Logo site Amarintv 34HD
Logo LiveSearch
Search
Logo Live
Logo site Amarintv 34HD
ช่องทางติดตาม AMARINTV
  • facebook AMARIN TV 34 HD
  • x AMARIN TV 34 HD
  • line AMARIN TV 34 HD
  • youtube AMARIN TV 34 HD
  • instagram AMARIN TV 34 HD
  • tiktok AMARIN TV 34 HD
  • RSS Feed AMARIN TV 34 HD
สหรัฐฯ-ยุโรปเลิกช่วยอาเซียน! คาดเงินทุนหาย 2 พันล้านเหรียญในปี 2026
โดย : กองบรรณาธิการ SPOTLIGHT

สหรัฐฯ-ยุโรปเลิกช่วยอาเซียน! คาดเงินทุนหาย 2 พันล้านเหรียญในปี 2026

21 ก.ค. 68
13:48 น.
แชร์

รายงานของ Lowy Institute สถาบันวิจัยด้านนโยบายระหว่างประเทศของออสเตรเลีย เปิดเผยงานวิจัยที่ระบุว่า กลุ่มประเทศอาเซียนที่ยากจนเตรียมได้รับผลกระทบจากนโยบายต่างประเทศของตะวันตก เนื่องจากประเทศเหล่านี้กำลังปรับลดงบประมาณช่วยเหลือ เพื่อนำเงินเหล่านั้นมาป้องกันประเทศและใช้จ่ายภายในประเทศมากขึ้น โดยคาดการณ์ว่า เงินทุนเพื่อการพัฒนาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะลดลงมากกว่า 2,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2026

ข้อมูลดังกล่าวระบุว่า ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะลดลงเหลือ 26,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปีหน้า จากเดิมที่มีการสนับสนุนอยู่ที่ 29,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2023 ซึ่งจำนวนเงินสนับสนุนในขณะนี้ ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยก่อนเกิดการระบาดของโควิด 19 (ระหว่างปี 2019 - 2022) ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 33,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อปี ชี้ใช้เห็นว่าเงินทุนสนับสนุนกลุ่มประเทศอาเซียนจากตะวันตกลดลงอย่างต่อเนื่อง

นอกจากนี้ ยังมีการสนับสนุนเงินทุนแบบทวิภาคี จากประเทศหนึ่งให้แก่ประเทศหนึ่ง เงินในส่วนนี้ก็คาดว่าจะลดลงที่ 20% จากประมาณ 11,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2023 จะลงลงไปอยู่ที่ 9,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2026 รายงานระบุว่า การลดลงนี้จะส่งผลกระทบต่อประเทศที่ยากจนกว่าในภูมิภาคอย่างหนัก และลำดับความสำคัญของภาคสังคม เช่น สุขภาพ การศึกษา และการสนับสนุนประชาสังคมที่ต้องพึ่งพาเงินช่วยเหลือทวิภาคี มีแนวโน้มที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุด

ยุโรปดึงเงินหนุนอาเซียนกลับ เพราะต้องสมทบ NATO 

การตัดลดงบประมาณโดยยุโรปและสหราชอาณาจักรมีขึ้นเพื่อเปลี่ยนเส้นทางการจัดสรรเงินทุน เนื่องจากสมาชิก NATO มีแผนจะเพิ่มการใช้จ่ายด้านการป้องกันประเทศ ซึ่งจะเป็นการบังคับให้ประเทศสมาชิกทั้งหลายต้องจ่ายเงินเป็น 5% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) และเงินสนับสนุนเหล่านี้จะต้องเทไปยังยูเครนเพื่อจัดการสงครามกับรัสเซีย ที่กำลังรุกรานประเทศแห่งนี้อย่างหนัก

ทั้งนี้ สหภาพยุโรปและรัฐบาลประเทศสมาชิกอย่างน้อย 7 ประเทศแล้ว ที่มีแผนจะลดความช่วยเหลือแก่ต่างประเทศลงราว 17,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ระหว่างปี 2025 ถึง 2029 ขณะที่ปีนี้ สหราชอาณาจักรประกาศว่าจะลดการใช้จ่ายความช่วยเหลือแก่ต่างประเทศลง 7,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อปี 

จุดเริ่มต้นในความเปลี่ยนแปลง เกิดขึ้นจากความไม่พอใจของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ของสหรัฐฯ ที่ได้สั่งปิดสำนักงานเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐฯ (USAID) และลดความช่วยเหลือจากต่างประเทศเกือบ 60,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ล่าสุด วุฒิสภาสหรัฐฯ ได้ดำเนินการเพื่อเรียกคืนการใช้จ่ายอีก 8,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากงบช่วยเหลือต่างประเทศ

อย่างไรก็ตาม สถาบัน Lowy เชื่อว่า รัฐบาลในภูมิภาคใกล้เคียงอาเซียน โดยเฉพาะจีน จะมีบทบาทสำคัญมากขึ้นในภูมิทัศน์การพัฒนา โดยระบุว่า จุดศูนย์ถ่วงในภูมิทัศน์การเงินเพื่อการพัฒนาของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีแนวโน้มที่จะเคลื่อนไปทางตะวันออก โดยเฉพาะอย่างยิ่งรัฐบาลปักกิ่ง แต่ยังมีมหาอำนาจรอง ๆ ลงมาอย่างญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ด้วยที่จะก้าวเข้ามามีบทบาทมากขึ้น เมื่อรวมกับความสัมพันธ์ทางการค้ากับสหรัฐฯ ที่อาจอ่อนแอลง ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็จะมีทางเลือกที่น้อยลง และต้องหันไปพึ่งพาทางเลือกที่เหลืออยู่มากขึ้น

จีน-ญี่ปุ่น-เกาหลีใต้ เข้ามาหนุนอาเซียนอย่างไรบ้าง

หลังจากปร

ะสบกับภาวะถดถอยอย่างรุนแรงในช่วงการระบาดของโควิด-19 ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาจากจีนในต่างประเทศเริ่มฟื้นตัว โดยใช้งบประมาณแตะ 4,900 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2023 

อย่างไรก็ตาม รายงานระบุว่า การใช้จ่ายของจีนมุ่งเน้นไปที่โครงการโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ทางรถไฟและท่าเรือ มากกว่าประเด็นทางสังคม การที่ปักกิ่งเลือกใช้เงินกู้ที่ไม่ใช่สัมปทานในอัตราเชิงพาณิชย์นั้นเป็นประโยชน์ต่อประเทศที่มีรายได้ปานกลางและสูงในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่มีประโยชน์น้อยกว่าสำหรับประเทศที่ยากจนที่สุด เช่น กัมพูชา เมียนมา ลาว รวมถึงติมอร์ตะวันออก

ผู้เชี่ยวชาญระบุว่า ในขณะที่จีนและสถาบันต่างๆ เช่น ธนาคารโลกและธนาคารพัฒนาเอเชียมีบทบาทสำคัญมากขึ้นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สิ่งที่ยังไม่ชัดเจนคือญี่ปุ่นและเกาหลีใต้จะสามารถเติมเต็มช่องว่างได้อย่างไร 

เกรซ สแตนโฮป นักวิจัยจากสถาบัน Lowy และหนึ่งในผู้เขียนรายงานกล่าวว่า "แม้ว่าการสนับสนุนการพัฒนาของญี่ปุ่นและเกาหลีมักจะไม่ใช่ 'ค่านิยม' ที่ชัดเจนเท่ากับความช่วยเหลือจากตะวันตกแบบดั้งเดิม แต่เราได้เห็นญี่ปุ่นพยายามเคลื่อนตัวสู่ภาคการปกครองและประชาสังคมในอาเซียน ประจำปี 2023 เป็นต้นมา ผ่านโครงการที่มุ่งเน้นการส่งเสริมประชาธิปไตยและการคุ้มครองผู้อพยพที่เปราะบาง”

เช่นเดียวกับเกาหลีใต้ ซึ่งเมื่อเร็วๆ นี้ได้สนับสนุนโครงการปรับปรุงความโปร่งใสของศาลเวียดนามและการคุ้มครองสตรีจากความรุนแรงทางเพศ ดังนั้นแนวทางของโครงการพัฒนาของญี่ปุ่นและเกาหลีจึงกำลังพัฒนาไปไกลกว่าแค่โครงสร้างพื้นฐาน อย่างไรก็ตาม รัฐบาลโตเกียวและโซลกำลังเผชิญกับแรงกดดันจากรัฐบาลทรัมป์ที่ให้เพิ่มงบประมาณการป้องกันประเทศ เช่นเดียวกับที่ยุโรปโดนกดดัน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาในอาเซียน

ชิกะ ฮิโรอากิ ศาสตราจารย์จากบัณฑิตวิทยาลัยสังคมศาสตร์นานาชาติ มหาวิทยาลัยแห่งชาติโยโกฮามา กล่าวว่า เขาไม่เชื่อว่าญี่ปุ่นจะสามารถเข้ามาเติมเต็มช่องว่างในการช่วยเหลืออาเซียนที่ตะวันตกทิ้งไว้ได้ เนื่องจากขณะนี้ญี่ปุ่นเผชิญปัญหาเศรษฐกิจจากทั้งภายในและภายนอก และพรรคการเมืองฝ่ายขวาที่ชูนโยบาย "ญี่ปุ่นต้องมาก่อน" จะกดดันรัฐบาลให้เปลี่ยนเส้นทางการจัดสรรเงินทุนกลับสู่ประเทศในที่สุด


แชร์
สหรัฐฯ-ยุโรปเลิกช่วยอาเซียน! คาดเงินทุนหาย 2 พันล้านเหรียญในปี 2026