ข่าวเศรษฐกิจ

ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด 37.10 บาทต่อดอลลาร์ อ่อนค่าจากเมื่อวาน

26 เม.ย. 67
ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด 37.10 บาทต่อดอลลาร์ อ่อนค่าจากเมื่อวาน

ค่าเงินบาทเช้านี้

วันที่ 26 เมษายน 2567

403170

ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาดอยู่ที่ 37.04 บาท/ดอลลาร์ ใกล้เคียงกับราคาปิดตลาดเมื่อวานที่ระดับ 37.05 บาท/ดอลลาร์

*ดอลลาร์ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ หลังสหรัฐเปิดเผยตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ที่ขยายตัวต่ำกว่าที่คาดและยังมีเงินเฟ้อที่พุ่งสูง

*กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยตัวเลขประมาณการครั้งที่ 1 สำหรับผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ประจำไตรมาส 1/2567 โดยระบุว่า เศรษฐกิจสหรัฐขยายตัว 1.6% ต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 2.4% นอกจากนี้ ยังเปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ปรับตัวขึ้น 3.4% ในไตรมาส 1/2567 สูงกว่าระดับ 1.8% ของไตรมาส 4/2566 โดยที่เงินเฟ้อที่พุ่งสูง จะเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจตรึงอัตราดอกเบี้ยในระดับสูงยาวนานกว่าที่คาดไว้

*จับตาข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ ดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) แบะดัชนี PCE พื้นฐาน (Core PCE) ซึ่งไม่นับรวมหมวดอาหารและพลังงาน

* เมื่อวานนี้นักลงทุนต่างชาติขายพันธบัตรไทยสุทธิ 1,388 ล้านบาท และซื้อหุ้นไทยสุทธิ 1,791 ล้านบาท

กรอบค่าเงินวันนี้และกลยุทธ์แนะนำ
USD/THB 36.90- 37.20
*แนะนำ ทยอยซื้อที่ 36.90/ ขาย 37.20

EUR/THB 39.50- 39.90
* แนะนำ ซื้อ   39.50/ ขาย 39.90

JPY/THB 0.2370- 0.2410
* แนะนำ ซื้อ   0.2370/ ขาย 0.2410

GBP/THB 46.20- 46.50
AUD/THB 24.00- 24.30

ที่มา : ฝ่ายธุรกิจตลาดเงินและธุรกรรมระหว่างประเทศ ทีเอ็มบีธนชาต (ttb) 

ค่าเงินบาทเช้านี้

วันที่ 25 เมษายน 2567

ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด 37.10 บาทต่อดอลลาร์ อ่อนค่าลงกับราคาปิดตลาดเมื่อวานนี้ที่ระดับ 37.02 บาทต่อดอลลาร์

134394

ดอลลาร์แข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก หลังจากมีการประกาศยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนในเดือน มี.ค. เพิ่มขึ้น 2.60% สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ บวกกับการเพิ่มขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ

นอกจากนี้ ดอลลาร์ได้รับแรงหนุนจากการที่นักลงทุนเลื่อนคาดการณ์การปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกในปีนี้ของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เป็นเดือน ก.ย. จากเดิมที่คาดไว้ในเดือน มิ.ย. หลังนายเจอโรม พาวเวล ประธานเฟด แสดงความกังวลเกี่ยวกับเงินเฟ้อสหรัฐที่ยังคงอยู่ในระดับสูง

นักลงทุนยังจับตาการเปิดเผยตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 1/2567 ของสหรัฐในวันนี้ และดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ในวันศุกร์นี้ เพื่อหาสัญญาณบ่งชี้แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด)

เมื่อวานนี้ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธปท. และเลขานุการคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เปิดเผยว่า กนง.พร้อมที่จะทบทวนนโยบายอัตราดอกเบี้ย หากมีข้อมูลใหม่ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยอย่างมีนัยสำคัญ ทั้งนี้ ยืนยันว่าไม่ได้ยึดติดในเรื่องอัตราดอกเบี้ย เพียงแต่จะต้องพิจารณาผลกระทบ ความยั่งยืน และนัยต่อกรอบการทำนโยบายว่าเพียงพอหรือไม่

เมื่อวานนี้นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิในตลาดพันธบัตร 837 ล้านบาท และขายสุทธิในตลาดหุ้นไทย 456 ล้านบาท

กรอบค่าเงินวันนี้และกลยุทธ์แนะนำ
USD/THB 36.95 - 37.25
แนะนำทยอยซื้อที่ 37.00/ขาย 37.25

EUR/THB 39.40- 39.90
แนะนำทยอยซื้อที่ 39.45 / ขาย 39.90

ที่มา : ฝ่ายธุรกิจตลาดเงินและธุรกรรมระหว่างประเทศ ทีเอ็มบีธนชาต (ttb) 

ค่าเงินบาทเช้านี้

วันที่ 24 เมษายน 2567

712801

ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด 36.91 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจากราคาปิดตลาดเมื่อวานที่ระดับ 37.05 บาท/ดอลลาร์

เงินดอลลาร์อ่อนค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก หลังการรายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) รวมภาคการผลิตและภาคบริการเบื้องต้นของสหรัฐ ปรับตัวลงสู่ระดับ 50.9 ในเดือน เม.ย. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 4 เดือน จากระดับ 52.1 ในเดือน มี.ค.

ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เริ่มเข้าสู่ช่วงงดเว้นการแสดงความเห็นเกี่ยวกับนโยบายการเงิน (Blackout Period) ก่อนที่เฟดจะจัดการประชุมกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) ในวันที่ 30 เม.ย.-1 พ.ค.

นักลงทุนคาดว่าเฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 5.25-5.50% ในการประชุมเดือน มิ.ย.และ ก.ค. ก่อนที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.25% สู่ระดับ 5.00-5.25% ในการประชุมเดือน ก.ย.
และจับตาการเปิดเผยดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ของสหรัฐในวันศุกร์ ซึ่งจะบ่งชี้ทิศทางอัตราดอกเบี้ยสหรัฐ

เมื่อวานนี้นักลงทุนต่างชาติซื้อพันธบัตรไทยสุทธิ 11 ล้านบาท และซื้อหุ้นไทยสุทธิ 2,231.91 ล้านบาท

กรอบค่าเงินวันนี้และกลยุทธ์แนะนำ
USD/THB 36.80 - 37.10
แนะนำ ทยอยซื้อที่ 36.80/ ขาย 37.10

EUR/THB 39.30 - 39.80
แนะนำ ซื้อ   39.30/ ขาย 39.80

JPY/THB 0.2370 - 0.2420
แนะนำ ซื้อ   0.2370 / ขาย 0.2420

GBP/THB 45.80 - 46.30
AUD/THB 23.70 - 24.20

ที่มา : ฝ่ายธุรกิจตลาดเงินและธุรกรรมระหว่างประเทศ ทีเอ็มบีธนชาต (ttb) 

ค่าเงินบาทเช้านี้

วันที่ 23 เมษายน 2567

624440

ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาดที่ 37.10 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าเทียบกับราคาปิดตลาดเมื่อวานที่ระดับ 37.01 บาท/ดอลลาร์

ดอลลาร์แข็งค่าเทียบสกุลเงินหลัก สอดรับกับการปรับขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ โดยนักลงทุนมีการขายสินทรัพย์ปลอดภัย เช่น ทองและพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ และเข้าซื้อสินทรัพย์เสี่ยงมากขึ้น หลังเจ้าหน้าที่อิสราเอลระบุว่า การโจมตีของอิสราเอลต่ออิหร่านเป็นเพียงการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์มากกว่าที่มีจุดประสงค์เพื่อทำลายล้างอิหร่าน ขณะที่เจ้าหน้าที่อิหร่านยืนยันว่า อิหร่านไม่มีแผนที่จะตอบโต้อิสราเอล

นักลงทุนเชื่อว่าเฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 5.25-5.50% ในการประชุมวันที่ 30 เม.ย.-1 พ.ค. ทั้งนี้มีการเลื่อนคาดการณ์การปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกในปีนี้ของเฟดอาจเป็นเดือน ก.ย. จากเดิมที่คาดไว้ในเดือน มิ.ย. หลังนายเจอโรม พาวเวล ประธานเฟด แสดงความกังวลเกี่ยวกับเงินเฟ้อสหรัฐที่ยังคงอยู่ในระดับสูง

นักลงทุนจับตาดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ที่จะมีการเปิดเผยในวันศุกร์ ซึ่งเป็นหนึ่งในตัวเลขสำคัญที่เฟดใช้เป็นตัวชี้วัดการกำหนดทิศทางอัตราดอกเบี้ย

เมื่อวานนี้ นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิในตลาดพันธบัตร 396 ล้านบาท ขณะที่ซื้อสุทธิในตลาดหุ้นไทย 372 ล้านบาท

กรอบค่าเงินวันนี้และกลยุทธ์แนะนำ
USD/THB 36.00 - 37.20
แนะนำทยอยซื้อที่ 37.00/ขาย 37.20

EUR/THB 39.25 - 39.70
แนะนำทยอยซื้อที่ 39.25 / ขาย 39.70

JPY/THB 0.2375 - 0.2415
แนะนำทยอยซื้อที่ 0.2375 - 0.2415

ที่มา : ฝ่ายธุรกิจตลาดเงินและธุรกรรมระหว่างประเทศ ทีเอ็มบีธนชาต (ttb) 

ค่าเงินบาทเช้านี้

วันที่ 22 เมษายน 2567

574335

ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาดที่ 36.90 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าจากราคาปิดตลาดเมื่อวันศุกร์ที่ระดับ 36.88 บาท/ดอลลาร์

ดอลลาร์แกว่งตัวในกรอบแคบ ๆ เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก หลังอิหร่านส่งสัญญาณว่าไม่มีแผนการที่จะตอบโต้อิสราเอล หลังจากที่ก่อนหน้านี้มีรายงานว่า อิสราเอลได้ทำการโจมตีอิหร่าน ส่วนปัจจัยลบที่ยังคงส่งผลต่อตลาดเงินในช่วงนี้ ได้แก่ข้อมูลเงินเฟ้อของสหรัฐที่สูงเกินคาด, ความตึงเครียดด้านภูมิรัฐศาสตร์ซึ่งทำให้ราคาน้ำมันปรับตัวขึ้น และความเห็นจากเจ้าหน้าที่เฟดรวมถึงนายเจอโรม พาวเวล ประธานเฟดซึ่งหนุนการคาดการณ์ว่าเฟดอาจยืนอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับสูงไปอีกนาน ทำให้ตลาดหมดหวังที่จะเห็นเฟดปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในเร็ว ๆ นี้

ส่วนข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญในสัปดาห์นี้ ได้แก่ยอดขายบ้านใหม่ ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทน รายได้และรายจ่ายส่วนบุคคล ดัชนี PCE/Core PCE Price Index เดือน มี.ค. ดัชนี PMI ภาคการผลิตและภาคบริการเดือน เม.ย. (เบื้องต้น) ตัวเลขจีดีพีไตรมาส 1/2567 รวมถึงจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์

เมื่อวันศุกร์นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิในตลาดพันธบัตร 1,411 ล้านบาท และขายสุทธิในตลาดหุ้นไทย 3,768 ล้านบาท

กรอบค่าเงินวันนี้และกลยุทธ์แนะนำ
USD/THB 36.75 - 37.05
*แนะนำทยอยซื้อที่ 36.80/ขาย 37.00

EUR/THB 39.00 - 39.50
แนะนำทยอยซื้อที่ 39.15 / ขาย 39.50

JPY/THB 0.2360 - 0.2400
แนะนำทยอยซื้อที่ 0.2365 - 0.2400

GBP/THB 45.35 - 45.85
AUD/THB 23.55 - 23.85

ที่มา : ฝ่ายธุรกิจตลาดเงินและธุรกรรมระหว่างประเทศ ทีเอ็มบีธนชาต (ttb) 

ค่าเงินบาทเช้านี้

วันที่ 19 เมษายน 2567

ค่าเงินบาท

ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด  36.90 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าจากราคาปิดตลาดเมื่อวานที่ระดับ 36.80 บาท/ดอลลาร์

ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวผันผวน โดนปัจจัยกดดันเงินบาทฝั่งอ่อนค่ายังคงมีอยู่ โดยเฉพาะแรงขายสินทรัพย์ไทยจากนักลงทุนต่างชาติ ทิศทางราคาทองคำ ราคาพลังงาน ท่ามกลางความเสี่ยงภูมิรัฐศาสตร์(Geopolitical Risks) ในตะวันออกกลาง

ตลาดจับตาการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในวันที่ 30 เม.ย.-1 พ.ค. โดยคาดการณ์ว่าเฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 5.25-5.50% ในการประชุมดังกล่าว และเลื่อนคาดการณ์การปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกในปีนี้ของเฟดเป็นเดือน ก.ย. จากเดิมที่คาดไว้ในเดือน มิ.ย. หลังจากที่นายเจอโรม พาวเวล ประธานเฟด แสดงความกังวลเกี่ยวกับเงินเฟ้อในสหรัฐที่ยังคงปรับตัวในระดับสูง

เมื่อวานนี้นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิในตลาดพันธบัตร 1,978 ล้านบาท และขายสุทธิในตลาดหุ้นไทย 340 ล้านบาท

สำหรับแนวโน้มค่าเงินบาท  คาดว่าวันนี้เงินบาทจะยังคงเคลื่อนไหวในกรอบ Sideways ตาม Flow การซื้อขายทองคำ ในขณะที่ทองคำยังรักษาทิศทางขาขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดราคาทองฟิวเจอร์ดีดตัวขึ้นแตะระดับ 2,400 ดอลลาร์

กรอบค่าเงินวันนี้และกลยุทธ์แนะนำ
USD/THB 36.70- 37.00
แนะนำ ทยอยซื้อที่ระดับ 36.70 และขายที่ระดับเหนือ 37.00

EUR/THB 39.10- 39.40
แนะนำ ทยอยขายที่ระดับ 39.40

JPY/THB 0.2370- 0.2410
แนะนำ ทยอยซื้อ   0.2370

GBP/THB 45.70-46.10
AUD/THB 23.60- 24.00

ที่มา : ฝ่ายธุรกิจตลาดเงินและธุรกรรมระหว่างประเทศ ทีเอ็มบีธนชาต (ttb) 

ค่าเงินบาทเช้านี้

วันที่ 18 เมษายน 2567

165788

ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด อยู่ที่ 36.78 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าเมื่อเทียบกับราคาปิดตลาดเมื่อวานที่ระดับ 36.85 บาท/ดอลลาร์

ดอลลาร์อ่อนค่าเทียบสกุลเงินหลัก สอดคล้องกับการปรับตัวลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ
รวมทั้งประเด็นความขัดแย้งในตะวันออกกลางระหว่างอิสราเอลและอิหร่านปะทุขึ้นมารุนแรงอีกครั้งหนึ่ง ทำให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ฟื้นตัวและต้นทุนการผลิตภาคอุตสาหกรรมปรับตัวขึ้น

อีกทั้ง เกิดความกังวลว่าเงินเฟ้อจะปรับขึ้นตาม ทำให้คาดการณ์ว่าเฟดอาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกในปีนี้ของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เป็นเดือน ก.ย. จากเดิมที่คาดไว้ในเดือน มิ.ย. หลังจากที่นายเจอโรม พาวเวล ประธานเฟด ส่งสัญญาณว่า คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของเฟดอาจจะใช้เวลานานกว่าที่คาดการณ์ไว้ในการเริ่มพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ย หลังจากตัวเลขเงินเฟ้อของสหรัฐออกมาสูงกว่าการคาดการณ์

จับตาข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐฯ ที่จะมีการเปิดเผยในสัปดาห์นี้ได้แก่ รายงานสรุปภาวะเศรษฐกิจ หรือ Beige Bookจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด), จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ยอดขายบ้านมือสองเดือน มี.ค. และดัชนีชี้นำเศรษฐกิจเดือน มี.ค.จาก Conference Board

เมื่อวานนี้ นักลงทุนต่างชาติขายพันธบัตรไทยสุทธิ 3,509 ล้านบาท และขายหุ้นไทยสุทธิ 6,395 ล้านบาท

กรอบค่าเงินวันนี้และกลยุทธ์แนะนำ
USD/THB 36.60- 36.90
แนะนำ ทยอยซื้อที่ 36.60/ ขาย 36.90

EUR/THB 39.00- 39.40
แนะนำ ซื้อ   39.00/ ขาย 39.40

JPY/THB 0.2370- 0.2410
แนะนำ ซื้อ   0.2370/ ขาย 0.2410

GBP/THB 45.60- 46.00
AUD/THB 23.50- 23.80

ที่มา : ฝ่ายธุรกิจตลาดเงินและธุรกรรมระหว่างประเทศ ทีเอ็มบีธนชาต (ttb) 

ค่าเงินบาทเช้านี้

วันที่ 17 เมษายน 2567

413001

ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด 36.70 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าจากราคาปิดตลาดเมื่อวันพฤหัสที่ผ่านมา (11 เม.ย.) ที่ระดับ 36.63 บาท/ดอลลาร์

เงินดอลลาร์แข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักหลังจากที่ตัวเลขทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯออกมาบ่งบอกถึงระดับเงินเฟ้อที่ยังอยู่ในระดับสูง ( ยอดค้าปลีกของสหรัฐ มี.ค ออกมา +0.7% สูงกว่าคาด +0.3% ) และตลาดแรงงานยังอยู่ในระดับที่แข็งแกร่ง ทำให้ล่าสุดนายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ออกมาส่งสัญญาณว่าเฟดอาจจะตรึงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับสูงเป็นเวลานานกว่าที่คาดการณ์ไว้

นอกจากนี้ เงินดอลลาร์ยังได้รับปัจจัยบวกจากสถานการณ์ตึงเครียดในตะวันออกกลาง หลังจากอิหร่านได้ใช้ขีปนาวุธและโดรนโจมตีอิสราเอลในช่วงค่ำวันเสาร์ที่ผ่านมา (13 เม.ย.) เพื่อตอบโต้ที่อิสราเอลโจมตีสถานกงสุลอิหร่านในกรุงดามัสกัส เมืองหลวงของประเทศซีเรีย ทั้งนี้คาดว่าความขัดแย้งระหว่างอิหร่านและอิสราเอลมีแนวโน้มที่จะดำเนินต่อไป โดยล่าสุด อิสราเอลประกาศว่าจะทำการตอบโต้อิหร่านอย่างแน่นอน แม้ว่าสหรัฐและบรรดาชาติพันธมิตรต่างก็ออกมาเรียกร้องให้อิสราเอลหลีกเลี่ยงการตอบโต้เพราะจะส่งผลให้สงครามขยายตัวเป็นวงกว้างก็ตาม

สัปดาห์นี้แนะควรติดตามราคาทองคำในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้นทำระดับสูงเหนือ 2,431 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ (12 เม.ย.) ทิศทางเงินทุนต่างชาติ และสถานการณ์ในตะวันออกกลาง รวมทั้งสถานการณ์เงินเยน หลังจากญี่ปุ่นส่งสัญญาณแทรกแซงค่าเงินเยน หลังจากที่เงินเยนอ่อนค่าสุดในรอบเกือบ 34 ปี ที่ระดับ 154.79 เยนต่อดอลลาร์

สถานะพอร์ตการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติระหว่างวันที่ 9-11 เม.ย.67 นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิหุ้นไทย 7,918 ล้านบาท แต่ยังมีสถานะเป็น Net Outflows ออกจากตลาดพันธบัตรไทย สูงถึง 16,566 ล้านบาท

กรอบค่าเงินวันนี้และกลยุทธ์แนะนำ
USD/THB 36.60 -36.90
แนะนำ ทยอยซื้อที่ 36.60/ ขาย 36.90

EUR/THB 38.80 - 39.20
แนะนำ ซื้อ   38.80/ ขาย 39.20

JPY/THB 0.2360 - 0.2410
แนะนำ ซื้อ   0.2360 / ขาย 0.2410

GBP/THB 45.40 - 45.90
AUD/THB 23.40 - 23.90

ที่มา : ฝ่ายธุรกิจตลาดเงินและธุรกรรมระหว่างประเทศ ทีเอ็มบีธนชาต (ttb) 

ค่าเงินบาทเช้านี้

วันที่ 11 เมษายน 2567

493647
ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด 36.74 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าจากราคาปิดตลาดเมื่อวานที่ระดับ 36.53 บาท/ดอลลาร์

ดอลลาร์แข็งค่าเทียบสกุลเงินหลัก หลังสหรัฐเปิดเผยตัวเลขเงินเฟ้อที่สูงกว่าคาด ซึ่งจะเป็นปัจจัยทำให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ตรึงอัตราดอกเบี้ยในระดับสูงเป็นเวลานานกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ ทั้งนี้ ดัชนี CPI ทั่วไป (Headline CPI) ซึ่งรวมหมวดอาหารและพลังงาน ปรับตัวขึ้น 3.5% ในเดือนมี.ค. ส่วนดัชนี CPI พื้นฐาน (Core CPI) ซึ่งไม่นับรวมหมวดอาหารและพลังงาน ปรับตัวขึ้น 3.8% ในเดือน มี.ค.

ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติ 5 ต่อ 2 เสียงให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 2.50% ต่อปี

เมื่อวานนี้ นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิในตลาดพันธบัตรไทย 1,776 ล้านบาท และซื้อสุทธิในตลาดหุ้นไทย 3,696 ล้านบาท

กรอบค่าเงินวันนี้และกลยุทธ์แนะนำ
USD/THB 36.50- 37.00
แนะนำ ซื้อ 36.50/ ขาย 37.00

EUR/THB 39.20- 39.70
แนะนำ ซื้อ 39.20 / ขาย 39.70

JPY/THB 0.2380- 0.2430
แนะนำ ซื้อ 0.2380/ ขาย 0.2430

GBP/THB 45.80- 46.30
AUD/THB 23.70- 24.20

ที่มา : ฝ่ายธุรกิจตลาดเงินและธุรกรรมระหว่างประเทศ ทีเอ็มบีธนชาต (ttb) 

ค่าเงินบาทเช้านี้

วันที่ 10 เมษายน 2567

745498


ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด 36.32 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจากราคาปิดตลาดเมื่อวานที่ระดับ 36.70 บาท/ดอลลาร์

ดอลลาร์อ่อนค่าเทียบสกุลเงินหลัก สอดคล้องกับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐที่ปรับตัวลง ก่อนการเปิดเผยตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐในวันพรุ่งนี้ ทั้งนี้ ผลการสำรวจนักวิเคราะห์คาดว่า ดัชนี CPI ทั่วไป (Headline CPI) ซึ่งรวมหมวดอาหารและพลังงาน ปรับตัวขึ้น 3.4% ในเดือน มี.ค. เมื่อเทียบรายปี หลังจากปรับตัวขึ้น 3.2% ในเดือน ก.พ.

เมื่อวานนี้ นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิในตลาดพันธบัตรไทย 6,067 ล้านบาท และซื้อสุทธิในตลาดหุ้นไทย 6,038 ล้านบาท

กรอบค่าเงินวันนี้และกลยุทธ์แนะนำ
USD/THB 36.00- 36.50
แนะนำ ซื้อ 36.00/ ขาย 36.50

EUR/THB 39.20- 39.70
แนะนำ ซื้อ 39.20 / ขาย 39.70

JPY/THB 0.2380- 0.2430
แนะนำ ซื้อ 0.2380/ ขาย 0.2430

GBP/THB 45.80- 46.30
AUD/THB 23.80- 24.30

ที่มา : ฝ่ายธุรกิจตลาดเงินและธุรกรรมระหว่างประเทศ ทีเอ็มบีธนชาต (ttb)  

ค่าเงินบาทเช้านี้

วันที่ 9 เมษายน 2567

420079

ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด 36.69 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจากราคาปิดตลาดเมื่อวันทำการก่อนหน้าที่ระดับ 36.70 บาท/ดอลลาร์

ดอลลาร์แข็งค่าขึ้นเพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ขณะที่ นักลงทุนรอสหรัฐเปิดเผยข้อมูลเงินเฟ้อเดือนมี.ค.ในสัปดาห์นี้ โดยสหรัฐมีกำหนดเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ซึ่งเป็นตัวเลขเงินเฟ้อ สำหรับเดือน มี.ค.ในวันพุธที่ 10 เม.ย. ซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญในการทดสอบความแข็งแกร่งของดอลลาร์ ขณะที่ การประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางยุโรป (ECB) ในวันพฤหัสบดีที่ 11 เม.ย.จะเป็นอีกปัจจัยสำคัญสำหรับสกุลระดับโลกต่าง ๆ

เมื่อวันศุกร์ นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิในตลาดพันธบัตรไทย 613 ล้านบาท และซื้อสุทธิในตลาดหุ้นไทย 1,270 ล้านบาท

กรอบค่าเงินวันนี้และกลยุทธ์แนะนำ
USD/THB 36.50- 36.80
แนะนำ ซื้อ 36.50/ ขาย 36.80

EUR/THB 39.60- 40.10
แนะนำ ซื้อ 39.60 / ขาย 40.10

JPY/THB 0.2380- 0.2430
แนะนำ ซื้อ 0.2380/ ขาย 0.2430

GBP/THB 46.20- 46.70
AUD/THB 24.00- 24.50

ที่มา : ฝ่ายธุรกิจตลาดเงินและธุรกรรมระหว่างประเทศ ทีเอ็มบีธนชาต (ttb)  

ค่าเงินบาทเช้านี้

วันที่ 5 เมษายน 2567

258721

ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด อยู่ที่ 36.72 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าเล็กน้อยเมื่อเทียบกับราคาปิดตลาดเมื่อวานที่ระดับ 36.69 บาท/ดอลลาร์

ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ หลังสหรัฐเปิดเผยตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานที่สูงกว่าคาด ซึ่งจะเป็นปัจจัยหนุนการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ขณะที่นักลงทุนจับตาการเปิดเผยตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐในวันนี้ เพื่อหาสัญญาณที่ชัดเจนเกี่ยวกับทิศทางดอกเบี้ยของเฟด

กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกเพิ่มขึ้น 9,000 ราย สู่ระดับ 221,000 รายในสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 2 เดือน และสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 213,000 ราย

จับตาข้อมูลสำคัญ ได้แก่ตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐ เพื่อประเมินแนวโน้มตลาดแรงงานและทิศทางอัตราดอกเบี้ยของเฟด โดยคาดการณ์ว่า ตัวเลขจ้างงานเพิ่มขึ้นเพียง 205,000 ตำแหน่ง ชะลอตัวจากระดับ 275,000 ตำแหน่งในเดือน ก.พ. และคาดว่าอัตราว่างงานทรงตัวที่ระดับ 3.9%

เมื่อวานนี้นักลงทุนต่างชาติขายพันธบัตรไทยสุทธิ 5,557ล้านบาท และขายหุ้นไทยสุทธิ 332 ล้านบาท

กรอบค่าเงินวันนี้และกลยุทธ์แนะนำ
USD/THB 36.50- 36.80
แนะนำ ทยอยซื้อที่ 36.50/ ขาย 36.80

EUR/THB 39.60- 40.00
แนะนำ ซื้อ   39.60/ ขาย 40.00

JPY/THB 0.2410- 0.2450
แนะนำ ซื้อ   0.2410/ ขาย 0.2450

GBP/THB 46.20- 46.60
AUD/THB 24.10- 24.40

ที่มา : ฝ่ายธุรกิจตลาดเงินและธุรกรรมระหว่างประเทศ ทีเอ็มบีธนชาต (ttb) 

ค่าเงินบาทเช้านี้

วันที่ 4 เมษายน 2567

746382

ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด 36.64 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับราคาปิดตลาดเมื่อวานที่ระดับ 36.73 บาท/ดอลลาร์

ดอลลาร์อ่อนค่าเทียบสกุลเงินหลัก หลังการเปิดเผยดัชนีภาคบริการสหรัฐที่ต่ำกว่าคาด ซึ่งจะเป็นปัจจัยหนุนการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด)

พาวเวล ยังยืนยันว่า การปรับลดดอกเบี้ยยังคงอยู่ในแผน แต่การจัดการกับเงินเฟ้อให้เป็นตามเป้าหมายยังเป็นเป้าหมายหลัก โดยกล่าวว่าต้องมั่นใจต่อการปรับลงของเงินเฟ้อ ก่อนที่จะทำการปรับลดอัตราดอกเบี้ย เนื่องจากการตัดสินใจเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยถือเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมาก ทำให้เราต้องใช้ความระมัดระวังในเรื่องนี้

นักลงทุนจับตาตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรที่จะมีการเปิดเผยในวันพรุ่งนี้โดยนักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า ตัวเลขจ้างงานเพิ่มขึ้นเพียง 205,000 ตำแหน่งในเดือน มี.ค. ชะลอตัวจากระดับ 275,000 ตำแหน่งในเดือน ก.พ. ขณะที่คาดว่าอัตราว่างงานทรงตัวที่ระดับ 3.9%

เมื่อวานนี้นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิในตลาดพันธบัตร 666 ล้านบาท และซื้อสุทธิในตลาดหุ้นไทย 1,590 ล้านบาท

กรอบค่าเงินวันนี้และกลยุทธ์แนะนำ


USD/THB 36.50 - 36.80
แนะนำทยอยซื้อที่ 36.50 /ขาย 36.75

EUR/THB 39.50 - 39.90
แนะนำทยอยซื้อที่ 39.50 / ขาย 39.80

JPY/THB 0.2400 - 0.2440
แนะนำทยอยซื้อที่ 0.2400 /ขาย 0.2440

GBP/THB 46.10 - 46.30
AUD/THB 23.90 - 24.20

ค่าเงินบาทเช้านี้

วันที่ 3 เมษายน 2567

872280

ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด 36.63 บาท/ดอลลาร์ ทรงตัวจากราคาปิดตลาดเมื่อวานที่ระดับ 36.64 บาท/ดอลลาร์ เงินดอลลาร์แข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก หลังจากสหรัฐรายงานตัวเลข

การเปิดรับสมัครงานและอัตราการหมุนเวียนของแรงงาน (JOLTS) ซึ่งเป็นมาตรวัดอุปสงค์ในตลาดแรงงาน เพิ่มขึ้นสู่ระดับ 8.756 ล้านตำแหน่งในเดือนก.พ. และสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ที่ระดับ 8.740 ล้านตำแหน่ง ซึ่งส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 4 เดือน และทำให้นักลงทุนกังวลว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะชะลอเวลาในการปรับลดอัตราดอกเบี้ย

คืนวันศุกร์นี้จะมีการเปิดเผยตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตร ในเดือน มี.ค. คาดว่าจะออกมา 205,000 ตำแหน่งงา เมื่อวานนี้นักลงทุนต่างชาติขายพันธบัตรไทยสุทธิ  2,793 ล้านบาท และขายหุ้นไทยสุทธิ 1,580.71 ล้านบาท

กรอบค่าเงินวันนี้และกลยุทธ์แนะนำ

  • USD/THB 36.50 -36.80
    แนะนำ ทยอยซื้อที่ 36.50/ ขาย 36.80
  • EUR/THB 39.20 - 39.70
    แนะนำ ซื้อ   39.20/ ขาย 39.70
  • JPY/THB 0.2400 - 0.2450
    แนะนำ ซื้อ   0.2400 / ขาย 0.2450
  • GBP/THB 45.80 - 46.30
  • AUD/THB 23.60 - 24.10 

 

ที่มา : ฝ่ายธุรกิจตลาดเงินและธุรกรรมระหว่างประเทศ ทีเอ็มบีธนชาต (ttb)
 

ค่าเงินบาท 2 เมษายน 2567

938704

ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด 36.60 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับราคาปิดตลาดเมื่อวานที่ระดับ 36.39 บาท/ดอลลาร์

ดอลลาร์แข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ หลังสหรัฐเปิดเผยดัชนีภาคการผลิตที่แข็งแกร่งเกินคาด ซึ่งจะเป็นปัจจัยหนุนให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ตรึงอัตราดอกเบี้ยในระดับสูงยาวนานกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้

ทั้งนี้ ความแข็งแกร่งของดัชนีภาคการผลิตส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปีปรับตัวสูงขึ้นสู่ระดับ 4.3% ขณะที่ FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า นักลงทุนให้น้ำหนักเพียง 58% ในการคาดการณ์ว่าเฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือน มิ.ย. ซึ่งลดลงจากระดับ 64% ในสัปดาห์ที่แล้ว

นักลงทุนจับตาสัญญาณบ่งชี้ทิศทางอัตราดอกเบี้ยของเฟดในสัปดาห์นี้ ซึ่งรวมถึงการแสดงความเห็นของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟด และตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรประจำเดือน มี.ค.ของสหรัฐซึ่งมีกำหนดเปิดเผยในวันศุกร์นี้ เมื่อวานนี้นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิในตลาดพันธบัตร 79 ล้านบาท และซื้อสุทธิในตลาดหุ้นไทย 900 ล้านบาท

กรอบค่าเงินวันนี้และกลยุทธ์แนะนำ

  • USD/THB 36.45 - 36.75
    แนะนำทยอยซื้อที่ 36.50 /ขาย 36.75
  • EUR/THB 39.10 - 39.60
    แนะนำทยอยซื้อที่ 39.20 / ขาย 39.60
  • JPY/THB 0.2400 - 0.2440
    แนะนำทยอยซื้อที่ 0.2400 /ขาย 0.2440
  • GBP/THB 45.75 - 46.25
  • AUD/THB 23.65 - 23.95

 

ที่มา : ฝ่ายธุรกิจตลาดเงินและธุรกรรมระหว่างประเทศ ทีเอ็มบีธนชาต (ttb)
 

ค่าเงินบาท 1 เมษายน 2567

1

ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด 36.38 บาท/ดอลลาร์ ใกล้เคียงกับราคาปิดตลาดเมื่อวันศุกร์ที่ระดับ 36.40 บาท/ดอลลาร์

ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวผันผวนและเริ่มกลับมาแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยตามตามการแข็งค่าของเงินเยน ท่ามกลางความกังวลต่อการอาจเข้าแทรกแซงค่าเงินเยนของธนาคารกลางญี่ปุ่นด้วยการเข้าซื้อเงินเยน หลังจากเงินเยนร่วงลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 34 ปีในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา

สำหรับดัชนี PCE ทั่วไป (Headline PCE) ของสหรัฐ ซึ่งรวมหมวดอาหารและพลังงาน เพิ่มขึ้น 2.5% ในเดือนก.พ. เมื่อเทียบรายปี หลังจากที่เพิ่มขึ้น 2.4% เช่นกันในเดือนม.ค. โดยเป็นไปตามที่ตลาดคาดการณ์ เมื่อวันศุกร์นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิในตลาดพันธบัตร 1,476  ล้านบาท และซื้อสุทธิในตลาดหุ้นไทย 645 ล้านบาท

สำหรับแนวโน้มค่าเงินบาท  คาดว่าวันนี้เงินบาทจะยังคงเคลื่อนไหวในกรอบ Sideways ตาม Flow การซื้อขายทองคำ ในขณะที่ทองคำยังรักษาทิศทางขาขึ้นอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดราคาพุ่งทำจุดสูงสุดใหม่ตลอดกาลอีกครั้งที่ระดับ 2,240 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์

กรอบค่าเงินวันนี้และกลยุทธ์แนะนำ

  • USD/THB 36.30- 36.50
    แนะนำ ทยอยขายที่ระดับเหนือ 36.50
  • EUR/THB 39.20- 39.60
    แนะนำ ทยอยขายที่ระดับ 39.60
  • JPY/THB 0.2380- 0.2420
    แนะนำ ทยอยซื้อ   0.2380
  • GBP/THB 45.70-46.10
  • AUD/THB 23.60- 24.00

 

ที่มา : ฝ่ายธุรกิจตลาดเงินและธุรกรรมระหว่างประเทศ ทีเอ็มบีธนชาต (ttb)
 

ค่าเงินบาท 29 มีนาคม 2567

381770

ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด 36.46 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจากราคาปิดตลาดเมื่อวานที่ระดับ 36.53 บาท/ดอลลาร์

ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ โดยได้แรงหนุนจากข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของสหรัฐซึ่งรวมถึงผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ขณะที่จับตาการเปิดเผยดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ในวันนี้ เพื่อประเมินแนวโน้มเงินเฟ้อและทิศทางอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) โดยกระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยตัวเลขประมาณการครั้งที่ 3 ของ GDP ประจำไตรมาส 4/2566 ซึ่งระบุว่า GDP ขยายตัว 3.4% สูงกว่าตัวเลขประมาณการครั้งที่ 1 และ 2 ที่ระดับ 3.3% และ 3.2% ตามลำดับ และสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 3.2%

เมื่อวานนี้ นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิในตลาดพันธบัตรไทย 4,240 ล้านบาท และขายสุทธิในตลาดหุ้นไทย 1,808 ล้านบาท

กรอบค่าเงินวันนี้และกลยุทธ์แนะนำ

  • USD/THB 36.30- 36.60
    แนะนำ ซื้อ 36.30/ ขาย 36.60
  • EUR/THB 39.10- 39.60
    แนะนำ ซื้อ 39.10 / ขาย 39.60
  • JPY/THB 0.2380- 0.2430
    แนะนำ ซื้อ 0.2380/ ขาย 0.2430
  • GBP/THB 45.80- 46.30
  • AUD/THB 23.50- 24.00

 

ที่มา : ฝ่ายธุรกิจตลาดเงินและธุรกรรมระหว่างประเทศ ทีเอ็มบีธนชาต (ttb)
 
 

ค่าเงินบาท 28 มีนาคม 2567

430699
ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด อยู่ที่ 36.44 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าเล็กน้อยจากราคาปิดตลาดเมื่อวานที่ระดับ 36.40 บาท/ดอลลาร์

ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเล็กน้อยเมื่อเทียบกับสกุลหลัก และเทรดอยู่ในกรอบ 36.35-36.50 บาท/ดอลลาร์เมื่อวานนี้ ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐปรับตัวลง รอตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญ เพื่อดูความชัดเจนของทิศทางอัตราดอกเบี้ยสหรัฐ

นักลงทุนจับตาดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ที่จะมีการเปิดเผยในวันศุกร์ โดยดัชนี PCE เป็นมาตรวัดเงินเฟ้อที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ให้ความสำคัญ เนื่องจากสามารถตรวจจับการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมของผู้บริโภค และครอบคลุมราคาสินค้าและบริการในวงกว้างมากกว่าดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI)

เมื่อวานนักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิพันธบัตรไทย 6,731 ล้านบาท และซื้อหุ้นไทยสุทธิ 678 ล้านบาท

กรอบค่าเงินวันนี้และกลยุทธ์แนะนำ
USD/THB 36.25- 36.50
แนะนำ ทยอยซื้อที่ 36.25/ ขาย 36.50

EUR/THB 39.25- 39.60
แนะนำ ซื้อ 39.25/ ขาย 39.60

JPY/THB 0.2380- 0.2420
แนะนำ ซื้อ 0.2380/ ขาย 0.2420

GBP/THB 45.75- 46.15
AUD/THB 23.60- 24.00

ที่มา : ฝ่ายธุรกิจตลาดเงินและธุรกรรมระหว่างประเทศ ทีเอ็มบีธนชาต (ttb) 

ค่าเงินบาท 27 มีนาคม 2567

809431


ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาดอยู่ที่ 36.33 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าเมื่อเทียบกับราคาปิดตลาดเมื่อวานที่ระดับ 36.26 บาท/ดอลลาร์

ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเล็กน้อยเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ขณะที่นักลงทุนจับตาการเปิดเผยดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) เพื่อประเมินแนวโน้มเงินเฟ้อและทิศทางอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด)

กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนของสหรัฐ เพิ่มขึ้น 1.4% ในเดือน ก.พ. และสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าเพิ่มขึ้น 1.1% หลังจากดิ่งลง 6.9% ในเดือน ม.ค.

จับตาข้อมูลสำคัญ ได้แก่ดัชนี PCE ของสหรัฐในวันศุกร์นี้ โดยคาดการณ์ว่า ดัชนี PCE ทั่วไป (Headline PCE) ซึ่งรวมหมวดอาหารและพลังงาน จะเพิ่มขึ้น 2.4% ในเดือน ก.พ. เมื่อเทียบรายปี หลังจากที่เพิ่มขึ้น 2.4% เช่นกันในเดือนม.ค. และคาดว่าดัชนี PCE พื้นฐาน (Core PCE) ซึ่งไม่นับรวมหมวดอาหารและพลังงาน จะเพิ่มขึ้น 2.8% ในเดือน ก.พ. เมื่อเทียบรายปี หลังจากที่เพิ่มขึ้น 2.8% ในเดือน ม.ค

เมื่อวานนักลงทุนต่างชาติขายพันธบัตรไทยสุทธิ 463 ล้านบาท และซื้อหุ้นไทยสุทธิ 1,428 ล้านบาท

กรอบค่าเงินวันนี้และกลยุทธ์แนะนำ
USD/THB 36.20- 36.50
แนะนำ ทยอยซื้อที่ 36.20/ ขาย 36.50

EUR/THB 39.20- 39.60
แนะนำ ซื้อ   39.20/ ขาย 39.60

JPY/THB 0.2380- 0.2420
แนะนำ ซื้อ   0.2380/ ขาย 0.2420

GBP/THB 45.60- 46.00
AUD/THB 23.60- 24.00

ที่มา : ฝ่ายธุรกิจตลาดเงินและธุรกรรมระหว่างประเทศ ทีเอ็มบีธนชาต (ttb)

ค่าเงินบาท 26 มีนาคม 2567

ค่าเงินบาท
ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด 36.35  บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าจากราคาปิดตลาดเมื่อวานที่ระดับ 36.05 บาท/ดอลลาร์

ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวผันผวนและอ่อนค่าตามการอ่อนค่าลงของเงินเยนที่กลับมายืนเหนือ 151 เยน/ดอลลาร์  ทั้งนี้การกลับมาแข็งค่าอย่างรวดเร็วของค่าเงินดอลลาร์เกิดขึ้นหลังจากธนาคารกลางสวิตเซอร์แลนด์ ปรับลดดอกเบี้ย ซึ่งผิดไปจากที่ตลาดคาดว่าจะคงดอกเบี้ย ท่ามกลางการปรับฐานของราคาทองคำ โดยทองคำเริ่มมีแรงขายออกมาหลังราคาพุ่งทะลุ 2,200 ดอลลาร์/ออนซ์ ทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์

สำหรับแนวโน้มค่าเงินบาท คาดว่าวันนี้เงินบาทจะผันผวนและอาจจะทดสอบระดับ 36.40 บาท/ดอลลาร์  ทั้งนี้ตลาดเริ่มจับตามองว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะลดดอกเบี้ยได้เร็วกว่าเฟดในการประชุมเดือนเมษายนนี้ตามธนาคารกลางสวิสเซอร์แลนด์หรือไม่

กรอบค่าเงินวันนี้และกลยุทธ์แนะนำ
USD/THB 36.20- 36.40
แนะนำ ทยอยซื้อที่ระดับ 36.20 ขายที่ระดับเหนือ 36.40

EUR/THB 39.20- 39.60
แนะนำ ทยอยขายที่ระดับ 39.60

JPY/THB 0.2380- 0.2420
แนะนำ ทยอยซื้อ   0.2380

GBP/THB 45.80-46.20
AUD/THB 23.60- 24.00

ที่มา : ฝ่ายธุรกิจตลาดเงินและธุรกรรมระหว่างประเทศ ทีเอ็มบีธนชาต (ttb) 

ค่าเงินบาท 25 มีนาคม 2567

504415

ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด 36.40 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าเล็กน้อยเมื่อเทียบกับราคาปิดตลาดเมื่อวันศุกร์ที่ระดับ 36.38

ดอลลาร์สหรัฐเคลื่อนไหวเพียงเล็กน้อย หลังจากได้ปรับตัวสูงขึ้นติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่ 2 ขณะที่สัปดาห์ที่แล้วธนาคารกลางญี่ปุ่นมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพียงเล็กน้อย และการที่ธนาคารกลางสวิสเซอร์แลนด์มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเหนือความคาดหมาย ส่งผลให้ส่วนต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยของสองธนาคารกับของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ยังคงอยู่ในระดับสูง ซึ่งช่วยหนุนดอลลาร์ให้ยังคงแข็งค่า

นอกจากนี้การที่ธนาคารกลางอังกฤษได้ส่งสัญญาณว่าอาจมีการผ่อนคลายนโยบายการเงินในระยะข้างหน้า รวมทั้งการที่เงินบาทยังมีปัจจัยลบเพิ่มเติมจากสถานะขายสุทธิหุ้นและพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติ และจังหวะการย่อตัวลงของราคาทองคำในตลาดโลกในช่วงปลายสัปดาห์ล้วนส่งผลหนุนต่อการแข็งค่าของเงินดอลล่าร์

ในสัปดาห์นี้ นักลงทุนจะให้ความสนใจเป็นพิเศษกับการเปิดเผยข้อมูลผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ประจำไตรมาส 4/2566 ของสหรัฐในวันพฤหัสบดี (28 มี.ค.) และการเปิดเผยดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อจากการใช้จ่ายของผู้ผลิตของสหรัฐ ในวันศุกร์ (29 มี.ค.)

เมื่อวันศุกร์นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิในตลาดพันธบัตร 2,209 ล้านบาท และขายสุทธิในตลาดหุ้นไทย 627 ล้านบาท

กรอบค่าเงินวันนี้และกลยุทธ์แนะนำ
USD/THB 36.25 - 36.55
แนะนำทยอยซื้อที่ 36.35 /ขาย 36.55

EUR/THB 39.10 - 39.60
แนะนำทยอยซื้อที่ 39.20 / ขาย 39.60

JPY/THB 0.2385 - 0.2425
แนะนำทยอยซื้อที่ 0.2400 /ขาย 0.2425

GBP/THB 45.55 - 46.05
AUD/THB 23.50 -23.80

ที่มา : ฝ่ายธุรกิจตลาดเงินและธุรกรรมระหว่างประเทศ ทีเอ็มบีธนชาต (ttb) 

ค่าเงินบาท 20 มีนาคม 2567

 904450

ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด 36.10 บาทต่อดอลลาร์ อ่อนค่าจากราคาปิดตลาดเมื่อวานที่ระดับ 36.08 บาท/ดอลลาร์

ดอลลาร์แข็งค่าเทียบสกุลเงินหลัก ขณะที่นักลงทุนจับตาการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) โดยนักลงทุนเทน้ำหนักเกือบ 100% ต่อคาดการณ์ที่ว่า เฟดจะคงอัตราดอกเบี้ย ขณะที่ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ประกาศยุตินโยบายอัตราดอกเบี้ยติดลบ และขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งแรกในรอบ 17 ปี โดยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นสู่ระดับ 0 ถึง 0.1% จากระดับ -0.1%

เมื่อวานนี้ นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิในตลาดพันธบัตรไทย 4,112 ล้านบาท และขายสุทธิในตลาดหุ้นไทย 18,801 ล้านบาท

กรอบค่าเงินวันนี้และกลยุทธ์แนะนำ
USD/THB 36.00- 36.30
แนะนำ ทยอยซื้อที่ 36.00/ ขาย 36.30

EUR/THB 39.10- 39.60
แนะนำ ซื้อ 39.10 / ขาย 39.60

JPY/THB 0.2360- 0.2410
แนะนำ ซื้อ 0.2360/ ขาย 0.2410

GBP/THB 45.50- 46
AUD/THB 23.30- 23.80

ที่มา : ฝ่ายธุรกิจตลาดเงินและธุรกรรมระหว่างประเทศ ทีเอ็มบีธนชาต (ttb)

ค่าเงินบาท 19 มีนาคม 2567

288990

ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด 35.97 บาท/ดอลลาร์ ใกล้เคียงกับราคาปิดตลาดเมื่อวานที่ระดับ 35.98 บาท/ดอลลาร์

ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเล็กน้อยเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์ก ขณะที่นักลงทุนจับตาการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางหลายแห่งในสัปดาห์นี้ รวมถึงธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด), ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ), ธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) และธนาคารกลางอังกฤษ (BoE)

โดยการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ระหว่างวันที่ 19-20 มี.ค.นี้ โดยรอฟังถ้อยแถลงของประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด)

รวมทั้ง การคาดการณ์อัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Dot Plot) เกี่ยวกับความชัดเจนของการปรับลดอัตราดอกเบี้ย ซึ่ง FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า นักลงทุนให้น้ำหนัก 99.0% ที่เฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 5.25-5.50% ในการประชุมครั้งนี้ รวมถึงธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ตลาดรอผลการประชุมยุติการใช้นโยบายอัตราดอกเบี้ยติดลบ โดยคาดว่าจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจาก -0.1% สู่ระดับ 0.0%

นอกจากนี้ สัปดาห์นี้มีข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐที่สำคัญได้แก่ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตขั้นต้นเดือนมี.ค.จากเอสแอนด์พี โกลบอล, ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์

เมื่อวานนักลงทุนต่างชาติขายพันธบัตรไทยสุทธิ 6,023 ล้านบาท และขายหุ้นไทยสุทธิ 297 ล้านบาท

กรอบค่าเงินวันนี้และกลยุทธ์แนะนำ
USD/THB 35.80- 36.10
แนะนำ ทยอยซื้อที่ 35.80/ ขาย 36.10

EUR/THB 39.00- 39.40
แนะนำ ซื้อ   39.00/ ขาย 39.40

JPY/THB 0.2400- 0.2440

แนะนำ ซื้อ   0.2400/ ขาย 0.2440

GBP/THB 45.50- 46.00
AUD/THB 23.30 - 23.80

ที่มา : ฝ่ายธุรกิจตลาดเงินและธุรกรรมระหว่างประเทศ ทีเอ็มบีธนชาต (ttb)

ค่าเงินบาท 18 มีนาคม 2567

264700


ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด 35.92 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าจากราคาปิดตลาดเมื่อวันศุกร์ที่ระดับ 35.83 บาท/ดอลลาร์

เงินดอลลาร์แข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ หลังจากการเปิดเผยข้อมูลหลายชุดที่แสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจสหรัฐยังอยู่ในเกณฑ์ดี ในขณะที่เงินเฟ้อยังอยู่ในระดับสูงกว่าคาด ซึ่งจะทำให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สามารถคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับสูงได้นานขึ้น ทำให้มีการปรับลดคาดการณ์เกี่ยวกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐในอนาคต

ประเด็นที่ควรจับตาคือการประชุมเฟดในวันที่ 19-20 มี.ค. โดยคาดว่าจะคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับเดิม ทั้งนี้ตลาดมุ่งความสนใจไปที่การรายงาน นโยบายการเงิน Dot Plot และตัวเลขประมาณการเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่จะมีการทบทวนใหม่ของเฟด

รวมทั้ง ยังควรจับตาการประชุมของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ในวันที่ 18-19 มี.ค.ซึ่งคาดว่า BOJ อาจจะส่งสัญญาณยุติการดำเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ยติดลบ รวมถึงรอดูผลการประชุม ธนาคารกลางอังกฤษ ในวันที่ 21 มี.ค.

เมื่อวันศุกร์นักลงทุนต่างชาติขายพันธบัตรไทยสุทธิ 3,739 ล้านบาท และขายหุ้นไทยสุทธิ 2,177.52 ล้านบาท

กรอบค่าเงินวันนี้และกลยุทธ์แนะนำ
USD/THB 35.80 - 36.10
แนะนำ ทยอยซื้อที่ 35.80/ ขาย 36.10

EUR/THB 38.80 - 39.20
แนะนำ ซื้อ   38.80/ ขาย 39.20

JPY/THB 0.2380 - 0.2430
แนะนำ ซื้อ   0.2380 / ขาย 0.2430

GBP/THB 45.40 - 45.90
AUD/THB 23.30 - 23.80

ที่มา : ฝ่ายธุรกิจตลาดเงินและธุรกรรมระหว่างประเทศ ทีเอ็มบีธนชาต (ttb) 

ค่าเงินบาท 15 มีนาคม 2567 

ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด 35.80 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับราคาปิดตลาดเมื่อวานที่ระดับ 35.65 บาท/ดอลลาร์

459620


ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่า โดยได้แรงหนุนจากการที่นักลงทุนมองว่าดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ของสหรัฐที่สูงเกินคาดอาจทำให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ตรึงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับสูงเป็นเวลานานกว่าที่คาดการณ์ไว้และยังส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปีพุ่งขึ้นทะลุระดับ 4.2%

โดยกระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อจากการใช้จ่ายของผู้ผลิต ปรับตัวขึ้น 1.6% ในเดือนก.พ. เมื่อเทียบรายปี สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 1.1% หลังจากที่เพิ่มขึ้น 1.0% ในเดือนม.ค.

ส่วนดัชนี PPI พื้นฐาน (Core PPI) ซึ่งไม่นับรวมหมวดอาหารและพลังงาน ปรับตัวขึ้น 2.0% ในเดือนก.พ. เมื่อเทียบรายปี สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 1.9% หลังจากที่เพิ่มขึ้น 2.0% ในเดือนม.ค.

ล่าสุด FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า นักลงทุนให้น้ำหนัก 62.9% ที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.25% ในการประชุมเดือนมิ.ย.

Fund flow เมื่อวานนี้นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิในตลาดพันธบัตร 3,509 ล้านบาท และซื้อสุทธิในตลาดหุ้นไทย 3,647 ล้านบาท

กรอบค่าเงินวันนี้และกลยุทธ์แนะนำ
USD/THB 35.65 - 35.95
แนะนำทยอยซื้อที่ 35.70 /ขาย 35.85

EUR/THB 38.65 -39.15
แนะนำทยอยซื้อที่ 38.65/ ขาย 39.05

JPY/THB 0.2390- 0.2430
แนะนำทยอยซื้อที่ 0.2400 /ขาย 0.2420

GBP/THB 45.40 - 45.90
AUD/THB 23.40 -23.70

ที่มา : ฝ่ายธุรกิจตลาดเงินและธุรกรรมระหว่างประเทศ ทีเอ็มบีธนชาต (ttb) 

ค่าเงินบาท 14 มีนาคม 2567 

ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด 35.65 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าขึ้นจากราคาปิดตลาดเมื่อวานที่ระดับ 35.70 บาท/ดอลลาร์ 

266244

ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวผันผวนในทิศทางแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ จากการย่อตัวลงของดัชนีดอลลาร์สหรัฐ (DXY) และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ รวมถึงการปรับตัวขึ้นของราคาทองคำหลังจากที่เงินบาทถูกกดดันในทิศทางอ่อนค่าไปเมื่อวานนี้จากการรับรู้รายงานอัตราเงินเฟ้อ CPI สหรัฐฯ ที่ปรับตัวสูงขึ้น และปัจจัยลบเรื่องการเมืองในประเทศหลังจากที่ กกต.แถลงว่าจะยื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณายุบพรรคก้าวไกล

สำหรับแนวโน้มค่าเงินบาทวันนี้ คาดว่าเงินบาทจะแกว่งตัว sideways ตาม Flow การซื้อขายทองคำ และอาจเริ่มแข็งค่าตามสกุลเงินเยนจากการที่ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงหลุดระดับ 148 เยน เนื่องจากมีบริษัทรายใหญ่ของญี่ปุ่นเสนอขึ้นค่าจ้างครั้งใหญ่ที่สุดในรอบหลายสิบปี ในการประชุมค่าจ้างประจำปีกับสหภาพแรงงาน ซึ่งอาจปูทางให้ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ยุติการใช้นโยบายอัตราดอกเบี้ยติดลบในสัปดาห์หน้า.

Fund flow เมื่อวานนักลงทุนต่างชาติขายพันธบัตรสุทธิ  437 ล้านบาท แต่ซื้ิอหุ้นไทยสุทธิ 1,068 ล้านบาท

กรอบค่าเงินวันนี้และกลยุทธ์แนะนำ
USD/THB 35.55- 35.75
แนะนำ ทยอยขายที่ระดับ 35.75

EUR/THB 38.90- 39.20
แนะนำ ทยอยขายที่ระดับ 39.20

JPY/THB 0.2400- 0.2440
แนะนำ ทยอยซื้อ   0.2400

GBP/THB 45.50-45.90
AUD/THB 23.40- 23.80

ที่มา : ฝ่ายธุรกิจตลาดเงินและธุรกรรมระหว่างประเทศ ทีเอ็มบีธนชาต (ttb) 

ค่าเงินบาท 13 มีนาคม 2567 

ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด 35.69 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าจากราคาปิดตลาดเมื่อวันทำการก่อนหน้าที่ระดับ 35.60 บาท/ดอลลาร์

177739

ดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักหลังจากสหรัฐเปิดเผยตัวเลขเงินเฟ้อที่ยังคงอยู่ในระดับสูง ซึ่งทำให้นักลงทุนคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะยังไม่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเร็ว ๆ นี้
 
โดยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อจากการใช้จ่ายของผู้บริโภค ปรับตัวขึ้น 3.2% ในเดือนก.พ. สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้น 3.1% ส่วนดัชนี CPI พื้นฐาน (Core CPI) ซึ่งไม่นับรวมหมวดอาหารและพลังงาน ปรับตัวขึ้น 3.8% ในเดือนก.พ.สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 3.7%
 
เมื่อวานนี้ นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิในตลาดพันธบัตรไทย 3,794 ล้านบาท และขายสุทธิในตลาดหุ้นไทย 5,976 ล้านบาท
 
กรอบค่าเงินวันนี้และกลยุทธ์แนะนำ
USD/THB 35.50- 35.80
แนะนำ ทยอยซื้อที่ 35.50/ ขาย 35.80
 
EUR/THB 38.80- 39.30
แนะนำ ซื้อ 38.80 / ขาย 39.30
 
JPY/THB 0.24- 0.2450
แนะนำ ซื้อ 0.24/ ขาย 0.2450
 
GBP/THB 45.50- 46
AUD/THB 23.30- 23.80

ค่าเงินบาท 12 มีนาคม 2567 

 213194

ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด 35.45 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าเล็กน้อยเทียบกับราคาปิดตลาดเมื่อวานที่ระดับ 35.40 บาท/ดอลลาร์

โดยดอลลาร์ยังเทรดอยู่ในกรอบและแข็งค่าเล็กน้อยเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ขณะที่นักลงทุนจับตาการเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค CPI และ ดัชนีผู้ผลิต (PPI) ของสหรัฐในวันนี้ เพื่อหาสัญญาณที่ชัดเจนว่าเฟด จะเริ่มปรับลดดอกเบี้ยในเร็ว ๆ นี้หรือไม่ ขณะที่ราคาสินทรัพย์เสี่ยง ปรับขึ้นตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกับราคาน้ำมัน และทองคำ

สำหรับค่าเงินบาทยังไม่มีปัจจัยสนับสนุนอย่างเด่นชัด ถึงแม้เดือน ก.พ.67 จะมีเงินทุนต่างชาติไหลกลับเข้าตลาดหุ้นไทย ซี่งสอดคล้องกับตลาดหุ้นอื่นในภูมิภาค อย่างไรก็ตาม ยังมีความกังวล จากการปรับลดคาดการณ์ GDP ไทย โดยสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ปรับลดแนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 67 ไปอยู่ที่ 2.2-3.2%

Fund flow ปิดตลาดเมื่อวานนี้ นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิพันธบัตร 191 ล้านบาท และขายสุทธิหุ้นไทย 2,340 ล้านบาท

กรอบค่าเงินวันนี้และกลยุทธ์แนะนำ
USD/THB 35.30 - 35.60
แนะนำ ทยอยซื้อที่ 35.30/ ขาย 35.50

EUR/THB 38.60-39.00
แนะนำ ซื้อ 38.60/ ขาย 39.00

JPY/THB 0.2400-0.2440
แนะนำ ซื้อ 0.2400/ ขาย 0.2430

GBP/THB 45.25-45.75
AUD/THB 23.30-23.70

ค่าเงินบาท 11 มีนาคม 2567 

ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด 35.42 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าขึ้นเล็กน้อย เทียบกับราคาปิดตลาด เมื่อวันศุกร์ที่ระดับ 35.44 บาท/ดอลลาร์

ค่าเงินบาท

โดยฝ่ายธุรกิจตลาดเงินและธุรกรรมระหว่างประเทศ ทีเอ็มบีธนชาต (ttb) เปิดเผยว่า
*ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด 35.42 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าขึ้นเล็กน้อย เทียบกับราคาปิดตลาด เมื่อวันศุกร์ที่ระดับ 35.44 บาท/ดอลลาร์

ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันศุกร์ (8 มี.ค.) และอ่อนค่าลงรายสัปดาห์มากที่สุดเมื่อเทียบกับยูโรในปีนี้ หลังการเปิดเผยข้อมูลการจ้างงานของสหรัฐได้ตอกย้ำการคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะลดอัตราดอกเบี้ยลงในเดือน มิ.ย.นี้

กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐเพิ่มขึ้น 275,000 ตำแหน่งในเดือนก.พ. สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ที่ 198,000 ตำแหน่ง ขณะที่อัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นแตะ 3.9% สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ที่ 3.7% โดยที่อัตราการว่างงานที่เพิ่มขึ้นในสหรัฐได้ตอกย้ำการคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงเร็วขึ้น

Fund flow ปิดเมื่อวันศุกร์ นักลงทุนต่างชาติขายพันธบัตรสุทธิ 1,071 ล้านบาท และซื้อหุ้นไทยสุทธิ 1,610 ล้านบาท

กรอบค่าเงินวันนี้และกลยุทธ์แนะนำ
USD/THB 35.30- 35.60
แนะนำ ทยอยซื้อที่ 35.30/ ขาย 35.60

EUR/THB 38.60-39.00
แนะนำ ซื้อ   38.60/ ขาย 39.00

JPY/THB 0.2390-0.2430
แนะนำ ซื้อ   0.2390/ ขาย 0.2430

GBP/THB 45.40-45.80
AUD/THB 23.20-23.60

ค่าเงินบาท 8 มีนาคม 2567 

ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด 35.55 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจากราคาปิดตลาดเมื่อวานที่ระดับ 35.59 บาท/ดอลลาร์

ค่าเงินบาท

ค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักจากที่นายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เผยต่อคณะกรรมการของวุฒิสภาสหรัฐว่า เฟดใกล้ที่จะเชื่อมั่นว่า เงินเฟ้อกำลังลดลงสู่ระดับเป้าหมายที่ 2% ซึ่งจะทำให้การปรับลดอัตราดอกเบี้ยมีความเป็นไปได้

ความเห็นของนายพาวเวลได้ตอกย้ำความหวังของนักลงทุนว่า เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงครั้งแรกในเดือน มิ.ย.ปีนี้

นอกจากนี้ การเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจช่วยหนุนแนวโน้มการปรับลดอัตราดอกเบี้ยด้วย โดยกระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกอยู่ที่ระดับ 217,000 รายในสัปดาห์ที่แล้ว ไม่เปลี่ยนแปลงจากสัปดาห์ก่อนหน้านี้ และสอดคล้องกับตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์

คืนนี้ จับตาการเปิดเผยข้อมูลจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือน ก.พ.ของสหรัฐเพื่อบ่งชี้รายละเอียดเกี่ยวกับภาวะตลาดแรงงานและเป็นปัจจัยสำคัญในการพิจารณานโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ

เมื่อวานนี้นักลงทุนต่างชาติขายพันธบัตรไทยสุทธิ 149 ล้านบาท และขายหุ้นไทยสุทธิ 2,553.61 ล้านบาท

กรอบค่าเงินวันนี้และกลยุทธ์แนะนำ
USD/THB 35.40 - 35.70
แนะนำ ทยอยซื้อที่ 35.40/ ขาย 35.70

EUR/THB 38.70 - 39.10
แนะนำ ซื้อ   38.70/ ขาย 39.10

JPY/THB 0.2380 - 0.2430
แนะนำ ซื้อ   0.2380 / ขาย 0.2430

GBP/THB 45.20 - 45.70
AUD/THB 23.30 - 23.80

ที่มา : ฝ่ายธุรกิจตลาดเงินและธุรกรรมระหว่างประเทศ ทีเอ็มบีธนชาต (ttb) 

ค่าเงินบาท 7 มีนาคม 2567 

ค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ ที่ระดับ 35.62 บาทต่อดอลลาร์ “แข็งค่าขึ้นเล็กน้อย”

915304

นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ ที่ระดับ 35.62 บาทต่อดอลลาร์ “แข็งค่าขึ้นเล็กน้อย” จากระดับปิดวันก่อนหน้า ที่ระดับ 35.69 บาทต่อดอลลาร์

โดยในช่วงคืนก่อนหน้า ค่าเงินบาททยอยแข็งค่าขึ้น (แกว่งตัวในช่วง 35.58-35.74 บาทต่อดอลลาร์) โดยมีจังหวะแข็งค่าขึ้นบ้าง ตามการย่อตัวลงของทั้งเงินดอลลาร์และบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ จากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ออกมาผสมผสาน (ยอดการจ้างงานเอกชน โดย ADP เพิ่มขึ้น +1.4 แสนตำแหน่ง แย่กว่าคาด ส่วนยอดตำแหน่งงานเปิดรับ Job Openings ชะลอลงสู่ระดับ 8.86 ล้านตำแหน่ง ดีกว่าคาดเล็กน้อย) นอกจากนี้ ถ้อยแถลงของประธานเฟดก็ย้ำว่า เฟดมีแนวโน้มทยอยลดดอกเบี้ยลงได้ในปีนี้ ทว่าเฟดจะยังไม่รีบลดดอกเบี้ยจนกว่าจะมั่นใจว่าอัตราเงินเฟ้อจะกลับเข้าสู่เป้าหมาย 2% ได้อย่างยั่งยืน นอกจากนี้ การย่อตัวลงของเงินดอลลาร์และบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ยังได้หนุนให้ราคาทองคำปรับตัวขึ้นต่อ ทำให้ผู้เล่นในตลาดบางส่วนทยอยขายทำกำไรทองคำเพิ่มเติมและโฟลว์ธุรกรรมดังกล่าวก็ช่วยหนุนการแข็งค่าของเงินบาทบ้าง

บรรยากาศในตลาดหุ้นสหรัฐฯ พลิกกลับมาอยู่ในภาวะเปิดรับความเสี่ยง (Risk-On) ท่ามกลางความหวังว่า เฟดจะสามารถทยอยลดดอกเบี้ยลงได้ตามคาด และเศรษฐกิจสหรัฐฯ ก็อาจชะลอลงแบบ Soft Landing ตามถ้อยแถลงของประธานเฟดต่อสภาคองเกรสในช่วงคืนที่ผ่านมา โดยภาพดังกล่าวได้หนุนให้หุ้นธีม AI/Semiconductor รีบาวด์ขึ้น นำโดย Nvidia +3.2% ทั้งนี้ ผู้เล่นในตลาดยังไม่กล้าเปิดรับความเสี่ยงมากนัก จนกว่าจะรับรู้รายงานข้อมูลการจ้างงานในคืนวันศุกร์นี้ ส่งผลให้โดยรวมดัชนี S&P500 ปิดตลาด +0.51%

ทางฝั่งตลาดหุ้นยุโรป ดัชนี STOXX600 รีบาวด์ขึ้น +0.39% ตามการรีบาวด์ขึ้นของบรรดาหุ้นเทคฯ และหุ้นสไตล์ Growth โดยเฉพาะหุ้นธีม AI เช่นเดียวกันกับฝั่งสหรัฐฯ อาทิ ASML +1.4% หลังถ้อยแถลงของประธานเฟดและรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ล่าสุด ยังทำให้ผู้เล่นในตลาดเชื่อว่า เฟดจะสามารถทยอยลดดอกเบี้ยลงได้ในปีนี้ อนึ่งผู้เล่นในตลาดก็ยังไม่รีบปรับสถานะการลงทุนมากนัก เพื่อรอลุ้นผลการประชุมธนาคารกลางยุโรป (ECB) ในคืนนี้

ในฝั่งตลาดบอนด์ บอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ทยอยย่อตัวลงสู่ระดับ 4.10% ตามรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ออกมาผสมผสานต่อเนื่อง และถ้อยแถลงของประธานเฟดที่ส่งสัญญาณว่าเฟดจะสามารถทยอยลดดอกเบี้ยลงได้ในปีนี้ แม้ว่าจังหวะการลดดอกเบี้ยอาจยังไม่มีความแน่นอน ขึ้นกับพัฒนาการของอัตราเงินเฟ้อ ทั้งนี้ แม้เราจะยังคงมองว่า การปรับตัวขึ้นต่อของบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ เช่น ปรับตัวขึ้นทะลุระดับ 4.50% อาจเกิดขึ้นได้ยาก แต่ในระยะสั้น ควรระวังความผันผวนของบอนด์ยีลด์ ที่อาจพลิกกลับมาปรับตัวสูงขึ้นได้ หากยอดการจ้างงานสหรัฐฯ ออกมาดีกว่าคาด “เซอร์ไพรส์” ผู้เล่นในตลาดและเรา อย่างไรก็ดี Risk-Reward ของการเข้าซื้อบอนด์ระยะยาวก็ยังคุ้มค่าอยู่ ทำให้เราคงมองว่า นักลงทุนสามารถทยอยเพิ่มสถานะการลงทุนได้ หรือนักลงทุนอาจรอจังหวะ Buy on Dip ก็ได้เช่นกัน (อาจเน้นทยอยเข้าซื้อในโซน บอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ เหนือระดับ 4.20%)

ทางด้านตลาดค่าเงิน เงินดอลลาร์ทยอยอ่อนค่าลงต่อเนื่อง เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก กดดันโดยรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ออกมาผสมผสาน (ขณะที่รายงานข้อมูลเศรษฐกิจฝั่งยุโรป กลับออกมาดีกว่าคาดในช่วงนี้ และช่วยหนุนสกุลเงินฝั่งยุโรป ทั้ง EUR และ GBP) และถ้อยแถลงของประธานเฟดที่ย้ำว่า เฟดสามารถลดดอกเบี้ยลงได้ในปีนี้ แม้จังหวะการลดยังมีความไม่แน่นอน ทำให้โดยรวมดัชนีเงินดอลลาร์ (DXY) ได้ย่อลงใกล้ระดับ 103.4 จุด (แกว่งตัวในกรอบ 103.2-103.7 จุด) ในส่วนของราคาทองคำ จังหวะย่อตัวลงของเงินดอลลาร์และบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ได้หนุนให้ราคาทองคำ (สัญญาทองคำตลาด COMEX ส่งมอบเดือน เม.ย.) สามารถปรับตัวขึ้นต่อ เหนือระดับ 2,150 ดอลลาร์ต่อออนซ์ (ถึงเป้าของราคาทองคำในปีนี้ของเราเป็นที่เรียบร้อย) ทั้งนี้ ผู้เล่นในตลาดบางส่วนก็ทยอยขายทำกำไรทองคำออกมาบ้าง และโฟลว์ธุรกรรมดังกล่าวก็มีส่วนช่วยหนุนให้เงินบาทแข็งค่าขึ้น

สำหรับวันนี้ ไฮไลท์สำคัญที่ผู้เล่นในตลาดจะรอลุ้นอย่างใกล้ชิด คือ ผลการประชุม ECB ซึ่งในการประชุมครั้งนี้ เราประเมินว่า ECB จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Deposit Facility Rate) ที่ระดับ 4.00% ทว่า เราจะจับตาอย่างใกล้ชิดว่า คาดการณ์เศรษฐกิจใหม่ของ ECB จะสะท้อนแนวโน้มเศรษฐกิจยูโรโซนอย่างไร รวมถึง ถ้อยแถลงของประธาน ECB จะมีการส่งสัญญาณต่อแนวโน้มการลดดอกเบี้ย ที่อาจเกิดขึ้นได้เร็วกว่าและลึกกว่าเฟดหรือไม่ เนื่องจากมุมมองดังกล่าวต่อแนวโน้มเศรษฐกิจและทิศทางนโยบายการเงิน จะส่งผลกระทบต่อเงินยูโร (EUR) ได้อย่างมีนัยสำคัญ

ในส่วนรายงานข้อมูลเศรษฐกิจอื่นๆ นั้น ผู้เล่นในตลาดจะรอลุ้น รายงานยอดการส่งออกและนำเข้าของจีนในเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งอาจต้องระมัดระวังในการวิเคราะห์พอสมควร จากผลกระทบจากปัจจัยด้านฤดูกาลช่วงเทศกาลตรุษจีน

ส่วนในฝั่งสหรัฐฯ ผู้เล่นในตลาดจะรอจับตารายงานยอดผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงาน (Jobless Claims) และถ้อยแถลงของประธานเฟดต่อสภาคองเกรส รวมถึงถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟดอีกหลายท่าน


สำหรับ แนวโน้มของค่าเงินบาท เรายังคงประเมินว่า เงินบาทยังมีแนวโน้มแกว่งตัวลักษณะ sideways down แต่ทว่า การแข็งค่าของเงินบาทก็อาจเป็นไปอย่างจำกัด เนื่องจากผู้เล่นในตลาดต่างก็รอลุ้นรายงานข้อมูลการจ้างงานสหรัฐฯ ในช่วงคืนวันศุกร์ และผลการประชุม ECB ในคืนวันนี้ ทำให้เราประเมินว่า ก่อนที่ตลาดจะรับรู้ผลการประชุม ECB เงินบาทก็อาจแกว่งตัวในกรอบ 35.55-35.75 บาทต่อดอลลาร์ นอกจากนี้ การแข็งค่าขึ้นของเงินเยนญี่ปุ่น (JPY) ในช่วงเช้านี้ จากรายงานอัตราการเติบโตของรายได้ (Average Cash Earnings) ที่ออกมาดีกว่าคาดและสูงขึ้นต่อเนื่อง ทำให้ผู้เล่นในตลาดยังคาดหวังการทยอยปรับใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้นของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ส่งผลให้ เงินเยนญี่ปุ่นแข็งค่าใกล้ระดับ 149 เยนต่อดอลลาร์ ทำให้ผู้เล่นในตลาดบางส่วนอาจเลือกที่จะทยอยเข้าซื้อเงินเยนญี่ปุ่นในช่วงนี้บ้าง และโฟลว์ธุรกรรมดังกล่าวก็อาจชะลอการแข็งค่าของเงินบาทได้ หากไม่มีปัจจัยหนุนการแข็งค่าที่ชัดเจน

นอกจากนี้ การปรับตัวขึ้นของราคาทองคำในช่วงที่ผ่านมา ก็ทำให้ราคาทองคำเริ่มเข้าสู่โซน Overbought ทำให้มีความเสี่ยงที่ ราคาทองคำอาจเผชิญการปรับฐานได้พอสมควร หากมีปัจจัยลบเข้ามากดดัน ซึ่งอาจส่งผลให้เงินบาทผันผวนอ่อนค่าลงบ้างได้เช่นกัน ทำให้เรามองว่า ควรระวังในช่วงตลาดทยอยรับรู้ผลการประชุม ECB ที่เราคาดว่า เงินบาทอาจแกว่งตัวในกรอบที่กว้างขึ้นในช่วง 35.50-35.85 บาทต่อดอลลาร์

เรายังขอเน้นย้ำว่า ในช่วงนี้ ความผันผวนของเงินบาทนั้นสูงกว่าค่าเฉลี่ยในอดีตที่ผ่านมา (มองจากกรอบเงินบาทรายสัปดาห์) อย่างเห็นได้ชัด ทำให้เราคงคำแนะนำว่า ผู้ประกอบการควรใช้เครื่องมือป้องกันความเสี่ยงที่หลากหลาย อาทิ Option เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน และนอกเหนือจากการใช้เครื่องมือดังกล่าว การเลือกทำธุรกรรมในสกุลเงินท้องถิ่น (Local Currency) ก็เป็นอีกแนวทางในการบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนที่น่าสนใจ ซึ่งผู้ประกอบการควรเปรียบเทียบต้นทุนในการทำธุรกรรมและแผนการป้องกันความเสี่ยงก่อนตัดสินใจทุกครั้ง

มองกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 35.50-35.85 บาท/ดอลลาร์

ด้านฝ่ายธุรกิจตลาดเงินและธุรกรรมระหว่างประเทศ ทีเอ็มบีธนชาต (ttb) เปิดเผยว่า ดอลลาร์อ่อนค่าเทียบสกุลเงินหลัก ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐปรับตัวลง หลังสื่อเผยแพร่ถ้อยแถลงของนายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ซึ่งส่งสัญญาณว่าเฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ ถึงแม้จะยังไม่มีกรอบเวลาชัดเจนสำหรับการดำเนินการดังกล่าวก็ตาม ทั้งนี้เฟดยังคงให้เป้าหมายเงินเฟ้อที่ระดับร้อยละ 2 เป็นธงหลักต่อการดำเนินนโยบายทางการเงินและจะยังคงดำเนินการอย่างระมัดระวัง

นักลงทุนคาดการณ์ว่าเฟดจะเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกของปีนี้ในเดือนมิ.ย. และจะปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.25% จำนวน 4 ครั้งในปีนี้

• ตลาดจับตาตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรประจำเดือน ก.พ.ในวันศุกร์นี้ ซึ่งดัชนีความแข็งแกร่งของตลาดแรงงานเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญต่อการตัดสินใจดำเนินนโยบายการเงินของเฟดเช่นกัน

* Fund flow เมื่อวานนักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิพันธบัตรไทย 829 ล้านบาท และซื้อหุ้นไทยสุทธิไทย 1,840 ล้านบาท.

กรอบค่าเงินวันนี้และกลยุทธ์แนะนำ
USD/THB 35.50- 35.75
*แนะนำ ทยอยซื้อที่ระดับ 35.50

EUR/THB 38.70- 39.00
* แนะนำ ทยอยขายที่ระดับ 38.90

JPY/THB 0.2370- 0.2410
* แนะนำ ทยอยซื้อ 0.2370

GBP/THB 45.25-45.70
AUD/THB 23.25- 23.65

-----

ฝ่ายธุรกิจตลาดเงินและธุรกรรมระหว่างประเทศ ทีเอ็มบีธนชาต (ttb) เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด 35.82 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าขึ้นจากราคาปิดตลาดเมื่อวานที่ระดับ 35.85 บาท/ดอลลาร์

โดยค่าเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบแคบๆ โดยมีแรงหนุนในทิศทางแข็งค่าตามการย่อตัวลงของเงินดอลลาร์ จากการปรับตัวลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ นอกจากนี้การปรับตัวขึ้นต่อเนื่องของบิตคอยน์ (Bitcoin) และราคาทองคำที่พุ่งอย่างต่อเนื่องในช่วงต้นสัปดาห์ ก็มีส่วนที่ช่วยหนุนให้เงินดอลลาร์ปรับฐานและอ่อนค่าในระยะนี้
 
ตลาดจับตาถ้อยแถลงนโยบายการเงินของนายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ต่อสภาคองเกรสใน วันพุธและพฤหัสบดีนี้ ซึ่งจะมีขึ้นก่อนการประชุมนโยบายการเงินของเฟดในวันที่ 19-20 มี.ค. เพื่อหาสัญญาณบ่งชี้ทิศทางอัตราดอกเบี้ยของเฟด - รวมถึงรอดูกระทรวงแรงงานสหรัฐที่จะเปิดเผยตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรประจำเดือน ก.พ.ในวันศุกร์นี้ ทำให้ค่าเงินบาทน่าจะยังคงเคลื่อนไหวในกรอบแคบๆ ตาม Flow การซื้อขายทองคำ
 
Fund flow เมื่อวานนักลงทุนต่างชาติขายพันธบัตรสุทธิ 808 ล้านบาท และขายหุ้นไทยสุทธิ 2,918 ล้านบาท
 
กรอบค่าเงินวันนี้และกลยุทธ์แนะนำ
USD/THB 35.75- 35.95
แนะนำ ทยอยซื้อที่ระดับ 35.75
 
EUR/THB 38.70- 39.00
แนะนำ ทยอยขายที่ระดับ 39.00
 
JPY/THB 0.2370- 0.2410
แนะนำ ทยอยซื้อ 0.2370
 
GBP/THB 45.30-45.70
AUD/THB 23.20- 23.60
 

Krungthai GLOBAL MARKETS มองค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ ที่ระดับ  35.81 บาทต่อดอลลาร์ “ทรงตัวไม่เปลี่ยนแปลง” 

นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทย  เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ ที่ระดับ  35.81 บาทต่อดอลลาร์ “ทรงตัวไม่เปลี่ยนแปลง”
จากระดับปิดวันก่อนหน้า

โดยในช่วงคืนก่อนหน้า ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ sideways (แกว่งตัวในช่วง 35.75-35.88 บาทต่อดอลลาร์) โดยมีจังหวะแข็งค่าขึ้นบ้าง ตามการย่อตัวลงของทั้งเงินดอลลาร์และบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ จากรายงานดัชนี ISM PMI ภาคการบริการสหรัฐฯ ที่ออกมาแย่กว่าคาด อย่างไรก็ดี เงินบาทยังไม่สามารถแข็งค่าขึ้นต่อเนื่องได้ เนื่องจากเงินดอลลาร์ก็สามารถรีบาวด์ขึ้นบ้าง ท่ามกลางภาวะปิดรับความเสี่ยงของตลาดหุ้นสหรัฐฯ ที่ผู้เล่นในตลาดทยอยลดความเสี่ยง ด้วยการขายหุ้นเทคฯ ใหญ่ (The Magnificent 7) ก่อนรับรู้ถ้อยแถลงของประธานเฟดและรายงานข้อมูลการจ้างงานสหรัฐฯ ในสัปดาห์นี้

บรรยากาศในตลาดหุ้นสหรัฐฯ กลับมาอยู่ในภาวะปิดรับความเสี่ยง (Risk-Off) มากขึ้น ท่ามกลางแรงขายบรรดาหุ้นเทคฯ ใหญ่  นำโดย Microsoft -3.0%, Apple -2.8% โดยผู้เล่นในตลาดอาจทยอยลดความเสี่ยงลงบ้าง ก่อนรับรู้ถ้อยแถลงของประธานเฟดต่อสภาคองเกรสและรับรู้รายงานข้อมูลการจ้างงานสหรัฐฯ ในช่วงปลายสัปดาห์ ส่งผลให้โดยรวมดัชนีหุ้นเทคฯ Nasdaq ดิ่งลง -1.65% ส่วนดัชนี S&P500 ปิดตลาด -1.02%

ทางฝั่งตลาดหุ้นยุโรป ดัชนี STOXX600 ปรับตัวลงต่อเนื่อง -0.23% ตามแรงขายหุ้นธีมการฟื้นตัวเศรษฐกิจจีน หลังผู้เล่นในตลาดต่างผิดหวังกับท่าทีของรัฐบาลจีนที่ไม่ได้ส่งสัญญาณออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจขนานใหญ่อย่างที่ตลาดคาดหวัง ส่งผลให้บรรดาหุ้นกลุ่มแบรนด์เนม หุ้นกลุ่มเหมืองแร่ต่างปรับตัวลดลง อาทิ Hermes -1.5%, Rio Tinto -1.3% นอกจากนี้ ตลาดหุ้นยุโรปยังถูกกดดันจากแรงขายหุ้นกลุ่มเทคฯ เช่นเดียวกันกับฝั่งสหรัฐฯ อาทิ ASML -1.5%  

ในฝั่งตลาดบอนด์ บอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ทยอยย่อตัวลงสู่ระดับ 4.15% หลังรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ อย่าง ดัชนี ISM PMI ภาคการบริการ ออกมาแย่กว่าคาด ขณะเดียวกันบรรยากาศในตลาดการเงินสหรัฐฯ ก็กลับมาอยู่ในภาวะปิดรับความเสี่ยง (Risk-Off) ซึ่งภาพดังกล่าวก็สอดคล้องกับมุมมองของเรา ที่ประเมินว่า หากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ สะท้อนภาพการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจเพิ่มเติม ก็อาจทำให้ผู้เล่นในตลาดยังคงเชื่อมั่นว่า เฟดจะสามารถทยอยลดดอกเบี้ยได้ 3 ครั้ง ตาม Dot Plot ล่าสุด ทำให้ การปรับตัวขึ้นต่อของบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ เช่น ปรับตัวขึ้นทะลุระดับ 4.50% อาจเกิดขึ้นได้ยาก และถ้าจะเกิดขึ้นได้นั้นอาจต้องอาศัยมุมมองว่า เฟดอาจลดดอกเบี้ยได้น้อยกว่า 3 ครั้ง หรือ ไม่ลดดอกเบี้ยลงเลย ดังนั้น Risk-Reward ของการเข้าซื้อบอนด์ระยะยาวก็ยังคุ้มค่าอยู่ ทำให้เราคงมองว่า นักลงทุนสามารถทยอยเพิ่มสถานะการลงทุนได้ หรือนักลงทุนอาจรอจังหวะ Buy on Dip ก็ได้เช่นกัน (อาจเน้นทยอยเข้าซื้อในโซน บอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ เหนือระดับ 4.20%)

ทางด้านตลาดค่าเงิน เงินดอลลาร์เคลื่อนไหวในกรอบ sideways โดยเงินดอลลาร์เผชิญกดดันอยู่บ้าง จากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่แย่กว่าคาดและการย่อตัวลงของบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ทว่า ภาวะปิดรับความเสี่ยงของตลาดการเงินสหรัฐฯ ยังพอช่วยหนุนให้เงินดอลลาร์รีบาวด์ขึ้นได้ อีกทั้งผู้เล่นในตลาดต่างก็รอลุ้นถ้อยแถลงของประธานเฟดและรายงานข้อมูลการจ้างงานสหรัฐฯ ทำให้โดยรวมดัชนีเงินดอลลาร์ (DXY) ยังคงแกว่งตัวใกล้ระดับ 103.8 จุด (แกว่งตัวในกรอบ 103.6-104 จุด) ในส่วนของราคาทองคำ จังหวะย่อตัวลงของเงินดอลลาร์และบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ  กอปรกับภาวะปิดรับความเสี่ยงของตลาดการเงิน ยังพอช่วยให้ราคาทองคำ (สัญญาทองคำตลาด COMEX ส่งมอบเดือน เม.ย.) สามารถทรงตัวเหนือระดับ 2,130 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ได้ แม้ว่าจะเผชิญแรงขายทำกำไรของผู้เล่นในตลาดออกมาบ้างก็ตาม

สำหรับวันนี้ ไฮไลท์สำคัญที่ผู้เล่นในตลาดจะรอลุ้นอย่างใกล้ชิด คือ ถ้อยแถลงของประธานเฟดต่อสภาคองเกรส พร้อมกันนั้น ผู้เล่นในตลาดจะรอประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ ผ่านรายงานยอดตำแหน่งงานเปิดรับ (Job Openings) รวมถึงยอดการจ้างงานภาคเอกชน โดย ADP ซึ่งอาจสะท้อนถึงแนวโน้มยอดการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรม (Nonfarm Payrolls) ในวันศุกร์นี้ได้ และนอกเหนือจากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจดังกล่าว ผู้เล่นในตลาดจะรอจับตารายงานสรุปภาวะเศรษฐกิจจากบรรดาเฟดสาขาต่างๆ (Fed Beige Book) พร้อมกับถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟด ซึ่งจะช่วยในการประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ และทิศทางนโยบายการเงินของเฟด

สำหรับ แนวโน้มของค่าเงินบาท เรายังคงประเมินว่า เงินบาทยังมีแนวโน้มแกว่งตัวลักษณะ sideways down แต่ทว่า การแข็งค่าของเงินบาทก็อาจเป็นไปอย่างจำกัดในโซนแนวรับ 35.70-35.80 บาทต่อดอลลาร์ จนกว่าตลาดจะรับรู้รายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ อย่าง ข้อมูลตลาดแรงงาน รวมถึงถ้อยแถลงของประธานเฟดในคืนนี้ 

นอกจากนี้ เรามองว่า ควรระวังความผันผวนในช่วงตลาดทยอยรับรู้ถ้อยแถลงของประธานเฟด เพราะถึงแม้ว่าเราจะประเมินว่า ประธานเฟดจะยังคงเน้นย้ำจุดยืนไม่รีบลดดอกเบี้ย จนกว่าเฟดจะมั่นใจว่าอัตราเงินเฟ้อจะกลับเข้าสู่เป้าหมาย 2% (ซึ่งก็ไม่ต่างจากที่ผู้เล่นในตลาดคาดหวัง) แต่หากถ้อยแถลงของประธานเฟด รวมถึงรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ทำให้ตลาดเริ่มเชื่อว่า เฟดอาจลดดอกเบี้ยช้ากว่าคาด (เลื่อนการเริ่มลดดอกเบี้ยไปจากการประชุมเดือนมิถุนายน) หรือเฟดอาจลดดอกเบี้ยได้น้อยกว่าคาด ก็อาจทำให้เงินดอลลาร์และบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งภาพดังกล่าวก็อาจยิ่งกดดันให้ตลาดขายหุ้นเทคฯ ใหญ่สหรัฐฯ ทำให้บรรยากาศในตลาดการเงินอยู่ในภาวะปิดรับความเสี่ยงและหนุนให้เงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นได้ไม่ยาก โดยในกรณีดังกล่าวนั้น เงินบาทก็มีโอกาสผันผวนอ่อนค่าทดสอบโซนแนวต้าน 36.00 บาทต่อดอลลาร์ ได้ แต่ในทางกลับกัน หากถ้อยแถลงของประธานเฟดไม่ได้สร้างความเซอร์ไพรส์ให้กับตลาด อีกทั้งรายงานข้อมูลการจ้างงานก็ชะลอลงมากขึ้น ก็อาจทำให้เงินดอลลาร์และบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ย่อตัวลงต่อบ้าง ทำให้เงินบาทมีโอกาสแข็งค่าขึ้น ลุ้นว่าจะทะลุโซนแนวต้าน 35.70 บาทต่อดอลลาร์ ได้หรือไม่ (แนวรับสำคัญถัดไปแถวโซน 35.50 บาทต่อดอลลาร์)

นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทย กล่าวว่า ในช่วงนี้ ความผันผวนของเงินบาทนั้นสูงกว่าค่าเฉลี่ยในอดีตที่ผ่านมา (มองจากกรอบเงินบาทรายสัปดาห์) อย่างเห็นได้ชัด ทำให้เราคงคำแนะนำว่า ผู้ประกอบการควรใช้เครื่องมือป้องกันความเสี่ยงที่หลากหลาย อาทิ Option เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน และนอกเหนือจากการใช้เครื่องมือดังกล่าว การเลือกทำธุรกรรมในสกุลเงินท้องถิ่น (Local Currency) ก็เป็นอีกแนวทางในการบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนที่น่าสนใจ ซึ่งผู้ประกอบการควรเปรียบเทียบต้นทุนในการทำธุรกรรมและแผนการป้องกันความเสี่ยงก่อนตัดสินใจทุกครั้ง

มองกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 35.70-36.00 บาท/ดอลลาร์

advertisement

Relate Post

SPOTLIGHT