ธุรกิจการตลาด

80 %ของGDP ไทยมาจากธุรกิจครอบครัว Kbank เปิดบริการจัดการความขัดแย้ง

30 พ.ค. 66
80 %ของGDP ไทยมาจากธุรกิจครอบครัว Kbank เปิดบริการจัดการความขัดแย้ง

รู้หรือไม่? 80% ของ GDP ได้มาจากรายได้ของธุรกิจครอบครัว ซึ่งจำนวนบริษัท 3 ใน 4 ของธุรกิจครอบครัวได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทษศไทย นับได้ว่าเป็นสัดส่วนที่ใหญ่มาก เรียกว่าเป็นเสาหลักของเศรษฐกิจไทยได้เลยทีเดียว 

ดังนั้น การดูแลรักษาเพื่อให้ธุรกิจเหล่านี้อยู่รอด และสามารถให้กับครอบครัวได้อย่างยั่งยืน ถือเป็นการสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจไทย จึงเป็นเรื่องสำคัญ

เคแบงก์ ไพรเวทแบงก์กิ้ง จึงได้เปิดบริการใหม่ “Reconciliation Service” ช่วยขจัดปมขัดแย้งในครอบครัว ชี้ความผันผวนทางเศรษฐกิจ การเปลี่ยนผ่านระหว่างรุ่น และ การปรับรูปแบบธุรกิจครอบครัว กระตุ้นความต้องการ “บริการวางแผนทรัพย์สินครอบครัว” มากขึ้น

KBank Private Banking (เคแบงก์ ไพรเวทแบงก์กิ้ง) ผู้นำบริการที่ปรึกษาด้านการบริหารทรัพย์สินครอบครัวเจ้าแรกในไทย เผยอินไซต์ลูกค้ากว่า 15% ต้องเผชิญกับความขัดแย้งระหว่างสมาชิกในครอบครัวอันเนื่องมาจากการจัดการธุรกิจครอบครัวและทรัพย์สินกงสี 

จึงเป็นที่มาของการนำเสนอบริการใหม่ “Reconciliation Service” หรือบริการแก้ไขความขัดแย้งของครอบครัว เพื่อช่วยไกล่เกลี่ยข้อพิพาทและยุติปมความขัดแย้งในครอบครัวโดยผู้เชี่ยวชาญ 

โดยชู 3 จุดเด่นของบริการ ได้แก่ รักษาสายสัมพันธ์ครอบครัว ยุติความขัดแย้งในระยะเวลาอันสั้น จัดการกงสีและธุรกิจได้อย่างราบรื่น ชี้ธุรกิจครอบครัวมีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจไทย หากไม่สามารถไปต่ออย่างยั่งยืนได้ อาจส่งผลกระทบต่อ GDP ประเทศ

3 จุดเด่นของบริการ “Reconciliation Service”

เพื่อไกล่เกลี่ยข้อพิพาทและยุติปมความขัดแย้งในธุรกิจครอบครัว มีดังนี้

  1. รักษาสายสัมพันธ์ครอบครัว: ความขัดแย้งที่ไม่อาจหาข้อสรุปได้ มักจะถูกยกระดับขึ้นเป็นการฟ้องร้อง ซึ่งจะสร้างรอยร้าวในความสัมพันธ์ระหว่างคนในครอบครัว เพื่อไม่ให้ปัญหาลุกลามไปถึงจุดนั้น KBank Private Banking จึงนำผู้เชี่ยวชาญในการยุติความขัดแย้งที่มีประสบการณ์สูง ดึงหลักจิตวิทยาเข้ามาช่วยในการเจรจา ทำให้หลายครอบครัวสามารถรักษาความสัมพันธ์อันดีเอาไว้ได้  
  2. ยุติความขัดแย้งในระยะเวลาอันสั้น : ข้อได้เปรียบของบริการ Reconciliation Service คือ การช่วยย่นย่อทั้งระยะเวลาในการดำเนินการ รวมถึงช่วยลดค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้นหากต้องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมเต็มรูปแบบในชั้นศาล โดยมีผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายที่ให้ความเห็นของคู่กรณีทั้งสองฝ่ายอย่างเป็นกลางและครบถ้วน
  3. จัดการกงสีและธุรกิจได้อย่างราบรื่น: เมื่อครอบครัวได้ทางออกในข้อพิพาทแล้ว ผู้เชี่ยวชาญของ KBank Private Banking สามารถช่วยจัดการวางแผนส่งต่อธุรกิจครอบครัวหรือจัดทำธรรมนูญครอบครัวใหม่ได้ในทันที ทำให้เกิดความราบรื่นและมีประสิทธิภาพในทุกขั้นตอน

นายพีระพัฒน์ เหรียญประยูร Managing Director, Wealth Planning and Non Capital Market Head, Private Banking Group ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า จากประสบการณ์การให้คำปรึกษาการบริหารทรัพย์สินครอบครัว พบว่าลูกค้าส่วนใหญ่เมื่อเกิดความขัดแย้งขึ้นภายในครอบครัวมักจะหาข้อสรุปได้ยาก เพราะขาดคนกลางในการช่วยไกล่เกลี่ย จึงต้องการมืออาชีพที่ให้ข้อมูลทุกฝ่ายได้อย่างครบถ้วน 

เคแบงก์ ไพรเวทแบงก์กิ้ง มั่นใจว่า จะมีความเป็นกลางไม่โอนเอียงหรือเอื้อประโยชน์ให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง การที่เข้ามาให้บริการ Reconciliation Service นอกจากความเข้าใจในบริบทครอบครัวและรูปแบบทรัพย์สินของลูกค้าที่ถือครองอยู่แล้วนั้น ยังจะมีขั้นตอนการตรวจสอบผลประโยชน์ทับซ้อน (Conflict of Interest) ของลูกค้า คู่กรณี และ ผู้ไกล่เกลี่ย จึงทำให้หลายครอบครัวเชื่อมั่นในทีมงานและสามารถหาข้อสรุปตามความต้องการของทุกฝ่ายได้ 

ลูกค้ากว่า 15% ของมูลค่ากว่า 1.8 แสนล้านบาทไม่สามารถแก้ปัญหาความขัดแย้งได้

ปัจจุบันได้ให้บริการลูกค้ารวมกว่า 4,000 รายหรือประมาณ 790 ครอบครัว และมีมูลค่าทรัพย์สินครอบครัวภายใต้การบริหารงานกว่า 1.8 แสนล้านบาท พบว่า กว่า 15% ของลูกค้าที่มีความต้องการวางแผนการบริหารสินทรัพย์ครอบครัว ต้องเผชิญกับปมปัญหาความขัดแย้งภายในครอบครัวที่ทำให้ไม่สามารถดำเนินการได้ และอาจส่งผลกระทบต่อธุรกิจครอบครัวถึงขั้นสะดุดหยุดลงได้ 

“แน่นอนว่าคงไม่มีครอบครัวไหนที่จะเห็นพ้องต้องกันไปเสียทุกเรื่อง ก่อนหน้านี้ ได้มีบริการที่จะช่วยลูกค้าในการหาทางออกร่วมกันหรือแนวทางการแก้ไขความขัดแย้งในอนาคตผ่านการกำหนดกติกาครอบครัวหรือการทำธรรมนูญครอบครัวผ่านบริการ Family Continuity Planning อยู่แล้ว เพราะลูกค้ากว่า 15% มีระดับความขัดแย้งที่มากเกินกว่าจะหาข้อตกลงร่วมกันเองได้ จึงได้เปิดตัวบริการใหม่ภายใต้ชื่อ Reconciliation Service  หรือบริการแก้ไขความขัดแย้งของครอบครัว โดยมีผู้เชี่ยวชาญทั้งด้านการเจรจาไกล่เกลี่ยโดยใช้หลักจิตวิทยา ตลอดจนผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายเข้ามาช่วยลูกค้าให้สามารถยุติข้อพิพาทและหาทางออกร่วมกันเพื่อให้การจัดการกงสีและธุรกิจครอบครัวสามารถดำเนินงานต่อไปได้อย่างราบรื่น” นายพีระพัฒน์ กล่าว

สำหรับบริการใหม่ Reconciliation Service นี้ อยู่ภายใต้บริการในกลุ่ม การสร้างกติกาครอบครัวและการสืบทอดธุรกิจ (Family Continuity Planning) ครอบคลุมทุกความต้องการด้านทรัพย์สินครอบครัวอย่างครบวงจรต่อเนื่อง เช่น

  • การบริหารความเสี่ยงทรัพย์สินครอบครัว (Financial Asset, Liability and Risk Management) 
  • การจัดโครงสร้างการถือครองทรัพย์สินครอบครัว (Asset Holding Structure) 
  • การวางแผนส่งต่อทรัพย์สินจากรุ่นสู่รุ่น (Inheritance and Wealth Transfer) 
  • การทำสาธารณกุศล (Philanthropy) 
  • บริการสำนักงานครอบครัว (Family Office)

advertisement

Relate Post

SPOTLIGHT