ธุรกิจการตลาด

CARS 24 ปิดฉากธุรกิจในไทย สูญเสียเกือบพันล้าน พนักงานโดนลอยแพ

8 พ.ค. 67
CARS 24  ปิดฉากธุรกิจในไทย สูญเสียเกือบพันล้าน  พนักงานโดนลอยแพ

วงการธุรกิจรถมือสองต้องสะเทือนอีกครั้ง เมื่อ CARS 24 บริษัทสตาร์ทอัพระดับ ยูนิคอร์น ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มจำหน่ายรถยนต์มือสองชื่อดังประกาศปิดกิจการทุกสาขาทั่วประเทศอย่างเป็นทางการในวันที่ 25 เมษายน 2567 หลังขาดทุนเกือบพันล้านบาท สร้างความตกตะลึงให้กับลูกค้าและพนักงานจำนวนมากต้องถูกลอยแพกระทันหัน

Cars24 ประกาศยุติดำเนินกิจการในไทยอย่างเป็นทางการ 

 CARS 24  ปิดฉากธุรกิจในไทย สูญเสียเกือบพันล้าน  พนักงานโดนลอยแพ

เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2567 ทางบริษัท คาร์ส24 กรุ๊ป (ประเทศไทย) จำกัด ออกจดหมายแถลงการ จดหมายชี้แจงเรื่อง CARS24 หยุดดําเนินการธุรกิจในประเทศไทย โดยระบุบว่า 

CARS24 ตัดสินใจหยุดดําเนินการธุรกิจในประเทศไทย หลังจากผ่านการพิจารณาและทบทวนอย่างถี่ถ้วนแล้ว โดยการตัดสินใจครั้งนี้ถือเป็นความยากลําบาก และเกิดขึ้นจากความจําเป็นที่ต้องหันกลับมาให้ความสําคัญในเชิงกลยุทธ์ หลักของบริษัทฯ ถึงแม้ว่าทีมงานของเราจะประสบความสําเร็จในการสร้าง CARS24 ให้เป็นแพลตฟอร์มรถมือสองชั้นนํา ในประเทศไทย เรารู้สึกซาบซึ้งใจอย่างที่สุดสําหรับการสนับสนุนและความเชื่อมั่นที่เราได้รับจากลูกค้าและเป็น พลังขับเคลื่อนเบื้องหลังความสําเร็จในตลาดของเรามาโดยตลอด

CARS24 ให้คํามั่นว่าจะให้การสนับสนุนพนักงานและทีมงานที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนผ่านในครั้งนี้อย่าง
เต็มที่ เพื่อให้ทุกคนมั่นใจได้ว่าจะได้รับการสนับสนุนทางการเงินและโอกาสในการหางานใหม่ ไม่ว่าจะเป็นภายใน เครือข่ายของเราหรือในตลาดงาน นอกจากนี้ เราจะยังคงดําเนินการขายรถยนต์ในประเทศไทยต่อไป โดยจะขายรถยนต์ จนกว่าสินค้าจะหมด ตลอดจนมุ่งมั่นที่จะสนับสนุนลูกค้าและรักษาคํามั่นสัญญาของเราต่อไป

 

CARS 24 ปิดฉากธุรกิจในไทย สูญเสียเกือบพันล้าน พนักงานโดนลอยแพ

CARS 24  ปิดฉากธุรกิจในไทยหลังเปิดได้ 3 ปี สูญเสียเกือบพันล้าน

จากข้อมูลของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์พบว่า บริษัท คาร์ส24 กรุ๊ป (ประเทศไทย) จำกัด หรือ  CARS 24 เผชิญปัญหาขาดทุนสะสมเกือบพันล้านบาท ส่งผลให้บริษัทตัดสินใจยุติการดำเนินธุรกิจ และกระทบต่อพนักงานหลายพันคนที่ต้องเผชิญชะตากรรมตกงานกระทันหัน

ผลกระกอบการย้อนหลัง 2 ปีของ บริษัท คาร์ส24 กรุ๊ป (ประเทศไทย) จำกัด

  • ปี 2565 รายได้ 487.86 ล้านบาท ขาดทุนสุทธิ 1.30 ล้านบาท
  • ปี 2566 รายได้ 1,704.70 ล้านบาท ขาดทุนสุทธิ 940.04 ล้านบาท

ขณะที่เพจเฟซบุ๊ก "นิวส์ชลบุรี-ระยอง ออนไลน์" โพสข้อความ ว่าพนักงานของ CARS 24 จะได้รับการชดเชยตามกฎหมาย ส่วนลูกค้าที่ซื้อรถกับทางบริษัทไปก่อนหน้านี้ ยังสามารถผ่อนชำระกับไฟแนนซ์ตามปกติ ขณะเดียวกัน บริษัทกำลังเร่งระบายรถที่คงค้างอยู่ในสต็อกออกให้หมดอย่างเร่งด่วน อาจจะมีการลดราคารถลงอีกต้องรอติดตามกันอีกที

นอกจากนี้ยังมีการะบุว่า ขณะนี้ส่อสัญญาณขั้นวิกฤตกิจการรับซื้อรถมือ2 หลังบริษัทยักษ์ใหญ่ประกาศปิดกิจการขาดทุนตัวเลขเกือบพันล้าน ไม่พอเท่านั้นฝ่ายคู่แข่งอีก2เจ้า ก็ขาดทุนเช่นกัน ตัวเลขรวมกันเกือบ 400 ล้าน ทำให่ ธุรกิจกิจเต้นท์รับซื้อขายรถมือ2 ทั่วประเทศ เริ่มทยอยปิดตัวลงอยู่เรื่อยๆ 

CARS 24 เป็นใครในตลาดรถยนต์มือ 2 

CARS 24  ปิดฉากธุรกิจในไทยหลังเปิดได้ 3 ปี สูญเสียเกือบพันล้าน

CARS24 เป็นหนึ่งในสตาร์ทอัพ ‘ยูนิคอร์น’ สัญชาติอินเดียก่อตั้งขึ้นในปี 2558 CARS24 นับเป็นสตาร์ทอัพยูนิคอร์นด้านออโต้เทคที่เติบโตเร็วที่สุดในเอเชีย เริ่มต้นการทลายกำแพงเดิมๆ ของวงการรถมือสองในสิงคโปร์ ก่อนจะผงาดขึ้นเป็นผู้นำตลาดอินเดียภายในเวลาเพียง 3 ปี

ปัจจุบัน CARS24 มุ่งมั่นขยายอาณาจักรไปทั่วโลกทั้งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และออสเตรเลเซีย ที่ประกอบไปด้วยประเทศออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ปาปัวนิวกินี  เป้าหมายของ CARS24 คือ การปฏิวัติวิธีการซื้อขายรถยนต์มือสองในประเทศไทยด้วยความพยายามที่จะมอบประสบการณ์ให้กับลูกค้าคนไทยในการรับบริการที่ไม่ยุ่งยาก มีประสิทธิภาพ และเชื่อถือได้สำหรับรถยนต์มือสอง

อะไรทำให้ CARS 24 ต้องปิดกิจการ

CARS 24  ปิดฉากธุรกิจในไทยหลังเปิดได้ 3 ปี สูญเสียเกือบพันล้าน

ในอดีต ธุรกิจรถมือสองเคยเฟื่องฟู พึ่งพาสต๊อกรถยนต์จำนวนมาก เพียงแค่รอคอยลูกค้ามาเข้าร้าน แต่ทว่าในปัจจุบัน ธุรกิจกิจเต้นท์รับซื้อขายรถมือ2 ทั่วประเทศ เริ่มทยอยปิดตัวลงอยู่เรื่อยๆ จากกลยุทธ์การกักตุนรถไว้จำนวนมหาศาล กำลังกลายเป็นการนำเงินลงทุนไปจมกับกองรถยนต์มือสอง จนแบกรับภาระไม่ไหว 

สำหรับการปิดตัวของ CARS 24 ครั้งนี้ สะท้อนให้เห็นภาพของความเสียหายของการขาดทุนจากสต็อกรถยนต์มือสอง บวกกับสภาพเศรษฐกิจไทยที่ชะลอตัว ส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อของผู้บริโภค ผู้คนหันมาประหยัดค่าใช้จ่ายมากขึ้นรวมถึงส่งผลต่อยอดขายรถมือสองที่ลดลง

นอกจากนี้กลยุทธ์ธุรกิจที่อาจไม่เหมาะสมในประเทศไทยในเวลานี้ เนื่องจาก โมเดลธุรกิจของ CARS 24 จะเน้นไปที่การขายรถแลกเปลี่ยนรถ อาจจะไม่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าในปัจจุบัน และผลกระทบตกค้างจากโควิด-19 ก็ยังมีส่วนหลังจากการระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกและประเทศไทย ผู้คนมีความกังวล ส่งผลต่อกำลังซื้อและความต้องการในการซื้อรถ

ทั้งธนาคารก็เริ่มไม่ปล่อยสินเชื่อให้ บางทีต้องจำใจลดราคาเพื่อขายเงินสด เพราะจัดไฟแนนซ์ให้ลูกค้าไม่ผ่าน เพราะมีกฏเกณฑ์จากไฟแนนซ์เพิ่มมากขึ้น เพราะที่ผ่านมาสินเชื่อรถยนต์เป็นหนี้เสียรื้อรังมานาน พร้อมกับรถถูกยึดเข้าลานประมูลจนล้นลาน

ด้านการมาถึงของรถยนต์ไฟฟ้าถึงแม้ว่า สาเหตุหลักของการปิดตัว CARS 24 นั้น ไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรงกับรถไฟฟ้า แต่ รถไฟฟ้าหรือ EV ก็ เข้ามาดิสรัปต์ตลาดรถจนอาจมีผลกระทบทางอ้อมต่อธุรกิจรถมือสอง เนื่องจาก

  • กระแสความนิยมรถไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น ผู้คนเริ่มให้ความสนใจกับรถไฟฟ้ามากขึ้น ส่งผลต่อยอดขายรถมือสองที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปภายในที่อาจลดลง
  • ราคารถไฟฟ้าที่ถูกลง ในอนาคต ราคารถไฟฟ้ามีแนวโน้มที่จะถูกลง ดึงดูดผู้ซื้อมากขึ้น จนรถยนต์มือสองไม่สามารถจูงใจผู้ซื้อได้เหมือนเดิม ส่งผลต่อตลาดรถมือสอง อย่างหนัก
  • โครงสร้างพื้นฐานสำหรับรถไฟฟ้าที่พัฒนา สถานีชาร์จไฟฟ้ามีจำนวนมากขึ้น ผู้คนมีความมั่นใจในการใช้งานรถไฟฟ้ามากขึ้น ส่งผลต่อยอดขายรถมือสอง

จากที่กล่าวมาทั้งหมดส่งผลให้ธุรกิจรถยนต์มือสองต้องเผชิญกับความท้าทายครั้งใหญ่ ปรากฏการณ์ "เงินจมสต็อก" กำลังกลายเป็นปัญหาเรื้อรัง หลายแห่งจำเป็นต้องกักตุนรถจำนวนมากไว้เพื่อรอขาย แต่ด้วยสภาวะตลาดที่ชะลอตัว เงินทุนจึงหมุนเวียนช้า ส่งผลต่อสภาพคล่องของธุรกิจโดยรวม เพราะนอกจาก CARS 24 อีก 2 แพลตฟอร์มในไทยอย่าง Carro และ Carsome ก็เริ่มมีกระแสข่าวตั้งคำถามว่า อาจเกิดปัญหาในลักษณะเดียวกันกับ Cars24 หรือไม่? 

อนาคตตลาดรถยนต์ไทยติดลบ แม้ค่ายรถจะเร่งเครื่องลุยกลยุทธ์ด้านราคา

CARS 24  ปิดฉากธุรกิจในไทยหลังเปิดได้ 3 ปี สูญเสียเกือบพันล้าน

ปี 2566 ที่ผ่านมา ตลาดรถยนต์ไทยเผชิญกับความท้าทายหลายประการ ส่งผลให้ยอดขายโดยรวมหดตัวลง สาเหตุหลักมาจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว และการขยายตัวของตลาดรถยนต์ไฟฟ้า (BEV) ที่ดึงดูดผู้บริโภคไป พอมาปี 2567 เริ่มต้นด้วยบรรยากาศ "ตึงเครียด" ของตลาดรถยนต์ ค่ายรถต่างงัดกลยุทธ์ "ลดราคา" กระตุ้นยอดขายและชิงส่วนแบ่งตลาด ดุเดือดเป็นพิเศษสำหรับกลุ่มรถที่ยอดขายหดตัวในปีที่แล้ว และกลุ่มรถยนต์ไฟฟ้า BEV ที่ต้องการขยายฐานลูกค้า แต่ทว่า กลยุทธ์ "ลดราคา" อาจไม่เพียงพอที่จะพลิกชะตาตลาดปีนี้ เพราะต้องเผชิญกับ "อุปสรรค" 2 ประการ

  • ภาวะเศรษฐกิจ ยังไม่ฟื้นตัว กำลังซื้อของผู้บริโภคอ่อนแอ ประกอบกับปัญหาหนี้ครัวเรือนที่ยังสูง ส่งผลกระทบต่อ "กลุ่มรถราคาประหยัด" มากที่สุด
  • การแข่งขัน ที่เข้มข้นขึ้น ทั้งจำนวนค่ายรถและรุ่นรถที่เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะค่ายรถจากจีนที่รุกตลาดรถยนต์นั่งอย่างรวดเร็ว นำเสนอรถ BEV ในราคาที่ดึงดูดใจ

กลยุทธ์การลดราคา อาจยังไม่เพียงพอ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดการณ์ว่า ปี 2567 ยอดขายรถยนต์ในประเทศไทยน่าจะอยู่ที่ 750,000 คัน หดตัว 3% จากปี 2566 สำหรับ รถยนต์นั่ง มีโอกาสขยายตัวเล็กน้อย 1% จากแรงกระตุ้นของราคาที่ปรับลดลง แต่หากแยกเฉพาะรถยนต์นั่งใช้น้ำมัน คาดว่าจะหดตัว 13% เพราะมีรถยนต์นั่ง BEV ที่ขยายตัว 63% มาชิงส่วนแบ่งตลาด ส่วนรถเพื่อการพาณิชย์ ส่วนใหญ่เป็นรถปิกอัพ คาดว่าจะหดตัว 8% เพราะมีการปรับลดราคาไม่มาก สำหรับปัจจัยอื่นๆ นอกจากราคาแล้ว ผู้บริโภคยังพิจารณาปัจจัยอื่นๆ ในการตัดสินใจซื้อ เช่น ความน่าเชื่อถือ คุณภาพ หาอะไหล่ทดแทนง่าย และราคาขายต่อที่ดี

ที่มา นิวส์ชลบุรี-ระยอง ออนไลน์ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย และ กรมพัฒนาธุรกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์

advertisement

Relate Post

SPOTLIGHT