เป็นกระแสร้อนแรงในวงการการลงทุนในตลาดคริปโทของไทย หลังจากที่ Zipmex แพลตฟอร์มซื้อขายคริปโทรายใหญ่อันดับ 2 ในไทย ประกาศระงับการเพิกถอนเงินบาท และคริปโท เมื่อวันที่ 20 ก.ค. ที่ผ่านมา จากนั้นไม่กี่ชั่วโมง "เอกลาภ ยิ้มวิไล" ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซิปเม็กซ์ (ประเทศไทย) ได้ออกมาไลฟ์สดเป็นเวลา 8 นาที ชี้แจงถึงสาเหตุในเรื่องที่เกิดขึ้นว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ ผลิตภัณฑ์ ‘ZipUp’ ที่ลูกค้าไม่สามารถเบิกถอนเงินหรือเหรียญออกมาได้
ซึ่งมีรูปแบบการฝากเหรียญกินดอกเบี้ยสูง เป็นผลิตภัณฑ์ที่ลูกค้าในไทยฝากสินทรัพย์ไปยัง Zipmex Global บริษัทแม่ที่สิงคโปร์ไปลงทุนต่อเพื่อหาผลตอบแทน แต่บริษัทแม่กลับเจอปัญหาด้านสภาพคล่อง เพราะเข้าไปลงทุนใน Babel Finance และ Celsius ที่เป็นคู่ค้า โดยล่าสุด Celsius ยื่นล้มละลายไปแล้ว ส่วน Babel Finance ก็เสี่ยงจะยื่นล้มละลายตามไปอีกราย
แน่นอนว่าลูกค้า Zipmex ที่ได้รับผลกระทบหนักสุด คือ คนที่ลงทุนใน ‘ZipUp’ โดย เว็บไซต์ชื่อดัง Cointelegraph รายงายตัวเลขมูลค่าความเสียหายที่ Zipmex Global ได้นำเงินไปลงทุนกับ Celsius และ Babel มีจำนวนเงินรวม 150 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 5,500 ล้านบาท
SPOTLIGHT จะพาไปทำความรูั Zipmex ให้มากขึ้นว่าเจ้าของคือใคร ปัจจุบันทำธุรกิจอะไรบ้าง
Zipmex คือ แพลตฟอร์มเทรดคริปโท ได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.) ในเดือน พ.ค. 2565 ปัจจุบันมีมาร์เก็ตแชร์เป็นอันดับที่ 2 ในไทย
ธุรกิจ 1. แพลตฟอร์มเทรดคริปโท
งบการเงิน 2564
ปัจจุบันกลุ่ม Zipmex มีเปิดบริการใน 4 ประเทศ ได้แก่ ไทย, อินโดนีเซีย, สิงค์โปร์ และออสเตรเลีย มีสกุลเงินดิจิทัลที่เทรดบนแพลตฟอร์มอย่าง Bitcoin (BTC), ETH, XRP, BCH, C8P, LINK, COMP, OMG, MKR, SXP, USDT, USDC, GOLD, YFI รวมถึงโทเคนที่เป็น Community Blockchain Platform อย่างเหรียญ NEO
แพลตฟอร์ม Zipmex นั้นจัดตั้งขึ้น และดำเนินงานอย่างถูกต้องตามกฎหมายทั้ง 4 ประเทศทั่วเอเชียแปซิฟิก ได้แก่
ธุรกิจที่ 2. นำเงินฝากหรือคริปโทเคอร์เรนซีของลูกค้าไปใช้หาดอกผล
ด้วยโปรแกรม ZipUp ของ คือการฝากสินทรัพย์ดิจิทัลที่ลูกถือครองเอาไว้กับ Zipmex เพื่อรับโบนัสจากการฝาก คล้ายกับบัญชีออมทรัพย์ดิจิทัล ซึ่งเหรียญหรือสินทรัพย์ดิจิทัลที่สามารถทำการฝากได้นั้นมีทั้ง Bitcoin, Litecoin, Ethereum, Tether USD, USD Coin, Zipmex Token หรือ ทองคำ ซึ่งบริษัทได้ให้ผลตอบแทนหรือโบนัสกับลูกค้าไทยนั้นจะแบ่งมาจากกำไรที่ได้จากการนำเงินหรือเงินสกุลดิจิทัลของลูกค้าในต่างประเทศที่กลุ่มซิปเม็กซ์ทำธุรกิจอยู่แล้วเพราะกฎหมายอนุญาตให้ทำได้ทั้งในสิงคโปร์กับออสเตรเลียที่ลูกค้ามีความนิยมนำเงินหรือเงินสกุลดิจิทัลมาฝากไว้กับบริษัทเพื่อสร้างดอกผลหรือผลตอบแทน
ZipUp คือ การฝากสินทรัพย์ดิจิทัลไว้กับแพลตฟอร์ม Zipmex จะให้ผลตอบแทนเป็นโบนัสรายปีอัตราสูงสุด 7% โดยนักลงทุนสามารถเลือกสินทรัพย์ได้หลากหลายเช่น Bitcoin (BTC), Ethereum (ETH), xBullion (GOLD), USD Circle (USDC), USD Tether (USDT) และ Zipmex Token (ZMT) โดย ZipUp+ จ่ายโบนัสทุกวันไม่มีกำหนดระยะเวลาและจำนวนการฝากขั้นต่ำ ซึ่งคล้ายกับ "บัญชีเงินฝากออมทรัพย์พิเศษ" ที่ผู้ฝากเงินจะได้ดอกเบี้ยกลับมาที่สูง
โดยเหรียญคริปโทที่ลูกมาฝากไว้กับ Zipme จะให้บริษัทแม่คือ Zipmex Global นำไปลงทุนเพื่อหาผลตอบแทนต่อในต่างประเทศ แต่ล่าสุด Zipmex Global บริษัทแม่ที่สิงคโปร์ นำเหรียญหรือเงินของลูกค้า ไปลงทุนใน Babel Finance และ Celsius ซึ่งล่าสุด Celsius ยื่นล้มละลายไปแล้ว ส่วน Babel ก็มีข่าวว่ากำลังประสบปัญาเสี่ยงที่เดินทาง Celsius อีกรายจึงมีปัญหาด้านสภาพคล่อง มีผลกระทบทำให้ Zipmex ประเทศไทย ไม่สามารถนำเงินมาคืนลูกค้าได้
ส่งผลให้ซีอีโอ Zipmex ประเทศไทย ออกมมาประกาศจะฟ้องดำเนินคดี กับ และ บริษัทคู่ค้าเพื่อนำสินทรัพย์ดิจิทัลใน ZipUp+มาคืนลูกค้าคนไทย และจะขายบริษัทให้กับนักลงทุนผู้สินใจเพื่อนำสินทรัพย์มาคืนให้กับลูกอีกช่องทางหนึ่ง
ล่าสุด 'เอกลาภ ยิ้มวิไล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซิปเม็กซ์ (ประเทศไทย) ออกมายืนยันผ่านสื่อ ชีแจงมูลค่าของลูกค้าที่ลงทุนในผลิตภัณฑ์ ZipUp+ ที่ได้รับผลกระทบที่ไม่สามารถถอนเงิน และคริปโท ได้ ว่ามีมูลค่าน้อยกว่า 5,000 ล้านบาท ตามที่มีบางสื่อออนไลน์รายงาน โดยขณะนี้บริษัทอยู่ระหว่างหารือกับฝ่ายกฎหมายว่าจะสามารถเปิดเผยมูลค่าดังกล่าวนี้ได้หรือไม่"
อีกทั้งบริษัทขอชี้แจงว่า ผลิตภัณฑ์ Zipup+ ไม่ใช่ผลิตภัณฑ์ที่ ซิปเม็กซ์ (ประเทศไทย) เป็นผู้ออก แต่เป็นผลิตภัณฑ์ของ ทาง Zipmex Global
โปรแกรม ZipLock การลงทุนในเหรียญ ZMT(Zipmex เป็นผู้ออกเหรียญ) โดยให้ผลตอบโบนัสสูงสุด12% เมื่อล็อกเหรียญ ZMT เท่านั้น เป็นระยะเวลาล็อก 45 วัน โดยสมาชิกแต่ละระดับต้องทำการล็อกจำนวนเหรียญ ZMT ตามเงื่อนไขที่บริษัทกำหนด
Zipmex Token หรือ ZMT คือ โทเคนของ Zipmex ที่สร้างบนระบบ ERC-20 โดยมีเป้าหมายเพื่อช่วยให้นักลงทุน และคนทั่วไปสามารถเข้าถึงสินทรัพย์ดิจิทัลได้ง่ายขึ้น อีกทั้งยังสามารถใช้ ZMT เพื่อรับประสบการณ์พิเศษจาก ZipWorld และการซื้อผลงาน NFT รวมถึงสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ อีกมากมาย เช่น การเข้าร่วมโปรแกรมฝากออมทรัพย์ (ZipUp+) หรือฝากประจำ (ZipLock) ที่จะได้รับอัตราโบนัสสูงขึ้นกว่าการฝากออมแบบทั่วไป
ล่าสุด บริษัท ซิปเม็กซ์ (ประเทศไทย) จำกัด (ZIPMEX) ออกแถลงการณ์ชี้แจงถึง กรณีผลิตภัณฑ์ ‘ZipUp’ ที่มีรูปแบบการฝากเหรียญกินดอกเบี้ยสูง เป็นผลิตภัณฑ์ที่ลูกค้าในไทยฝากไปยัง Zipmex Global บริษัทแม่ที่สิงคโปร์ แต่บริษัทแม่กลับเจอปัญหาด้านสภาพคล่อง เพราะเข้าไปลงทุนใน Babel Finance และ Celsius โดยล่าสุด Celsius ยื่นล้มละลายไปแล้ว ส่วน Babel มีข่าวว่ากำลังง่อนแง่นหนัก จนลูกค้าค้ายังไม่ได้สามารถเบิกถอนสินทรัพย์ที่ฝากไว้กลับมาได้
สรุปตัวเลขการฝากระหว่างซิปเม็กซ์ และพันธมิตรทางธุรกิจ ล่าสุด ณ วันที่ 21 กรกฎาคม 2565 ดังนี้
เกิดจากที่ Celsius คือ บริษัทโบรกเกอร์คริปโทฯ ได้ยื่น "ล้มละลาย" ไปเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2565 ต่อศาลในนิวยอร์ก ตามรอยลูกหนี้อีก 2 รายก่อนหน้านี้ คือ 3AC และ Voyager Capital
Celsius มีทรัพย์สินและหนี้สินอประมาณ 1 พันล้าน - 1 หมื่นล้านดอลลาร์ (3.67 หมื่นล้านบาท - 3.67 แสนล้านบาท) กำลังปรับโครงสร้างธุรกิจ บริษัทมีเงินสดอยู่ประมาณ 167 ล้านดอลลาร์ เพื่อพยุงกิจการให้ดำเนินต่อไปในเวลานี้
ทั้งนี้ การยื่นล้มละลายภายใต้มาตรการ 11 ไม่ได้หมายถึงการล้มปิดกิจการ แต่เป็นการยื่นขอพิทักษ์ทรัพย์และปรับโครงสร้างฟื้นฟูกิจการ เพื่อให้ดำเนินธุรกิจได้ต่อไป
ขณะที่ Babel Finance เป็นบริษัทแพลตฟอร์มสินเชื่อคริปโทฯ รายใหญ่ที่มีฐานหลักอยู่ในฮ่องกง เริ่มมีสัญญาณร้ายเมื่อประมาณวันที่ 20 มิ.ย. ปีนี้ หลังจากการประกาศ "ระงับการถอนเงิน/เหรียญในทุกธุรกรรม" เป็นการชั่วคราวเนื่องจากแรงกดดันด้านสภาพคล่อง ก่อนจะเริ่มมีข่าวตามมาหลังจากนั้นว่า บริษัทนี้อาจยื่นล้มละลายไปอีกราย โดยมี มีข่าวว่า Babel กำลังอยู่ระหว่างการเจรจากับบรรดาเจ้าหนี้ และกำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาปรับโครงสร้างบริษัทอยู่
แน่นอนว่าของลูกค้า Zipmex ที่ลงทุนผ่านโปรม ZipUp ที่ฝากบริษัทแม่ Zipmex Global ถูกนำไปฝากทุนกับคู่ค้า Celsius กับ Babel Finance เกือบ 2,000 ล้านบาทที่เข้ากระบวนการ "ยื่นล้มละลาย" การได้เงินคืนกลับมาอาจไม่ง่ายหรือต้องใช้เวลาอีกยาวนามตามขั้นตอนที่เกี่ยว ซึ่งต้องจับตาว่าแนวทางการฟ้องบริษัทแม่ของ Zipmex เพื่อเรียกร้องค่าเสียหายกับการขายบริษัทก็ไม่ใช่เรื่องายด้วยเช่น
อีกมุมที่นักลงทุนทั่วไปเรียกร้องส่งคำคามไปถึงคือ สำนักงาน ก.ล.ต. ที่มีหน้าที่กำกับดูแพลตฟอร์มเทรดคริปโทในไทยว่าจะเข้ามาดูแลความเสียหายให้กับนักลงทุนยังไงบ้าง