Logo site Amarintv 34HD
Logo LiveSearch
Search
Logo Live
Logo site Amarintv 34HD
ช่องทางติดตาม AMARINTV
  • facebook AMARIN TV 34 HD
  • x AMARIN TV 34 HD
  • line AMARIN TV 34 HD
  • youtube AMARIN TV 34 HD
  • instagram AMARIN TV 34 HD
  • tiktok AMARIN TV 34 HD
  • RSS Feed AMARIN TV 34 HD
ผู้ว่าธปท.แนะใช้งบ 1.57 แสนล้านต้องดูแล SME แก้ปัญหาสินค้าจีนทะลัก
โดย : กองบรรณาธิการ SPOTLIGHT

ผู้ว่าธปท.แนะใช้งบ 1.57 แสนล้านต้องดูแล SME แก้ปัญหาสินค้าจีนทะลัก

28 พ.ค. 68
10:34 น.
แชร์

Highlight

ไฮไลต์

  • ควรจัดสรรงบประมาณโดยให้ความสำคัญกับการบรรเทาความเดือดร้อนต่อกลุ่มที่ได้รับผลกระทบโดยตรง
  • ควรมีมาตรการเร่งด่วนเพื่อรับมือกับ import flooding เพราะถ้าไม่ดำเนินการในเรื่องนี้ก่อน โครงการหรือมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภายใต้แผนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฯ อาจไม่มีประสิทธิผลเท่าที่ควร

หลังจากรัฐบาลประกาศเลื่อนโครงการแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาทออกไปอย่างไม่มีกำหนด รัฐบาลได้เปลี่ยนทิศทางการใช้งบประมาณจำนวน 157,000 ล้านบาทไปสู่ “แผนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ” โดยเน้นการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานและโครงการที่ช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะสั้นได้จริง 

ล่าสุด ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ธปท. ได้ทำหนังสือถึงรัฐบาล ภายหลังจากที่กระทรวงการคลังได้ขอให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แสดงความเห็นในส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี  ซึ่งใจความความสำคัญของความเห็นจากผู้ว่า ธปท.ต้องการให้ดูแลความเดือดร้อนต่อกลุ่มที่ได้รับผลกระทบโดยตรง รวมถึงการแก้ปัญหาสินค้าจากต่างประเทศที่่ทะลักเข้าไทย 

ใช้งบให้ตรงจุด – ต้องช่วยผู้ได้รับผลกระทบโดยตรง

ในหนังสือจากผู้ว่าการ ธปท. ลงวันที่ 20 พฤษภาคม 2568 ได้เสนอความเห็นต่อแผนดังกล่าวว่า ธปท.เห็นด้วยกับการทบทวนแผนการใช้จ่ายงบประมาณในปีนี้เพื่อรองรับกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจในปัจจุบันที่ท้าทายขึ้น และไม่ซ้ำซ้อนกับภาระของแผนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฯ ที่เน้นการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน การเพิ่มผลิตภาพการผลิต และการรักษาระดับการจ้างงาน โดยเฉพาะในการผลักดันและการส่งออกที่มีแนวโน้มไม่ดีขึ้นท่ามกลางความท้าทายจากมาตรการกีดกันทางการค้าของประเทศคู่ค้าสำคัญ (reciprocal tariff) ของประเทศเศรษฐกิจหลัก 

ธปท. เห็นว่า การให้ น้ำหนักกับการบรรเทาผลกระทบของเศรษฐกิจแบบมุ่งเป้าจึงอาจครอบคลุมที่ดีขึ้น โดยมีข้อเสนอเพิ่มเติม ดังนี้

  1. ควรจัดสรรงบประมาณโดยให้ความสำคัญกับการบรรเทาความเดือดร้อนต่อกลุ่มที่ได้รับผลกระทบโดยตรง ได้แก่ (1) กลุ่มผู้ส่งออกสินค้าไปสหรัฐฯ รวมถึงธุรกิจที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทาน (supply chain) ที่เกี่ยวข้อง (2) กลุ่มผู้ผลิตที่ถูกกระทบจากการทะลักของสินค้าจากต่างประเทศ (import flooding) ที่รุนแรงขึ้น  

ซึ่งเกิดขึ้นจากเงื่อนไขโครงการสิ้นสุดลงในการลดภาษีศุลกากรชั่วคราวที่เคยมีอยู่ โดยตั้งแต่ปี 2565–2567 ทำให้การนำเข้าสินค้าสูงขึ้นถึง 1.3 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งส่งผลต่อกลุ่มเป้าหมาย ส่วนหนึ่งเป็นผู้ประกอบการ SMEs ที่มีข้อจำกัดในการปรับตัว นอกจากนี้ ควรมีโครงการที่ช่วยให้ภาคธุรกิจโดยเฉพาะผู้ประกอบการ SMEs ปรับตัวเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และเพิ่มโอกาสในการเปิดตลาดใหม่ควบคู่ไปด้วย

  1. ควรมีมาตรการเร่งด่วนเพื่อรับมือกับ import flooding เพราะถ้าไม่ดำเนินการในเรื่องนี้ก่อน โครงการหรือมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภายใต้แผนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฯ อาจไม่มีประสิทธิผลเท่าที่ควร โดยแนวทางการรับมือที่ต้องดำเนินการ อาทิ

(1) การบังคับใช้กฎหมายและการตรวจสอบที่เข้มงวดใน 3 ด้าน ได้แก่ การตรวจสอบมาตรฐานสินค้า การตรวจสอบสินค้าผ่านด่านและการป้องกันสวมสิทธิ์สินค้าเพื่อใช้ไทยเป็นทางผ่านในการส่งออก
(2) การเร่งรัดกระบวนการไต่สวนข้อพิพาทกับต่างประเทศ เรื่องการที่สินค้าจากต่างประเทศเข้ามาทุ่มตลาดในไทย
(3) การกำหนด ให้แพลตฟอร์มออนไลน์ที่ขายสินค้าในไทยต้องตั้งสำนักงานในประเทศไทย เพื่อกำกับดูแลเกณฑ์การตรวจสอบมาตรฐานสินค้าและมีระบบชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม
(4) การกำหนดมาตรการเพิ่มเติม ด้านภาษี โดยตั้งภาษีนำเข้าหรือกำหนดโควตาการนำเข้าสินค้า หรือการเก็บภาษีสำหรับสินค้าที่มีมูลค่าต่ำกว่า 1,500 บาท

รัฐชี้แจง – อยู่ระหว่างกลั่นกรองโครงการ

ขณะที่ความคืบหน้าจากฝั่งรัฐบาลระบุว่า แผนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ 1.57 แสนล้านบาท ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการรวบรวมข้อเสนอจากหน่วยงานต่าง ๆ โดยมีคณะกรรมการกลั่นกรองเป็นผู้พิจารณาอนุมัติอีกครั้ง

ขณะเดียวกัน สำนักงบประมาณประเมินว่า แผนนี้จะ “ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะสั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ” ผ่านการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่ดำเนินการได้ทันที สร้างงาน กระจายรายได้ และเพิ่มเม็ดเงินในระบบเศรษฐกิจ ขณะเดียวกันก็วางรากฐานระยะยาวผ่านการลงทุนในทุนมนุษย์และการปรับปรุงกฎเกณฑ์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

แชร์
ผู้ว่าธปท.แนะใช้งบ 1.57 แสนล้านต้องดูแล SME แก้ปัญหาสินค้าจีนทะลัก