อินไซต์เศรษฐกิจ

เปิดขุมทรัพย์บรูไน ประเทศพัฒนาแล้ว ที่ร่ำรวยจากน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ

17 ม.ค. 67
เปิดขุมทรัพย์บรูไน ประเทศพัฒนาแล้ว ที่ร่ำรวยจากน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ

34ew7lw-highres

หลังจากพระราชพิธีเสกสมรสของพระราชวงศ์บรูไน เจ้าชายอับดุล มาทีน พระราชโอรสในสุลต่านฮัสซานัล โบเกียห์ สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งบรูไน และ”อนิชา รอสนาห์ คาเลบิก หญิงสาวสามัญชน ที่ได้จัดงานเฉลิมฉลองขึ้นอย่างยิ่งใหญ่อลังการ เกือบ10 วัน

เชื่อว่าหลายคนสนใจประเทศ บรูไน หนึ่งในประเทศสมาชิกอาเซียนของเรามากขึ้น บทความนี้ SPOTLIGHT พาทุกคนมารู้จักกับประเทศบรูไนในตอน “เปิดขุมทรัพย์ ‘บรูไน’ ประเทศพัฒนาแล้วที่ร่ำรวยจากน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ” 

1.รู้จักบรูไน ประเทศที่มีการปกครองเพียงเเค่ 4 เขต 

บรูไน มีชื่อเต็มว่า เนการาบรูไนดารุสซาลาม (Negara Brunei Darussalam) มีเมืองหลวงที่ชื่อว่า บันดาร์เสรีเบกาวัน (ที่แปลว่า เมืองท่าอันเป็นศรีแห่งพระเจ้า) โดยมีศาสนาอิสลาม เป็นศาสนาประจำชาติ ประชากรกว่า 67% นับถือศาสนาอิสลาม นิกายสุนหนี่, พุทธ 13%, และคริสต์ 10%

บรูไน ปกครองด้วยระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ โดยรัฐธรรมนูญ ฉบับปัจจุบันที่ได้แก้เมื่อปี พ.ศ. 2527 ได้กำหนดให้สุลต่านทรงเป็นอธิปัตย์ นั่นคือเป็นทั้งประมุข นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม

บรูไนแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 4 เขต (districts - daerah) คือ
- บรูไนและมูอารา : ซึ่งมีประชากรอาศัยอยู่มากที่สุด เป้นพื้นที่ที่มีท่าเรือ และระบบการขนส่งที่ใหญ่ของประเทศ
- เบอเลต : แหล่งขุมทรัยพ์ใต้ดิน เพราะเป็นพื้นที่ที่มีแหล่งขุดเจาะน้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ
- ตูตง : จังหวัดเกษตรกรรมในการเพาะปลูกข้าว
- เตมบูรง : จังหวัดที่มีพื้นที่ป่าไม้ แหล่งน้ำ และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของประเทศ

bn-01

สำหรับการใช้กฏหมายของบรูไน มีความน่าสนใจค่ะ เพราะปัจจุบันบรูไนบังคับใช้ กฎหมายชารีอะห์ หรือ กฎหมายอิสลาม อย่างเต็มรูปแบบในปีพ.ศ. 2565 เพื่อเป็นกรอบกำหนดแนวทางการใช้ชีวิตของประชาชน รวมถึงการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ การทำธุรกรรมสัญญา ไปจนถึงความสัมพันธ์ในครอบครัว (บรูไนถือเป็นประเทศแรกในอาเซียนที่บังคับใช้ กฎหมายซารีอะห์นี้ ทำให้ปัจจุบันมี 11 ประเทศนับถือศาสนาอิสลามที่บังคับใช้กฎหมายนี้ค่ะ)

และเกร็ดน่ารู้ของบรูไนอีกเรื่องคือ สีเหลือง-ทอง จัดว่าเป็นเป็นสีของสุลต่านและราชวงศ์ ทําให้ประชาชนคนธรรมดาต้องละเว้นการใส่เสื้อสีเหลือง-ทอง เเละสีสุภาพคือสีดำค่ะ ดังนั้นจากพิธีเสกสมรสระหว่าง เจ้าชายอับดุล มาทีน และ อนิชา รอสนาห์ คาเลบิก เราจึงเห็นผู้คนใส่ชุดสีดำเป็นจำนวนมากนั่นเอง 

000_t443q

2.บรูไน ร่ำรวยจากขุมทรัพย์ใต้ดิน ทั้งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ

บรูไน จัดเป็นประเทศที่มีความอุดมสมบูรณ์ด้านพลังงาน มีทั้งแหล่งน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติ โดยถูกค้นพบครั้งแรกเมื่อปีพ.ศ. 2472 จนทำให้ปัจจุบันบรูไนมีบ่อน้ำมันบนพื้นดิน 3 แห่งและตามแนวชายฝั่งอีก 8 แห่ง รวมถึงภาครัฐมีการสร้างนิคมอุตสาหกรรมขนาดเล็ก 19 แห่ง เพื่อรองรับอุตสาหกรรมด้านน้ำมัน ปิโตรเคมี 

แหล่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาตินี้ ถือเป็นเส้นเลือดใหญ่ในการทำรายได้และขับเคลื่อนประเทศเลยก็ว่าได้  โดย GDP ของบรูไนกว่า 60% พึ่งพาทรัพยากรน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติ และหากนับมูลค่าส่งออกแล้ว น้ำมันคือสินค้าส่งออกมากถึง 95% ซึ่งจัดว่าเป็น 94% ของรายได้ภาครัฐในแต่ละปี 

istock-856887986

ข้อมูล SCB EIC พบว่า บรูไนเป็นประเทศผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่อันดับ 4 ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  รองจากอินโดนีเซีย เวียดนาม และมาเลเซีย โดยมีกำลังการผลิตรวมอยู่ที่ราว 2 แสนบาร์เรล/วัน 

และเป็นประเทศผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติเหลว หรือ LNG รายใหญ่อันดับ 4 ของโลก โดยสามารถผลิตได้ 1.2 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน มีบริษัทปิโตรเลียมแห่งชาติ (Brunei National Petroleum Company Sedirian Berhad หรือ Petroleum BRUNEI) เป็นหน่วยงานหลักที่ทำหน้าที่กำหนดนโยบายด้านน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ สร้างความมั่งคั่งให้กับประเทศ ด้วยการนำรายได้จากการส่งออกน้ำมันและพลังงานไปลงทุนหรือร่วมทุนในต่างประเทศ ที่ดำเนินงานผ่าน Brunei Investment Agency (BIA) ในรูปแบบการถือหุ้นหรือซื้อพันธบัตรในยุโรป สหรัฐ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และเวียดนาม ซึ่งโดยส่วนใหญ่อาศัยผู้เชี่ยวชาญจากสิงคโปร์เป็นผู้ให้คำปรึกษา

และจากการเป็นเจ้าของขุมทรัพย์ใต้ดิน และมาตราการอุ้มราคา (subsidize) ของรัฐบาล ทำให้บรูไนนิยมขับรถยนต์อย่างมาก เนื่องจากน้ำมันมีราคาถูก ซึ่งจัดว่าราคาถูกเป็นอันดับ 10 ของอาเซียน โดยเฉลี่ยแล้วราคาน้ำมันเบนซิน 14.09 บาท/ลิตร และน้ำมันดีเซล 8.24 บาท/ลิตร

istock-1489585096

3.ประชากรน้อยที่สุดในอาเซียน แต่รายได้ต่อหัวติดอันดับ 5 ของโลก


บรูไน จัดว่าเป็นประเทศที่มีจำนวนประชากรน้อยที่สุดในอาเซียน มีเพียง 445, 373 คนและมีขนาดพื้นที่เล็กเป็นอันดับ 2 ของอาเซียน รองจากสิงคโปร์ แต่บรูไนจัดเป็นหนึ่งในประเทศสมาชิกอาเซียนที่ประชาชนมีกำลังซื้อสูง

โดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund : IMF) ประมาณ รายได้ต่อหัว(Income per capita) ของบรูไนปี 2565 สูงถึง 28,954 ดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 103,0648 บาท ซึ่งสูงเป็นอันดับ 2 ของอาเซียน รองจากสิงคโปร์ และหากเทียบรายได้ต่อหัวกับประเทศไทยแล้ว พบว่า มีอัตราสูงกว่าไทยเกือบ 6 เท่า 

นอกจากนี้ บรูไนยังมีจำนวนประชากรในวัยทำงาน หรือ กลุ่ม Labor force มากถึงราว 70% ของประชากรทั้งหมด ซึ่งนับเป็นกลุ่มผู้บริโภคที่มีรายได้และกำลังซื้อในการจับจ่ายใช้สอยสินค้าและบริการต่างๆ รวมทั้งยังเป็นกลุ่มที่มีแนวโน้มตอบสนองต่อกลยุทธ์ทางการตลาดได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

istock-1809617884

4.เเผนสํารองเพื่อรองรับน้ำมันที่กําลังจะหมดไป ด้วย "Wawasan Brunei 2035”

ปัจจุบัน บรูไนกำลังพยายามเปลี่ยนแปลง จากเศรษฐกิจที่พึ่งพาน้ำมันเป็นหลัก ไปสู่โครงสร้างเศรษฐกิจ ที่มีความหลากหลายมากขึ้น (Economic diversification)  เนื่องจากมีการคาดการณ์ว่าปริมาณน้ำมันสำรองที่ยืนยันแล้ว (proven reserve) 

ทำให้บรูไนเร่งปฏิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจ และใช้มาตรการต่าง ๆ เพื่อสร้างความหลากหลายทางเศรษฐกิจ เพื่อขยายไปลงทุนในภาคอุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น อิเล็กทรอนิกส์และไอที ตลอดจนการเพิ่มสัดส่วนพลังงานจากแหล่งใหม่ๆ เพื่อทดแทนกว่า 10 %

  • จัดตั้งสภาที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจ ซึ่งมีแนวทางส่งเสริมภาคเอกชน ให้มีบทบาทมากขึ้น และส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ และแปรรูปรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ โดยให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น ขยายฐานการจัดเก็บภาษี
  • ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์การลงทุนในต่างประเทศของ BIA โดยหันมาลงทุนในธุรกิจด้านใหม่ ๆ ซึ่งมีความเสี่ยงต่ำ เช่น การซื้อหุ้นในกลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศและโทคมนาคม หรือธุรกิจสายการบินต่าง ๆ
  • ส่งเสริมการลงทุนกับต่างประเทศ และมีมาตรการเปิดเสรีด้านการค้า และสร้างบรรยากาศที่เอื้ออำนวยต่อการลงทุน 
  • พัฒนาประเทศให้เป็นศูนย์บริการการค้าและการท่องเที่ยว (Service Hub for Trade and Tourism -SHuTT 2003 Vision) 
  • จากการที่บรูไนได้กำหนดแผนพัฒนาประเทศให้เป็นศูนย์กลางการเงินนานาชาติ (Brunei International Financial Center : BIFC) โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะยกระดับประเทศ ในด้านการบริการการเงินในระดับนานาชาติ กระจายความหลากหลายทางเศรษฐกิจ และสร้างงานให้กับประชาชน

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันรัฐบาลยังกระจายการลงทุนภาคเศรษฐกิจ ให้มีความหลากหลายได้ล่าช้า จึงเป็นเหตุให้บรูไนยังคงต้องพึ่งพาการส่งออกน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติ ในสัดส่วนสูงถึง 90 % ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดของประเทศ

istock-1138779515

5.กว่า 28 ปี กับสถานะ’ประเทศพัฒนาแล้ว’ ด้วยรัฐสวัสดิการอุดหนุน

องค์กรพัฒนาเศรษฐกิจและความร่วมมือ (Organization of Economic Development and Cooperation) ซึ่งมีประเทศสมาชิกกว่า 25 ประเทศ ได้ประกาศว่า บรูไนได้เปลี่ยนสถานะจาก’ประเทศกำลังพัฒนา’ เป็น ‘ประเทศพัฒนาแล้ว’ ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.2539 โดยมีค่าดัชนีการพัฒนามนุษย์ สูงเกือบที่สุดในอาเซียน (รองสิงค์โปร์) และมีคนบรูไนได้รับการศึกษากว่า 97.2% ของประชากร

รัฐบาลบรูไนอุดหนุนสวัสดิการสำคัญให้ดีเลิศแก่ประชาชน เช่น

  • ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ส่วนบุคคล

  • ค่ารักษาพยาบาลฟรี

  • การจัดการศึกษาฟรีในทุกระดับและมีทุนให้นักเรียน/นักศึกษา ได้เดินทางไปแลกเปลี่ยนในต่างประเทศ

  • การจัดสรรที่อยู่อาศัยที่ดีมีสุขลักษณะ โดยเฉพาะการที่รัฐบาลสร้างบ้านจัดสรรให้ในพื้นที่กัมปงไอเยอร์ เพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบ

    istock-1328436871

6.บรูไน ประเทศที่มีความสัมพันธ์ที่ดีกับสิงค์โปร์

แม้ว่าบรูไน จะไม่มีธนาคารแห่งชาติ หรือธนาคารกลาง และ การเงิน การคลังของรัฐบาล ขึ้นอยู่กับนโยบายบริหารของกระทรวงการคลังผ่าน Treasury Board, Currency Board และ Brunei Investment Agency

แต่บรูไนได้นำเงินของตนผูกติดกับเงินของสิงค์โปร์ โดยมีการลงนามตกลงอัตราค่าเงินในปีพ.ศ.2510 โดยกำหนดให้เงินทั้ง 2 สกุลเท่ากัน ดอลลาร์บรูไน (BND) =ดอลลาร์สิงคโปร์ (SGD) ดังนั้น เราจึงสามารถใช้สกุลเงินดอลลาร์สิงคโปร์ในการจับจ่ายซื้อสินค้าที่บรูไนได้เลย หรือสามารถใช้เงินสกุลใดสกุลหนึ่งในการติดต่อทางธุรกิจได้

จากการลงนามตกลงอัตราค่าเงิน สะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์ที่ระหว่างประเทศกับประเทศสิงค์โปร์ มีความแน่นแฟ้นมาก มาจนถึงยุคปัจจุบัน นอกจากนี้ บรูไน-สิงค์โปร์ ยังมีข้อตกลงในการอบรมทหารร่วมกัน ในบรูไนมีทหารสิงค์โปร์เกือบ 500 นาย เพื่อทำหน้าที่เป็นครูฝึกให้แก่ทหารบรูไน

10171057_10152065678662934_91

 อ้างอิง : SCB EIC

Deep South Watch

Intertrader Acdemy

Lib.Ipru

Dft.Go

advertisement

Relate Post

SPOTLIGHT