Logo site Amarintv 34HD
Logo LiveSearch
Search
Logo Live
Logo site Amarintv 34HD
ช่องทางติดตาม AMARINTV
  • facebook AMARIN TV 34 HD
  • x AMARIN TV 34 HD
  • line AMARIN TV 34 HD
  • youtube AMARIN TV 34 HD
  • instagram AMARIN TV 34 HD
  • tiktok AMARIN TV 34 HD
  • RSS Feed AMARIN TV 34 HD
ไม่ต้องกรี๊ดออกมา! ผลวิจัยชี้ แค่ "ฮัมเพลง"  ช่วยลดความเครียดได้นะ
โดย : กองบรรณาธิการ SPOTLIGHT

ไม่ต้องกรี๊ดออกมา! ผลวิจัยชี้ แค่ "ฮัมเพลง" ช่วยลดความเครียดได้นะ

20 ธ.ค. 67
15:57 น.
แชร์

ความเครียด เป็นโรคยอดฮิตของคนยุคใหม่ทั่วโลก รวมทั้งในประเทศไทย เมื่อกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ออกมาเปิดเผยผลสำรวจสุขภาพจิตพนักงานไทย ในปี 2566 พบคนวัยทำงานในไทย 40% มีระดับความเครียดสูง สาเหตุมาจากปัญหาเศรษฐกิจ รูปแบบการทำงานที่เปลี่ยนไป แต่จะให้หยุดงานออฟฟิศแล้วพักอยู่กับบ้านก็คงจะไม่สามารถทำได้อย่างใจ หรือจะจองคลาสเรียนโยคะ ก็ต้องใช้เวลาและค่าใช้จ่ายไม่น้อย 

สำหรับใครที่อยากได้วิธีคลายเครียดให้ใจสงบแบบไม่เปลืองเวลา และค่าใช้จ่าย ลองหันมา “ฮัมเพลง” กันดีกว่า! เพราะผลวิจัยชี้แล้วว่า การฮัมเพลงทำให้ใจสงบและรู้สึกผ่อนคลายได้มากกว่าวิธีไหน ๆ 

วารสารทางการแพทย์ Cureus ได้เผยแพร่บทความวิจัยที่ศึกษาความแปรปรวนของอัตราการเต้นของหัวใจ (HRV) ของผู้คน ซึ่งจะทำให้เห็นถึงระดับความเครียดได้ โดยสังเกตอัตราการเต้นของหัวใจผ่าน 4 กิจกรรม ได้แก่ 1. กิจกรรมที่มีการเคลื่อนไหวทางร่างกาย 2. กิจกรรมที่ทำให้เกิดความกดดันทางอารมณ์ 3. การนอนหลับ และ 4. การฮัมเพลงเลียนเสียงของผึ้ง ปรากฏว่า การฮัมเพลงทำให้เกิดภาวะความเครียดทางอารมณ์น้อยที่สุด และทำให้ระดับความเครียดน้อยกว่าตอนนอนหลับด้วยซ้ำ 

ประโยชน์ต่อสุขภาพ เมื่อเรา “ฮัมเพลง”

แน่นอนว่า การฮัมเพลงหรือร้องเพลงทำให้เราอารมณ์ดีขึ้นได้ แต่แท้จริงแล้ว การฮัมเพลง ส่งผลต่อร่างกายมนุษย์ และสร้างผลดีหลายประการได้มากกว่าที่เราคิด ซึ่งมีงานวิจัยบางส่วนออกมาเปิดเผยข้อมูลที่น่าสนใจดังนี้ 

  • กระตุ้นเส้นประสาทสมอง

นักบำบัดด้วยเสียงเชื่อว่า การฮัมเพลงสามารถกระตุ้นเส้นประสาทเวกัส ซึ่งเป็นเส้นประสาทส่วนก้านสมองไปจนถึงกระเพาะอาหาร ระบบประสาทอัตโนมัติจะเป็นตัวบอกร่างกายว่า เรากำลังอยู่ในโหมดปลอดภัยและผ่อนคลายได้ ขณะที่ แคทเธอรีน ชาง ผู้อำนวยการด้านการแพทย์ธรรมชาติบำบัดของสหรัฐฯ  กล่าวว่า โดยปกติ มนุษย์จะตอบสนองความเครียดทางจิตใจและทางร่างกาย ด้วยการสู้หรือหลบหนี ซึ่งจะยิ่งเพิ่มระดับความเครียดมากขึ้น แต่การฮัมเพลงจะช่วยกระตุ้นประสาทสมอง ไม่ให้ร่างกายปรับเข้าสู่โหมดดังกล่าว ระดับความเครียดก็จะไม่ทวีความรุนแรงขึ้นมากกว่าเดิม"

  • ลดอัตราการหายใจ อัตราการเต้นของหัวใจ และความดันโลหิต

การฮัมเพลงยังช่วยลดอัตราการหายใจ ทำให้หายใจได้ลึกและช้าลง โดยทั่วไปแล้วเราจะหายใจ 12 - 18 ครั้งต่อนาทีแต่การฮัมเพลงและหายใจเข้าลึกๆ จะทำให้หัวใจเต้นช้าลงและหายใจได้ประมาณ 4 - 6 ครั้งต่อนาที ด้าน Dr. Gunjan Y. Trivedi แพทย์ผู้ก่อตั้งศูนย์สุุขภาพของสหรัฐฯ  การฮัมเพลงจะกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งไนตริกออกไซด์ ซึ่งเป็นสารเคมีที่ร่างกายผลิตขึ้นเพื่อช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือด ลดความดันโลหิตและลดอัตราการเต้นของหัวใจ ซึ่งการฮัมเพลงมีประสิทธิภาพกว่าการหายใจเข้าลึก ๆ ด้วยซ้ำ

  • ช่วยพัฒนาการสื่อสารได้ดีขึ้น

มานจิต เทวกัน ผู้เชี่ยวชาฐด้านการทำสมาธิและครูสอนการหายใจประจำศูนย์ดูแลสุขภาพในสหรัฐฯ กล่าวว่า การฮัมเพลงมีประโยชน์ทางจิตวิญญาณบางประการอีกด้วย เพราะช่วยสร้างสมดุลให้กับจักระที่ 5 ของร่างกาย ซึ่งก็คือวิสุทธิ์หรือจักระคอ ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้มีการสื่อสารที่ขึ้น หนึ่งในนั้นคือการสื่อสารอย่างจริงใจและซคุณพูดความจริงและสื่อสารอย่างซื่อสัตย์

มาฮัมเพลงคลายเครียดให้ถูกวิธีกันเถอะ

มานจิต เทวกัน ได้แชร์วิธีการฮัมเพลงแบบเสียงผึ้งหรือการหายใจของผึ้ง วิธีนี้จะช่วยทำให้เราสงบได้ดี จากแรงสั่นสะเทือนเบา ๆ ภายในร่างกาย ขณะที่เราฮัมเพลง  นอกจากนี้ ยังช่วยเปิดจักระลำคอและส่งเสริมการสื่อสารแบบซื่อสัตย์จริงใจ โดยมีวิธีการง่าย ๆ ดังนี้ 

  1. นั่งสบาย ๆ หลังตรง ไหล่เอียงไปด้านหลังเพื่อเปิดอก ปล่อยใจให้ว่าง
  2. วางนิ้วหัวแม่มือของคุณเบา ๆ ไว้ในหูแต่ละข้าง โดยให้อีก 8 นิ้วที่เหลือของสองมือ มาบรรจบกันที่หน้าผาก
  3. วางนิ้วชี้ของคุณไว้ที่มุมด้านในของดวงตาที่ปิดอยู่
  4. สูดหายใจเข้าลึกๆ แล้วหายใจออกด้วยเสียงฮัมเบาๆ (อืม) จากด้านหน้าใบหน้าของคุณ ฮัมเหมือนกับว่าคุณกำลังไถลตัวลงมาจากสไลเดอร์ขนาดใหญ่ และหายใจออกอย่างช้าๆ 
  5. สัมผัสถึงแรงสั่นสะเทือนจากเสียงฮัมที่สะท้อนผ่านใบหน้าและร่างกายของคุณ
  6. ทำซ้ำโดยหายใจเข้าลึก ๆ จากนั้นฮัมเพลงไปด้วยพร้อมกับหายใจออกช้า ๆ ทดลองกับระดับเสียงที่แตกต่างกัน สังเกตว่าการสั่นสะเทือนมีเสียงดังที่สุดตรงส่วนไหน ซึ่งจะเป็นการส่งสัญญานว่าคุณควรตรวจสอบว่าร่างกายส่วนนั้นผิดปกติอย่างไรด้วย
แชร์
ไม่ต้องกรี๊ดออกมา! ผลวิจัยชี้ แค่ "ฮัมเพลง"  ช่วยลดความเครียดได้นะ