อินไซต์เศรษฐกิจ

รู้จัก EV จิ๋ว คู่ใจนายกฯ บอร์ด EV ขยาย EV 3.5 ซื้อรถบัส–รถบรรทุกไฟฟ้า ลดภาษี 2 เท่า

21 ก.พ. 67
รู้จัก EV จิ๋ว คู่ใจนายกฯ บอร์ด EV ขยาย EV 3.5 ซื้อรถบัส–รถบรรทุกไฟฟ้า ลดภาษี 2 เท่า
ไฮไลท์ Highlight
ความสุขอย่างหนึ่งของผม คือการได้ขับรถด้วยตัวเองบ้าง เพราะตอนเป็นนักธุรกิจก็ขับรถเอง รถคันนี้เป็นของลูกสาว ผมชอบมากครับ สีสันสวยน่ารักและเป็นรถยนต์ไฟฟ้าด้วยครับ

428518277_338589235841254_874

เทรนด์รถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย มาแรงไม่มีตก หลังจากนายกเศรษฐา ทวีสิน เรียกเสียงฮือฮายามเช้าในช่วงระหว่างเดินทางเข้าทำเนียบรัฐบาล ด้วยการขับรถรถยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็ก สีสันน่ารักสดใส ยี่ห้อ Fiat & Abarth สัญชาติอิตาลี เข้ามาประชุมคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้า ครั้งที่ 1/67 ด้วยตนเอง

พร้อมกับโพสรูปภาพ และ Caption ว่า

ความสุขอย่างหนึ่งของผม คือการได้ขับรถด้วยตัวเองบ้าง เพราะตอนเป็นนักธุรกิจก็ขับรถเอง รถคันนี้เป็นของลูกสาว ผมชอบมากครับ สีสันสวยน่ารักและเป็นรถยนต์ไฟฟ้าด้วยครับ

รู้จักรถ EV ของนายกเศรษฐา  

สำหรับ Abarth เป็นผู้ผลิตรถยนต์ และรถแข่ง ที่ประกอบกิจการมายาวนานกว่า 7 ทศวรรษ ตั้งแต่ปี 1949 โดย CARLO ABARTH ชาวอิตาลี-ออสเตรีย ปัจจุบันมีสำนักงานใหญ่อยู่ในเมือง TURIN (ตูริน) ของอิตาลี

โดย Abarth 500e Scorpionissima เป็นรถรุ่นพิเศษเป็นแฮทช์แบ็คขนาดเล็ก ผลิตขึ้นมาจำนวนจำกัดเพียงแค่ 1,949 คัน ทั่วโลก (ซึ่งเป็นตัวเลขของปีที่ก่อตั้งบริษัท)  หากเข้าไทยจะอยู่ที่ราคาประมาณ 3,800,000 บาท ทั้งนี้แบรนด์ Abarth แบรนด์ผู้ผลิตรถสมรรถนะสูงคู่บุญของทาง Fiat และ Alfa Romeo โดย Abarth 500e Scorpionissima เป็นรุ่นที่พัฒนาต่อยอดมาจาก Fiat New 500 หรือชื่อ 500e

  • ให้พละกำลัง 155 แรงม้า เร่ง 0-100 กม./ชม. ในเวลา 7 วินาที 
  • มีอัตราเร่งจาก 0-100 กม./ชม. ในเวลาเพียง 7 วินาที
  • ชาร์จแบตเตอรี่ได้ตั้งแต่ 0-80% ใน 35 นาที สามารถเดินทางได้ไกลถึง 252 กม. ต่อการชาร์จ 1 ครั้ง

428619557_338589072507937_317

สรุปบอร์ดประชุมคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้า ครั้งที่ 1/67

ซื้อรถบัส – รถบรรทุกไฟฟ้า ลดภาษี 2 เท่า

โดย ประชุมได้เห็นชอบมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ขนาดใหญ่ ทั้งรถโดยสารไฟฟ้า (E-Bus) และรถบรรทุกไฟฟ้า (E-Truck) โดยอนุญาตให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สามารถนำค่าใช้จ่ายในการซื้อรถโดยสารไฟฟ้าและรถบรรทุกไฟฟ้ามาใช้งานมาหักค่าใช้จ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลได้

  • นำเข้ารถสำเร็จรูปจากต่างประเทศ สามารถหักค่าใช้จ่ายได้ 1.5 เท่า
  • ซื้อรถที่ผลิต/ประกอบในประเทศ สามารถนำมาหักค่าใช้จ่ายได้ 2 เท่า

โดยมาตรการนี้จะมีผลใช้บังคับจนถึงสิ้นปี 2568 ซึ่งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ซื้อรถโดยสารไฟฟ้าและรถบรรทุกไฟฟ้ามาใช้งานสามารถซื้อได้ไม่จำกัดจำนวน และไม่กำหนดเพดานราคาขั้นสูง

รัฐบาลคาดว่ามาตรการนี้จะช่วยเร่งให้เกิดการปรับเปลี่ยนรถยนต์เชิงพาณิชย์ขนาดใหญ่ไปสู่ยานยนต์ไฟฟ้าได้ไม่ต่ำกว่า 10,000 คัน (รถโดยสารไฟฟ้า 6,000 คัน และรถบรรทุกไฟฟ้า 4,000 คัน) โดยขั้นตอนต่อจากนี้ ที่ประชุมได้มอบหมายให้กรมสรรพากร พิจารณากำหนดแนวทางปฏิบัติและดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป

428598485_338589065841271_538

ขยายมาตรการ EV 3.5

ประชุมบอร์ดอีวี ยังได้เห็นชอบปรับปรุงมาตรการ EV 3.5

  • ขยายขอบเขตของรถยนต์ไฟฟ้าที่ได้รับสิทธิให้ครอบคลุมรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน

  • เพิ่มคุณสมบัติของรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า กรณีที่มีขนาดแบตเตอรี่ต่ำกว่า 3 kWh แต่มีระยะทางวิ่งมากกว่า 75 กิโลเมตรต่อรอบการชาร์จ

ดันเทคโนโลยีเเบตเตอรี่ขั้นสูง มาลงทุนในไทย

โดยที่ประชุมได้เห็นชอบมาตรการส่งเสริมการลงทุนผลิตแบตเตอรี่ระดับเซลล์สำหรับยานยนต์ไฟฟ้าและระบบกักเก็บพลังงาน (ESS) เพื่อดึงดูดให้ผู้ผลิตแบตเตอรี่ระดับเซลล์

ซึ่งเป็นการผลิตต้นน้ำที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงเข้ามาลงทุนในประเทศไทย โดยผู้ลงทุนจะสามารถขอรับสิทธิประโยชน์และเงินสนับสนุนจากกองทุนเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศฯ ภายใต้บีโอไอ โดยมีเงื่อนไขสำหรับผู้ลงทุน และกำหนดเวลายื่นข้อเสนอโครงการลงทุนภายในปี 2570   

  • ต้องเป็นผู้ผลิตแบตเตอรี่ชั้นนำที่มีการใช้งานโดยผู้ผลิตยานยนต์ไฟฟ้า

  • ต้องมีแผนการผลิตเซลล์แบตเตอรี่สำหรับยานยนต์ไฟฟ้า โดยสามารถผลิตเซลล์แบตเตอรี่สำหรับระบบกักเก็บพลังงาน (ESS) ด้วยได้

  • ต้องผลิตเซลล์แบตเตอรี่ที่มีค่าพลังงานจำเพาะ ไม่น้อยกว่า 150 Wh/Kg

  • ต้องมีจำนวนรอบการอัดประจุ (Life Cycle) ไม่น้อยกว่า 1,000 รอบ

s__4907057

ตลาด EV ในประเทศไทย

จากมาตรการส่งเสริมอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าของภาครัฐ สามารถกระตุ้นตลาด EVในประเทศให้เติบโตอย่างก้าวกระโดด เห็นได้จากยอดจดทะเบียนรถยนต์อีวีที่สูงถึงกว่า 76,000 คันในปี 66 เพิ่มขึ้น 6.5 เท่าจากปีก่อน

ซึ่งสามารถนำมาสู่การลงทุนในอุตสาหกรรม EV แบบครบวงจร โดยข้อมูล ณ สิ้นปี 2566 บีโอไอ ได้ให้การส่งเสริมอุตสาหกรรมอีวี จำนวน 103 โครงการ เงินลงทุนรวม 77,192 ล้านบาท แบ่งเป็น

  • รถยนต์อีวี 18 โครงการ 40,004 ล้านบาท

  • รถจักรยานยนต์อีวี 9 โครงการ 848 ล้านบาท

  • รถบัสอีวีและรถบรรทุกอีวี 3 โครงการ 2,200 ล้านบาท

  • แบตเตอรี่สำหรับรถอีวีและ ESS 39 โครงการ 23,904 ล้านบาท

  • ชิ้นส่วนสำคัญ 20 โครงการ 6,031 ล้านบาท

  • สถานีอัดประจุไฟฟ้า 14 โครงการ 4,205 ล้านบาท

 




 




advertisement

Relate Post

SPOTLIGHT