กระแสความนิยมการใช้รถยนต์ EV ในไทยกำลังมาแรงแบบไม่หยุดหย่อน ยืนยันจากตัวเลขจำนวนคนใช้รถยนต์ EV ในไทยที่พุ่งขึ้นแบบก้าวกระโดด โดยล่าสุด สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) รายงานตัวเลขยอดจดทะเบียนรถยนต์ไฟฟ้าสะสม ถึงสิ้นเดือน พ.ค. 2565 มีจำนวนทั้งสิ้น 17,026 คัน เพิ่มขึ้น 118.79% จากปีที่แล้ว
ดังนั้นเมื่อมีเทรนด์ของผู้ใช้รถ EV ที่ทยอยเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จำเป็นต้องมีการเพิ่มจำนวนสถานีชาร์จไฟฟ้าให้เพิ่มมากขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการสถานีชาร์จไฟฟ้ารถยนต์ EV ต่างก็เร่งลงทุนเพิ่มจำนวนสถานีชาร์จไฟฟ้าให้มีมากขึ้นเพิ่มรองรับจำนวนคนใช้รถ EV ที่กำลังเพิ่มขึ้นด้วย
หนึ่งในเอกชนรายใหญ่ที่เป็นผู้ประกอบการสถานีชาร์จไฟฟ้ารถยนต์ EV คือ บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน)(EA) ที่ทำธุรกิจด้านเทคโนโลยีพลังงานไฟฟ้า เป็นผู้เล่นรายใหญ่ในตลาดแห่ง ปัจจุบัน EA ลงทุนพัฒนาสถานีชาร์จไฟฟ้ารถยนต์ EV โดยการใช้ชื่อแบรนด์ "EA Anywhere" ไปแล้วจำนวนมากว่า 400 แห่งกับจำนวนหัวชาร์จที่มีมากว่า 1,600 หัวชาร์จ ปัจจุบันซึ่งถือเป็นผู้เล่นมีจำนวนสถานีชาร์จไฟฟ้ารถยนต์ EV มากที่สุดผ่านการร่วมมือกับพาร์ทเนอร์
โดยทีมข่าว "SPOTLIGHT" ได้มีโอกาสสัมภาษณ์ผู้บริหารของ EA ถึงมุมมองต่อธุรกิจสถานีชาร์จไฟฟ้ารถยนต์ EV ว่าจะเป็นอย่างไร ไปติดตามกัน 'อมร ทรัพย์ทวีกุล' รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร EA ได้ให้สัมภาษณ์กับทีมข่าว "SPOTLIGHT" โดยวิเคราะห์ว่า ภาพรวมแนวโน้มในระยะยาวของธุรกิจสถานีชาร์จไฟฟ้ารถยนต์ EV โดยภาพจะเห็นการลงทุนของผู้ประกอบการลงทุนในเขตกรุงเทพและปริมณฑล ไม่ได้มีจำนวนมากขึ้นอีกจากปัจจุบันมากนัก เพราะปัจจุบันเมื่อสำรวจนับรวมตัวเลขของจำนวนสถานีชาร์จไฟฟ้ารถยนต์ EV ที่เปิดแล้วในเขตกรุงเทพและปริมณฑลของผู้ประกอบทุกรายมีจำนวนอยู่ที่ประมาณ 500-600 แห่ง
สำหรับตัวเลขจำนวนนี้ถือว่าตัวเลขค่อนข้างมากเพียงแล้วสามารถรองรับจำนวนผู้ใช้รถยนต์ EV ในเขตกรุงเทพและปริมณฑล ทำให้สามารถรองรับรถยนต์ EV ที่จะมาชาร์จได้อีกในระยะ 2-3 ปีข้างหน้า โดยไม่ต้องมีการลงทุนสถานีชาร์จไฟฟ้ารถยนต์ EV ในเขตกรุงเทพและปริมณฑลเพิ่มเติม บวกกับพฤติกรรมของคนขับขี่รถยนต์ EV ในเขตกรุงเทพและปริมณฑล หลายๆ บ้านก็มีการทยอยรติดชาร์จไฟฟ้ารถยนต์ EV เพิ่มขึ้นแล้วด้วย
รวมถึงอาคารสำนักงานหลายๆ แห่งก็เริ่มทยอยติดสถานีชาร์จไฟฟ้ารถยนต์ EV เพื่อให้บริการลูกค้า ขณะที่การใช้งานขับรถยนต์ EV ในเขตกรุงเทพและปริมณฑล ส่วนใหญ่เป็นการขับขี่ที่ระยะทางไม่ได้มาก เช่น การเดินทางไปกลับจากที่ทำงาน ดังนั้นจึงไม่ได้มีความจำเป็นต้องชาร์จไฟฟ้าให้รถยนต์ EV บ่อยๆ ซึ่งหากผู้ประกอบลงทุนติดตั้งสถานีชาร์จไฟฟ้ารถยนต์ EV ในเขตกรุงเทพและปริมณฑลในช่วงนี้อาจจะเป็นการลงทุนที่ไม่คุ้มค่า
'อมร ทรัพย์ทวีกุล' รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร EA เล่าถึงแผนการลงทุนสถานีชาร์จไฟฟ้ารถยนต์ EV ของ EA ในระยะข้าง รวมถึงผู้ประกอบการรายอื่นๆ ในตลาดนี้จากนี้มีไปจะเห็นการเร่งขยายการลงทุนสถานีชาร์จไฟฟ้ารถยนต์ EV ไปสู่งพื้นที่ต่างๆ ในเขตต่างจังหวัดมากขึ้น จากปัจจุบันที่ EA มีจำนวนสถานีชาร์จไฟฟ้ารถยนต์ EV จำนวนมากกว่า 400 แห่งกำลังจะเข้าใกล้จำนวน 500 แห่ง โดยเป็นการเข้าไปเปิดกับพาร์ทเนอร์ที่เป็นเจ้าของพื้นที่มากกว่า 100 ราย เช่น ในบริเวณสาขาเซเว่นอีเลฟเว่น , ศูนย์การค้าบิ๊กซี, สถานีบริการน้ำมันซัสโก้, ศูนย์การค้าโรบินสันเป็นต้น ทำให้ตอนนี้ EA เป็นผู้ประกอบการที่มีจำนวนสถานีชาร์จไฟฟ้ารถยนต์ EV มากที่สุดในตลาด
สำหรับในส่วนสถานีชาร์จไฟฟ้ารถยนต์ EV ที่ทำในพื้นที่สาขาเซเว่นอีเลฟเว่น ปัจจุบันเปิดไปแล้วจำนวน 21 สาขา และในอนาคตจะทยอยเปิดเพิ่มขึ้นเป็นเพิ่มเป็น 80 แห่ง ในสาขาที่มีทำเลที่มีจอดรถยนต์และมีศักพภาพ
โดยผู้บริหาร EA อธิบายว่า แผนงานรุกออกไปลงทุนติดตั้งสถานีชาร์จไฟฟ้ารถยนต์ EV ในต่างจังหวัดเป็นการปรับแผนกลยุทธ์ล่าสุดใหม่ภายในกลุ่มให้สอดคล้องสภาวะปัจจัยแวดล้อมของธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงตามที่ได้อธิบายไว้ในก่อนนี้ เปลี่ยนแปลงจากแผนสถานีชาร์จไฟฟ้ารถยนต์ EV ของ EA ในช่วงแรกก่อนหน้านี้
ซึ่งบริษัทวางแผนต้องการเข้าไปลงทุนติดตั้งสถานีชาร์จไฟฟ้ารถยนต์ EV ในทำเลจุดยุทธศาสตร์สำคัญๆ ให้ได้ก่อนในเขตพื้นที่ในกรุงเทพและปริมณฑลให้ได้ก่อนเพื่อให้ครอบคลุมความต้องการในพื้นที่นี้ รวมถึงเพื่อให้บริษัทมีจำนวนสถานีชาร์จไฟฟ้ารถยนต์ EV มากเพียงพอในเชิงจิตวิทยากับลูกค้าว่ามีจำนวนเพียงพอรองรับการให้บริการ
ส่วนการปรับแผนในครั้งนี้บริษัทจะเน้นหันไปร่วมมือกับลูกค้าในกลุ่มผู้ประกอบการรถยนต์บรรทุกขนส่งสินค้าข้ามจังหวัดที่มีการขนส่งสินค้าเป็นระยะทางที่ไกลๆ เช่น เส้นทางส่งสินค้าระหว่างกรุงเทพ-แหลมฉบัง เพราะด้วยนโยบายของภาครัฐบาลที่ส่งเสริมใหม่มีการใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้ามากขึ้นในทุกภาคส่วน ทำให้กลุ่มผู้ประกอบการรถบรรทุกขนส่งสินค้า
เริ่มทยอยหันมาเปลี่ยนการใช้งานจากเดิมที่ใช้รถยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิงจากก๊าซเอ็นจีหรือน้ำมันดีเซล มาใช้รถยนต์บรรทุกขนส่งสินค้าพลังงานไฟฟ้าหรือรถยนต์ EV มากขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นส่งผลให้ความจำเป็นต้องมีการตั้งสถานีชาร์จไฟฟ้ารถยนต์ EV บนเส้นทางยุทธศาสตร์ที่รถยนต์ EV ที่บรรทุกขนส่งสินค้าวิ่งผ่านต้องแวะชาร์จไฟระหว่างทางด้วยเส้นทางเดินทางที่เป็นระยะไกลๆ ตั้งแต่ 300-400 กม. ขึ้นไป
ขณะที่ล่าสุด EA ได้ลูกค้ากลุ่มผู้ประกอบการรถยนต์บรรทุกขนส่งสินค้ารายใหญ่มาแล้วจำนวน 5 รายซึ่งกำลังวางแผนร่วมกันในการกำหนดจุดติดตั้งสถานีชาร์จไฟฟ้ารถยนต์ EV
ภาพ:thai-ev.com
นอกจากนี้ยังเป็นการรองรับนโนบายของหน่วยงานด้านรัฐวิสาหกิจขนาดใหญ่ทั้ง องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ(ขสมก.) กับบริษัทขนส่ง จำกัด(บขส.) ที่ต่างมีแผนการเปลี่ยนจากการใช้รถโดยสารจากที่ใช้เชื้อเพลิงจากก๊าซเอ็นจีหรือน้ำมันดีเซลมากขึ้นเรื่อยๆ อีกด้วย
ซึ่ง EA ก็ได้เป็นผู้ร่วมพัฒนากับพาร์ทเนอร์ทำรถเมล์พลังงานไฟฟ้าให้กับ ขสมก.จำนวน 3,500 คัน จะเริ่มทยอยส่งมอบในเดือน ส.ค. ปีนี้และส่งมอบครบในสิ้นปี 2566 รวมถึง EA ยังได้รับให้เลือกให้เป็นผู้ผลิตเมล์พลังงานไฟฟ้าให้กับ บขส. อีกจำนวน 50 คันในล็อตแรก ซึ่งยังมีโอกาสทยอยเพิ่มจำนวนขึ้นอีกในอนาคต
'อมร ทรัพย์ทวีกุล' ทิ้งท้ายว่า เมื่อปรับแผนธุรกิจใหม่ในการลงทุนเปิดสถานีชาร์จไฟฟ้ารถยนต์ EV ตามที่ได้อธิบายไปแล้ว ทำให้ EA ไม่ได้ยึดติดกับตัวเลขเป้าหมายที่ต้องการจะเปิดสถานีชาร์จไฟฟ้ารถยนต์ EV ให้มีครบเพิ่มเป็น 1,000 แห่ง อีกต่อไป แต่จะปรับเปลี่ยนมาใช้กลยุทธ์เน้นในการเลือกทำเลที่ตั้งในเปิดสถานีชาร์จไฟฟ้ารถยนต์ EV ที่เป็นจุดยุทธศาสตร์เป็นเส้นทางเดินทางที่สำคัญของรถยนต์ EV ลูกค้าวิ่งผ่านเป็น โดยจะกหันมาเพิ่มจำนวนหัวชาร์จรถ EV ต่อสถานีแทน เช่นแผนเดิมอาจติดหัวชาร์จรถ EV จำนวน 2-4 หัวชาร์จต่อสถานีแทน เพิ่มเป็นได้ถึง 10-20 หัวชาร์จต่อสถานี
ด้าน บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน)(CPALL) ผู้ดำเนินธุรกิจร้านสะดวกซื้อแบรนด์ 7-Eleven ได้ดำเนินธุรกิจควบคู่ไปกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมภายใต้นโยบาย “เซเว่น โก กรีน” (7 Go Green) ดังนั้นการติดชาร์จไฟฟ้ารถยนต์ EV ในบริเวณพื้นที่สาขาของเซเว่นอีเลฟเว่น จึงสอดรับกับนโยบาย 7 Go Green ด้วย
CPALL ให้ข้อมูลกับทีมข่าว "SPOTLIGHT" ว่า ปัจจุบันปัจจุบัน เซเว่นอีเลฟเว่น มีสาขารวมทั่วประเทศกว่า 13,000 สาขา โดยได้มีการติดตั้งสถานีชาร์จไฟฟ้ารถยนต์ EV ไปแล้วรวม 24 สาขา ในพื้นที่กรุงเทพมหาคร แบ่งเป็นการร่วมมือกับการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) จำนวน 2 สาขา, บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) หรือ EA จำนวน 21 สาขา และ บริษัท เมอร์เซเดส-เบนซ์ (ประเทศไทย) จำกัด จำนวน 1 สาขา
ขณะที่ การเปิดร้านเซเว่น อีเลฟเว่น อยู่ภายใต้แผนการดำเนินธุรกิจเพื่ออำนวยความสะดวกด้านสินค้าและบริการให้กับลูกค้า ควบคู่กับการทำงานภายใต้กรอบความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม สังคมชุมชน และประเทศชาติ
สำหรับความร่วมมือในโครงการสถานีอัดประจุไฟฟ้าสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า ถือเป็นก้าวที่สำคัญเพื่อสู่ยุคเทคโนโลยี 4.0 โครงการนี้เป็นจุดเริ่มต้นที่ศึกษาความเป็นไปได้ในการติดตั้งสถานีอัดประจุไฟฟ้าหน้าร้านเซเว่น อีเลฟเว่น
พร้อมทั้งพัฒนาอุปกรณ์การชาร์จและระบบในการใช้งานที่เหมาะสม รวมถึงแลกเปลี่ยนข้อมูลการใช้ไฟฟ้าระหว่างกัน ซึ่งร้านที่จะเปิดต้องมีศักยภาพตรงตามความต้องการของโครงการ อาทิ พื้นที่จอดรถหน้าร้าน อยู่ในแหล่งชุมชน ที่พักอาศัย สำนักงาน สถานที่ราชการ ห้างสรรพสินค้า เป็นต้น โดยจะมีการติดตามผลการทดลองทุกๆ 6 เดือนเพื่อประเมินผลความสำเร็จ
ทั้งนี้ปัจจุบันไม่ว่าเป็นโครงการของภาครัฐหรือเอกชนต่างเริ่มทยอยเปิดตัวสถานีชาร์จอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีการพัฒนาเทคโนโลยีทางยนตกรรม เพื่อรองรับการเพิ่มขึ้นของรถยนต์ไฟฟ้า และในอนาคตเองสถานีอัดประจุไฟฟ้าจะมีให้เห็นทั่วไปมากขึ้น ไม่ว่าจะตามร้านสะดวกซื้อที่มีพื้นที่หน้าร้าน ห้างสรรพสินค้า โรงแรม สถานที่ท่องเที่ยวพื้นที่สาธารณะ หรือแม้แต่ตามบ้านเรือนทั่วไป