กว่าจะได้ทองคำมาหนึ่งออนซ์ (31.167 gram) ต้องถลุงก้อนแร่ที่มีทองคำอยู่เป็นจำนวนหลายตัน และต้องขุดเหมืองลึกลงไปหลายสิบเมตร จึงทำให้ขั้นตอนที่มีค่าใช้จ่ายที่สูงที่สุดและมีผลต่อราคาขายทองคำมากที่สุดคือ ต้นทุนการผลิตจากเหมืองทองคำ โดยในที่นี้ YLG จะขอกล่าวถึงต้นทุนแบบ All-in Sustaining Cost (AISC) ที่เริ่มนำมาใช้ในปี 2012 ซึ่งต้นทุน AISC จะประกอบไปด้วยต้นทุน Cash Cost, ต้นทุนสำนักงาน ต้นทุนธุรการ, รวมถึงค่าเสื่อมราคาและตัดจำหน่ายและค่าใช้จ่ายในการสำรวจ ซึ่งถือได้ว่าเป็นต้นทุนที่สะท้อนทุกค่าใช้จ่ายของการผลิตทองคำ และเป็น Floor ของราคาทองคำนั่นเอง
“จากข้อมูลของสภาทองคำโลก All-in Sustaining Costs (AISC) หรือต้นทุนหน้าเหมืองทองคำในอุตสาหกรรมเหมืองแร่ทองคำเฉลี่ยอยู่ที่ 1,129 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ในไตรมาสที่ 4 ปี 2021 ซึ่งแทบไม่เปลี่ยนแปลงจากไตรมาสก่อนหน้า อย่างไรก็ดี AISC เฉลี่ยสำหรับปี 2021 เพิ่มขึ้น 7% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้าสู่ระดับ 1,068 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2013”
ต้นทุนที่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบปีต่อปีได้รับแรงหนุนจากปัจจัยหลายประการ รวมถึงอัตราเงินเฟ้อของต้นทุนวัตถุดิบที่กล่าวถึงก่อนหน้านี้ การแข็งค่าของสกุลเงินผู้ผลิตในท้องถิ่นเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ ค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับ COVID-19
แม้ราคาซื้อขายทองคำทั่วโลกนั้นสูงกว่าต้นทุนการผลิตจากเหมืองทองคำ แต่เพราะต้นทุน AISC ทองคำคิดเป็นสัดส่วน 65% โดยประมาณ ส่วนอีก 35% ของราคาทองคำในตลาดโลกนั้นมาจาก Demand ในตลาดไม่ว่าจะแรงซื้อ-แรงขายในภาคเครื่องประดับ, การลงทุนทองคำในทุกประเภท, แรงซื้อทองคำจากธนาคารกลางและภาคเทคโนโลยี รวมไปถึงการเคลื่อนไหวของสกุลเงินดอลลาร์ เมื่อปริมาณ Demand ในตลาดมากขึ้น หรือ ลดลง ก็อาจผลักดัน หรือ กดดันให้ราคาทองคำขายปลีกในตลาดโลกเคลื่อนไหวผันผวน แต่กระนั้น ต้นทุนการผลิตจากเหมืองทองคำก็ยังคิดเป็นสัดส่วนใหญ่ที่สุด และเพราะต้นทุนการผลิตทองคำของเหมืองทองคำจึงถูกส่งผ่านเข้าสู่ราคาทองคำโดยตรง ต้นทุนดังกล่าวจึงมีความสำคัญอย่างมากต่อการประเมินราคาขั้นต่ำที่เป็นไปได้ของทองคำ
จะเห็นได้ว่าอัตราเงินเฟ้อที่พุ่งขึ้นส่งผลบวกต่อทองคำในหลายมิติ โดยนอกจากจะช่วยหนุนทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่ช่วยป้องกันความเสี่ยงจากเงินเฟ้อ ยังช่วยหนุน AISC ให้เพิ่มสูงขึ้นในปี 2021 ซึ่งสะท้อนว่า Floor ของราคาทองคำกำลังยกสูงขึ้นอีกด้วย
ขณะที่ราคาทองประจำวันที่ 23 เมษายน 2565 เวลา 11.45 น. ประกาศโดยสมาคมค้าทองคำ ปรับลดลง 100 บาท
ทองคำแท่ง รับซื้อ 31,050.00 บาท/บาททองคำ ขายออก 31,150 บาท/บาททองคำ
ทองรูปพรรณ รับซื้อ 30,486.76 บาท/บาททองคำ ขายออก 31,650 บาท/บาททองคำ
Gold Spot 1,933. ดอลลาร์สหรัฐต่อทรอยออนซ์
ค่าเงินบาท 34.01 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท YLG Bullion And Future จำกัด