ธุรกิจการตลาด

แม่ค้าออนไลน์รับมืออย่างไร? เมื่อแพลตฟอร์มต้องแจ้งรายได้ให้สรรพากร 

8 ม.ค. 67
แม่ค้าออนไลน์รับมืออย่างไร? เมื่อแพลตฟอร์มต้องแจ้งรายได้ให้สรรพากร 
ไฮไลท์ Highlight

แต่สำหรับยุคนี้ ยุคที่การค้าขายส่วนใหญ่อยู่ในช่องทางออนไลน์ และอยู่บนแพลตฟอร์ม ซึ่งมีอยู่เพียงไม่กี่แห่ง ดังนั้น จึง ”เป็นการท้าทายมากที่คุณจะหลบเลี่ยง จากการตรวจสอบของกรมสรรพากร” นอกเสียจาก คุณจะไม่ขายอยู่ในแพลตฟอร์มลง ซึ่งอย่างที่บอกไปตอนต้น ว่าในแพลตฟอร์มเหล่านี้ ก็มีลูกค้าอยู่ เป็นจำนวนมาก “ดังนั้นการไม่ค้าขายในแพลตฟอร์มอาจจะทำให้คุณเสียโอกาส และยอดขายลดลงได้เป็นจำนวนมาก”

ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 ที่ผ่านมาประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้เรื่อง กำหนดให้อิเล็กทรอนิกส์แพลตฟอร์มมีบัญชีพิเศษ น่าจะสร้างความกังวลให้กับผู้ประกอบการพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์อยู่ไม่น้อย เพราะหลายคนค้าขายผ่านแพลตฟอร์ม และยังไม่ได้นำรายได้ กำไรเข้าสู่ระบบภาษี บางรายอาจไม่ได้ทำธุรกิจในนามนิติบุคคลด้วยซ้ำ

กูรูอีคอมเมิร์ซชื่อดัง คุณป้อม ภาวุธ พงษ์วิทยภานุ เจ้าพ่อ E-Commerce ของไทย ผู้ก่อตั้ง Tarad.com ปัจจุบันมีธุรกิจเทคโนโลยีมากมาย ได้โพสข้อความในเฟซบุ๊ก สรุปประเด็นเกี่ยวกับประกาศของกรมสรรพากรรวมทั้งคำแนะนำในการรับมือสำหรับบรรดาร้านค้าออนไลน์ในแพลตฟอร์มต่างๆดังนี้ 

จากประกาศของกรมสรรพากร เกี่ยวกับเรื่องการกำหนดให้ ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มออนไลน์ต่างๆ เช่น ลาซาด้า ช้อปปี้ ติ๊กต๊อก ไลน์แมน ฟู๊ดแพนด้า โรบินฮู้ด รวมไปถึง แพลตฟอร์ม บริการออนไลน์ต่างๆ ในประเทศไทย ที่มีรายได้เกิน 1,000 ล้านบาท/ปี จะ “ต้องรายงานรายได้ของผู้ที่ค้าขายที่อยู่ในแพลตฟอร์มทั้งหมด ส่งให้กับสรรพากรผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์”

ซึ่งแน่นอน การส่งข้อมูลยอดขาย ของผู้ค้าทั้งหมดของบรรดาแพลตฟอร์มต่างๆ ให้กับสรรพากรโดยตรงจะทำให้สรรพากรทราบถึง ยอดขายของ พ่อค้าแม่ค้ารวมถึงบริษัทที่ขายของในแพลตฟอร์มแต่ละราย ซึ่งจะนำมาสู่ “การจัดเก็บภาษีจากการขาย รวมไปถึงการประเมินภาษีจากรายได้ ของผู้ค้าในแพลตฟอร์มอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้”

ผมจะลองมาประเมิน ถึงผลกระทบและรูปแบบของภาษีที่ผู้ค้าออนไลน์ในแพลตฟอร์ม จะต้องประสบพบเจอ

1.ภาษีมูลค่าราคาเพิ่ม (VAT) – หากพ่อค้าแม่ค้ารวมไปถึงบริษัท ที่ขายของ ในแพลตฟอร์มออนไลน์ มียอดขายเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี คุณจะต้องมีหน้าที่ไปจดภาษีมูลค่าเพิ่ม นั่นหมายถึง เมื่อคุณขายสินค้า 100 บาท เมื่อมีการจดภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว คุณจะต้อง บวกภาษีมูลค่าเพิ่มเข้าไปอีก 7% ซึ่งจะทำให้ผู้ซื้อ ต้องจ่ายเงิน 107 บาท ตรงนี้เองจะทำให้ราคา ของสินค้าและบริการของคุณ เพิ่ม ขึ้นมา (แต่หาก คุณมียอดขายไม่ถึง 1.8 ล้านบาทต่อปี คุณก็ไม่ต้อง มีหน้าที่จัดเก็บ ภาษีในส่วนนี้กับลูกค้าของคุณ)

2.ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล เป็นการเสียภาษี เมื่อคุณ มีรายได้ โดย หากคุณเป็นบุคคลธรรมดา มีรายได้ไม่เกิน 150,000 บาท ต่อปี คุณจะได้รับการยกเว้น ภาษี ส่วนนี้ แต่เมื่อคุณมีรายได้เกิน 150,000 บาทขึ้นไป คุณจะเริ่มเสียภาษีเป็นขั้นบันได ตั้งแต่ 5% สูงสุดไปจนถึง 30% เลยทีเดียว หรือหากคุณเป็นนิติบุคคลมีรายได้/ กำไร สุทธิ น้อยกว่า 300,000 บาทต่อปีคุณจะได้รับการยกเว้นภาษีส่วนนี้เช่นกัน แต่เมื่อคุณมีรายได้เกิน 300,000 บาทขึ้นไปคุณจะเริ่มเสียภาษี 15% สูงสุดไปจนถึง 20% เลยทีเดียว

สรุปคือ หากคุณขายของอยู่ในแพลทฟอร์มออนไลน์ และมีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี สิ่งที่คุณจะ ต้องเจอคือ 1. คุณต้องเสีย ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% ทุกรายการที่ซื้อ (หน้าที่ผู้ซื้องต้องจ่ายเพิ่ม) และ 2. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ที่คุณจะโดนสูงสุดถึง 30% เลยทีเดียว หากคุณมีรายได้ สูงถึง 5 ล้านบาทต่อปี

การปรับตัวของพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ที่เป็น “บุคคล”

คำแนะนำ ผมอยากจะให้แม่ค้าออนไลน์ที่ยังค้าขายอยู่ในรูปแบบของบุคคลธรรมดา 

1.หันไปเปิดเป็นบริษัท และทำการค้าในรูปแบบ “บริษัท” แทนการทำในรูปแบบบุคคล ในแพลตฟอร์มออนไลน์ เพราะคุณจะเสียภาษีในอัตราที่ต่ำกว่า (20%) และยังสามารถวางแผนภาษีได้มากกว่าการ ค้าขายแบบบุคคลธรรมดา (เช่น สามารถการนำค่าใช้จ่ายต่างๆ ไปหัก ได้ลดหย่อน ได้มากกว่า บุคคลธรรมดา)

2.หันมาใช้ระบบ บัญชีออนไลน์ ซึ่งปัจจุบัน ตอนนี้มี หลายผู้ให้บริการ ซึ่งจะทำให้คุณสามารถเห็นข้อมูลการค้า ของคุณได้ทันที ถึงแม้คุณจะใช้บริการของสำนักงาน บัญชีภายนอกก็ตาม (แต่คุณต้อง รองข้อเข่าว่าคุณอยากใช้ระบบบัญชีออนไลน์) ส่วนตัวผมแนะนำระบบบัญชีออนไลน์ของ PeakAccount.com

3.วางแผน รายได้-รายจ่ายให้เป็นระบบ รวมไปถึงการวางแผนภาษี เพื่อที่จะทำให้คุณ เสียภาษีอย่างถูกต้องน้อยที่สุด ซึ่งตรงนี้ ควรจะปรึกษากับสำนักงานบัญชีที่คุณใช้

แต่ถ้าเกิดไม่อยากเสียภาษี หรือเข้าระบบสรรพากรจริงๆต้องทำยังไง?

คุณอาจจะต้องย้ายไปขายในแพลตฟอร์มอื่น ที่ไม่อยู่ในการควบคุมของกรมสรรพากรประเทศไทย เช่นแพลตฟอร์ม ที่ไม่ได้ มีตัวตนหรือ จดทะเบียนอยู่ในประเทศไทย แต่ปัญหาที่ตามมาของคุณก็คือ กลุ่มลูกค้าในแพลตฟอร์มเหล่านั้น ไม่ใช่คนไทย หรือมีจำนวนน้อย จะทำให้คุณ ไม่สามารถสร้างยอดขาย ได้เท่าเดิม

แนวคิดของการทำธุรกิจจะเปลี่ยนไปหลังจากนี้

ผมเชื่อว่า หลังจากนี้ แนวความคิดของคนทำธุรกิจในไทยจะเริ่มเปลี่ยนไปจากเดิมว่า “ทำธุรกิจไม่จำเป็นต้องเสียภาษี” เพราะเมื่อก่อนรูปแบบการค้าขาย มีหลายรูปแบบมีหลายช่องทาง กระจัดกระจายออกไป ทำให้เป็นการยากต่อการตรวจสอบและจัดเก็บของกรมสรรพากร

แต่สำหรับยุคนี้ ยุคที่การค้าขายส่วนใหญ่อยู่ในช่องทางออนไลน์ และอยู่บนแพลตฟอร์ม ซึ่งมีอยู่เพียงไม่กี่แห่ง ดังนั้น จึง ”เป็นการท้าทายมากที่คุณจะหลบเลี่ยง จากการตรวจสอบของกรมสรรพากร” นอกเสียจาก คุณจะไม่ขายอยู่ในแพลตฟอร์มลง ซึ่งอย่างที่บอกไปตอนต้น ว่าในแพลตฟอร์มเหล่านี้ ก็มีลูกค้าอยู่ เป็นจำนวนมาก “ดังนั้นการไม่ค้าขายในแพลตฟอร์มอาจจะทำให้คุณเสียโอกาส และยอดขายลดลงได้เป็นจำนวนมาก”

วันนี้คุณต้องปรับมุมมอง ในการทำธุรกิจของคุณใหม่ โดยเฉพาะหากคุณยังคงต้องการขายของในแพลตฟอร์มออนไลน์ภายในประเทศไทยต่อไปว่า “คุณจะต้องวางแผนและทำธุรกิจให้ถูกต้อง และมีการวางแผนภาษีเพื่อให้เสียภาษีอย่างถูกต้อง ให้เหมาะสมที่สุด”

ฝากไปยังภาครัฐบาทด้วย

เมื่อภาครัฐมีนโยบาย ในการจัดเก็บภาษี ผ่านช่องทางแพลตฟอร์มออนไลน์ที่ ผู้ค้า หลายๆคนในประเทศไทย ค้าขายกันอยู่ สิ่งที่ภาครัฐจะต้องทำ ก็คือ

การจัดเก็บภาษีให้เท่าเทียม เพราะปัจจุบันในแพลตฟอร์มออนไลน์ของประเทศไทย มี ผู้ค้าจากต่างประเทศ เข้ามาค้าขายเป็นจำนวนมาก โดยผู้ค้าเหล่านั้นไม่มีตัวตน หรือบริษัทอยู่ในประเทศไทย ดังนั้น การจัดเก็บภาษี ก็ควรจะมีรูปแบบที่ชัดเจนและเท่าเทียม กับผู้ค้าของคนไทย

เมื่อภาคเอกชน มีการเสียภาษีอย่างถูกต้อง แต่ก็ภาครัฐเองก็ต้อง นำภาษีเหล่านั้น ไปใช้อย่างถูกต้องและเหมาะสมด้วยเช่นกัน ไม่ใช่ นำเงินภาษีที่ภาคเอกชนจ่ายมา ไปใช้แบบไม่ได้วางแผนอย่างรัดกุม ปล่อยปะละเลย อย่างที่เราเห็นในการอภิปราย งบประมาณแผ่นดิน ที่ผ่านมา

advertisement

SPOTLIGHT