ธุรกิจการตลาด

7 ข้อผู้เสียหาย ดารุมะ ต้องรู้! มคบ. แนะวิธีร้องเรียนต้องทำยังไง

21 มิ.ย. 65
7 ข้อผู้เสียหาย ดารุมะ ต้องรู้!  มคบ. แนะวิธีร้องเรียนต้องทำยังไง

จากกรณีร้าน "ดารุมะ ซูชิ" ร้านบุฟเฟต์แซลมอนชื่อดัง ที่มีสาขาอยู่ทั่วประเทศจำนวน 27 สาขา ได้ขายคูปองหรือ Voucher ในราคา 199 บาท โดยกลายเป็น " Voucher ทิพย์" ในเวลาต่อมาพบว่ามีการประกาศปิดร้านหนีกะทันหัน ส่งผลมีผู้เสียหายจำนวนมากเบื้องต้นน่าจะมีมูลค่ามากกว่า 100 ล้านบาท

 

โดยล่าสุด มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.) เปิดวิธีร้องเรียนออนไลน์ ผู้เสียหายจาก "ดารุมะ" เช็คเลยที่นี่

มีข่าวแจ้งล่าสุด มาจาก แกนนำกลุ่มผู้เสียหายจาก ดารุมะ ซูชิ ให้ทุกคน

เตรียมหลักฐานเบื้องต้นเพื่อนำมาร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน ปคบ. หรือพนักงานสอบสวนท้องที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ มีดังนี้

 

603061

 

1) หลักฐานการโอนเงิน เช่นสลิปโอนเงิน, เสตทเม้นท์ หรือหลักฐานการหักชำระด้วยบัตรเครดิตของผู้เสียหายเอง (สำคัญ)

2) สำเนาบัตรประชาชนผู้เสียหาย หรือหนังสือมอบอำนาจพร้อมสำเนาบัตรประชาชนผู้มอบ ผู้รับมอบ ติดอากรแสตมป์ลงนามให้เรียบร้อย

3) หลักฐานการซื้อคูปองผ่านแอพ ดารุมะ ซูชิ ผ่านที่ตั้งสาขาใด (เน้นให้ปรากฏข้อมูลคูปองที่สั่งซื้อ, ประวัติการจอง, การชำระเงิน)

4) หลักฐานการแชทสนทนากับผู้ขาย (ถ้ามี)

5) หลักฐานที่ผู้เสียหายพบโฆษณาขายคูปองผ่านทางช่องทางใด เช่น เฟซบุ๊ค หรือ ig เป็นต้น

6) หลักฐานการปฏิเสธการใช้คูปอง (ถ้ามี) หรือหากยังไม่ได้ใช้คูปอง อาจหาหลักฐานทราบจากข่าวว่าร้านที่ใช้บริการปิด ไม่สามารถใช้บริการได้เป็นต้น

7) ทุกหลักฐานพิมพ์ใส่กระดาษ A4 รับรองสำเนามาด้วยทุกแผ่น อาจมีคำอธิบายประกอบภาพมาด้วยก็ได้

 

***หมายเหตุ หลักฐานที่กล่าวมาข้างต้นใช้ประกอบการแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ทุกท้องที่



สคบ. เผยเล็งเอาผิด 'ดารุมะ' อีก 2 ข้อหา

143769

 

 นายจิติภัทร์ บุญสม ผู้อำนวยการกองคุ้มครองผู้บริโภคด้านโฆษณา สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) เปิดเผยว่า กรณีร้านดารุมะ ซูชิ บุฟเฟ่ต์แซลมอนชื่อดัง เปิดขายเวาเชอร์บุฟเฟ่ต์อาหารญี่ปุ่นราคาถูก แล้วปิดบริการกระทันหันทำให้มีผู้เสียหายร้องเรียนสคบ. เกือบ 500 ราย ว่า

วันนี้

สคบ. จะรายงานเรื่องการตรวจสอบข้อเท็จจริง และการรับเรื่องร้องเรียนจากผู้บริโภค เสนอคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ที่มีนายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานรับทราบ นอกจากเรื่องความผิดด้านสัญญาแล้ว สคบ.ยังเตรียมตรวจสอบการกระทำที่อาจเข้าข่ายความผิดตามพ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภคอีก 2 เรื่อง

ทั้งเรื่องการโฆษณา และเรื่องการขายตรงและตลาดแบบตรง ล่าสุดกำลังตรวจสอบรายละเอียดของการกระทำผิดว่าเป็นอย่างไร คาดว่าเร็วๆนี้จะได้ข้อสรุป สำหรับการตรวจสอบเบื้องต้นในด้านการโฆษณานั้น สคบ.จะกลับไปเช็กข้อความโฆษณาก่อนหน้าที่ ซึ่งพบว่า

 

"การนำเข้าปลาแซลมอนนั้น เคยมีการโฆษณาว่ามาจากประเทศหนึ่ง แต่เมื่อสอบถามกับผู้จัดการร้านที่เชิญมาประชุมครั้งล่าสุด ไม่สามารถระบุถึงที่มาได้ว่ามาจากประเทศที่โฆษณาไว้จริงหรือไม่ หากตรวจสอบข้อมูลพบว่าไม่จริง ก็ถือว่าทำผิดด้านโฆษณา รวมไปถึงคำโฆษณาอื่นๆอีกด้วย"

 

760450

 

อีกเรื่องคือ ความผิดตามกฎหมายว่าด้านการประกอบธุรกิจขายตรงและตลาดแบบตรง จากการตรวจสอบเบื้องต้นจากเจ้าหน้าที่พบว่า บริษัท ดารุมะ ซูชิ จำกัด มีการว่าจ้างบริษัทจัดทำแอปพลิเคชัน Daruma Sushi เพื่อเปิดขาย e-Voucher บุฟเฟ่ต์แซลมอนนั้น ไม่ได้มีการจดทะเบียนธุรกิจขายตรงและตลาดแบบตรง จึงถือว่ามีความผิดชัดเจน

 

ขณะนี้มีผู้ร้องเรียน สคบ.แล้ว 481 ราย มูลค่าเสียหายกว่า 8 แสนบาท มีกลุ่มผู้เสียหาย 3 กลุ่ม ดังนี้ กลุ่มผู้บริโภคที่ซื้อมาเพื่อบริโภคโดยตรง ผู้ที่ซื้อแฟรนไชส์มาดำเนินกิจการ และผู้ที่ซื้อคูปองเพื่อนำไปจำหน่ายต่อ ซึ่งสคบ.ลงพื้นที่ตรวจสอบบริษัท ดารุมะ ซูชิ จำกัด และร้านดารุมะ ซูชิ สาขาถนนรามอินทรา สาขาเดอะคริสตัล เอกมัย – รามอินทรา สาขาอมอรินี่ สวนสยาม และสาขาเมเจอร์ รัชโยธินแล้ว และได้ประสานให้ผู้จัดทำแอปพลิเคชัน ผู้จัดการร้าน และบุคคลที่อ้างว่าซื้อแฟรนไชส์มาให้ถ้อยคำเจ้าหน้าที่แล้ว

 

สำหรับ ร้านดารุมะ ซูชิ มีสาขาทั้งหมด 27 สาขา แบ่งเป็นสาขาแฟรนไชส์ 20 สาขา สาขาของนายเมธา ชลิงสุข กรรมการผู้มีอานาจลงนามผูกพันบริษัท ดารุมะ ซูชิ จำกัด 7 สาขา คือ สาขาอ่อนนุช, สาขาอุดมสุข, สาขาสวนสยาม, สาขาเฉลิมพระเกียรติ, สาขาเมเจอร์รังสิต, สาขาเมเจอร์รัชโยธิน และสาขาพาราไดซ์

 

ขอบคุณที่มาข้อมูลและรูปมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

1.จากฟิตเนส สู่บุฟเฟต์ ย้อนรอย 4 ธุรกิจขายคอร์ส-เวาเชอร์ เชิดเงินหนี

 

2.จากซูชิ 11 บาท สู่ "ซูชิพันล้าน" CRG ปิดดีลใหญ่ซื้อร้าน Shinkanzen

advertisement

Relate Post

SPOTLIGHT