การเงิน

ตลท.ย้ำปัญหาเครดิต สวิส กระทบไทยน้อย ยังไม่จำเป็นต้องใช้มาตรการ

16 มี.ค. 66
ตลท.ย้ำปัญหาเครดิต สวิส กระทบไทยน้อย ยังไม่จำเป็นต้องใช้มาตรการ

ตลาดหุ้นไทยช่วงเช้าเปิดตลาดร่วงลงไปกว่า 16 จุด จากความวิตกกังวลจากปัญหาของเครดิต สวิส จะกลายเป็นวิกฤตการเงินโลกหรือไม่? 

จนตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(ตลท.) ออกมาให้ข้อมูลว่า  ปัญหาของ Credit Suisse (CS) แตกต่างจาก Silicon Valley Bank (SVB) เพราะเป็นประเด็นเกี่ยวกับผลการดำเนินที่ไม่ดีมาอย่างต่อเนื่องและรายงานผลขาดทุนในงบปี 2022 ซึ่งปัญหาของ SVB เป็นประเด็นเฉพาะไม่ได้เกี่ยวข้องกับแบงก์อื่นๆ หรือธนาคารพาณิชย์อื่น

ส่วนปัญหาของธนาคารเครดิต สวิส เกิดจากทางธนาคารซาอุดิ เนชั่นแนล แบงก์ (Saudi National Bank หรือ SNB) ที่เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุดของเครดิต สวิส ไม่เพิ่มทุน ซึ่งไม่ใช่ปัญหาใหม่เป็นปัญหาที่สะสม มาอย่างต่อเนื่องยาวนาน สอดคล้องกับที่ National Swiss Bank ได้ให้ข้อมูลว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ได้มีการลุกลาม (No Contagion) มาจากปัญหาการขาดสภาพคล่องในบางธนาคารของสหรัฐฯ 

นอกจากนี้ ธนาคารกลางสวิสเซอร์แลนด์ ได้ออกมาตรการให้ความช่วยเหลือด้วยวงเงินประมาณ 5.4 หมื่นล้านล้านสวิสฟรังก์ให้กับเครดิต สวิส ซึ่งมีความสำคัญต่อระบบการเงิน (GISB) ซึ่งตลาดตอบรับในเชิงบวก 

นายภากร ปีตธวัชชัย กรรมการผู้จัดการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(ตลท.) กล่าวว่า สิ่งที่เรากังวล คือ ข่าวสารต่างๆ ที่เราส่งให้กับนักลงทุน ได้ครบถ้วนหรือไม่ ตั้งแต่วันจันทร์ เราพยายามให้ข้อมูลต่างๆ หลายๆ ได้ เพื่อให้นักลงทุนนำมาใช้ทำธุรกรรมผ่านตลาดทุนไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น อยากให้ดูข้อมูลให้ครบถ้วน อยากให้พิจารณาว่าเรื่องใดเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องและไม่เกี่ยวข้อง 

โดยทั้ง 2 เหตุการณ์ ทั้ง SVB และเครดิต สวิส ตลท.มองว่า เป็นประเด็นที่กระทบกับตลาดทุนไทยน้อย แต่ปัจจุบันมีความไม่แน่นอน มีผลกระทบค่อนข้างรุนแรง ตลท.จึงขอออกมาให้ข้อมูลเพิ่มเติม ออกมาให้ข้อมูลชัดเจน ต้องการให้ข้อมูลที่ทันต่อเหตุการณ์ มีไม่มีผลกระทบอย่างไร ผลกระทบที่มีอาจจไม่มากนัก ขอใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจลงทุน 

ทั้งนี้ ธนาคารเครดิต สวิส เป็นธนาคารที่ใหญ่มาก แต่ธุรกรรมของเครดิต สวิส ส่วนใหญ่จะเป็นธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับ Investment Banking คือ เป็นผู้ออกตราสารต่างๆ ให้กับบริษัทจดทะเบียนในประเทศไทยและ Private Banking คือ เป็นผู้จัดการให้กับการลงทุนต่างๆ พวกนักลงทุนไฮเน็ตเวิร์ค นักลงทุนบุคคลต่างๆ ซึ่งธุรกรรมเครดิต สวิสเป็นหนึ่งในโบรกเกอร์ ให้บริการนักลงทุน ผู้รดมทุน ที่เป็นธนาคารต่างประเทศ กว่าครึ่งเป็นต่างชาติ สิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นผลกระทบค่อนข้างน้อย เป็นธนาคารตัวกลาง โบรกเกอร์ ผลกระทบต่อภาคธุรกิจไม่เยอะ ไม่ได้ปล่อยสินเชื่อ เป็นการระดมทุน ออกตราสารหนี้

สำหรับเรื่องที่มีชื่อของเครดิต สวิส ถือหุ้นอยู่ในบริษัทจดทะเบียนตลาดหลักทรัพทตอบข้อสักถามนี้ว่า “ตัวเลขที่ออกมาที่ว่าเครดิต สวิส ถือหุ้นนั้น ส่วนใหญ่เป็นครัสโตเดียน เซอร์วิส คือ เป็นการให้บริการในการเป็นครัสโตเดียน แบงก์ เครดิต สวิส ไม่ได้ถือหุ้นโดยตรง ธนาคารที่เป็นลูกค้า นักลงทุน เอาหุ้น ซื้อเสร็จแล้วก็เอามาฝากไว้ที่คัสโตเดียนแบงก์ ซึ่งมีวิธีการทำงานรอบคอบ ละเอียด เพราะปัญหาของเครดิต สวิส จะไม่กระทบกับการให้บริการครัสโตเดียน แบงก์ ไม่ต้องกังวลตรงนี้ เพราะการที่มีชื่อเครดิต สวิสถือ  เป็นการถือหุ้นโดยครัสเดียน แบงก์ของเครดิต สวิส ซึ่งเจ้าของจริงนักลงทุนที่ใช้บริการครัสโตเดียน แบงก์ของเครดิต สวิส” 

นายภากร กล่าวถึงเรื่องมาตรการต่างๆ ของตลท.ว่า “มาตรการต่างๆ ที่ตลท. สามารถใช้ได้เสมอ เวลาที่เกิดความผันผวนในอดีต หากแต่วันนี้คิดว่า ยังไม่ถึงจุดนั้น แต่ในวันนี้ตลาดเปราะบางมาก ไม่ใช่เฉพาะแค่ประเทศไทย ถ้าดูยุโรป ทั่วโลก ขึ้นลงวันละ 2-3% เราถึงให้ความสำคัญกับข้อมูลข่าวสาร ข่าวที่ออกมากระทบกับเราน้อยมาก มาตรการต่างๆ ไม่ต้องห่วง หากเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงมากไปกว่านี้ มาตรการต่างๆ สามารถใช้ได้ปกติ ช่วงนี้คิดว่า เป็นความผันผวนของตลาดมากกว่า”  

“ เรามีมาตรการ ถึง 5 แบบ 5 ระดับ แต่วันนี้ ผมไม่ได้มอง หรือมีความจำเป็นที่ต้องนำมาตรการดังกล่าวกลับมาพูดถึง” นายภากรกล่าว

advertisement

SPOTLIGHT