บรรยากาศทางเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงตอนนี้ คงไม่เกินจริงที่จะบอกว่า ส่งผลต่อการใช้ชีวิตของเราทุกคน ความสุขน้อยลงคงไม่ใช่เรื่องแปลก เมื่อประเทศเต็มไปด้วยความไม่แน่นอน ทั้งการเมือง เศรษฐกิจ การลงทุน ล้วนมีแต่ข่าวลบ และยังไม่รู้ว่าจะจบลงแบบไหน
ข้อมูลจากศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย สำรวจความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเดือนมิถุนายน 68 ล่าสุดออกมาพบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับตัวลดลงทุกรายการต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 และอยู่ในระดับที่ต่ำสุดในรอบ 28 เดือนนับตั้งแต่เดือนมีนาคม 2566 เป็นต้นมา
เหตุผลเพราะผู้บริโภคมีความกังวลเกี่ยวกับเสถียรภาพของรัฐบาลและการเมืองของไทย รวมไปถึงสงครามการค้าจากนโยบาย Trump 2.0 ที่จนถึงวันนี้ก็ไม่รู้ว่า จะสามารถเจรจาให้ภาษีลดลงต่ำกว่า 36% ได้หรือไม่? ทำให้รู้สึกว่าเศรษฐกิจไทยกำลังชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง แม้ว่ารัฐบาลจะออกมาตราการกระตุ้นเศรษฐกิจ และธนาคารแห่งประเทศไทยได้ใช้นโนบายการเงินผ่อนคลายจากการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายตั้งแต่ต้นปีมาแล้ว 2 ครั้งรวม 0.5% อยู่ที่ 1.75% แต่ผู้บริโภครู้สึกว่าเศรษฐกิจไทยยังฟื้นตัวได้ช้าและการเข้าถึงสินเชื่อลำบาก
ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวม ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสหางานทำและดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคตอยู่ที่ระดับ 46.7 50.6 และ 60.9 ซึ่งเป็นการปรับตัวลดลงทุกรายการต่อเนื่องเป็นเดือนที่
ความเชื่อมั่นทำให้เรากล้าจับจ่ายใช้สอย เพราะเรามั่นใจว่าเรามีเงินเพียงพอที่จะซื้อ เรามีงานทำ เรามีเงินเก็บออมความเชื่อมั่นทำให้เรากล้าลงทุน เพราะเราเชื่อว่า อนาคตจะดีขึ้น เรากล้าขยายธุรกิจ เพราะเราเชื่อในการเติบโตในอนาคต
นี่คือความสำคัญของความเชื่อมั่น แล้วลองคิดในทางกลับกันว่า แล้วในวันนี้ที่ความเชื่อมั่นลดลง มันส่งผลต่อเศรษฐกิจอย่างไร
ข้อมูลจากการสำรวจของศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจ ม.หอการค้าไทย พบว่า ตอนนี้คนไทยมองว่า เป็นช่วงเวลาที่ไม่เหมาะในการซื้อรถ ซื้อบ้าน หรือแม่แต่กระทั่งเดินทางท่องเที่ยวด้วยซ้ำ แล้วแบบนี้ยอดขายบ้าน ขายรถ ร้านอาหาร โรงแรม ท่องเที่ยว จะไม่ลดลงได้อย่างไร?
ขณะที่ความคิดเห็นทางสังคมของผู้บริโภคในเดือนมิถุนายน 2568 พบว่า คนไทยมีความสุขในการดำเนินชีวิต
ซึ่งทั้งหมดตัวเลขที่แย่ลงกว่าการสำรวจเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา
แม้เราจะอยู่ในภาวะของความไม่แน่นอน และบางอย่างที่ควบคุมไม่ได้เราคงต้องตั้งสติในการเตรียมตั้งรับ แต่สำหรับบางอย่างที่เราควบคุมได้ เราคงต้องเตรียมตัวทำให้พร้อมและเต็มที่ เช่น การดูแลสุขภาพ ความรู้และทักษะใหม่ๆ เตรียมตัวให้พร้อมรับการกับการเปลี่ยนแปลงที่อาจมีโอกาสซ่อนอยู่ ... ครึ่งปีหลังที่เรากำลังก้าวเดินมีความท้าทายรออยู่อีกเพียบ
อ้างอิงข้อมูล: ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย