อินไซต์เศรษฐกิจ

ย้อนอดีต วิกฤติราคาน้ำมันแพง ในประเทศไทย

10 มี.ค. 65
ย้อนอดีต วิกฤติราคาน้ำมันแพง ในประเทศไทย
ไฮไลท์ Highlight
หากย้อนดูอดีตในประวัติศาตร์ วิกฤตราคาน้ำมันในประเทศไทย เคยเกิดขึ้นมาแล้วหลายครั้ง บทเรียนที่สำคัญที่ทำให้เราต้องได้รับความเดือดร้อนจากภาวะราคาน้ำมันในตลาดโลกที่แพง คือ การพึ่งพาพลังงานจากต่างประเทศ ไทยนำเข้าน้ำมันจากต่างประเทศเป็นจำนวนมาก ย้อนไปในอดีตปัญหานี้สร้างผลกระทบให้เรามาแล้วทุกครั้ง  และดูเหมือนจะเป็นปัจจัยที่เราไม่สามารถควบคุมได้เลย  ข้อมูลจาก สำนักงานนโยบายและแผนพลังงงานพบว่า ปี 2564 ไทยนำเข้าน้ำมันจากต่างประเทศ ถึง 90% ผลิตเองในประเทศเพียง 10 % เท่านั้น จึงไม่น่าแปลกเลย เมื่อเหตุการณ์ข้างนอกทำให้น้ำมันโลกพุ่ง ไทยจึงได้รับผลกระทบไปแบบเต็มๆ   

ย้อนอดีต วิกฤติน้ำมันแพง ในประเทศไทย 

 

ในวันที่ราคาน้ำมันในตลาดโลกแตะ 130 ดอลลาร์สหรัฐ  และวันที่ราคาน้ำมันในประเทศมีแตะ 50 บาท/ลิตร นี่คือผลกระทบที่ประเทศไทยกำลังเผชิญอยุ่ในขณะนี้ ผลพวงจากสงครามระหว่างรัสเซีย กับยูเครน ที่ยังไม่จบลง จะนับรวมว่านี่คืออีกหนึ่งช่วงเวลาวิกฤตราคาน้ำมันในประเทศไทยก็คงจะไม่ผิดอะไร

 

แม้รัฐบาลจะพยายามดูแลด้วยการออกมาตรการ ปรับโครงสร้างราคา ใช้เงินอุดหนุนใดๆ ก็ตาม หากสถานการณ์การสู้รบยังไม่จบ หากยืดเยื้อ หรือขยายวง ราคาน้ำมันในตลาดโลกมีโอกาสจะสูงขึ้นไปกว่านี้อีก โดยเคยทำสถิติสูงสุดไว้ปี 2551 หรือเมื่อ 14 ปีที่ผ่านมา คือ 147 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ในช่วงนั้นที่มีวิกฤตการณ์การเงิน Hamburger Crisis นั่นเอง      

 

หากย้อนดูอดีตในประวัติศาตร์ วิกฤตราคาน้ำมันในประเทศไทย เคยเกิดขึ้นมาแล้วหลายครั้ง บทเรียนที่สำคัญที่ทำให้เราต้องได้รับความเดือดร้อนจากภาวะราคาน้ำมันในตลาดโลกที่แพง คือ การพึ่งพาพลังงานจากต่างประเทศ ไทยนำเข้าน้ำมันจากต่างประเทศเป็นจำนวนมาก ย้อนไปในอดีตปัญหานี้สร้างผลกระทบให้เรามาแล้วทุกครั้ง  และดูเหมือนจะเป็นปัจจัยที่เราไม่สามารถควบคุมได้เลย  ข้อมูลจาก สำนักงานนโยบายและแผนพลังงงานพบว่า ปี 2564 ไทยนำเข้าน้ำมันจากต่างประเทศ ถึง 90% ผลิตเองในประเทศเพียง 10 % เท่านั้น จึงไม่น่าแปลกเลย เมื่อเหตุการณ์ข้างนอกทำให้น้ำมันโลกพุ่ง ไทยจึงได้รับผลกระทบไปแบบเต็มๆ   

 

สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน ระบุว่า วิกฤตน้ำมันที่เคยเกิดขึ้นในประเทศไทยแบ่งออกเป็น 3 ครั้ง ได้แก่ ช่วงปี 2516- 2524  ,  ปี 2533 และ ปี 2548-2553 โดยวิกฤตน้ำมันครั้งแรกที่เริ่มออกอาการในปี 2516 ถือว่ากินเวลายาวนานที่สุด รวม 8 ปี ทีมงาน Spotlight สรุปเหตุการณ์วิกฤติน้ำมันแพงในประเทศไทย ดังนี้

 

วิกฤติน้ำมันแพงในประเทศไทย ครั้งที่ 1 ช่วงปี 2516 -2524

ในช่วงปี 2516-2524  มีทั้งเกิดสงครามระหว่างกลุ่มประเทศอาหรับและอิสราเอล ส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบสูงขึ้นราว4 เท่าตัว มีประเด็นความขัดแย้งเรื่องปริมาณการผลิตน้ำมันของประเทศในกลุ่มโอเปก ซึ่งเป็นผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่ของโลกที่ไม่ลงตัว ส่งผลให้ท้ายสุดโอเปกปรับราคาน้ำมันขึ้นถึง 14 %  และแน่นอนว่า เดือดร้อนมาถึงประเทศที่นำเข้าน้ำมันอย่าง ไทย

555338   656426

ภาพซ้าย  จอมพล ถนอม กิตติขจร  / ภาพขวา พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์

ข้อมูลในอดีตพบว่า รัฐบาลสมัยก่อนไม่ได้ปล่อยให้ราคาน้ำมันขึ้นลงได้บ่อยเหมือนในยุคปัจจุบัน มีการควบคุมดูแลราคาอย่างมาก  ในปีพ.ศ.2516 ในยุครัฐบาล "จอมพล ถนอม กิตติขจร" หลังจากราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้นจากปัญหาความขัดแย้งต่างๆ บวกกับเป็นช่วงที่เศรษฐกิจโลกเริ่มขยายตัว ความต้องการใช้น้ำมันมีมากขึ้น  น้ำมันตลาดโลกที่ขึ้นสูงทำให้สุดท้ายรัฐบาลต้องยอมให้ราคาน้ำมันขยับขึ้น โดยหากดู ราคาน้ำมันจาก พ.ศ.2516 ถึง 2517 ราคาน้ำมันเบนซิน ขยับจาก 2.30 บาท/ลิตร ขึ้นมาเป็น 3.62 บาท/ลิตร เท่ากับปรับขึ้นมาราว 57% ส่วนน้ำมันดีเซลปรับขึ้นจาก 1.05 บาท เป็น 2.33 บาท/ลิตร หรื่อเท่ากับขึ้นมา  122%  หลายคนเห็นหลักหน่วยบาท แต่อย่าลืมว่า ยังไม่ได้เทียบเคียงกับเงินเฟ้อในช่วงนั้น  แต่เห็น เปอร์เซ็นต์การปรับขึ้นน่าจะบอกได้ว่า ราคาขึ้นมาแพงมากจริงๆ

 

ช่วงพ.ศ.2522 ในยุคของ "พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์" เกิดวิกฤติราคาน้ำมันในตลาดโลกพุ่งสูงเป็นครั้งที่ 2ที่ต้องบอกว่า ห่างจากครั้งหนึ่งไม่กี่ปีเท่านั้น  มาจากการขึ้นราคาน้ำมันของกลุ่มโอเปก ผลกระทบในยุคนั้นลุกลามไปสู่ ราคาค่าไฟ สินค้าปรับสูงขึ้น มีการปรับค่าแรงขึ้น แต่บางช่วงเกิดปัญหาไฟฟ้าขาดแคลน  มีเพลงฮิตในไทยยุคนั้น คือเพลง  “น้ำมันแพง” มีเนื้อร้องติดหูว่า "น้ำมัน ขาดแคลน คุยกับแฟน ก็ต้องดับไฟ"  ซึ่งดูเหมือนการแก้ปัญหาน้ำมันแพงในยุคนั้น สั่นคลอนรัฐบาลพลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์  ต้องลาออกในช่วงปี 2523

 

วิกฤติน้ำมันแพงในประเทศไทย  2533  สงครามอ่าวเปอร์เซีย

ผลกระทบที่ประเทศไทยได้รับจากวิกฤติการณ์น้ํามันในอดีตที่ผ่านมา สะท้อนปัญหาเรื่องการนำเข้าน้ำมันจากต่างประเทศมาโดยตลอด และแน่อนนว่า เมื่อมาถึงยุคสงคราม สงครามอ่าวเปอร์เซีย  ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2533 ราคาน้ํามันในตลาดโลกสูงขึ้นจนเป็นวิกฤติการณ์น้ํามันอีกครั้ง ช่วงเวลาดังกล่าวราคาน้ํามันนําข้าของไทยปรับตัวสูงขึ้น คือ จากระดับราคา 18.9 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรลในเดือนมกราคม พ.ศ. 2533 เพิ่มเป็น 31 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรลในช่วงปลายเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2533 และราคาน้ำมันในประเทศก็ขยับขึ้น โดยเบนซินจาก 8.45 บาท เป็น 11.05 บาท เท่ากับขึ้นมา 31%  ส่วนดีเซลขยับขึ้นจาก 6.10 บาท เป็น 8.40 บาท/ลิตร  เท่ากับขึ้นมา 38%

 

 gulf_war_photobox

ภาพ จากวิกิพิเดีย สงครามอ่าวเปอร์เซีย

 

วิกฤติน้ำมันแพงในประเทศไทย  2551 วิกฤติ Subprime

พ.ศ.2551 ปัญหาเศรษฐกิจและวิกฤติการณ์การเงินในสหรัฐครั้งนั้นความจริงน่าจะทำให้น้ำมันถูกลง แต่ปัญหาของความต้องการน้ำมันที่เพิ่มสูงมากขึ้นก่อนหน้าวิกฤติ และการผลิตที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการ มาผสมโรงกับกองทุนเก็งกำไร เฮดจ์ฟันด์ และปัญหาด้านความขัดแย้งของอิหร่าน ที่เป็นผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ของโอเปก  ทำให้ราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้นมาก ยุคนั้นคือ สูงเป็นประวัติการณ์ ที่ 147 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล แต่ในยุคปัจจุบันนก็ก็ต้องลุ้นว่า จะแซงขึ้นไปหรือไม่   

 

ในประเทศไทย ราคาน้ำมันเริ่มเพิ่มสูงขึ้นมาเรื่อยๆ ตั้งแต่ พ.ศ.2546 จนมาแตะราคาสูงสุดในยุค "พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์" น้ำมันดีเซลมีราคาสูงถึง 44.24 บาทต่อลิตร และราคาน้ำมันเบนซิน ราคา 42.89 บาทต่อลิตร ก่อนที่ในช่วงปลายปีราคาน้ำมันจะปรับลดลงมาอย่างรุนแรง

 istock-1211810392

 

วิกฤติน้ำมันแพงในประเทศไทย  2557  น้ำมันดิบโลกแตะ 100 ดอลลาร์สหรัฐ

เป็นช่วงปลายยุครัฐบาล "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร” ประเทศไทยเจอกับวิกฤติราคาน้ำมันอีกครั้ง โดยเฉพาะน้ำมันเบนซินราคาสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 49.15 บาทต่อลิตร ส่วนราคาน้ำมันดีเซล 29.99 บาทต่อลิตร  ซึ่งในยุคนั้นราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกแตะ 110 ดอลลาร์สหรัฐ/บารร์ล  และยังมีปัจจัยภายใน การยกเลิกเบนซิน 91  การเก็บภาษีและกองทุนที่สูง และเงินบาทอ่อนค่า

 

วิกฤติน้ำมันแพงในประเทศไทย  2565  สงครามรัสเซีย ยูเครน

ราคาน้ำมันในปัจจุบัน วันที่ 10 มีนาคม 2565 ราคาน้ำมันในตลาดโลกยังยืนเหนือ 100 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล  ส่วนราคาน้ำมันในไทย ดีเซล 29.94 บาท/ลิตร  กลุ่มเบนซิน ก๊สโซฮอลล์  ทะลุ 40 บาทต่อลิตรไปแล้ว  แต่นี่ยังไม่ใช่จุดจบ ยังไม่รู้ว่าสถานการณ์สงครามระหว่างรัสเซีย ยูเครน ยาวนาน หรือ ขยายวงหรือไม่ เพราะเป็นปีที่คนทั้งโลก บอบช้ำจากวิกฤติวิด19 มาแล้วถึง 3 ปี  ถ้าโควิดจบแล้ว ต่อด้วย เงินเฟ้อสูงจากน้ำมันที่แพง ก็เป็นอีกปีที่ยากลำบากต่อไป

 257651

 

ข้อมูลบางส่วนได้มาจาก ปริญญานิพนธ์ หัวข้อ ผลกระทบของวิกฤติการณ์น้ำมันต่อสังคมไทย (พ.ศ. 2516-2543)
โดย คุณ ทัศนีพร วิศาลสุวรรณกร 

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง 

เทียบราคาน้ำมันของไทย กับอาเซียน

มาตามนัด! สหรัฐแบนน้ำมันรัสเซีย ดันราคาพุ่งสูงสุดในรอบ 14

มาแล้ว! น้ำมัน 130 เหรียญ แพงสุดในรอบ 13 ปี

นายกสั่งตรึงดีเซล 30 บาท/ลิตรจนกว่าจะตรึงไม่ได้

 

 

advertisement

Relate Post

SPOTLIGHT