ธุรกิจการตลาด

ณพ ณรงค์เดช พร้อมคุณหญิงกอแก้วยืนยันทุกความบริสุทธิ์ ชนะคดีตลอด 6 ปี!

2 พ.ย. 66
ณพ ณรงค์เดช พร้อมคุณหญิงกอแก้วยืนยันทุกความบริสุทธิ์ ชนะคดีตลอด 6 ปี!
ไฮไลท์ Highlight
  • เปิดใจ ‘คุณหญิงกอแก้ว’ ยืนยัน ‘ไม่เคยโกงใคร’

  • ความขัดแย้งระหว่างพี่น้องเหตุจากหุ้นวินด์

  • ธุรกิจครอบครัวมีเพียง เคพีเอ็น แลนด์

  • “ณพ ณรงค์เดช ” ฟ้อง “กฤษณ์” ไม่แบ่งทรัพย์มรดก

  • “ณพ ณรงค์เดช ” และลูกๆ ยังเฝ้ารอโอกาสกราบพ่อเสมอ 

วันนี้ที่บ้านบุณยะจินดา คุณหญิงกอแก้ว บุณยะจินดา พร้อมด้วยคุณอภิวุฒิ ทองคำ ที่ปรึกษากฏหมาย คุณณพ ณรงค์เดช (บุตรชายคนกลางของ ดร.เกษม ณรงค์เดช) คุณวีระวงค์ จิตต์มิตรภาพ ที่ปรึกษากฏหมาย ได้เปิดแถลงข่าวเป็นครั้งแรกหลังจากประเด็นความขัดแย้งในครอบครัว ณรงค์เดช ยังอยู่ในความสนใจของสังคม   

การแถลงข่าวครั้งนี้มีการเปิดข้อมูลสำคัญโต้กลับทุกข้อกล่าวหา คดีครอบครัว และคดีหุ้นวินด์ เอนเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง (WEH) พร้อมพิสูจน์ความจริง ยืนยันความบริสุทธิ์หลังอดกลั้นมานาน ศาลพิพากษาชนะคดีรวดมาตลอด 6 ปี 

ด้าน “คุณหญิงกอแก้ว บุณยะจินดา” ยืนยัน ศาลยกฟ้องทุกคดี! เป็นผู้บริสุทธิ์คดีปลอมลายเซ็นและการปลอมเอกสาร ไม่มีเหตุจำเป็นต้องปลอม! เนื่องจากครอบครัวณรงค์เดชไม่มีส่วนร่วมในการลงทุนหุ้นวินด์ฯ” ศาลชี้ชัดเส้นทางการเงิน และเงินลงทุนมาจากคุณหญิงกอแก้ว บุณยะจินดา 


เปิดใจ ‘คุณหญิงกอแก้ว’ ยืนยัน ‘ไม่เคยโกงใคร’

คุณหญิงกอแก้ว บุณยะจินดา เปิดเผยว่า “ที่ผ่านมาไม่ได้ออกมาให้ข่าวใดๆ เนื่องจากรอความช้ดเจนของคดี บัดนี้ชัดเจนแล้วว่า ดิฉันไม่ได้โกงใคร และไม่ได้ปลอมลายเซ็นใครตามที่กล่าวหา ที่ผ่านมามีการเผยแพร่ข่าวไม่ครบถ้วนทำให้สาธารณชนเข้าใจผิด”

“ ดิฉัน 70 ปีแล้วอยู่อย่างสงบ วันหนึ่งเมื่อลูกมาขอความช่วยเหลือ ดิฉันก็ต้องช่วย เหลือ เป็นพ่อของหลาน 2 คน และเป็นสามีของลูกสาว วันนั้นไม่มีใครช่วยเหลือเขาเลย ไม่มีใครอยากจะยุ่งกับบริษัทนี้ ดิฉันเมื่อรักลูก รักหลาน ดิฉันก็ต้องรักลูกเขยด้วย วันนั้นถ้าดิฉันไม่ซื้อหุ้นวินไว้ บริษัทอาจถึงขั้นล้มละลาย เพราะธนาคารไทยพาณิชย์ก็จะไม่ให้สินเชื่อ ดิฉันรู้สึกว่า ณพ มาพูดว่า ดิฉันเป็นคนสุดท้ายที่มาขอความช่วยเหลือ ดิฉันให้ความช่วยเหลือ แต่มีเงื่อนไขว่า แม่จะไม่ออกหน้านะ ณพ หาคนที่เชื่อใจและไว้ใจได้มาใส่ชื่อแทนแม่” คุณหญิงกอแก้ว กล่าว

คุณหญิงกอแก้ว กล่าวอีกว่า “เมื่อวินพ้นวิกฤตไม่คิดว่าเหตุการณ์วุ่นวายจะเกิดขึ้น เมื่อวินพ้นวิกฤตและทำรายได้ปีละหลายพันล้านบาท เมื่อนั้นคดีความต่างๆ การกล่าวหาก็มา เพื่ออยากได้หุ้น ถ้าคุณลงทุน คุณต้องได้หุ้น เมื่อไม่ลงทุน แต่อยากได้หุ้น เมื่อไม่ได้หุ้นก็เบี่ยงเบน หลักฐานการเงินทุกอย่างเรามีครบ เมื่อพูดเบี่ยงเบนไม่ครบ ทำให้คนอื่นได้รับความเสียหาย ดิฉันขอให้สังคมย้อนกลับไปตอนนั้น บริษัทที่ไม่มีคุณค่า ไม่มีราคา ไม่มีใครอยากได้ ดิฉันขอยืนยันว่า ดิฉันไม่ได้โกงใคร และปลอมลายเซ็นใครอย่างที่กล่าวหา”

ความในใจ “ณพ ณรงค์เดช” ชี้แจงกรณีหุ้น WEH

เป็นเวลาเกือบ 6 ปีแล้ว ที่มีบุคคล 2 กลุ่ม คือ นายนพพร ผู้ขายหุ้นบริษัท วินด์ เอ็นเนอร์ยี่ ให้กับผม และพี่กับน้องของผม คือ นายกฤษณ์ และนายกรณ์ ได้ทำการเผยแพร่ และให้ข่าวเกี่ยวกับการที่พวกเขามาฟ้องคดีผม และคุณหญิงกอแก้วหลายคดี โดยใช้วิธีการให้ข่าวที่เบี่ยงเบนประเด็น โดยไม่ให้ข้อเท็จจริงอย่างครบถ้วน เพื่อทำให้ผู้ติดตามข่าว เกิดความเข้าใจผิดว่าผมไปโกงนายนพพร และผมไปโกงพี่น้อง ซึ่งทำให้ผม คุณหญิงกอแก้ว ภรรยา และลูก ๆ ต้องเสื่อมเสียชื่อเสียง และได้รับผลกระทบต่าง ๆ เป็นอย่างมาก

“ แต่เราก็เลือกที่จะไม่ตอบโต้ และรอให้ศาลมีคำพิพากษาครบทุกคดี จึงค่อยออกมาชี้แจงข้อเท็จจริงในครั้งเดียว เพื่อให้เกิดความชัดเจนว่าเรื่องที่เกิดขึ้น “ความจริงคืออะไร-ใครกันแน่ที่โกง” ”

โดยเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม ปีที่แล้ว (2565) และ 28 กันยายน ปีนี้ (2566) ศาลอาญารัชดา และศาลอาญากรุงเทพใต้ ตามลำดับ ได้มีคำพิพากษา “ยกฟ้อง” ทั้งสองคดีที่พี่น้องได้ให้คุณพ่อมาฟ้องคุณหญิงกอแก้วและผมว่า “ใช้เอกสารปลอม” และ “ปลอมแปลงเอกสาร” 

ล่าสุด เมื่อวันที่ 31 ตุลาคมที่ผ่านมา ศาลแขวงพระนครใต้ ซึ่งเป็นคดีที่นายนพพรได้ฟ้องผมและพวกเป็นคดีอาญาว่า “โกงเจ้าหนี้” ซึ่งเป็นคดีสุดท้ายที่ผมรอฟังคำพิพากษาอยู่ ก็ได้มีคำพิพากษาให้ “ยกฟ้อง”จำเลยทุกคนเช่นกัน

“ วันนี้ ผมจึงพร้อมที่จะชี้แจงด้วยข้อเท็จจริงอย่างครบถ้วน เพื่อชี้ให้เห็นการเบี่ยงเบนประเด็น ที่ทำให้ผมเป็นคนผิด โดยการดำเนินการจากคนทั้ง 2 กลุ่มนี้ ทั้ง ๆ ที่พยานหลักฐานชัดเจนแล้วว่าผมไม่ได้ทำผิดใดใด” ณพ ณรงค์เดช กล่าว

เรื่องทั้งหมดเกิดขึ้นจากการที่ไปซื้อหุ้นบริษัท วินด์ เอนเนอร์ยี่ จากนายนพพร ซึ่งหลบหนีออกนอกประเทศไทยจากการเป็นผู้ต้องหา และหนีคดีอาญา เรื่องทำร้ายร่างกาย และหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้อื่น ซึ่งมีการกระทำผิดมาตรา 112 ของประมวลกฎหมายอาญาเกี่ยวเนื่องด้วย ทำให้จำเป็นต้องขายหุ้นออกมาให้ผมแบบขายขาด และได้โอนหุ้นให้ผมก่อนทั้งหมด แล้วค่อยชำระเงินค่าหุ้น เพื่อแก้ปัญหาจากการที่ บริษัท วินด์ เอนเนอร์ยี่ ไม่สามารถหาเงินกู้เพื่อดำเนินกิจการต่อไปได้ เพราะสถาบันการเงินไม่สนับสนุนการให้สินเชื่อ หากยังมีนายนพพรเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ซึ่งเมื่อได้รับโอนหุ้นมา ก็ได้จ่ายเงินค่าซื้อหุ้นงวดแรกให้นายนพพรไปแล้วเมื่อปี 2558 จำนวน 90.5 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ หรือ คิดเป็นเงินไทยประมาณ 3,000 กว่าล้านบาท 

แต่เมื่อนายนพพรได้รับเงินก้อนนี้ไปเรียบร้อยแล้ว กลับไปฟ้องคดีเพื่อที่จะเอาหุ้นคืน  ซึ่งเขาแพ้คดีโดยอนุญาโตตุลาการ ซึ่งบังคับให้เขาปฏิบัติตามสัญญาที่ทำกับไว้ คือ รับชำระเงินค่าหุ้นในส่วนอื่น ๆ ต่อไป และจะเอาหุ้นคืนไม่ได้ 

ทั้งนี้ จึงได้ชำระเงินค่าหุ้นส่วนที่เหลือจำนวน $85.75 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ หรือ อีกประมาณ 3,000 ล้านบาท ให้นายนพพรไปตั้งแต่ปี 2561 ซึ่งครบถ้วนตามสัญญา เหลือเพียงเงินโบนัสที่ยังโต้แย้งกันอยู่ในคดีของศาลไทย และเมื่อนายนพพรได้เงินไปแล้ว แต่ไม่ได้หุ้นคืน ก็ได้ไปฟ้องคดีอื่น ๆ ตามมาอีกหลายคดี ทั้งในเขตบริหารพิเศษฮ่องกง ในประเทศไทย และประเทศอังกฤษ

คดีทุก ๆ เรื่อง ทั้งในเขตบริหารพิเศษฮ่องกง และในประเทศไทยนั้น ศาลตัดสินให้คุณหญิงกอแก้วและผมชนะคดีทั้งหมด มีเพียงศาลอังกฤษเพียงศาลเดียวที่ตัดสินคดีบนกฎหมายไทย ตัดสินให้คุณหญิงกอแก้ว และผมแพ้คดีต้องชดใช้เงินจำนวนมหาศาลให้แก่นายนพพร 

โดยศาลอังกฤษนี้ อ้างความชอบธรรมที่จะฟังความจากนายนพพรข้างเดียว โดยเขียนคำพิพากษาในทำนองว่า ตนเห็นว่านายนพพรสุจริต โดยไม่โต้แย้ง หรือเขียนถึงบรรดาข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่ฝ่ายผมนำสืบไว้ว่านายนพพรเป็นคนไม่สุจริตไว้ในคำพิพากษาเลย กล่าวคือ 

  1. นายนพพรถูกพิพากษาจำคุกโดยศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ในประเทศไทยจากความผิดฐานยักยอกทรัพย์ 
  2. นายนพพรเป็นผู้ต้องหาและหนีคดีอาญาเรื่องทำร้ายร่างกายและหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้อื่น และกระทำผิดมาตรา 112 ของประมวลกฎหมายอาญ
  3. นายนพพรถูกศาลฮ่องกงพิพากษาว่า จงใจปกปิดข้อเท็จจริงสำคัญในการดำเนินคดีต่อศาลฮ่องกง 
  4. นายนพพรได้ขัดขวางไม่ให้ผมหาเงินกู้มาชำระค่าหุ้นให้แก่นายนพพรได้ทันภายในกำหนดเวลา เพื่อให้ผมผิดนัด แล้วนายนพพรจะได้อ้างเป็นเหตุบอกเลิกสัญญาซื้อขายหุ้นเพื่อเรียกร้องเอาหุ้น บริษัท วินด์ เอนเนอร์ยี่ ที่ได้ขายและโอนให้ผมมาแล้วทั้งหมดคืน ตามแผนที่เขาวางไว้ ซึ่งในที่สุดผมเป็นฝ่ายชนะคดีตามที่ได้ชี้แจงไว้แล้วข้างต้น

โดยเรื่องคดีอังกฤษนี้ นายนพพรได้ใช้สื่อที่วางแผนไว้ในการประโคมข่าว โจมตีอย่างหนักทันที ว่าคุณหญิงกอแก้วและผมโกงเขา

แต่คำพิพากษาของศาลอังกฤษที่ได้ใช้กฎหมายไทยนี้ ได้ถูกศาลแขวงพระนครใต้ของไทย “ตัดสินกลับแล้ว” เมื่อวันที่ 31 ตุลาคมที่ผ่านมา ในคดีที่นายนพพรได้ฟ้องผมและพวก เป็นคดีอาญาว่า “โกงเจ้าหนี้” โดยศาลไทยได้มีคำพิพากษาว่าไม่มีการ “โกงเจ้าหนี้” ให้ “ยกฟ้อง”

ความขัดแย้งระหว่างพี่น้องเหตุจากหุ้นวินด์

“สำหรับเรื่องของผมกับพี่น้อง ซึ่ง คุณพ่อต้องเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เป็นเรื่องที่ผมเสียใจที่สุด และไม่เคยคิดว่าจะเกิดขึ้นกับผม ก็มีมูลเหตุมาจากการที่ผมได้เข้าไปซื้อหุ้นบริษัท วินด์ เอนเนอร์ยี่ จากนายนพพรนี่เองครับ เพราะพี่และน้องต้องการแบ่งหุ้น บริษัท วินด์ฯ ที่ผมเป็นผู้ซื้อมา ไปเป็นของเขาจำนวน 49% แบบฟรี ๆ โดยที่ผมเป็นผู้ลงทุนส่วนตัว ไม่ได้เป็นกงสี ที่จะต้องนำมาหาร 3” ณพ ณรงค์เดช กล่าว

นอกจากนี้ คุณกฤษณ์ได้พูดถึงธุรกิจกงสีของครอบครัว ซึ่งไม่แน่ใจว่าหมายถึงอะไร เพราะทรัพย์สินที่ถือร่วมกัน และรอเวลาแบ่งสรรกัน ก็มีเพียงทรัพย์มรดกหลายรายการที่คุณแม่ คือ คุณหญิงพรทิพย์ ณรงค์เดช กำหนดไว้ในพินัยกรรม ให้แบ่งกันระหว่างพี่น้องทั้ง 3 คนตามเจตนาของคุณแม่ โดยกำหนดให้นายกฤษณ์ในฐานะพี่ชายตนโตเป็นผู้จัดการมรดก ซึ่งปัจจุบันก็ยังไม่ได้มีการแบ่งออกมาตามพินัยกรรมเลย

ธุรกิจครอบครัวมีเพียง เคพีเอ็น แลนด์

ส่วนธุรกิจที่มีคุณกฤษณ์ คุณกรณ์ และผมเป็นผู้ถือหุ้นร่วมกัน โดยถือหุ้นคนละ 1 ใน 3 ก็มีเพียง บริษัท เคพีเอ็น แลนด์ จำกัด เพียงบริษัทเดียวเท่านั้น ซึ่งในอดีต ผมได้ทำหน้าที่ดูแลธุรกิจนี้ตามที่ครอบครัวให้ความไว้วางใจอย่างเต็มใจและเต็มกำลังมาโดยตลอด จนกระทั่งเมื่อเกิดความขัดแย้งกันในเรื่องหุ้นบริษัท วินด์ เอนเนอร์ยี ที่ผมซื้อมา ผมจึงถูกกันออกมา ไม่ให้ร่วมบริหารจัดการ หรือร่วมตัดสินใจใด ๆ รวมทั้งการที่ บริษัท เคพีเอ็น แลนด์ เข้าไปเป็นผู้ถือหุ้นของ บริษัท ไรมอน แลนด์ จำกัด (มหาชน) ด้วย ทั้ง ๆ ที่ผมเป็นผู้ถือหุ้นอยู่ 1 ใน 3

มีธุรกิจส่วนตัว คือ สถาบันดนตรี เคพีเอ็น กับ รพ.นวเวช

“ ผมยังสนใจทำธุรกิจด้วยตนเองเสมอมา เพราะเติบโตมากับคุณพ่อคุณแม่ที่สอนและปลูกฝังให้ขยันทำมาหากินโดยสุจริต โดยธุรกิจส่วนตัวของผมในปัจจุบัน มี สถาบันดนตรี เคพีเอ็น ที่ผมภูมิใจที่สุด ที่ได้ทำขึ้นตามความปรารถนาของคุณแม่ จนถึงวันนี้ เรามี สาขาทั้งหมด 26 สาขาทั่วประเทศ ส่วนธุรกิจโรงพยาบาลนวเวช และได้ร่วมลงทุนกับหุ้นส่วนอีก 2 บริษัท” ณพ ณรงค์เดช กล่าว

ที่ผ่านมา เมื่อมีธุรกิจที่น่าสนใจ ผมจะชวนพี่และน้องก่อนทุกครั้ง ว่าสนใจจะร่วมลงทุนหรือไม่ เช่นเดียวกับการที่เข้าซื้อหุ้น บริษัท วินด์ เอ็นเนอร์ยี ซึ่งก็มีการถามพี่และน้องแล้วตั้งแต่แรก ว่าสนใจจะร่วมลงทุนหรือไม่ แต่ได้รับคำตอบว่า “เพ้อฝัน” เมื่อถูกปฏิเสธ” จึงได้เดินหน้าจัดหาเงินทุนทั้งหมดด้วยตนเอง เพราะเชื่อมั่นในอนาคตของธุรกิจนี้  

โดยเมื่อได้เข้ามาบริหารกิจการของ บริษัท วินด์ เอ็นเนอร์ยี จนมีผลกำไรสามารถจ่ายเงินปันผลได้ พี่น้องกลับต้องการขอแบ่งหุ้น บริษัท วินด์ เอนเนอร์ยี ที่ได้ซื้อมา และอ้างว่า เป็นการร่วมลงทุนโดยเอาเงินส่วนรวมของพี่น้องทั้งสามคนไปซื้อหุ้นจำนวนนี้ 

“ ผมยืนยันว่าไม่ถูกต้อง ไม่เป็นธรรม นายกฤษณ์และนายกรณ์กลับไปยื่นฟ้องผมที่ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ เพื่อบังคับให้ผมโอนหุ้น บริษัท วินด์ เอนเนอร์ยี ให้เขาทั้งสองคนรวมกัน 49% แบบฟรี ๆ โดยอ้างว่าได้ร่วมลงทุนด้วย ซึ่งศาลแพ่งกรุงเทพใต้ได้มีคำพิพากษา “ยกฟ้อง” แล้วว่า “ทั้งสองคน (รวมทั้งคุณพ่อ) ไม่ได้ร่วมลงทุนจ่ายเงินซื้อหุ้น บริษัท วินด์ เอนเนอร์ยี กับผมตามที่ทั้งสองกล่าวอ้างเลย” ณพ ณรงค์เดช กล่าว

นอกจากนี้ ยังไปฟ้องคดีอาญาว่า คุณหญิงกอแก้วและตนได้ปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอม เพื่อเป็นการกดดันให้ผมยินยอมแบ่งหุ้นบริษัทวินด์ฯ ตามที่ต้องการ ซึ่งศาลก็ได้ยกฟ้องแล้วทุกคดี 

อย่างไรก็ตาม ที่ได้มีการแถลงข่าวเรื่องการปลอมเอกสาร ก็เพื่อ ”เบี่ยงเบน” ความสนใจไปจาก ”ผล” ของคดีอาญาที่ “ศาลยกฟ้อง” ทั้ง 2 คดี ว่า คุณหญิงกอแก้วและตน ยืนยัน ”ไม่ได้” ปลอมเอกสาร และ ”ไม่ได้” ใช้เอกสารปลอม และนายกฤษณ์ นายกรณ์ ก็ไม่เคยให้ข่าวเลย ว่าศาลแพ่งกรุงเทพใต้ได้มีคำพิพากษา “ยกฟ้อง” ว่านายกฤษณ์และนายกรณ์ “ไม่ได้” ร่วมลงทุนจ่ายเงินซื้อหุ้น บริษัท วินด์ เอนเนอร์ยี กับตนตามที่ ”กล่าวอ้าง” เท่ากับไม่มีสิทธิ์ใด ๆ ในหุ้นวินด์ฯ ที่พยายามออกสื่อแบบ ”เท็จทั้งสิ้น” ว่าตนนั้นโกง

“ณพ ณรงค์เดช ” ฟ้อง “กฤษณ์” ไม่แบ่งทรัพย์มรดก

นอกจากนั้น นายกฤษณ์ก็ ”ไม่เคย” ให้ข่าวเลยว่า ถูกผม ”ฟ้อง” ว่าเป็นผู้จัดการมรดกที่ ”ไม่ยอม” แบ่งทรัพย์มรดก ตามเจตนาของคุณแม่ ที่ระบุในพินัยกรรมให้แก่ผมและหลาน ๆ ตั้งแต่ปี 2556 นับจากวันที่คุณแม่จากไปก็ 10 ปีแล้ว 

พร้อมกันนั้น นายกฤษณ์ก็ยังมีพฤติการณ์ ”เบียดบัง” ค่าเช่าที่ดิน ซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของคุณแม่ และตกทอดมาอยู่ในชื่อลูกทั้ง 3 คน ”ไปเป็นของตนเองแต่เพียงผู้เดียว” ซึ่งผมได้ฟ้องคดีที่ศาลแขวงพระนครใต้ และศาลเห็นว่าเป็นเรื่องที่ ”ผิดกฎหมาย” อย่างชัดแจ้ง จนมีคำพิพากษาให้ “ลงโทษจำคุก นายกฤษณ์ 12 เดือน โดยไม่รอลงอาญา” และยังมีพฤติการณ์ในลักษณะเดียวกันนี้อื่น ๆ ที่นายกฤษณ์อาจจะต้องรับผิดเพิ่มอีกหลายกรณี

ที่ผ่านมาผมเห็นว่าเรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องภายในครอบครัว จึงไม่ต้องการออกมาพูดผ่านสื่อ เพราะเป็นเรื่องละเอียดอ่อน แต่นายกฤษณ์ และนายกรณ์ กลับใช้สื่อในการให้ร้าย “กล่าวหา” ว่าผมเป็นคนโกงพี่โกงน้อง จนเกิดความแตกแยกในครอบครัว ทำให้ตนถูกบีบบังคับด้วยสถานการณ์ ให้ต้องออกมาชี้แจงข้อเท็จจริงให้ครบถ้วน เพื่อที่จะสามารถสรุปได้ชัดเจนว่า “ใครกันแน่ที่โกง”

“ณพ ณรงค์เดช ” และลูกๆ ยังเฝ้ารอโอกาสกราบพ่อเสมอ 

แม้ว่าหลายปีที่ผ่านมา ผมและลูก ๆ จะพยายามเข้าไปพบคุณพ่อที่บ้านหลายครั้ง แต่ก็ไม่ได้รับโอกาสให้เข้าไปกราบคุณพ่อเลย เพราะความขัดแย้งของพี่น้อง ซึ่งไม่ควรเกิดขึ้นเลยในครอบครัวของเรา ผมและหลาน ๆ  ยังคงรัก และเคารพคุณพ่ออย่างสูงเช่นเดิม และยังคงเฝ้ารอโอกาสที่จะได้เข้าไปกราบคุณพ่อเสมอครับ

สรุปคำพิพากษาชนะคดีตลอด 6 ปีเต็ม

คดีที่ 1 – คดีฮ่องกง HCA 1525/2018 (ศาลเขตปกครองพิเศษฮ่องกง)

เกษม ณรงค์เดช เป็นโจทก์ ฟ้องโกลเด้น มิวสิค ลิมิเต็ด จำกัด จำเลยที่ 1 ณพ ณรงค์เดช จำเลยที่ 2 คุณหญิงกอแก้ว บุณยะจินดา จำเลยที่ 3 เรื่องละเมิดและขอคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว เมื่อ 2561 

คำพิพากษา: อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง โดยให้ชำระค่าใช้จ่ายในอัตราสูงสุด ให้แก่จำเลย   

คดีที่ 2 – คดีใช้เอกสารปลอม อ.2497/2561 (ศาลอาญา รัชดา)

เกษม ณรงค์เดช เป็นโจทก์อ้างว่าตนเองในฐานะผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัท โกลเด้น มิวสิค ลิมิเต็ด จำกัด ฟ้องคุณหญิงกอแก้ว บุณยะจินดา จำเลยที่ 1 ณพ ณรงค์เดช จำเลยที่ 2 และสุรัตน์ จิรจรัสพร จำเลยที่ 3 เรื่องความผิดเกี่ยวกับเอกสาร เมื่อปี 2561 

คำพิพากษา: ยกฟ้อง พยานผู้เชี่ยวชาญยันกันไม่อาจรับฟังเป็นยุติ ลายมื่อชื่อไม่ได้ผิดแผกแตกต่างให้เห็นชัดเจนว่าเป็นลายมือชื่อปลอม เงินช่วยเหลือจากครอบครัวก็เป็นเงินกู้ยืม ซึ่ง ณพ รับผิดชอบภาระหนี้และการบริหารจัดการคนเดียวจึงไม่ใช่การร่วมลงทุนในความหมายของกฎหมาย พยานโจทก์รับฟังไม่ได้โดยปราศจากข้อสงสัย ว่าเอกสารทั้ง 3 ฉบับเป็นเอกสารปลอม 

คดีที่ 3 – คดีเรียกทรัพย์คืน พ.1031/2562 (ศาลแพ่งกรุงเทพใต้) 

เกษม ณรงค์เดช เป็นโจทก์ยื่นฟ้องจำเลย 14 คน และมีจำเลยร่วมอีก 31 คน เมื่อปี 2562 เรื่องให้เรียกทรัพย์คืน (หุ้นบริษัท วินด์ เอนเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง จำกัด) 

คำพิพากษา: โจทก์ขอถอนฟ้อง ไปเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2566 ซึ่งเรื่องนี้ โจทก์ได้ยื่นคำร้องขอถอนฟ้อง หลังจากที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งเพิกถอนการอายัตเงินปันผลของบริษัท วินด์ฯ โดยให้เหตุผลชัดเจนว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง แม้หากฟังว่า เกษม ให้หุ้นดังกล่าวแก่ ณพ การเรียกคืนจะต้องปรากฏว่า ณพ ประพฤติเนรคุณ แต่ไม่ปรากฏเหตุว่า ประพฤติเนรคุณ

คดีที่ 4 – คดีผิดสัญญา เรียกทรัพย์คืน พ.978/2565 (ศาลแพ่งกรุงเทพใต้)

กฤษณ์ และกรณ์ ณรงค์เดช เป็นโจทก์ร่วมฟ้อง ณพ ณรงค์เดช เป็นจำเลยที่ 1 บริษัท วินด์ เอนเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง จำกัด เป็นจำเลยที่ 2 บริษัท โกลเด้น มิวสิค ลิมิเต็ด จำกัด เป็นจำเลยที่ 3 และคุณหญิงกอแก้ว บุณยะจินดา เป็นจำเลยที่ 4 เมื่อปี 2565 เรื่องสัญญาเพิกถอนนิติกรรม เรียกทรัพย์คืน 

คำพิพากษา: ยกฟ้อง โจทก์ทั้งสองไม่สามารถนำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานตามกฎหมายว่า เอกสารดังกล่าวในการโอนหุ้นไม่เป็นเอกสารที่แท้จริง หรือเป็นพยานเอกสารที่รับฟังไม่ได้เพราะเหตุใด ข้อกล่าวอ้างต่าง ๆ เป็นการกล่าวอ้างลอย ๆ ไม่มีน้ำหนักหักล้างข้อสันนิษฐานกฎหมาย เมื่อโจทก์สืบไม่ได้จึงต้องฟังว่า การโอนหุ้นพิพาทหรือการซื้อหุ้นพิพาทมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย ก็ทำถูกต้องตามแบบที่กฎหมายกำหนดไม่เป็นโมฆะ เรื่องความเห็นเจ้าของหุ้นของโจทก์ทั้งสอง เมื่อได้ความว่า เงินที่ซื้อหุ้นพิพาทไม่ใช่ของโจทก์ทั้งสองและไม่ปรากฏว่าเอกสารที่อ้างเป็นเอกสารปลอม การโอนหุ้นพิพาทถูกต้องตามแบบของกฎหมาย จึงฟังไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งสองเป็นเจ้าของหุ้นพิพาท ไม่จำต้องโอนหุ้นคืนแก่โจทก์ทั้งสอง

คดีที่ 5 – คดีปลอมลายเซ็น อ.1708/2564 (ศาลอาญากรุงเทพใต้) 

คดีที่พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการสูงสุด (สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้ 1) เป็นโจทก์ฟ้อง ณพ ณรงค์เดช กับพวกรวม 3 คน เมื่อปี 2564 ในฐานความผิด ร่วมกันปลอมเอกสารสิทธิ และใช้เอกสารสิทธิปลอม ร่วมกันปลอมเอกสาร และใช้เอกสารปลอม 

คำพิพากษา: ยกฟ้อง ศาลใช้ดุลพินิจรับฟังว่า เอกสารทั้ง 6 ฉบับปลอม แต่ทางนำสืบและพยานหลักฐานรวมทั้งคำเบิกความของเกษมไม่มีข้อเท็จจริงใดที่ยืนยันว่า ณพ คุณหญิงฯ และสุภาพร เป็นผู้ปลอม มีส่วนเกี่ยวข้องในการลงลายมือชื่อหรือนำมาใช้หรืออ้างชื่อใด ซึ่ง กฤษณ์ ก็เบิกความว่า ไม่ทราบว่าใคร เป็นผู้ลงลายมือชื่อปลอม ส่วน กรณ์ ก็เบิกความว่า ไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์ในขณะลงลายมือชื่อ จึงไม่ทราบว่า ผู้ใดลงลายมือชื่อ จึงฟังได้ว่าจำเลยทั้งสามไม่ได้ร่วมกันปลอมหรือมีส่วนเกี่ยวข้องในการปลอม

685804

advertisement

SPOTLIGHT