ข่าวเศรษฐกิจ

"พ.ร.ก.ปราบอาชญากรรมออนไลน์”เริ่มใช้แล้ว โดนหลอกแจ้งแบงก์อายัดบัญชีได้

17 มี.ค. 66
"พ.ร.ก.ปราบอาชญากรรมออนไลน์”เริ่มใช้แล้ว โดนหลอกแจ้งแบงก์อายัดบัญชีได้

ภัยมิจฉาชีพทุกวันนี้ ถือว่าเป็นภัยร้ายแรงอย่างหนัก มีมาทุกรูปแบบ เพื่อหวังเอาเงินคนบริสุทธิ์ คนทำงานที่เก็บเงินไว้ใช้ยามเกษียณ หรือผู้สูงอายุที่เก็บเงินไว้เลี้ยงชีพตัว มีทั้งกลโกงแอปฯ ดูดเงิน หลอกให้หลงเชื่อ ทั้งการลงทุน รูดบัตรเครดิตเกินวงเงิน จ่ายหนี้ไม่ครบ มีของไปรษณีย์มาส่ง แชร์ลูกโซ่ หลอกทำภารกิจหารายได้เสริม และอีกอื่นๆ อีกมากมาย ฯลฯ 

คนไทยสูญเสียเงินจำนวนมาก ซึ่งส่วนใหญ่บัญชีที่โอนไปเป็นบัญชีม้า หรือผู้รับจ้างเปิดบัญชีด้วยเงินเพียงไม่กี่บาท เปิดกันเต็มบ้านเต็มเมือง และบัญชีปลายทาง คือ บัญชีที่อยู่ในต่างประเทศ ยากที่จะหาทางจับและนำเงินมาคืนให้กับผู้เสียหาย

เจ้าหน้าที่ตำรวจต้องทำงานหนัก วันๆ รับแจ้งความเป็นตัวเลขระดับร้อยๆ บัญชี มาวันนี้ พระราชกำหนดมาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี มีการประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา และจะมีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 17 มี.ค.2566 เป็นต้นไป 

นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) ได้กล่าวว่า พระราชกำหนดมาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ได้การประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา และจะมีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 17 มี.ค. เป็นต้นไป 

กฎหมายฉบับนี้เป็นกฎหมายสำคัญ เพื่อแก้ไขปัญหาการหลอกลวงทางออนไลน์ และปัญหาอาชกรรมทางออนไลน์ทั้งหมด 

“คาดว่าปัญหาหลอกลวงทางออนไลน์ และปัญหาญาชกรรมจะลดลงอย่างแน่นอน หากประชาชนถูกหลอกลวงทางออนไลน์ ขอให้รีบแจ้งไปที่ธนาคารโดยตรง เพื่อที่ธนาคารจะได้ระงับบัญชีไม่ให้เงินถูกโอนออกไปเป็นทอดๆ ซึ่งธนาคารจะมีอำนาจระงับบัญชีต้องสงสัยได้ทันที จากเดิมต้องรอไปแจ้งความก่อนถึงจะระงับบัญชีได้” นายชัยวุฒิกล่าว

 

ผู้เปิดบัญชีม้า โทษจำคุก 3 ปี ปรับ 3 แสนบาท

ส่วนบัญชีม้า และเบอร์มือถือม้า ที่รับจ้างเปิดให้คนร้ายนำไปใช้หลอกลวงประชาชน จะมีความผิดทางกฎหมาย โดยมีโทษจำคุก3 ปี ปรับ3 แสนบาท 

ดังนั้น ประชาชนที่กำลังทำความผิดให้ไปแจ้งยกเลิกบัญชีผิดกฎหมายเหล่านี้โดยด่วน เพราะถือว่ามีความผิดตามกฎหมายนี้ 

“ ถือว่าได้ไม่คุ้มเสีย เพราะรับจ้างได้เงินเพียง 500 - 2,000 บาท แต่ต้องมาโดนปรับหนักถึง 300,000 บาท และจำคุกอีก 3ปี  โดยทั้งหมดนี้เป็นเพียงมาตรการขั้นต้น ซึ่งสัปดาห์หน้า นายกรัฐมนตรี จะมีคณะกรรมการขึ้นมากำหนดมาตรการแก้ไขปัญหาต่างๆ เพิ่มเติม ให้ครอบคลุมความเดือดร้อนของประชาชนอย่างเร่งด่วนด้วย” รมว.ดีอีเอสกล่าว 

หวังว่า แนวทางแก้ปัญหานี้ และโทษหนัก สำหรับผู้รับจ้างเปิดบัญชี “บัญชีม้า” จะเกรงกลัวต่อกฎหมาย และไปยกเลิกบัญชีเพิ่มขึ้น เพื่อภัยอาชญากรรมออนไลน์จะได้ลดลง ช่วยแก้ปัญหาได้อย่างทันท่วงที ต่อจากนี้ก็คงต้องหวังพึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจที่จะตามจับคนร้ายมาลงโทษ และสามารถนำเงินมาคืนกับประชาชนตาดำๆ ที่รู้ไม่ทันพวกมิจฉาชีพ

ดีอีเอส เชื่อ กฏหมายจะช่วยให้ภัยไซเบอร์ลดลง

ส่วนความเคลื่อนไหวในวันนี้ทางดีอีเอส จับมือ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรมสอบสวนคดีพิเศษ สำนักงาน กสทช. ธนาคารแห่งประเทศไทย สมาคมธนาคารไทย สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน หารือ หลัง พ.ร.ก. ปราบอาชญากรรมออนไลน์มีผลบังคับใช้วันนี้ ปลื้ม 7 หน่วยงานขานรับ มั่นใจลดความเสี่ยงประชาชนโดนดูดเงินผ่านช่องทางดิจิทัล บรรเทาการสูญเสียทรัพย์ได้แน่

ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) เปิดเผยว่า หลังจากนี้ กระทรวงฯ จะนำเสนอนายกรัฐมนตรีแต่งตั้งคณะกรรมการ เพื่อกำหนดแนวทางรายละเอียดต่างๆ ในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีตามที่ได้หารือกันในวันนี้ต่อไป  โดยให้สำนักงานปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมทำหน้าที่หน่วยธุรการของคณะกรรมการดังกล่าว โดยปลัดกระทรวงแต่งตั้งข้าราชการของสำนักงานปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเป็นเลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการ ร่วมกับข้าราชการจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ได้รับการแต่งตั้งจากผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเป็นผู้ช่วยเลขานุการร่วมด้วย

 “เมื่อ พ.ร.ก.ปราบอาชญากรรมออนไลน์ ประกาศใช้แล้ว ผู้เสียหายสามารถแจ้งธนาคารระงับบัญชีม้าได้ทันที ซึ่งกฎหมายฉบับนี้เป็นกฎหมายสำคัญ ที่รัฐบาลผลักดันออกมาเพื่อแก้ไขปัญหาการหลอกลวงทางออนไลน์ และปัญหาอาชกรรมทางออนไลน์ทั้งหมด คาดว่าปัญหาจะลดลงอย่างแน่นอนสำหรับบทลงโทษสูงสุดของผู้กระทำความผิดที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรมออนไลน์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 2-5 ปี หรือปรับตั้งแต่ 200,000 บาท ถึง 500,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” ปลัดกระทรวงฯ กล่าว”

นางสาวสิริธิดา พนมวัน ณ อยุธยา ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับระบบการชำระเงินและคุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน ธปท. กล่าวว่า “พ.ร.ก. มาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีนี้ จะมีบทบาทสำคัญในการจัดการปัญหาภัยทางการเงินได้อย่างตรงจุด และเมื่อผนวกกับชุดมาตรการจัดการภัยทุจริตทางการเงินของ ธปท. ที่จะยกระดับการป้องกัน ตรวจจับ ตอบสนองและรับมือต่อภัยการเงินในภาคการธนาคารให้เป็นมาตรฐานเดียวกันแล้ว จะช่วยให้การแก้ปัญหาทำได้ครบวงจรยิ่งขึ้น ทั้งนี้ ธปท. จะติดตามและเร่งให้สถาบันการเงินดำเนินการตาม พ.ร.ก. และมาตรการของ ธปท. ให้แล้วเสร็จตามกำหนด รวมถึงประเมินประสิทธิผลเพื่อปรับปรุงการรับมือของภาคการธนาคารต่อภัยการเงินอย่างต่อเนื่องและเท่าทัน”

 “พ.ร.ก.ปราบอาชญากรรมออนไลน์”

ด้านนายวิทยา นีติธรรม ผู้อำนวยการกองกฎหมาย สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (สำนักงาน ปปง.) กล่าวว่า ได้มีการเตรียมพร้อมเพื่อรองรับการปฏิบัติตามพระราชกำหนดฉบับนี้ โดยใช้ศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ในการรองรับข้อมูลที่ได้จากธนาคารและสำนักงานตำรวจแห่งชาติตามพระราชกำหนดฉบับนี้ และสำนักงาน ปปง. ยังได้ร่วมประชุมกับสมาคมธนาคารไทยและสำนักงานตำรวจแห่งชาติมาโดยตลอดในเรื่องของระบบการรับส่งข้อมูลให้มีประสิทธิภาพและความรวดเร็ว นอกจากนี้ได้ร่วมมือกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติเพื่อจัดทำรายชื่อบุคคลที่มีความเสี่ยงว่าเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดมูลฐานหรือการฟอกเงินจัดส่งให้กับธนาคารเพื่อเฝ้าระวังและระงับช่องทางการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ กรณีตรวจสอบพบว่าเข้าข่ายบัญชีม้าหรือคาดว่าจะเป็นบัญชีม้าเพื่อไม่ให้ถูกใช้ในการกระทำความผิดต่อไป สำนักงาน ปปง. อยากให้ความมั่นใจกับทุกภาคส่วนว่าจะให้ความร่วมมือและดำเนินการอย่างเต็มที่เพื่อแก้ไขปัญหาอาชญากรรมทางเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นกับประชาชนให้หมดไป

นายผยง ศรีวณิช ประธานสมาคมธนาคารไทย เปิดเผยว่า  พระราชกำหนด (พ.ร.ก.) มาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี เป็นเครื่องมือสำคัญทำให้การจัดการภัยทางการเงินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ได้แก่ พรก.มีบทลงโทษที่ชัดเจนสำหรับผู้กระทำผิด รวมทั้งผู้เปิดบัญชีม้า และผู้ให้การสนับสนุน รวมถึงทุกส่วนที่

advertisement

Relate Post

SPOTLIGHT