ความยั่งยืน

ไทยเบฟเวอเรจ มุ่งมั่นสู่ความยั่งยืนด้วยแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน

3 ต.ค. 66
ไทยเบฟเวอเรจ มุ่งมั่นสู่ความยั่งยืนด้วยแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน
ไฮไลท์ Highlight
  • ไทยเบฟเวอเรจ มุ่งมั่นที่จะบริหารจัดการบรรจุภัณฑ์อย่างยั่งยืนตลอดห่วงโซ่คุณค่า โดยลดปริมาณการใช้วัสดุ การออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และการส่งเสริมการนำบรรจุภัณฑ์หลังการบริโภคกลับมาใช้ใหม่
  • ไทยเบฟเวอเรจ มุ่งมั่นที่จะบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน โดยลดการใช้น้ำและคืนน้ำสู่ธรรมชาติและชุมชน
  • ส่งเสริมให้พนักงานตระหนักถึงความสำคัญของความยั่งยืน
  • ดำเนินโครงการเพื่อสังคมต่างๆ เพื่อช่วยเหลือชุมชน

ไทยเบฟเวอเรจ มุ่งมั่นสู่ความยั่งยืนด้วยแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน

ไทยเบฟเวอเรจ มุ่งมั่นสู่ความยั่งยืนด้วยแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน

 งาน SX 2023 เป็นมหกรรมด้านความยั่งยืนที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน ที่จัดขึ้นต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 4 ภายใต้แนวคิดหลัก "พอเพียง ยั่งยืน เพื่อโลก" (Sufficiency for Sustainability) เพื่อปลุกกระแสความยั่งยืนในมิติต่างๆ เพื่อสร้าง “สมดุลที่ดี เพื่อโลกที่ดีกว่า” Good Balance, Better World และในปีนี้  บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ได้นำนวัตกรรมและแนวทางการดำเนินงานด้านความยั่งยืนต่างๆ มาจัดแสดงในงาน SX 2023 ดังนี้

  • นวัตกรรมบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม เช่น บรรจุภัณฑ์แก้วรีไซเคิล บรรจุภัณฑ์กระดาษที่สามารถย่อยสลายได้ บรรจุภัณฑ์พลาสติกแบบใช้ซ้ำได้ เป็นต้น
  • แนวทางการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น การใช้พลังงานสะอาด การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เป็นต้น
  • โครงการเพื่อสังคม เช่น โครงการให้ความรู้ด้านความยั่งยืน โครงการช่วยเหลือชุมชน เป็นต้น

บรรจุภัณฑ์และเศรษฐกิจหมุนเวียน

ไทยเบฟเวอเรจ มุ่งมั่นสู่ความยั่งยืนด้วยแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน
ปัจจุบันทั่วโลกให้ความสำคัญกับการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืนและการเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ เล็งเห็นความสำคัญของเรื่องนี้ จึงได้นำหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนมาใช้ตลอดห่วงโซ่คุณค่า โดยให้ความสำคัญกับการลดปริมาณการใช้ทรัพยากร การออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และการส่งเสริมการนำบรรจุภัณฑ์หลังการบริโภคกลับมาใช้ใหม่ โดยมีบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ รีไซเคิล จำกัด (Thai Beverage Recycle หรือ TBR) รับผิดชอบในการเก็บกลับคืนบรรจุภัณฑ์หลังการบริโภค โดยมุ่งเน้นที่บรรจุภัณฑ์หลัก เช่น แก้ว กระดาษ กระป๋องอะลูมิเนียม และขวดพลาสติก PET ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรและลดปริมาณขยะ

ห่วงโซ่คุณค่าของการจัดการบรรจุภัณฑ์ของ ไทยเบฟเวอเรจ

ไทยเบฟเวอเรจ มุ่งมั่นสู่ความยั่งยืนด้วยแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน
บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ ยึดมั่นในหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน คำนึงถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมทั้งหมดที่เกิดขึ้นจากบรรจุภัณฑ์ตั้งแต่การออกแบบไปจนถึงการจัดการบรรจุภัณฑ์หลังการบริโภค โดยแนวทางการบริหารจัดการบรรจุุภัณฑ์ของบริษท ได้แก่

  1. การลดน้ำหนักและปริมาณการใช้วัสดุบรรจุภัณฑ์
  2. การเก็บกลับและการคัดแยกบรรจุภัณฑ์หลังการบริโภค
  3. การใช้ซ้ำและการนำกลับมาใช้ใหม่
  4. นวัตกรรมเพื่อการจัดการบรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืน
  5. ผสานความร่วมมือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย



ก้าวสู่ปี 2568 และปีต่อไป

ไทยเบฟเวอเรจ มุ่งมั่นสู่ความยั่งยืนด้วยแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน

ความมุ่งมั่นและความสำเร็จ

ไทยเบฟเวอเรจ มุ่งมั่นสู่ความยั่งยืนด้วยแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน

บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ ลดปริมาณวัสดุที่ใช้ ในการผลิตกระป๋อง อะลูมิเนียม 600 ตัน เปรียบเทียบกับปี 2563 เป็นปีฐาน



การพิทักษ์และฟื้นฟูแหล่งน้ำ

ไทยเบฟเวอเรจ มุ่งมั่นสู่ความยั่งยืนด้วยแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน

เนื่องจากแหล่งน้ำของโลกกำลังเผชิญกับภาวะวิกฤตที่รุนแรงขึ้น ทั้งปัญหาการขาดแคลนน้ำ น้ำท่วม และมลพิษทางน้ำ ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตในระดับที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน เนื่องจากน้ำเป็นทรัพยากรสำคัญในการผลิต ไทยเบฟเวอเรจ จึงให้ความสำคัญกับความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับน้ำ และถือเป็นส่วนหนึ่งของความเสี่ยงด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ไทยเบฟเวอเรจ มุ่งมั่นที่จะบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืนตลอดห่วงโซ่คุณค่า โดยใช้แนวทางการประเมินผลกระทบจากการใช้น้ำและนำโครงการนวัตกรรมมาใช้ทั้งในระดับโรงงานและชุมชน เพื่อลดการใช้น้ำและคืนน้ำสู่ธรรมชาติและชุมชน ไทยเบฟเวอเรจ ยังมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติตามนโยบายการจัดการน้ำระยะยาวขององค์กรอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความสมดุลระหว่างข้อกำหนดทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะนำไปสู่การปกป้องทรัพยากรน้ำที่ยั่งยืน โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของผู้ใช้น้ำบนหลักสิทธิความเท่าเทียมกัน

 

แนวทางการบริหารจัดการ

 ไทยเบฟเวอเรจ มุ่งมั่นสู่ความยั่งยืนด้วยแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน

ไทยเบฟตระหนักถึงความสำคัญของการอนุรักษ์น้ำเพื่อรักษาคุณภาพน้ำและให้มีปริมาณเพียงพอต่อการผลิต พร้อมทั้งลดผลกระทบต่อชุมชน จึงกำหนดให้การบริหารจัดการน้ำเป็นหนึ่งในประเด็นสำคัญของบริษัท ซึ่งช่วยเสริมสร้างให้บริษัทรับมือเรื่องสภาพภูมิอากาศได้ดีขึ้น โดยไทยเบฟมีแนวทางการจัดการปัญหาที่เกี่ยวข้องกับน้ำ ดังนี้

  1. การระบุความเสี่ยงและโอกาส
  2. การติดตามความเสี่ยง

 

ก้าวสู่ปี 2568 และปีต่อไป

 โรงงานทุกแห่งในประเทศไทยจะทําการประเมิน ความยั่งยืนของน้ำ (WSA) ให้แล้วเสร็จ ภายในปี 2566

  • 5% อัตราส่วนของการใช้น้ำต่อหน่วยผลิตภัณฑ์ลดลงภายในปี 2568 เปรียบเทียบ กับปีฐาน 2562
  • 100% คืนน้ำสู่ธรรมชาติและชุมชนให้ได้ เท่ากับปริมาณน้ำในสินค้าสำเร็จรูป ภายในปี 2583

ความมุ่งมั่นและความสำเร็จ

ไทยเบฟเวอเรจ มุ่งมั่นสู่ความยั่งยืนด้วยแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน

การบริหารจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพในปี 2565 ส่งผลให้มีการลดการใช้น้ำ การใช้ซ้ำ และนําน้ำกลับมาใช้ใหม่ เมื่อเทียบกับปริมาณ การใช้น้ำทั้งหมด ดังนี้

โครงการเด่นของ ไทยเบฟเวอเรจ

ไทยเบฟเวอเรจ มุ่งมั่นสู่ความยั่งยืนด้วยแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน

 กิจกรรม "กินหมดเกลี้ยง"

  • ชาบูชิ (เครือร้านอาหารบุฟเฟต์สไตล์ชาบู) ได้จัดกิจกรรมที่มีชื่อว่า "กินหมดเกลี้ยง" ให้ลูกค้าของทางร้านได้เข้าร่วมสนุก โดยเป็นการ ท้าให้ลูกค้าบริโภคอาหารที่ตนเองตักหรือสั่งมาให้ได้ทั้งหมด โดยไม่เหลือทิ้ง ทั้งนี้ เป็นการส่งเสริมให้ลูกค้าตระหนักถึงความ สําคัญของการลดขยะอาหาร กิจกรรมนี้จัดขึ้นใน 165 สาขา ทั่วประเทศ (ชาบูชิ 160 สาขา และนิกุยะ 5 สาขา) มีลูกค้าเข้าร่วม กิจกรรมรวมทั้งหมด 362,420 ราย ซึ่งลูกค้าให้การตอบรับเป็น อย่างดี

 โครงการ "ไม่กินบอก เอาออกให้"

  • โครงการเริ่มต้นเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 ที่ โออิชิราเมนคาคาชิ และโออิชิบิสโตโร ซึ่งเป็นโครงการ ส่งเสริมความเข้าใจในเรื่องการสูญเสียอาหาร และขยะอาหาร โดยลูกค้าสามารถแจ้งพนักงานว่าไม่ต้องการให้ใส่วัตถุดิบอะไร ในอาหาร และพนักงานจะแจ้งกับเชฟเพื่อไม่ให้ใส่ ซึ่งวิธีการนี้ ลูกค้าสามารถช่วยลดขยะอาหารได้โดยไม่กระทบกับรสชาติและคุณค่าของอาหารในจานพนักงานจะแจ้งให้ลูกค้าทราบขณะที่สั่งอาหาร(ควบคู่กับป้ายแจ้งในร้าน) ถึงแม้ว่าปริมาณการลดขยะอาหาร จากโครงการอาจไม่สูงมาก แต่สามารถช่วยสร้างความเข้าใจ ให้ลูกค้าได้เป็นอย่างดี

บริจาคอาหารส่วนเกินร่วมกับมูลนิธิ Scholars of Sustenance Foundation (SOS)

  • กลุ่มโออิชิร่วมกับมูลนิธิ SOS ได้บริจาคอาหารส่วนเกินให้กับ ชุมชนต่างๆ โดยประสานกับร้านอาหารต่างๆ เพื่อขอรับบริจาค อาหารส่วนเกิน (ทั้งดิบหรือปรุงสุก) ร้านอาหารจะได้รับคําแนะนํา เรื่องการจัดเก็บอาหาร และการใช้ภาชนะบรรจุอาหารว่าเป็น สิ่งจําเป็นหรือไม่ และข้อมูลเรื่องหมวดหมู่อาหารที่ได้รับการ ยอมรับเพื่อคํานึงถึงความปลอดภัยของผู้รับบริจาค ในปี 2565 ได้ขยายจํานวนร้านอาหารในกลุ่มโออิชิที่เข้าร่วมโครงการเป็น 24 แห่ง (ชาบูชิ 16 สาขา โออิชิ บุฟเฟต์ 6 สาขา และนิกุยะ 2 สาขา) มีการบริจาคอาหารส่วนเกินรวม 2,945.01 กิโลกรัม เทียบเท่า อาหาร 24,277 มื้อ และมีมูลค่าประมาณ 298,357.20 บาท

ไทยเบฟยังคงเป็นผู้นำบริษัทเครื่องดื่มชั้นนำในอาเซียน มุ่งมั่นสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม โดยใช้หลักการพัฒนา ESG โดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติทั้ง 17 ข้อ และกรอบความร่วมมือการพัฒนาเพื่อความยั่งยืนแห่งสหประชาชาติ

advertisement

Relate Post

SPOTLIGHT