่าแม้ต้นทุนที่ใช้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตจะสูงกว่าในประเทศจีน แต่การกระจายความเสี่ยงของฐานการผลิตก็มีความจำเป็นในอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์อีวี รวมถึงอุตสาหกรรมการหผลิตอื่นๆ ในจีนด้วย เพราะหากเกิดภาวะสถานการณ์ฉุกเฉิน อย่างเช่น กรณีที่รัฐบาลจีนประเทศล็อกดาวน์ประเทศเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 รวมถึงความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics) ทำให้การผลิตในจีนอาจต้องหยุดไป

จนมีผลกระทบต่อธุรกิจ ดังนั้นการแบ่งย้ายฐานการผลิตออกมาในภูมิภาคก็ถือเป็นเลือกในการลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นกับธุรกิจ ดังนั้นคงไม่แปลกใจที่ยักษ์ใหญ่ผู้ผลิตรถยนต์อีวีเบอร์ 1 สัญชาติจีนกล้าที่จะเปิดโรงงานรถยนต์ในไทยมูลค่า 20,000 ล้านบาท รวมถึงผู้เล่นหน้าใหม่ๆ ที่เริ่มทยอยตบเท้ามาลงทุนในกลุ่ม 'ฟ็อกซ์คอนน์' เข้ามาแล้ว หรือแม้แต่ Tesla ก็ประกาศบุกเข้ามาอย่างประเทศไทยแล้วอย่างเป็นทางการ และเชื่อว่าน่าจะมีโอกาสบริษัทผลิตรถอีวีต่างชาติหน้าใหม่ๆ ทยอยเข้าลงทุนไทยเพิ่มอีกในอนาคต

 

ผู้ผลิตรถยนต์น้ำมันหน้าเดิมในไทยปรับตัวมาผลิตรถ EV 

 

294565

ขณะที่บีโอไอ ได้รายงานความคืบหน้าการส่งเสริมกิจการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วน ตั้งแต่ปี 2560 ถึงวันที่ 17 ส.ค. 2565 มีโครงการที่ได้รับส่งเสริมในกิจการดังกล่าวแล้วรวม 26 โครงการ จาก 17 บริษัท ประกอบด้วย

  • โครงการผลิต Hybrid Electric Vehicle (HEV) จำนวน 7 โครงการ ได้แก่ GWM, Honda, Mazda, MG, Mitsubishi, Nissan, Toyota
  • โครงการผลิต Plug-in Hybrid Electric Vehicle (PHEV) จำนวน 8 โครงการ ได้แก่ BMW, BYD, GWM, Mercedes Benz, Mazda, MG, Mitsubishi, Toyota
  • โครงการผลิต Battery Electric Vehicle (BEV) จำนวน 15 โครงการ ได้แก่ BYD, FOMM, GWM, Honda, Horizon, Mazda, Mercedes Benz, MG, Mine Mobility (2 โครงการ), Mitsubishi, Nissan Skywell, Takano, Toyota
  • โครงการผลิตรถบัสไฟฟ้า (E-bus) จำนวน 2 โครงการ ได้แก่ Absolute Assembly และสกุลฎ์ซี (เนื่องจากบางโครงการได้รับการส่งเสริมในกิจการผลิตรถยนต์ไฟฟ้ามากกว่า 1 ประเภทในโครงการเดียวกัน ทำให้จำนวนโครงการเมื่อแยกตามรายประเภทรถยนต์ไฟฟ้าแล้วจะสูงกว่าจำนวนโครงการรวม) มีมูลค่าการลงทุนรวม 80,208.6 ล้านบาท (ไม่รวมค่าที่ดินและเงินทุนหมุนเวียน) กำลังการผลิตจำนวน 838,775 คัน แยกเป็น HEV 38,623.9 ล้านบาท 440,955 คัน, PHEV 11,665.6 ล้านบาท 137,600 คัน, BEV 27,745.2 ล้านบาท 256,220 คัน และ Battery Electric Bus 2,173.8 ล้านบาท 4,000 คัน


โดยบริษัทที่เริ่มการผลิตเพื่อจำหน่ายเชิงพาณิชย์แล้ว ได้แก่ Absolute Assembly, BMW, FOMM, GWM, Honda, Mercedes Benz, MG, Mitsubishi, Nissan, Takano, Toyota และยังมีอีกหลายโครงการที่มีแผนที่จะผลิตเพื่อจำหน่ายเชิงพาณิชย์ในปี 2566 และ 2567

 

advertisement

Relate Post

SPOTLIGHT