ธุรกิจการตลาด

จากเต่าบินสู่ 'กิ้งก่า EV' มาแน่Q3 นี้ ตู้ชาร์จEVแบบไม่ต้องโหลดแอป

24 ม.ค. 66
จากเต่าบินสู่ 'กิ้งก่า EV' มาแน่Q3 นี้ ตู้ชาร์จEVแบบไม่ต้องโหลดแอป
ไฮไลท์ Highlight
 “กิ้งก่า EV ใช้งานง่ายเหมือนตู้เต่าบินเลย  ไปถึงตู้ชาร์จก็จะเป็นระบบหน้าจอสัมผัส (Touch Screen) แล้วก็กดใส่คำสั่งการชาร์จ และจ่ายเงินผ่านแสกนคิวอาร์โค้ด ด้วย Mobile Banking ทุกธนาคาร หากวงเงินเหลือสามารถเก็บสะสมไว้ใช้ในการชาร์จครั้งต่อไปได้ผ่านเบอร์มือถือของลูกค้า”

หลังจากบริษัท ฟอร์ท สมาร์ท เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ  FSMART  เจ้าของตู้เต่าบิน คาเฟ่อัตโนมัติ 24 ชั่วโมงได้สร้างความฮือฮาให้กับตลาดใน 2 ปีที่ผ่านมา ล่าสุดFSMARTสร้างสีสันให้กับวงการพลังงานแล้ว ด้วยการเตรียมเปิดตัว “กิ้งก่า EV” ตู้ชาร์จ EV น้องใหม่ ที่มีจุดเด่นไม่ต้องโหลดแอปเหมือนเจ้าอื่นๆ ใช้งานง่ายไม่ต่างจากเหมือนตู้เต่าบิน  

กิ้งก่า EV

คุณพงษ์ชัย อมตานนท์  ประธานกรรมการบริหาร บมจ.ฟอร์ท คอร์ปอเรชั่น (FORTH) เจ้าของตู้เต่าบิน และ กิ้งก่า EV ให้ข้อมูลกับทีม  "SPOTLIGHT" ว่า กิ้งก่า EV น่าจะเปิดตัวได้ราวเดือนเมษายน ขณะนี้ได้ทำการจดสิทธิบัตรเล้วถือเป็นตู้ชาร์จรถ EV แบบใช้งานง่ายสะดวกสำหรับผู้ใช้งาน ที่มีทั้งแบบ AC  ไฟฟ้ากระแสสลับเหมือนที่ใช้ในบ้านเรือนทั่วไป กับแบบ DC  ไฟฟ้ากระแสตรง เป็นระบบไฟฟ้าที่ใช้กับสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า คาดว่าจะสามารถจะติดตั้งได้ถึง 10,000 ตู้ในอนาคต

 “กิ้งก่า EV ใช้งานง่ายเหมือนตู้เต่าบินเลย  ไปถึงตู้ชาร์จก็จะเป็นระบบหน้าจอสัมผัส (Touch Screen) แล้วก็กดใส่คำสั่งการชาร์จ และจ่ายเงินผ่านแสกนคิวอาร์โค้ด ด้วย Mobile Banking ทุกธนาคาร หากวงเงินเหลือสามารถเก็บสะสมไว้ใช้ในการชาร์จครั้งต่อไปได้ผ่านเบอร์มือถือของลูกค้า”

เบื้องต้นตู้ชาร์จ กิ้งก่า EV จะไปติดตั้งตามอาคารสถานที่ต่างๆ ประเดิมด้วยคอนโดมิเนียม ซึ่งคุณพงษ์ชัย บอกว่า ขณะนี้มีหลายคอนโดติดต่อเข้ามา และจากนั้นก็จะกระจายไปตามอาคารอื่นๆ   และวางเป้าไว้ 10,000 จุด  เชื่อว่า ศักยภาพของโรงงานที่ขยายตัวก่อนหน้านี้ ยังสามารถผลิตได้ทั้งตู้เต่าบิน และที่กิ้งก่า EV โดยต้นทุนการผลิตต่อตู้ อยู่ในหลักหมื่นบาท ถูกกว่าตู้เต้าบินที่มีกำลังการผลิตต่อตู้ราว 350,000 บาท  

กิ้งก่า EV

     ทำไมต้องชื่อ กิ้งก่า EV”    

ด้านคุณตอง วทันยา อมตานนท์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายผลิตภัณฑ์ ของเต่าบิน เล่าที่มาของ กิ้งก่า EV ว่า อยากให้ล้อไปกับเต่าบินที่เป็นประเภทสัตว์ และให้เป็นที่จดจำได้ง่าย แตกต่าง น่าสนใจ จึงตั้งชื่อแบรนด์ว่า “กิ้งก่า EV”  บวกกับกิ้งก่ามีเขียว สอดคล้องกับ Concept ของตู้ชาร์จ EV ที่มีความเป็น Green Energy นั่นเอง

คุณตอง อัพเดทความคืบหน้าของ กิ้งก่า EV ว่า ขณะนี้กำลังอยู่ในขั้นตอนของการออกแบบ  ในระยะแรกจะเป็นการติดตั้งตามอาคาร แต่ในอนาคตอาจมีการขยายสู่สถานีชาร์จก็มีความเป็นไปได้สูง

กิ้งก่า EV


  มองเทรนด์ตลาด EV ในประเทศไทยโตแน่นในอนาคต  

ผู้บริหารทั้ง 2 ท่านจาก บมจ.ฟอร์ท คอร์ปอเรชั่น บอกกับเราตรงกันว่า เทรนด์รถยนต์อีวี ในประเทศไทยเติบโตอย่างแน่นอน  
ซึ่งข้อมูลล่าสุด จากสภาอุตสาหกรรมยานยนต์แห่งประเทศไทย ยานยนต์ไฟฟ้าป้ายแดงเดือนธันวาคม 2565 มียอดจดทะเบียนใหม่มีจำนวน 2,680 คัน เพิ่มขึ้น 458.33% จากช่วงเดียวกันปีก่อน และทำให้ตลอดทั้งปี 2565   มียานยนต์ประเภทไฟฟ้า (BEV) จดทะเบียนใหม่สะสมมีจำนวน   20,815 คัน เพิ่มขึ้น 274.64%จากปีก่อน

สำหรับในเว็บไซต์ของ บมจ.ฟอร์ท คอร์ปอเรชั่น (FORTH)  มีการระบุถึงสินค้าเด่นหรือธุรกิจในมือ 4 ประเภท
1.ตู้เต่าบิน
2.ตู้บุญเติม
3.กำไลข้อเท้าติดตามตัว  EM
4.กิ้งก้า EV     

กิ้งก่า EV

ลักษณะเด่นของกิ้งก่า EV”


จากเว็บไซต์ระบุว่า  “กิ้งก่า EV” สามารถติดตั้งทั้งบนผนังหรือแบบเสาด้วยระบบการจัดการสายเคเบิลอัจฉริยะ มีความยิดหยุ่นสอดคล้องกับการใช้งานของลูกค้า

  • ตู้ชาร์จกิ้งก่า EV มีแจ้งเตือนชำระค่าบริการ ผ่าน SMS
  • ทุกจุดชาร์จให้บริการ รองรับการเชื่อมต่อมือถือแบบ  24 ชั่วโมง 7 วัน
  • สามารถเชื่อมต่อระยะไกลและมีระบบซอฟต์แวร์การจัดการบนคลาวด์ที่ชาญฉลาด ประหยัดเวลาและเงิน เข้าถึงข้อมูลแบบReal time
  • การติดตั้งมีทั้งแบบตั้งพื้น(เป็นเสา)และติดผนัง  ติดตั้งโดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญ
  • มีการอัปเดตซอฟต์แวร์แบบ Over-the-Air ตลอดอายุการใช้งานสำหรับจุดชาร์จ
  • การรับประกันอายุการใช้งาน และการบำรุงรักษาระยะไกลและนอกสถานที่ให้
  • ผู้ใช้งานมีทางเลือกในการระบุตัวตนด้วยระบบ RFID ที่เชื่อมต่อกับระบบ  Back Office  

กระแสรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยที่คึกคัก ก็เป็นผลพวงมาจากนโยบายส่งเสริมของภาครัฐที่ทำให้ราคารถ EV ถูกลง บวกกับความคึกคักของค่ายรถต่างๆที่กระโดดเข้าสู่ตลาดรถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น   ธุรกิจที่เกี่ยวข้องอย่าง สถานีชาร์จ ย่อมขยายตัวเพิ่มขึ้นตามมา แต่ใครจะเป็นเจ้าตลาดในหมวดที่ชาร์จรถ EV ในประเทศไทย .... สังเวียนนี้ยังรอการพิสูจน์  

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

advertisement

Relate Post

SPOTLIGHT