นอกจากปัญหาสินค้าอุตสาหกรรมที่เจอปัญหาใหญ่สินค้าต่างประเทศเข้ามาตีตลาดแล้ว หันกลับมาที่ภาคเกษตรกรรมไทยที่ยังคงเป็นรากฐานสำคัญของเศรษฐกิจก็เจอปัญหาหนักหน่วงไม่แพ้กันโดยเฉพาะราคาสินค้าเกษตรหลักของไทย 5 ชนิด ข้าว อ้อย มันสำปะหลัง ยางพารา และ ปาล์มน้ำมัน ปรับลดลงจากราคาสูงสุดในรอบ 5 ปีจนบางชนิดถูกเปรียบเทียบว่า “ราคาถูกกว่าบะหมี่ซองละ 8 บาทแล้ว”
ข้อมูลล่าสุดจาก KResearch ระบุว่า ราคาสินค้าเกษตรในปีนี้หลายรายการร่วงลงมาอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 5 ปี และคาดว่าราคาสินค้าเกษตรจะชะลอตัวต่อเนื่อง ในขณะที่ปริมาณผลผลิตเพิ่มขึ้น ซึ่งแน่นอนว่าส่งผลกระทบกับรายได้เกษตรกรที่มีแนวโน้มจะหดตัว
หากเปรียบเทียบราคาสินค้าเกษตร 5 ชนิด ข้าว อ้อย มันสำปะหลัง ยางพารา และ ปาล์มน้ำมันจากราคาสูงสุดในรอบ 5 ปี มาจนปัจจุบันพบว่า ปรับลดลงทุกรายการ
ดังนั้นจะเห็นได้ว่า ราคามันสำปะหลังสด ข้าวเปลือกเจ้า อ้อย ต่อกิโลกรัม มีราคาต่ำกว่าบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปซองละ 8 บาทจริงๆ
ข้อมูลจากศูนยฺวิจัยกสิกรไทย พบว่า ปัญหาของเกษตรขณะนี้ไม่ได้อยู่ที่ราคาตกเพียงอย่างเดียว แต่ยังเป็นปีที่ผลผลิตทางการเกษตรมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ทำให้เกิดภาวะอุปทานล้นตลาด เป็นแรงยิ่งกดดันราคาให้ตกลงต่อเนื่อง เช่น
หรือแม่แต่กรณีของผลไม้ ที่ขณะนี้รัฐบาลกำลังผลักดันเป็นวาระใหญ่ที่ให้หลายหน่วยงานรัฐและเอกชนราว 28 แห่ง ช่วยกันบริโภคผลไม้ที่กำลังออกสู่ตลาดเพื่อช่วยพยุงไม่ให้ราคาตกต่ำเช่นกัน โดยมีปริมาณรวม 10,000 ตัน
จากข้อมูลคาดว่าดัชนีรายได้เกษตรกร ในปี 2568 นี้จะลดลง 3.6% เทียบกับปีก่อนหน้าซึ่งถือเป็นการหดตัวครั้งแรกในรอบหลายปี หลังจากที่รายได้เกษตรเพิ่มขึ้นต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2019 โดยรายได้เกษตรกรปีนี้คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 233 จุด ลดลงจาก 241 จุดในปี 2024
นอกจากราคาสินค้าจะตกต่ำ เกษตรกรยังเผชิญกับปัจจัยอื่นๆที่ยิ่งทำให้สถานการณ์ยากลำบากขึ้น
โจทย์หินของรัฐบาลไทย - เมื่อภาพรวมเศรษฐกิจไทยในปี 2568 ต้องเผชิญกับแรงกดดันรอบด้าน ทั้งภาคอุตสาหกรรมที่ฟื้นช้า การบริโภคที่ยังไม่มั่นคง และตอนนี้ภาคเกษตรหลายล้านครอบครัวต้องเผชิญกับวิกฤตราคาอย่างหนัก โดยเฉพาะในพื้นที่ต่างจังหวัดที่ครัวเรือนส่วนใหญ่ยังมีรายได้หลักจากการทำเกษตร รัฐบาลจึงต้องเร่งหาแนวทางช่วยเหลือเกษตรกรทั้งระยะสั้นและระยะยาว เพื่อไม่ให้ “ฐานราก” ของเศรษฐกิจไทยสั่นคลอนหนักไปกว่านี้
ที่มา: ศูนย์วิจัยกสิกรไทย