จากสถานการณ์ปะทะบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชาที่ปะทุขึ้นอย่างฉับพลัน ไม่เพียงส่งแรงสั่นสะเทือนต่อความมั่นคงในพื้นที่เท่านั้น แต่ยังสร้างผลกระทบเป็นวงกว้างต่อชีวิตความเป็นอยู่และเศรษฐกิจชุมชนในแนวชายแดน
ท่ามกลางความไม่แน่นอนที่ปกคลุมพื้นที่ รัฐบาลได้เร่งระดมความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน ล่าสุด ธนาคารของรัฐและพาณิชย์ต่างผนึกกำลัง ออกมาตรการบรรเทาทุกข์ทั้งพักหนี้ ดอกเบี้ยต่ำ และสินเชื่อพิเศษ เพื่อพยุงประชาชนและผู้ประกอบการให้สามารถประคองตัวผ่านพ้นวิกฤตการณ์ครั้งนี้ไปได้
รัฐบาลเร่งบรรเทาความเดือดร้อนจากเหตุปะทะชายแดนไทย-กัมพูชา โดยมอบหมายให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจทุกแห่งออกมาตรการการเงินอย่างเร่งด่วน ครอบคลุมการพักชำระหนี้ การลดอัตราดอกเบี้ย และการปล่อยสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ เพื่อช่วยเหลือประชาชน เกษตรกร และผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมจากสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ชายแดน
นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า เหตุการณ์ปะทะระหว่างกำลังความมั่นคงบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา ได้สร้างความเสียหายต่อทรัพย์สิน และส่งผลกระทบอย่างกว้างขวางต่อชีวิตความเป็นอยู่ การประกอบอาชีพ และการดำเนินธุรกิจของประชาชนในพื้นที่ รัฐบาลจึงได้มอบหมายให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐออกมาตรการช่วยเหลือด้านการเงินทันที เพื่อให้ความช่วยเหลืออย่างทั่วถึงและครอบคลุม
ธนาคารออมสิน ออกมาตรการเร่งด่วนช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบชายแดนไทย–กัมพูชา โดยมีทั้งมาตรการพักชำระหนี้และสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำที่ครอบคลุมทั้งรายย่อยและผู้ประกอบการ SMEs ดังนี้
นอกจากนี้ ยังมีมาตรการสินเชื่อเพื่อรายย่อย 2 โครงการ ได้แก่
สำหรับผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ออมสินเสนอวงเงินสินเชื่อไม่เกิน 5 ล้านบาทต่อราย ระยะเวลาผ่อนชำระสูงสุด 7 ปี โดยให้ “ปลอดชำระเงินงวด” ได้นานสูงสุด 1 ปี คิดอัตราดอกเบี้ยปีแรก MLR – 2.65% และในปีถัดไปเท่ากับ MLR พร้อมยกเว้นค่าธรรมเนียม Front End Fee และ Prepayment Fee
ทั้งนี้ ผู้สนใจสามารถยื่นความประสงค์เข้าร่วมมาตรการผ่านทางเว็บไซต์ธนาคารออมสิน หรือสอบถามรายละเอียดได้ที่สาขาใกล้บ้าน หรือ โทร. 02 299 800 หรือสายด่วน 11115
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เดินหน้าออกมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบชายแดนไทย-กัมพูชา โดยเน้นการเติมสภาพคล่องในระยะสั้นควบคู่ไปกับการฟื้นฟูชีวิตและทรัพย์สินที่เสียหายจากสถานการณ์ดังกล่าว
1. โครงการสินเชื่อเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายฉุกเฉิน ปี 2568 ซึ่งออกแบบมาเพื่อรองรับภาระค่าใช้จ่ายทั่วไปในชีวิตประจำวัน ทั้งด้านอุปโภคและบริโภค โดยให้วงเงินกู้ไม่เกิน 50,000 บาทต่อราย อัตราดอกเบี้ยคิดตาม MRR (ปัจจุบันอยู่ที่ 6.725% ต่อปี) พร้อมผ่อนปรนให้ปลอดชำระดอกเบี้ยในช่วง 6 เดือนแรก และกำหนดระยะเวลากู้ไม่เกิน 3 ปี
2. โครงการสินเชื่อฟื้นฟูและพัฒนาคุณภาพชีวิต ที่มุ่งช่วยเหลือเกษตรกรซ่อมแซมบ้านเรือน ทรัพย์สิน และอุปกรณ์การเกษตรที่ได้รับความเสียหาย โดยให้วงเงินกู้สูงสุด 500,000 บาทต่อราย คิดอัตราดอกเบี้ยพิเศษ MRR–2 ต่อปี และสามารถผ่อนชำระได้นานถึง 15 ปี
ธ.ก.ส. พร้อมยืนเคียงข้างเกษตรกรในช่วงเวลาแห่งความยากลำบาก ด้วยการสนับสนุนทางการเงินที่ยืดหยุ่น และเหมาะสมกับสถานการณ์เฉพาะหน้าและระยะยาวของลูกค้าในพื้นที่ชายแดน
ผู้สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร โทร. 02 555 0555
ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เปิดตัวมาตรการช่วยเหลือพิเศษวงเงินรวม 200 ล้านบาท เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบชายแดนไทย-กัมพูชา โดยเน้นการลดภาระดอกเบี้ยอย่างเป็นรูปธรรม พร้อมให้ความคุ้มครองในกรณีบาดเจ็บ สูญเสีย หรือความเสียหายต่อที่อยู่อาศัย
1. กรณีผู้กู้บาดเจ็บสาหัส หรือที่อยู่อาศัยได้รับความเสียหาย จะได้รับอัตราดอกเบี้ย 0.01% ต่อปี เป็นระยะเวลา 5 ปีแรก อัตราดอกเบี้ยปีที่ 6 เป็นต้นไป เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ ธอส. กำหนด
2. กรณีผู้กู้ทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง หรือเสียชีวิต หรือที่อยู่อาศัยได้รับความเสียหายทั้งหลังจนไม่สามารถอยู่อาศัยได้ จะได้รับอัตราดอกเบี้ย 0.01% ต่อปี ตลอดอายุสัญญา
3. กรณีกู้เพื่อปลูกสร้างอาคารใหม่ทดแทนอาคารเดิม จะได้รับอัตราดอกเบี้ย 0% ต่อปี เป็นระยะเวลา 6 เดือนแรก และเดือนที่ 7-12 จะได้รับอัตราดอกเบี้ย 0.50% ต่อปี อัตราดอกเบี้ยปีที่ 2 เป็นต้นไป
ทั้งนี้ หลักเกณฑ์และเงื่อนไขอื่น ๆ เป็นไปตามที่ ธอส. กำหนด โดยสามารถเข้าร่วมมาตรการได้ตั้งแต่วันที่ 24 ก.ค. 68 เป็นต้นไป
ผู้สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ โทร. 02 645 9000
ธพว. เดินหน้าเยียวยาผู้ประกอบการ SME ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ปะทะบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา ผ่านมาตรการ “พัก ลด ขยาย เติม” ซึ่งออกแบบมาเพื่อช่วยให้ธุรกิจสามารถประคับประคองกิจการและเดินหน้าต่อได้ท่ามกลางภาวะวิกฤต
มาตรการเริ่มต้นด้วยการพักชำระเงินต้นเพื่อบรรเทาภาระจ่ายรายเดือนในระยะสั้น ตามด้วยการลดค่างวดการชำระหนี้ เพื่อให้ภาระทางการเงินสอดคล้องกับรายได้ที่หดตัวจากสถานการณ์ความไม่สงบ ขณะเดียวกันยังมีการขยายระยะเวลาการชำระหนี้ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการสามารถวางแผนฟื้นฟูกิจการได้ยาวขึ้น
ในส่วนของการเติมสภาพคล่อง ธนาคารจัดโครงการปล่อยสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ ได้แก่ โครงการ “สินเชื่อปลุกพลัง SME” และ “สินเชื่อ Beyond ติดปีก SME” โดยกำหนดอัตราดอกเบี้ยคงที่ 3% ต่อปี เป็นระยะเวลา 3 ปี และสามารถกู้ได้สูงสุดถึง 10 ปี ช่วยเพิ่มความสามารถในการลงทุนซ่อมแซม ฟื้นฟู และปรับตัวในสภาวะเปลี่ยนแปลง
นอกจากนี้ ยังมีโครงการ “สินเชื่อ SME Refinance” ที่ช่วยลดต้นทุนทางการเงินของกิจการ โดยเสนออัตราดอกเบี้ยเริ่มต้นเพียง 2.99% ต่อปี เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถรวมภาระหนี้ และปรับโครงสร้างต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ผู้สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย โทร. 02 265 3000 หรือสายด่วน 1357
ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) หรือ EXIM BANK ออกมาตรการเฉพาะกิจเพื่อช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ชายแดนไทย–กัมพูชา โดยแบ่งเป็น 2 แนวทางหลัก คือมาตรการเร่งด่วนเพื่อบรรเทาภาระหนี้ และมาตรการเสริมสภาพคล่องเพื่อรักษาความต่อเนื่องของธุรกิจและสนับสนุนการขยายตลาดส่งออก
1. มาตรการบรรเทาผลกระทบเร่งด่วน ขยายระยะเวลาชำระหนี้สูงสุด 365 วัน และปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงสูงสุด 20% จากอัตราเดิม และเพิ่มวงเงินชั่วคราว 1 ปี สูงสุด 30% ด้วยอัตราดอกเบี้ยเริ่มต้น 2.99% ต่อปี
2. มาตรการเสริมสภาพคล่อง และลดต้นทุนทางการเงิน สนับสนุนการเปิดตลาดใหม่ ได้แก่
ผู้สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย โทร. 02 169 9999
ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ธอท.) หรือ IBank เปิดตัวมาตรการช่วยเหลือเร่งด่วนภายใต้แนวคิด “ไอแบงก์เราไม่ทิ้งกัน” เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชา ทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยมุ่งเน้นการพักหนี้และเสริมสภาพคล่องให้ประชาชนและผู้ประกอบการสามารถฟื้นตัวได้อย่างยั่งยืน ได้แก่
1. พักชำระเงินต้นและกำไร กำหนดอัตรากำไรตามสัญญาสินเชื่อเดิม ระยะเวลาสูงสุด 6 เดือน ขยายระยะเวลาออกไปสูงสุดไม่เกิน 12 เดือน หรือไม่เกินค่างวดชำระเดิม
2. ให้วงเงินเพิ่มเพื่อซ่อมแซม ฟื้นฟู ที่อยู่อาศัยและกิจการลูกค้า สำหรับสินเชื่อเพื่ออยู่อาศัยอัตรากำไรเริ่มต้น 1.99% ในปีแรก วงเงินสินเชื่อไม่เกิน 1 ล้านบาทต่อราย ระยะเวลากู้สูงสุด 20 ปี และสำหรับสินเชื่อฟื้นฟูธุรกิจ อัตรากำไรเริ่มต้น 3.25% ในปีแรก วงเงินสินเชื่อไม่เกิน 5 ล้านบาทต่อราย ระยะเวลากู้สูงสุด 5 ปี
บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เปิดแผนช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ชายแดนไทย–กัมพูชา ด้วยมาตรการเฉพาะทางที่ครอบคลุมทั้งลูกค้าเดิมและกลุ่มที่ต้องการเข้าถึงสินเชื่อใหม่ ภายใต้โครงการค้ำประกันสินเชื่อ PGS11 “บสย. SMEs ยั่งยืน” ได้แก่
1. มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ และลูกค้าเดิมของ บสย.
2. มาตรการเสริมสภาพคล่อง ภายใต้โครงการค้ำประกันสินเชื่อ PGS11 “บสย. SMEs ยั่งยืน”
3. โครงการค้ำประกันสินเชื่อ SMEs Micro Biz วงเงินค้ำประกัน 2,000 ล้านบาท วงเงินค้ำประกันต่อราย 10,000-500,000 บาท ตอบโจทย์กลุ่มรายย่อย (Micro SMEs) ที่ต้องการเงินทุนหมุนเวียน แต่ขาดคนค้ำประกัน และขาดหลักทรัพย์ค้ำประกัน
ผู้สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่ บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม โทร. 02 890 999 9999
จากสถานการณ์ปะทะบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชาที่ส่งผลกระทบต่อรายได้และทรัพย์สินของประชาชน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ขอความร่วมมือธนาคารพาณิชย์ สถาบันการเงินเฉพาะกิจ และผู้ให้สินเชื่อรายย่อย ออกมาตรการช่วยเหลือทางการเงินอย่างเร่งด่วน
มาตรการที่อนุญาต ได้แก่ การลดอัตราการผ่อนชำระขั้นต่ำของบัตรเครดิตให้ต่ำกว่าที่ ธปท. กำหนด สำหรับลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบ, การเพิ่มวงเงินสินเชื่อส่วนบุคคลหรือดิจิทัลในกรณีฉุกเฉินเพื่อฟื้นฟูความเสียหาย, และการให้สินเชื่อทุกประเภทเพื่อซ่อมแซมบ้านหรือประคองธุรกิจ พร้อมปรับลดดอกเบี้ย ยกเว้นค่าธรรมเนียม หรือปรับโครงสร้างหนี้
ทั้งหมดต้องพิจารณาและอนุมัติภายใน 12 เดือน นับจาก 25 กรกฎาคม 2568 โดย ธปท. จะผ่อนปรนเกณฑ์การจัดชั้นหนี้ ให้ยังคงสถานะเดิมเพื่อไม่ให้เป็นอุปสรรคต่อการเข้าถึงมาตรการฟื้นฟู
นายเอกชัย เตชะวิริยะกุล ประธานผู้บริหาร Risk ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ธนาคารกรุงไทย ตระหนักถึงผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบบริเวณพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชา ที่สร้างความเสียหายต่อชีวิต การประกอบอาชีพ และทรัพย์สินของลูกค้าและประชาชนในพื้นที่หลายจังหวัด จึงออกมาตรการทางการเงิน เพื่อเร่งช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบ ลดภาระทางการเงิน ครอบคลุมการปรับลดค่างวดผ่อนชำระ การปรับลดอัตราดอกเบี้ย และการให้วงเงินฉุกเฉิน เสริมสภาพคล่องในการดำรงชีพ รวมถึงการซ่อมแซมที่อยู่อาศัยและทรัพย์สินที่ได้รับความเสียหาย
มาตรการแบ่งเบาภาระลูกค้าสินเชื่อปัจจุบัน
มาตรการสำหรับสินเชื่อเพื่อฟื้นฟูกิจการและซ่อมบ้าน
ธนาคารให้ความสำคัญกับแนวทางการให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม (Responsible Lending) ของธนาคารแห่งประเทศไทย พร้อมให้ความรู้สร้างวินัยทางการเงิน กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางการเงินอย่างยั่งยืน โดยแจ้งความประสงค์เข้าร่วมมาตรการความช่วยเหลือได้ที่ ธนาคารกรุงไทยทุกสาขา ตั้งแต่ 24 กรกฎาคม - 31 ธันวาคม 2568 ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ https://krungthai.com/link/loan-frontier-relief หรือ Krungthai Contact Center โทร 02-111-1111
จากสถานการณ์ความขัดแย้งบริเวณชายแดนไทย–กัมพูชา และอุทกภัยฉับพลันจากอิทธิพลของพายุ “วิภา” ที่ส่งผลกระทบต่อทรัพย์สินและความเป็นอยู่ของประชาชนในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) ได้ประกาศมาตรการช่วยเหลือเร่งด่วน เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของลูกค้าทั้งรายย่อยและผู้ประกอบการ โดยครอบคลุมทั้งการพักชำระหนี้ การสนับสนุนสินเชื่อใหม่เพื่อซ่อมแซมที่อยู่อาศัย และการฟื้นฟูกิจการที่ได้รับผลกระทบ
กลุ่มลูกค้าบุคคลและผู้ประกอบการรายย่อย (SSME)
สำหรับลูกค้ารายย่อยและผู้ประกอบการขนาดเล็ก ธนาคารเสนอความช่วยเหลือทั้งกลุ่มลูกค้าปัจจุบันและลูกค้าใหม่ ผ่านสินเชื่อ 3 ประเภทหลัก ได้แก่
1. สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ลูกค้าปัจจุบันที่มีสินเชื่อบ้าน หรือบ้านคือเงิน (My Home My Cash) สามารถพักชำระเงินต้นได้นาน 3 เดือน ส่วนลูกค้าใหม่สามารถขอสินเชื่อบ้านได้เพิ่มเพื่อซ่อมแซมบ้าน ทั้งในรูปแบบ Home Loan Top Up และ My Home My Cash Top Up ด้วยอัตราดอกเบี้ย 0% นาน 3 เดือน พร้อมฟรีค่าประเมินหลักประกัน ซึ่งครอบคลุมทรัพย์สินประเภทบ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวน์เฮ้าส์ คอนโดมิเนียม และอาคารพาณิชย์
2. สินเชื่อรถยนต์ ลูกค้าสินเชื่อรถยนต์สามารถพักชำระหนี้สูงสุด 3 เดือน และขยายระยะเวลาผ่อนชำระเพิ่มเติมอีก 3 เดือน โดยอายุผู้กู้รวมต้องไม่เกิน 65 ปี
3. สินเชื่อธุรกิจเพื่อผู้ประกอบการ (SSME)
ลูกค้าในกลุ่มนี้สามารถติดต่อเข้าร่วมมาตรการได้ที่ SCB ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือ SCB Customer Call Center โทร. 02-777-7777 ตั้งแต่วันที่ 25 กรกฎาคม 2568 ถึง 31 ตุลาคม 2568
กลุ่มลูกค้าผู้ประกอบการ SME
สำหรับกลุ่มลูกค้าผู้ประกอบการ SME ที่ได้รับผลกระทบทางตรงหรือทางอ้อมจากเหตุการณ์ดังกล่าว SCB ได้ออก 4 มาตรการหลัก ได้แก่
1. พักชำระเงินต้นสูงสุดนาน 6 เดือน
2. พักชำระทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยสูงสุดนาน 3 เดือน
3. เพิ่มวงเงินหมุนเวียนชั่วคราว สูงสุด 20% ของวงเงินหมุนเวียนเดิม แต่ไม่เกิน 10 ล้านบาท
4. วงเงินกู้เพื่อซ่อมแซม ปรับปรุง หรือซื้อทรัพย์สินทดแทน สูงสุด 20% ของวงเงินเดิม และไม่เกิน 10 ล้านบาท
ลูกค้า SME ที่สนใจเข้าร่วมสามารถติดต่อเจ้าหน้าที่ธุรกิจสัมพันธ์ หรือ SCB Business Call Center โทร. 02-722-2222 ได้ตั้งแต่วันที่ 25 กรกฎาคม 2568 ถึง 31 ธันวาคม 2568
ลูกค้าผู้ประกอบการ SME
ธนาคารมีโครงการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบทั้งทางตรง และทางอ้อม ผ่าน 4 มาตรการหลัก ประกอบด้วย
1. พักชำระเงินต้นสูงสุดนาน 6 เดือน
2. พักชำระเงินต้นและดอกเบี้ยสูงสุดนาน 3 เดือน
3. เพิ่มวงเงินหมุนเวียนชั่วคราว วงเงินสูงสุด 20% ของวงเงินหมุนเวียนเดิม และไม่เกิน 10 ล้านบาท
4. วงเงินกู้สำหรับปรับปรุง ซ่อมแซม หรือซื้อทดแทนทรัพย์สินที่เสียหายของกิจการ สูงสุด 20% ของวงเงินเดิม ไม่เกิน 10 ล้านบาท
ลูกค้าผู้ประกอบการ SME สามารถติดต่อขอเข้าร่วมโครงการได้ที่เจ้าหน้าที่ธุรกิจสัมพันธ์ และ SCB Business Call Center โทร 02-722-2222 ได้ตั้งแต่วันที่ 25 กรกฎาคม 2568 – 31 ธันวาคม 2568
จากสถานการณ์อุทกภัยรุนแรงในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ และเหตุความไม่สงบบริเวณชายแดนไทย–กัมพูชา ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ได้ออกมาตรการช่วยเหลือเร่งด่วนสำหรับลูกค้าทุกกลุ่มสินเชื่อ ทั้งรายย่อย ธุรกิจ SME สินเชื่อรถยนต์ บัตรเครดิต และสินเชื่อส่วนบุคคลในเครือกรุงศรีคอนซูมเมอร์ โดยมีรายละเอียดดังนี้
ลูกค้าสินเชื่อบุคคล สินเชื่อบ้าน และ SME รายย่อย ธนาคารเปิดให้ลูกค้าเลือกรูปแบบความช่วยเหลือที่เหมาะสมกับสถานการณ์ ได้แก่
ลูกค้าที่ต้องการรับความช่วยเหลือสามารถแจ้งความประสงค์ได้ที่สาขาธนาคารกรุงศรีทั่วประเทศ หรือ Krungsri Call Center โทร. 1572 ตั้งแต่วันนี้ถึง 30 ธันวาคม 2568 โดยการพิจารณาขึ้นอยู่กับหลักเกณฑ์ของธนาคาร
ลูกค้าสินเชื่อธุรกิจ SME มาตรการช่วยเหลือสำหรับกลุ่มผู้ประกอบการ SME ประกอบด้วย
สามารถติดต่อผู้จัดการธุรกิจสัมพันธ์ หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่โทร. 02-296-6262 หรือ 02-626-2626 ได้จนถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2568
ลูกค้าสินเชื่อกรุงศรี ออโต้ ลูกค้ากลุ่มสินเชื่อรถยนต์สามารถขอพักชำระค่างวดได้เป็นระยะเวลา 3 เดือน โดยสามารถติดต่อขอรับความช่วยเหลือได้ที่ Krungsri Auto โทร. 02-740-7400 กด 3 ได้จนถึงวันที่ 30 กันยายน 2568
ลูกค้าบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลในเครือกรุงศรี คอนซูมเมอร์
ลูกค้าที่มีสถานะบัญชีปกติสามารถแจ้งความประสงค์พักชำระหนี้ระหว่างเดือนกรกฎาคม–กันยายน 2568 ได้สูงสุด 2 รอบบัญชี โดยดอกเบี้ยยังคงคิดตามอัตราปกติแบบลดต้นลดดอก สามารถลงทะเบียนได้ภายใน 31 สิงหาคม 2568 ผ่านศูนย์บริการสมาชิกบัตร (ตลอด 24 ชม.) หรือ Helpline โทร. 02-714-5155 (จันทร์–ศุกร์ เวลา 08.30–17.30 น.) การพิจารณาเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัท
ลูกค้าที่ไม่ได้อยู่ในมาตรการอื่นสามารถขอปรับลดภาระรายเดือน ด้วยการขยายระยะเวลาผ่อนชำระ โดยสามารถติดต่อศูนย์บริการสมาชิกบัตรตลอด 24 ชม. หรือ Helpline ตามข้างต้น เพื่อเข้าสู่กระบวนการพิจารณาเป็นรายกรณี
ช่องทางติดต่อศูนย์บริการในเครือกรุงศรี คอนซูมเมอร์
ลูกค้าสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ www.krungsriconsumer.com
นายปิติ ตัณฑเกษม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารทีเอ็มบีธนชาต (ทีทีบี) เปิดเผยว่า จากเหตุการณ์อุทกภัยที่รุนแรงและความไม่สงบบริเวณชายแดนไทย–กัมพูชา ซึ่งสร้างความเสียหายต่อที่อยู่อาศัย ทรัพย์สิน และกิจการของประชาชนในหลายพื้นที่ ธนาคารได้ออกมาตรการช่วยเหลือเร่งด่วนภายใต้ชื่อ “ตั้งหลัก” เพื่อบรรเทาภาระลูกค้าให้สามารถกลับมาตั้งหลักและฟื้นตัวทางการเงินได้อย่างมั่นคง
มาตรการช่วยเหลือลูกค้าสินเชื่อ เพื่อแบ่งเบาภาระ
ทั้งนี้ ลูกค้า SME ที่ต้องการซ่อมแซมสถานประกอบการไม่ว่าจะเป็นด้วยอุทกภัยหรือสถานการณ์ความไม่สงบชายแดนไทย-กัมพูชา สามารถขอสินเชื่อเพื่อฟื้นฟูกิจการเพื่อ SME ระยะเวลากู้สูงสุด 10 ปี ดอกเบี้ยคงที่ 3.5% ต่อปี เป็นระยะเวลา 2 ปี และชำระแบบปลอดเงินต้นนานสูงสุด 12 เดือน โดยหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาสินเชื่อเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด
โดยลูกค้าสามารถติดต่อเจ้าหน้าที่บริหารความสัมพันธ์ลูกค้าธุรกิจของท่าน หรือศูนย์บริการลูกค้าธุรกิจ ทีทีบี เพื่อรับคำแนะนำเพิ่มเติม โทร. 0 2643 7000 (วันจันทร์ – วันเสาร์เวลา 8:00 – 20:00 น.) ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์และวันหยุดธนาคาร
มาตรการความคุ้มครอง สำหรับลูกค้าที่มีประกัน
ช่องทางเข้าร่วมมาตรการ
ลูกค้าทุกประเภทสามารถแจ้งความประสงค์เข้าร่วมมาตรการ “ตั้งหลัก” ได้ตั้งแต่วันที่ 26 กรกฎาคม – 31 ตุลาคม 2568 ผ่านช่องทางดังนี้
นายปิติ ตัณฑเกษม กล่าวทิ้งท้ายว่า “ทีทีบีขอส่งกำลังใจถึงลูกค้าทุกท่านที่ได้รับผลกระทบ พร้อมเคียงข้างทุกก้าวของการฟื้นตัว ภายใต้หลักการให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบตามแนวทางของธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อสร้างชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน”
ดูรายละเอียดมาตรการเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์: https://www.ttbbank.com/th/tang-luk