การเงิน

'เบทาโกร' เคาะขาย IPO ที่ 40 บาท/หุ้น รายย่อยจอง 10-17 ต.ค.นี้ ระดมทุน 1.74 หมื่นล้าน

4 ต.ค. 65
'เบทาโกร' เคาะขาย IPO ที่ 40 บาท/หุ้น รายย่อยจอง 10-17 ต.ค.นี้ ระดมทุน 1.74 หมื่นล้าน


'บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) หรือ BTG' เป็นผู้ประกอบธุรกิจอาหารชั้นนำครอบคลุมตั้งแต่ธุรกิจต้นน้ำถึงปลายน้ำ ผลิตสินค้าออกมาขายโดยใช้แบรนด์ 'เบทาโกร' โดยเร็วๆ นี้ 'เบทาโกร' กำลังจะเข้าเป็นหุ้นน้องใหม่ โดยใช้ย่อหุ้นว่า 'BTG'

ล่าสุด 'เบทาโกร' ประกาศราคาขายหุ้นสามัญต่อประชาชนทั่วไปครั้งแรก(IPO) จำนวนไม่เกิน 434.80 ล้านหุ้น ที่ราคาหุ้นละ 40 บาท เมื่อคำนวณแล้วการระดมเงินทุนในครั้งนี้จะมีมูลค่าถึง 17,392 ล้านบาท
เบทาโกร เป็นผู้ประกอบธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารครบวงจรชั้นนำในประเทศไทย โดยครอบคลุมตั้งแต่การผลิตและจำหน่ายอาหารสัตว์ ผลิตภัณฑ์เวชภัณฑ์และสารเสริมสำหรับสัตว์ ปศุสัตว์ ผลิตภัณฑ์สุกรและสัตว์ปีก ไข่ไก่ อาหารแปรรูปที่เกี่ยวข้อง และอาหารสัตว์เลี้ยง รวมถึงการจัดจำหน่ายอุปกรณ์ฟาร์ม และการดำเนินงานด้านการค้นคว้าวิจัยและพัฒนาที่เกี่ยวข้อง

 

เปิดไทมไลน์กำหนดเปิดจองซื้อเป็น 2 ช่วง ได้แก่

เบทาโกรขายไอพีโอ

  • ผู้ถือหุ้นเดิมของบริษัทฯ บุคคลตามดุลยพินิจของผู้จัดจำหน่ายหลักทรัพย์ บุคคลที่มีความสัมพันธ์ของบริษัทฯ และพนักงานของบริษัทฯ และบริษัทย่อย และผู้มีอุปการคุณของบริษัทฯ และบริษัทย่อย ในวันที่ 10-17 ต.ค. 2565
  • ผู้ลงทุนสถาบัน ผู้ลงทุนหลักโดยเฉพาะเจาะจง (Cornerstone Investors) นิติบุคคลที่สามารถเข้าร่วมการสำรวจความต้องการซื้อและผู้ซื้อหุ้นเบื้องต้นในต่างประเทศ (Initial Purchaser) วันที่ 20-25 ต.ค. 2565

โดยมี บล.เกียรตินาคินภัทร และ บล.บัวหลวง เป็นปรึกษาทางการเงิน และ ผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่าย

ทั้งนี้ บริษัทจะให้สิทธิผู้จัดหาหุ้นส่วนเกินซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนภายหลังการเสนอขายหุ้นที่จัดจำหน่ายเพื่อให้ผู้จัดหาหุ้นส่วนเกินสามารถจัดหาหุ้นเพื่อส่งมอบคืนให้แก่ผู้ถือหุ้นที่ให้ยืมหุ้นเพื่อการจัดสรรหุ้นส่วนเกินเป็นจำนวนไม่เกิน 65.20 ล้านหุ้น

 

ใครบ้างมีสิทธิ์จองซื้อหุ้น IPO ของ 'เบทาโกร'

เปิดจองหุ้นไอพีโอเบทาโกร

โดยลงทุนทุนที่มีสิทธิ์ซื้อหุ้น IPO ของ 'เบทาโกร' มีดังนี้

  • ผู้ถือหุ้นเดิม 'เบทาโกร' จำนวนประมาณ 7.50 ล้านหุ้น
  • ผู้ลงทุนในประเทศรวมประมาณ 320.11 ล้านหุ้น แบ่งเป็น นักลงทุนบุคคลตามการพิจารณาของผู้จัดจำหน่าย150.50 หุ้น
  • บุคคลที่มีความสัมพันธ์ของบริษัทฯ 5.20 ล้านหุ้น
  • พนักงานของบริษัทฯ และ/หรือบริษัทย่อยของบริษัทฯ 12.30 ล้านหุ้น
  • ผู้มีอุปการคุณของบริษัทฯ และ/หรือบริษัทย่อยของบริษัทฯ 23 ล้านหุ้น
  • ผู้ลงทุนสถาบันที่จองซื้อในประเทศ (ไม่รวมถึงผู้ลงทุนสถาบันที่เป็นCornerstone Investors ที่จองซื้อในประเทศ) และนิติบุคคลที่สามารถเข้าร่วมการสำรวจความต้องการซื้อ 27.08 ล้านหุ้น, ผู้ลงทุนสถาบันที่เป็น Cornerstone Investors ที่จองซื้อในประเทศ 102.03 ล้านหุ้น
  • ผู้ลงทุนในต่างประเทศรวมประมาณ 107.20 ล้านหุ้น แบ่งเป็น ผู้ลงทุนสถาบันที่จองซื้อในต่างประเทศ (ไม่รวมถึงผู้ลงทุนสถาบันที่เป็น Cornerstone Investors ที่จองซื้อในต่างประเทศ) 27.08 ล้านหุ้น และ ผู้ลงทุนสถาบันที่เป็น Cornerstone Investors ที่จองซื้อในต่างประเทศ 80.12 ล้านหุ้น

สำหรับการเสนอขายหุ้น IPO ครั้งนี้กำหนดราคาเสนอขายที่ 40 บาทต่อหุ้น หากพิจารณากำไรสุทธิส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นของบริษัทในช่วง 12 เดือนย้อนหลัง ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค.64-30 มิ.ย. 2565 ซึ่งเท่ากับ 3,650.1 ล้านบาท จะได้กำไรสุทธิต่อหุ้น (Earnings Per Share) เท่ากับ 1.89 บาทต่อหุ้น และ P/E ประมาณ 21.2 เท่า

แต่หากภายหลังจากการเสนอขายหุ้นครั้งนี้มีจำนวนหุ้นที่ออกและเรียกชำระแล้ว 2,000 ล้านหุ้น ที่มีการจัดสรรหุ้นส่วนเกิน จะมีกำไรสุทธิต่อหุ้น (Earnings Per Share) เท่ากับ 1.83 บาทต่อหุ้น และ P/E ประมาณ 21.9 เท่า ขณะที่ บริษัทได้เปรียบเทียบอัตราส่วน P/E ของบริษัทเทียบเคียงที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ จำนวน 3 บริษัท ที่มีลักษณะการประกอบธุรกิจที่คล้ายคลึงหรือใกล้เคียงกัน ได้แก่ บมจ.เจริญโภคภัณฑ์อาหาร (CPF) อยู่ที่ 25 เท่า, บมจ.ไทยฟู้ดส์ กรุ๊ป (TFG) 32.8 เท่า และ บมจ.จีเอฟพีที (GFPT) 27.3 เท่า


'เบทาโกร' จะนำเงินจาก IPO จำนวน 1.74 หมื่นล้านบาทไปทำอะไรบ้าง?

372075

 

'เบทาโกร' จะใช้เงินจากการเสนอขายหุ้น IPO จำนวน 17,392 ล้านบาท เพื่อใช้เป็นเงินทุนในการเข้าซื้อหรือก่อสร้างฟาร์มและโรงงานแห่งใหม่ 8,000 ล้านบาท, ชำระหนี้ระยะสั้นหรือระยะยาวออีก 8,960-10,500 ล้านบาท โดยที่เหลือใช้เป็นทุนหมุนเวียน

บริษัทมีรูปแบบการทำธุรกิจแบบครบวงจร (Vertically Integrated Business Model) ที่ครอบคลุมในหลายด้านของห่วงโซ่คุณค่าของผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯ (Value Chain) ตั้งแต่การผลิตอาหารสัตว์ การเพาะเลี้ยง และจำหน่ายพ่อแม่พันธุ์สัตว์ การทำฟาร์มเชิงพาณิชย์ การชำแหละและการแปรรูปเนื้อสัตว์ ไปจนถึงการขาย โรงงานผลิตและแปรรูปอาหารที่มีมาตรฐานสูงและมีประสิทธิภาพ

ผลิตภัณฑ์ที่วางขายภายใต้แบรนด์ซึ่งเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรม อาทิ แบรนด์ "BETAGRO" และ "S-Pure" สำหรับผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์อนามัย เนื้อสัตว์แปรรูป และอาหารแปรรูป, แบรนด์ "ITOHAM" สำหรับผลิตภัณฑ์ไส้กรอกเกรดพรีเมียม แบรนด์ "betagro" "Balance" และ "MASTER" สำหรับผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์ แบรนด์ "Better Pharma" และ "Nexgen" สำหรับผลิตภัณฑ์เวชภัณฑ์และสารเสริมสำหรับสัตว์ และแบรนด์ "Perfecta" "DOG n joy" และ "CAT n joy" สำหรับผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์เลี้ยง

 

หุ้น IPO ของ 'เบทาโกร' มีความน่าสนใจยังไง?


innovation

'เบทาโกร' ดำเนินธุรกิจมาเป็นระยะเวลากว่า 55 ปี ปัจจุบัน BTG ทำธุรกิจอาหารแบบครบวงจร (Vertically Integrated Business Model) ครอบคลุมต้นน้ำถึงปลายน้ำตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ตั้งแต่การผลิตและจำหน่ายอาหารสัตว์ ผลิตภัณฑ์เวชภัณฑ์และสารเสริมสำหรับสัตว์ การจัดจำหน่ายอุปกรณ์ฟาร์ม ปศุสัตว์ เนื้อหมู เนื้อไก่ ไข่ไก่ อาหารแปรรูปที่เกี่ยวข้อง และผลิตภัณฑ์สำหรับสัตว์เลี้ยง การดำเนินงานด้านการค้นคว้าวิจัยและพัฒนาที่เกี่ยวข้อง

สำหรับโมเดลธุรกิจ ของ BTG ครอบคลุมตั้งแต่ธุรกิจต้นน้ำ เช่น การผลิตอาหารสัตว์และเวชภัณฑ์สำหรับสัตว์ การเพาะพันธุ์สัตว์ ตลอดจนธุรกิจปลายน้ำ การผลิต แปรรูปอาหาร เพื่อจำหน่ายผ่านทางช่องทางที่หลากหลาย ทำให้ BTG สามารถบริหารจัดการการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายและช่องทางการจัดจำหน่ายให้เหมาะสมกับสภาวะตลาดและความต้องการของผู้บริโภค (Optimization) อีกทั้งยังสามารถควบคุมต้นทุนการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ เกิดการประหยัดต่อขนาด (Economies of Scale) และมีกระบวนการดำเนินงานที่ยืดหยุ่น ที่สำคัญ ยังทำให้ BTG สามารถยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยของอาหารผ่านการควบคุมคุณภาพอย่างเข้มงวด ภายใต้มาตรการความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity) อีกด้วย

 

'เบทาโกร'มีธุรกิจหลักแบ่งเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่

ธุรกิจในกลุ่มเบทาโกร

  • กลุ่มธุรกิจเกษตร
  • กลุ่มธุรกิจอาหารและโปรตีน
  • กลุ่มธุรกิจต่างประเทศ

ขณะที่กลุ่มธุรกิจสัตว์เลี้ยง ซึ่งทุกกลุ่มธุรกิจมีการเติบโตของปริมาณการขายและราคาสินค้าที่โดดเด่นในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2565 ทำให้ BTG มีรายได้รวมอยู่ที่ 54,193.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 26.1% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนและมีกำไรสุทธิ 3,892.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 233.1%จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

จุดเด่นธุรกิจของ 'เบทาโกร' ไม่เพียงมีกลุ่มธุรกิจที่หลากหลาย แต่ยังมีช่องทางการขายสินค้าทั้งกลุ่มอาหารและโปรตีนที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายอย่างทั่วถึง ทั้งการจำหน่ายให้แก่ธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่และแบบดั้งเดิม ผู้ค้าปลีก-ค้าส่งสินค้าอุปโภคบริโภคบริษัทอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร ร้านอาหารเครือข่ายหรือผู้จัดจำหน่ายของร้านอาหารเครือข่าย บริษัทส่งออกระหว่างประเทศ ผู้จัดจำหน่ายในประเทศที่จัดหาสินค้าให้แก่ร้านอาหารและผู้ให้บริการด้านอาหาร พร้อมทั้งจำหน่ายผ่านช่องทางของตนเอง ดังนี้
สาขาเบทาโกร 97 แห่ง

  • ร้านเบทาโกรช็อป 207 แห่ง
  • ร้านเบทาโกรเดลี 32 แห่ง
  • ร้านเนื้อสัตว์อนามัย 715 แห่ง

(ข้อมูล ณ วันที่ 31 มี.ค. 2565)

นอกจากนี้ ในส่วนของตลาดต่างประเทศ มีสาขาเบทาโกร 4 สาขา ในประเทศกัมพูชา เบทาโกรช็อป 5 แห่ง ในสปป.ลาว และส่งออกไปกว่า 20 ประเทศในภูมิภาคเอเชีย ยุโรป อเมริกาเหนือ และตะวันออกกลาง อีกทั้งมีการจำหน่ายผลิตภัณฑ์เกษตรให้แก่ฟาร์มอิสระ ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์เกษตรผสมผสาน และผู้ประกอบการอุตสาหกรรมรายใหญ่โดยตรงหรือผ่านตัวแทนจำหน่ายที่ได้รับการแต่งตั้ง

 

ผลประกอบการ 'เบทาโกร' ระหว่างปี 2562-2565

812946

 

  • ปี 2562 มีรายได้ 75,188.4 ล้านบาท กำไร 1,267.5 ล้านบาท
  • ปี 2563 มีรายได้ 80,631.5 ล้านบาท กำไร 2,341.0 ล้านบาท
  • ปี 2564 มีรายได้ 86,743.7 ล้านบาท กำไร 839.0 ล้านบาท
  • 6 เดือนแรก 2565 มีรายได้42,975.5 ล้านบาท กำไร 1,168.5 ล้านบาท

advertisement

SPOTLIGHT